คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แปลก ศิงฆมานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: สิทธิในการฟ้องคดีใหม่ vs. การขอให้พิจารณาคดีใหม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเพราะโจทก์จำเลยขาดนัดพิจารณา การที่โจทก์ร้องขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปหรือขอให้นัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนต่อไปโดยอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่จงใจขาดนัดนั้น ก็คือการขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่นั่นเอง
คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาโดยไม่จงใจ มีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ได้เฉพาะใน 2 กรณี คือ ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว ถ้าคู่ความที่ขาดนัดมาศาลภายหลังที่ศาลเริ่มต้นสืบพยานของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไปบ้างแล้วและศาลเห็นว่าคู่ความฝ่ายนั้นไม่จงใจขาดนัด หรือมีเหตุอันสมควร ศาลจึงจะสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งถ้าเป็นจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยขาดนัดยื่นคำให้การด้วยก็ยอมให้ยื่นคำให้การได้ด้วย แต่ถ้าคู่ความที่ขาดนัดพิจารณานั้นคงขาดนัดตลอดไปจนศาลพิจารณาคดีฝ่ายเดียวไปเสร็จสิ้นแล้วและพิพากษาให้คู่ความที่ขาดนัดพิจารณาแพ้คดีในประเด็นพิพาทคู่ความซึ่งแพ้คดีโดยไม่จงใจขาดนัด ยังมีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ได้ เว้นแต่จะต้องด้วยข้อห้ามตามกฎหมาย
การขอให้พิจารณาคดีใหม่ใน 2 กรณีดังกล่าวแล้ว กฎหมายกำหนดเวลาที่จะขอให้พิจารณาใหม่ไว้ทั้ง 2 กรณี และการขอให้พิจารณาคดีใหม่จะต้องมีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเป็นหลักสำคัญข้อแรก ถ้าคดีไม่มีการพิจารณาฝ่ายเดียวแล้วคู่ความที่ขาดนัดจะขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ แม้คู่ความฝ่ายนั้นจะไม่จงใจขาดนัดก็ตาม
คำว่า 'ขาดนัดพิจารณา' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 ต้องถือตามมาตรา 197 วรรคสอง ถ้าคู่ความไม่มาศาลในวันที่ศาลเริ่มต้นสืบพยาน.โดยมิได้ขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องต่อศาล มาตรา 197 วรรคสอง ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา โดยไม่มีข้อที่ศาลจะต้องพิจารณาว่า คู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือ ไม่จงใจเพราะการขาดนัดโดยจงใจหรือไม่จงใจ จะกล่าวอ้างกันได้เฉพาะเมื่อมีการพิจารณาฝ่ายเดียวและมีการขอให้พิจารณาคดีใหม่เท่านั้น
เมื่อโจทก์จำเลยขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 197 วรรคสองและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามมาตรา 200 เสร็จสิ้นไปแล้ว ย่อมไม่มีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว.อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ สิทธิของโจทก์มีอยู่ทางเดียวตามมาตรา 200 วรรคสอง คือ ฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความเท่านั้นไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ เพราะไม่มีการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว และที่ มาตรา 200 ให้สิทธิโจทก์ฟ้องใหม่ได้ ย่อมแสดงอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สิ่งที่มีค่าภารติดพัน: การชำระหนี้จำนองแทนแล้วจึงโอนที่ดิน ถือเป็นการให้ที่มีภาระผูกพัน โจทก์ถอนคืนไม่ได้
มารดายกที่ดินให้แก่บุตรโดยบุตรออกเงินชำระหนี้จำนองแทนมารดาเพราะมารดาไม่มีเงิน แล้วมารดามอบอำนาจให้บุตรไปไถ่ถอนจำนองและทำนิติกรรมให้ที่ดินจำเลยในวันเดียวกันนั้นดังนี้ ถือว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพัน มารดาจะถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานจำเลยชอบด้วยเหตุผลเมื่อทนายจำเลยละเลยหน้าที่และจำเลยไม่นำพยานมาศาล ส่อเจตนาประวิงคดี
ศาลได้กำหนดนัดวันสืบพยานโจทก์จำเลยตามที่ทนายจำเลยขอครั้นถึงวันเวลาที่กำหนด ทนายจำเลยไม่มาศาล ศาลชั้นต้นรอจนถึงเวลา 10.00 นาฬิกา จึงสืบพยานโจทก์ได้ 3 ปากหมดพยานโจทก์ สืบตัวจำเลยได้ 1 ปาก จำเลยแถลงว่าไม่ได้นำพยานอื่นมาศาลศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ จึงให้งดสืบพยานอื่นของจำเลยเสีย ดังนี้ เห็นได้ว่า ทนายจำเลยมิได้เอาใจใส่ต่อวันนัดของศาล ทั้ง ๆ ที่ทนายจำเลยขอให้นัดเอง แต่พอถึงวันนัดกลับไปว่าความที่ศาลอื่นเสีย คงปล่อยให้จำเลยมาศาลตามลำพัง จำเลยมีหน้าที่นำพยานมาศาลตามวันเวลานัดซึ่งจำเลยและทนายจำเลยทราบดีอยู่แล้ว การที่จำเลยไม่นำพยานมาศาลย่อมเป็นการละเลยต่อหน้าที่และจำเลยแสดงให้เห็นไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอย่างไรต้องเลื่อนคดีไป จึงเป็นพฤติการณ์ที่ส่อว่าจำเลยประวิงคดีให้ล่าช้า ศาลย่อมใช้ดุลพินิจสั่งงดสืบพยานได้ตามควรแก่กรณี เพื่อให้คดีดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานจำเลย ชอบด้วยเหตุผลแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิครอบครองที่ดินและผลกระทบต่ออำนาจฟ้อง สัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าไว้แทนโจทก์ก่อนฟ้องโจทก์จำเลยได้มีกรณีพิพาทกันชั้นอำเภอ แล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้ากำนัน โดยโจทก์ยอมยกที่พิพาทให้จำเลยครอบครอง และยอมรับเงินชดใช้ค่าที่ดินจากจำเลย เป็นการสละสิทธิครอบครองที่พิพาทให้แก่จำเลยเมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าเสียแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเรียกที่พิพาทคืนจากจำเลยอีก
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิครอบครองที่ดินด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าไว้แทนโจทก์ก่อนฟ้องโจทก์จำเลยได้มีกรณีพิพาทกันชั้นอำเภอ แล้วได้ ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้ากำนัน โดยโจทก์ยอมยกที่พิพาทให้จำเลยครอบครอง และยอมรับเงินชดใช้ค่าที่ดินจากจำเลย เป็นการสละสิทธิครอบครองที่พิพาทให้แก่จำเลยเมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าเสียแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องเรียกที่พิพาทคืนจากจำเลยอีก
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจรอการลงโทษในคดีชุลมุนต่อสู้สำหรับผู้เยาว์และหญิง
ในคดีที่ฟ้องว่าจำเลยทำผิดฐานชุลมุนต่อสู้กันเป็นอันตรายสาหัสเมื่อจำเลยที่ 2 มีอายุเพียง 16 ปี และจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็เป็นหญิงอายุ 17 และ 19 ปี แม้จะเคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรอการลงโทษในคดีนี้ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องความผิดทะเลาะวิวาทในที่สาธารณะ ไม่ต้องใช้ถ้อยคำตามกฎหมายเป๊ะๆ หากพอเข้าใจได้ว่าผิดก็ชอบด้วยกฎหมาย
คำฟ้องในข้อหาความผิดฐานทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะหรือ สาธารณสถาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 372 ไม่เคร่งครัดถึงกับต้องบรรยายใช้ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายเสมอไป เมื่ออ่านคำฟ้องทั้งหมดพอเข้าใจได้ว่าเป็นการทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะหรือสาธารณสถานแล้ว ก็เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาต้องชัดเจน: การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนถึงเจตนาหรือความประมาทของจำเลย ทำให้ฟ้องไม่รับพิจารณา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพระราชวังกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แล้วจำเลยที่ 2 ได้แจ้งพร้อมแสดงหมายจับให้โจทก์ดู โจทก์จึงชำระเงินตามเช็คให้โดยจำเลยที่ 2 ตกลงว่าจะไปถอนคำร้องทุกข์ แต่จำเลยไม่ถอนคำร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน เป็นเหตุให้โจทก์ถูกเจ้าพนักงานจับกุมและควบคุมกักขัง ปราศจากเสรีภาพไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง อันเป็นการทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถูกกักขังและปราศจากเสรีภาพในร่างกายโดยมิชอบ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310, 311, 83ดังนี้ การฟ้องขอให้ลงโทษฐานความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 310 ต้องปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาหน่วงเหนี่ยวกักขังหรือทำให้ปราศจากเสรีภาพต่อร่างกาย และการขอให้ลงโทษฐานประมาทตามมาตรา 311 โจทก์ก็ไม่ได้บรรยายชัดว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาทอย่างไร ซึ่งจะพอทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์ยังไม่แสดงพอถึงการกระทำของจำเลยอันจะรับพิจารณาเอาเป็นความผิดแก่จำเลยตามที่ขอ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม (เทียบฎีกาที่ 105/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้จะอ้างว่าลงชื่อโดยไม่สมัครใจ หากไม่มีการข่มขู่ที่ทำให้สัญญาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้แบ่งที่นาให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยได้ทำต่อกันไว้ตามสำเนาบันทึกการประนีประนอมยอมความท้ายฟ้อง แต่จำเลยไม่ได้ให้การโดยแจ้งชัดถึงสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์อ้างว่าจำเลยตกลงแบ่งที่นาพิพาทตามสำเนาสัญญาท้ายฟ้องเลย ต้องถือว่าจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้จริงยิ่งไปกว่านั้นตามสำเนาคำเปรียบเทียบของอำเภอซึ่งจำเลยแนบมาพร้อมกับคำให้การ จำเลยก็ยอมรับว่าได้ลงชื่อแบ่งที่ดินนี้จริงเป็นแต่อ้างว่าเซ็นชื่อโดยไม่สมัครใจ ที่จำเลยให้การว่าถูกขู่ แต่คำให้การของจำเลยไม่มีข้อความที่ทำให้เห็นว่าเป็นการข่มขู่อันจะทำให้สัญญาประนีประนอมไม่ชอบแต่ประการใด คดีจึงไม่จำต้องสืบพยานกันต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงต้องยึดถือระยะเวลาการแจ้งข้อหาใหม่ หากเปลี่ยนข้อหาเดิมเป็นข้อหาใหม่ภายหลัง
บทบัญญัติในมาตรา 9 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ที่ห้ามมิให้ผู้ว่าคดีฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 7 เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการก่อน นั้น หมายความเฉพาะคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้
ชั้นแรกพนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดที่จะพิจารณาพิพากษา พนักงานสอบสวนสอบสวนแล้วเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง พนักงานอัยการสั่งให้ฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 พนักงานสอบสวน จึงแจ้งข้อหาตามมาตรา 334 ให้จำเลยทราบ และยื่นฟ้องต่อศาลแขวงในวันเดียวกันกรณีนี้ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตั้งแต่วันแจ้งข้อหาตามมาตรา 334เมื่อได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงภายในกำหนดเวลา 72 ชั่วโมงแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องหรือขออนุญาตจาก อธิบดีกรมอัยการก่อนฟ้อง
of 11