คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แปลก ศิงฆมานันท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปกปิดประวัติโรคมะเร็งก่อนทำประกันชีวิตทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ
ผู้เอาประกันชีวิตรู้ว่าตนป่วยเป็นโรคมะเร็ง เคยเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งต่อมไทมัสที่ทรวงอกและต่อมาที่มดลูกและรังไข่ซึ่งมะเร็งได้กระจายลงไป ขณะยื่นคำขอเอาประกันชีวิตก็เป็นระยะที่ตนกำลังได้รับการรักษาด้านการฉายรังสี แต่ปกปิดความจริงดังกล่าวนี้โดยแถลงเท็จว่าเป็นการผ่าตัดซี่โครงข้างซ้ายซึ่งงอเพราะกระโดดน้ำเล่นและผ่าตัดไส้ติ่งซึ่งถ้าบริษัทประกันภัยทราบความจริงข้างต้นนี้แล้วก็จะไม่ยอมทำสัญญาประกันชีวิตด้วย เช่นนี้ สัญญาย่อมเป็นโมฆียะบริษัทมีสิทธิบอกล้างไม่ใช้เงินตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อันตรายสาหัสจากการทำร้ายร่างกาย: เกณฑ์การพิจารณาอาการบาดเจ็บเกิน 20 วัน
ถูกตีด้วยไม้ระแนง กระโหลกศีรษะร้าว ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 1 ปีครึ่ง กระดูกจึงจะเชื่อมติดกันได้และแข็งแรงพอ จะมีอาการปวดศีรษะในระยะ 1 เดือนแรก ไม่สามารถนั่งขายของได้ตามปกติ ดังนี้ ถือได้ว่าต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อันตรายสาหัสจากการทำร้ายร่างกาย: การประเมินอาการบาดเจ็บและระยะเวลาพักฟื้น
ถูกตีด้วยไม้ระแนง กระโหลกศีรษะร้าว ต้องใช้เวลารักษาประมาณ1 ปีครึ่งกระดูกจึงจะเชื่อมติดกันได้และแข็งแรงพอ จะมีอาการปวดศีรษะในระยะ 1 เดือนแรก ไม่สามารถนั่งขายของได้ตามปกติ ดังนี้ ถือได้ว่าต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของบุคคลภายนอกจากสัญญาประนีประนอมยอมความ การบังคับสิทธิเมื่อแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์
จำเลยกับ บ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีอื่นแบ่งนาพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ต่อมาโจทก์จะเข้าทำนาในส่วนที่ได้รับแบ่ง จำเลยขัดขวาง โจทก์จึงฟ้องจำเลยขอให้พิพากษาแสดงว่าส่วนแบ่งเป็นของโจทก์ ดังนี้ การที่โจทก์จะเข้าทำนาในส่วนของโจทก์ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยกับ บ. แล้ว สิทธิของโจทก์จึงย่อมเกิดมีขึ้น จำเลยหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของบุคคลภายนอกจากสัญญาประนีประนอมยอมความและการแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา
จำเลยกับ บ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีอื่นแบ่งนาพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ต่อมาโจทก์จะเข้าทำนาในส่วนที่ได้รับแบ่ง จำเลยขัดขวาง โจทก์จึงฟ้องจำเลยขอให้พิพากษาแสดงว่าส่วนแบ่งเป็นของโจทก์ ดังนี้ การที่โจทก์จะเข้าทำนาในส่วนของโจทก์ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยกับ บ. แล้ว สิทธิของโจทก์จึงย่อมเกิดมีขึ้น จำเลยหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีกรรโชก: ผู้เสียหายคือผู้ถูกข่มขู่ให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่สามหรือทรัพย์สิน
จำเลยได้ข่มขู่โจทก์ว่าจะเปิดเผยความลับทางการค้าต่อพ่อค้าและท้องตลาดกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการหลบเลี่ยงภาษีของห้างหุ้นส่วน อันจะทำให้ห้างดังกล่าวซึ่งมีโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้รับความเสียหายจนโจทก์ยอมจะให้เงินแก่จำเลยตามที่ขู่เข็ญนั้น จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337, 338 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีกรรโชก: ผู้เสียหายคือผู้ถูกข่มขู่ให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่สาม
จำเลยได้ข่มขู่โจทก์ว่าจะเปิดเผยความลับทางการค้าต่อพ่อค้าและท้องตลาดกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการหลบเลี่ยงภาษีของห้างหุ้นส่วนอันจะทำให้ห้างดังกล่าวซึ่งมีโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้รับความเสียหายจนโจทก์ยอมจะให้เงินแก่จำเลยตามที่ขู่เข็ญนั้น จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337, 338 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: จำเลยต้องไม่ใช่คู่ความในคดีอาญา
จำเลยเป็นแต่เพียงผู้เสียหาย มิได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงในคดีอาญาจึงไม่ผูกพันจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: จำเลยต้องเป็นคู่ความในคดีอาญาจึงมีผลผูกพัน
จำเลยเป็นแต่เพียงผู้เสียหาย มิได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการโจทก์ ดังนั้น ข้อเท็จจริงในคดีอาญาจึงไม่ผูกพันจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันปล้นทรัพย์และการข่มขืน ถือเป็นความผิดคนละกรรม ศาลลงโทษได้ทั้งสองกระทง
การที่บุคคลหลายคนร่วมกันมาปล้นทรัพย์บ้านใกล้เคียงกันแม้จะแยกกันเข้าทำการในหลายบ้าน แต่ละบ้านมีจำนวนไม่ถึง3 คน อันจะเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ก็ตามก็ถือว่าการกระทำทั้งหมดเป็นกรรมเดียวกัน แต่ละคนย่อมมีความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ประกอบด้วยมาตรา 83 แต่เมื่อคนหนึ่งในจำนวนนั้นไปข่มขืนกระทำชำเราเจ้าทรัพย์ด้วยอันไม่อยู่ในเจตนาของการร่วมกันมา ย่อมเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหากตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ซึ่งศาลอาจเรียงกระทงลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ในกรณีที่โจทก์ฟ้องรวมกระทงกันมา
of 11