คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3645/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายกระทบสิทธิการฟ้องคดีอาญา แม้ศาลวินิจฉัยสถานะผู้เสียหาย
ปัญหาที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มีว่า ผู้เสียหายมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) หรือไม่ แต่เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์เสียแล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าผู้เสียหายมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ก็ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แล้ว หากศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้เสียหายไม่มีฐานะเป็นผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ศาลฎีกาก็ต้องพิพากษายกฟ้องดังนี้ ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ไปในทางใดก็เป็นอันเอาผิดแก่จำเลยไม่ได้กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป ควรจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ (คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค: เช็คเพื่อชำระหนี้จากการซื้อลดเช็ค แม้มีดอกเบี้ยสูงก็ไม่เป็นเหตุ
เช็คตามฟ้องเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองร่วมกันออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้อันเกิดแต่การที่จำเลยทั้งสองขายลดเช็คทั้งยี่สิบเจ็ดฉบับให้แก่โจทก์ แล้วเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินไม่ได้ แม้จะปรากฏว่าเช็คทั้งยี่สิบเจ็ดฉบับนั้นโจทก์ได้คิดส่วนลดหรือดอกเบี้ยล่วงหน้าคิดเป็นอัตราร้อยละ 21.9 ต่อปี ก็ตาม กรณีก็มิได้มีกฎหมายห้ามไว้เหมือนเช่นการให้กู้ยืมเงิน จึงถือไม่ได้ว่าเช็คตามฟ้องมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย การออกเช็คตามฟ้องของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น โดยในวันที่เช็คถึงกำหนด เงินในบัญชีของจำเลยที่ 1 มีไม่พอจ่าย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่สมบูรณ์ - ผู้ลงลายมือชื่อไม่จำเป็นต้องผิด - เหตุไม่มีข้อมูลสำคัญครบถ้วน
ว. นำเช็คพิพาทที่มีจำเลยเพียงแต่ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายไว้ โดยมิได้กรอกข้อความทั้งวันเดือนปีที่สั่งจ่าย ชื่อผู้รับเงินและจำนวนเงิน ไปมอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ เมื่อขณะที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท ยังไม่มีรายการวันที่ออกเช็คอันเป็นวันกระทำความผิด คำสั่งให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน และชื่อผู้รับเงินซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988(2)(4) และ (6) บังคับให้ต้องมีรายการเหล่านี้ เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 910 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง จำเลยผู้ออกเช็คย่อมไม่มีความผิดทางอาญา อันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญาและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลยกฟ้องเนื่องจากฟ้องพ้นอายุความ
ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 ลักษณะ 1 หมวด 9 ได้บัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะแล้ว หาได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงหรือเลิกนับอายุความร้องทุกข์อันจะนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับไม่ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแขวงดุสิตภายในกำหนดอายุความ แต่เมื่อคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงดุสิตซึ่งศาลแขวงดุสิตมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ไปแล้ว การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องศาลแขวงพระนครใต้อีกเมื่อพ้นกำหนดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องร่วมและการพิพากษาคดีเช็ค: การจำกัดความรับผิดเฉพาะผู้เสียหายโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็ครวม 3 ฉบับ และได้มอบเช็คสองฉบับ ให้แก่ ศ. ส่วนเช็คอีกฉบับ มอบให้แก่ พ. เพื่อชำระหนี้ที่จำเลยได้ยักยอกเงินของผู้เสียหายทั้งสองไป ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 เมื่อ ศ. ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต จึงหมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตามเช็คเพียงสองฉบับ ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงเช็คอีกหนึ่งฉบับซึ่งโจทก์ร่วมมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ร่วมฎีกาแต่เพียงฝ่ายเดียวคดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมเฉพาะสองฉบับที่โจทก์ร่วมเป็นผู้ได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คหลังฉีกสัญญากู้ยืม ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ และหลักฐานกู้ยืมเงินยังใช้บังคับได้
การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ และโจทก์คืนสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลย โดยจำเลยนำสัญญาดังกล่าวไปฉีกทำลายแล้วนั้น แสดงว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับเช็คพิพาทอันเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้แต่ประการใด จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 วรรคหนึ่ง และหนี้เดิมจะระงับก็ต่อเมื่อจำเลยได้ใช้เงินตามเช็คแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย
การกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 นั้น หมายถึงการกู้ยืมเงินที่ไม่เคยมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งเลย แต่เมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วเกิดสูญหาย ผู้ให้กู้ย่อมนำสำเนาหรือพยานบุคคลมาสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) เมื่อปรากฏว่าจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นหลักฐานให้แก่โจทก์แล้ว และออกเช็คชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว จึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แม้สัญญากู้ยืมเงินจะถูกฉีกทำลายภายหลังออกเช็คก็หาทำให้ไม่เป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 27/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีอาญาไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ และเหตุไม่รอการลงโทษจำคุกจากการผ่อนชำระหนี้น้อย
ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118 ห้ามมิให้รับฟังหนังสือมอบอำนาจที่ไม่ปิดอากรแสตมป์เป็นพยานหลักฐานเฉพาะคดีแพ่งเท่านั้น มิได้ห้ามมิให้รับฟังในคดีอาญาด้วยการที่โจทก์ทั้งสี่ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยในคดีอาญานี้จึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์แต่อย่างใด จึงรับฟังหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
มูลหนี้ตามเช็คพิพาทสืบเนื่องมาจากการซื้อขายที่ดิน ซึ่งถึงกำหนดชำระในปี 2540โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยปี 2541 ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสี่ให้โอกาสจำเลยผ่อนชำระมาไม่น้อยกว่า 2 ปี แต่จำเลยชำระให้เพียง 25,000 บาท และระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยชำระอีกเพียง 5,000 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับมูลหนี้ตามเช็ค400,000 บาท กับระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นเลื่อนคดีเพื่อให้จำเลยผ่อนชำระนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก แสดงว่าจำเลยมิได้ขวนขวายเต็มความสามารถ ทั้งไม่ได้แสดงความตั้งใจจะหาช่องทางชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว จึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6064/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็ค – นิติบุคคล – กรรมการ – ความรับผิดร่วม – ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ความประสงค์หรือเจตนาแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคล คือจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการของจำเลยที่ 1 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ออกเช็คทั้งสองฉบับเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้า ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 จึงเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 กระทำทั้งฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เป็นการร่วมกันกระทำผิด จำเลยที่ 2 ไม่อาจอ้างได้ว่าไม่มีเจตนาออกเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4591/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาเช็คต้องระบุหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย มิฉะนั้นฟ้องไม่สมบูรณ์
การออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 นั้น จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย หนี้ตามเช็คที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด แต่คำบรรยายฟ้องโจทก์บรรยายเพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อเป็นการชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินโดยมิได้ระบุว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งโจทก์มิได้แนบสัญญากู้เงินมาท้ายฟ้องด้วย คำฟ้องโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทำให้ผู้เสียหายตกเป็นผู้กระทำผิด จึงขาดอำนาจฟ้องคดีเช็ค
จำเลยกู้เงินจากผู้เสียหายเพียง 50,000 บาท แต่ในสัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยกู้ไป 60,000 บาท แสดงว่าเงิน 10,000 บาท ที่เกินมาคือดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายคิดจากจำเลย ปรากฏว่าในสัญญากำหนดเวลาใช้เงินกู้คืนภายใน 1 เดือน จึงเท่ากับเป็นการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราตามกฎหมาย ย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3(ก) การที่ผู้เสียหายรับเช็คพิพาทจากจำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายเรียกเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตรา แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวก็จะถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)
แม้ผู้เสียหายที่เป็นผู้กระทำผิดจะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่ามีการร้องทุกข์และสอบสวนโดยชอบตามกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และ 121
of 13