พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดทำให้หนี้บางส่วนเป็นโมฆะ ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เช็คพิพาทที่จำเลยออกให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมมีมูลหนี้ที่มีอยู่จริงเพียง 200,000 บาท ส่วนอีก 100,000 บาท เป็นหนี้ที่โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อเดือน อันเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมอยู่ด้วย ทั้งคำฟ้องโจทก์ก็มิได้บรรยายว่าจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเท่าใด จำนวนเงินกู้ดังกล่าวจึงไม่อาจแยกเงินต้นและดอกเบี้ยออกจากกันได้ เมื่อจำนวนดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะฟ้องบังคับมิได้ ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คพิพาทระบุจำนวนเงิน 300,000 บาท เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่เพียง 200,000 บาท จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีหนี้: การออกเช็คโดยที่เจ้าหนี้ยังไม่ได้บังคับชำระหนี้แทนลูกหนี้ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้ต่อธนาคารเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่มีต่อธนาคารดังกล่าว และต่อมาจำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อนำไปเบิกเงินและไถ่ถอนจำนองที่ดิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ปรากฏว่าขณะที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทโจทก์ยังไม่ถูกธนาคารฟ้องบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินหรือโจทก์ได้ชำระหนี้จำนองแล้ว ทำให้ขณะนั้นจำเลยยังไม่มีหนี้ที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยฉะนั้น การที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยที่ยังไม่มีหนี้ซึ่งอาจบังคับได้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 แม้โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับและดอกเบี้ยต้องมีข้อตกลงชัดเจน, ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยเป็นโมฆะ, สถานะลูกหนี้มีผลต่อการใช้เช็ค
การที่คู่สัญญาจะมีสิทธิคิดเบี้ยปรับจากคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญาได้นั้น ต้องมีการตกลงไว้ในสัญญาโดยชัดแจ้งว่า มีเงื่อนไขในการกำหนดเบี้ยปรับกันอย่างไรผิดสัญญาข้อใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 หาใช่เป็นการคิดเอาตามอำเภอใจแต่ฝ่ายเดียวไม่
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. แม้หนี้เดิมจะเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้ามิใช่หนี้กู้ยืมก็ตาม แต่ก็เป็นหนี้เงินที่ต้องชำระต่อกันจึงต้องอยู่ภายใต้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7และมาตรา 224 ซึ่งคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปีและห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอีกด้วย การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงิน 2 ล้านบาทมาเป็นจำนวน 6 ล้านบาทเศษ ในเวลาประมาณ 2 ปี นับว่าเป็นจำนวนดอกเบี้ยสูงมากคิดแล้วเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละร้อยต่อปีทั้งการเปลี่ยนเช็คแต่ละฉบับโดยนำดอกเบี้ยมารวมเป็นต้นเงินตามเช็คฉบับใหม่มีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยอันต้องห้ามตามกฎหมาย ประกอบกับตลอดเวลาที่ค้าขายติดต่อกัน จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เพื่อชำระหนี้มีจำนวนประมาณ 30 ฉบับ และทุกฉบับขึ้นเงินไม่ได้ทั้งโจทก์ผู้รับโอนเช็คพิพาทจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ยังรับว่าเช็คที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปเปลี่ยนจากจำเลยทุกครั้งเป็นเช็คที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปแลกเงินสดจากโจทก์ และเมื่อถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จะส่งเช็คฉบับนั้นนำไปขอเปลี่ยนเช็คฉบับใหม่จากจำเลยทุกคราวไป แสดงให้เห็นว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. และโจทก์ต่างรู้ถึงฐานะทางการเงินของจำเลยทั้งสองเป็นอย่างดีว่ามีความขัดสนรุนแรงเพียงใดดังนั้น การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท4 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวนเงินสูงลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันเดียวกันโดยให้เวลาเพียง 2 เดือนเศษ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ย่อมทราบดีว่าขณะที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คนั้น จำเลยไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองอยู่ในภาวะที่ถูก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. บีบบังคับให้ต้องสั่งจ่ายเช็คที่มีดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วย การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้ว่าโจทก์จะไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ตาม
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. แม้หนี้เดิมจะเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้ามิใช่หนี้กู้ยืมก็ตาม แต่ก็เป็นหนี้เงินที่ต้องชำระต่อกันจึงต้องอยู่ภายใต้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7และมาตรา 224 ซึ่งคิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปีและห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอีกด้วย การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงิน 2 ล้านบาทมาเป็นจำนวน 6 ล้านบาทเศษ ในเวลาประมาณ 2 ปี นับว่าเป็นจำนวนดอกเบี้ยสูงมากคิดแล้วเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละร้อยต่อปีทั้งการเปลี่ยนเช็คแต่ละฉบับโดยนำดอกเบี้ยมารวมเป็นต้นเงินตามเช็คฉบับใหม่มีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยอันต้องห้ามตามกฎหมาย ประกอบกับตลอดเวลาที่ค้าขายติดต่อกัน จำเลยทั้งสองได้ออกเช็คให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เพื่อชำระหนี้มีจำนวนประมาณ 30 ฉบับ และทุกฉบับขึ้นเงินไม่ได้ทั้งโจทก์ผู้รับโอนเช็คพิพาทจาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ยังรับว่าเช็คที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปเปลี่ยนจากจำเลยทุกครั้งเป็นเช็คที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. นำไปแลกเงินสดจากโจทก์ และเมื่อถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จะส่งเช็คฉบับนั้นนำไปขอเปลี่ยนเช็คฉบับใหม่จากจำเลยทุกคราวไป แสดงให้เห็นว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. และโจทก์ต่างรู้ถึงฐานะทางการเงินของจำเลยทั้งสองเป็นอย่างดีว่ามีความขัดสนรุนแรงเพียงใดดังนั้น การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท4 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวนเงินสูงลงวันที่ล่วงหน้าเป็นวันเดียวกันโดยให้เวลาเพียง 2 เดือนเศษ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ย่อมทราบดีว่าขณะที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คนั้น จำเลยไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองอยู่ในภาวะที่ถูก ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. บีบบังคับให้ต้องสั่งจ่ายเช็คที่มีดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วย การสั่งจ่ายเช็คของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้ว่าโจทก์จะไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่ติดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาได้ หากมีหลักฐานหนี้จริง
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 กำหนดให้ตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือส่วนของตราสารเป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้น ใช้เฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น ส่วนในคดีอาญาไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้นำตราสารดังกล่าวมารับฟังเป็นพยานหลักฐานด้วย ดังนั้น เมื่อคดีอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4 ได้ความว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่โจทก์โดยมีสัญญากู้ยืมเงินมาแสดง ก็ถือได้ว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8731/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คมีมูลหนี้ผิดกฎหมาย (ดอกเบี้ยเกินอัตรา) ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค แม้โอนให้ผู้อื่น
อุทธรณ์ของโจทก์ว่า การที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่ ฝ. แทนเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4หรือไม่ โดยมิได้อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นประการอื่น อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย
การที่จำเลยกู้ยืมเงิน ฝ. ฝ. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน จำเลยออกเช็คฉบับแรกจำนวน 4,000,000 บาทให้แก่ ฝ. โดยรวมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนไว้แล้ว ต่อมาธนาคารตามเช็คนั้นปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงออกเช็คให้แก่ ฝ. จำนวน2 ฉบับ ฉบับละ 2,000,000 บาท ซึ่งรวมทั้งเช็คพิพาท แสดงให้เห็นว่าเช็คพิพาทซึ่งออกเพื่อชำระหนี้ตามเช็คฉบับแรกมีมูลหนี้อันเกิดจากการคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้รวมอยู่ ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้ ฝ. จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ไม่ทราบว่ามีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การออกเช็คพิพาทของจำเลยซึ่งไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายกลับมาเป็นความผิดขึ้นมาอีก
การที่จำเลยกู้ยืมเงิน ฝ. ฝ. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน จำเลยออกเช็คฉบับแรกจำนวน 4,000,000 บาทให้แก่ ฝ. โดยรวมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนไว้แล้ว ต่อมาธนาคารตามเช็คนั้นปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงออกเช็คให้แก่ ฝ. จำนวน2 ฉบับ ฉบับละ 2,000,000 บาท ซึ่งรวมทั้งเช็คพิพาท แสดงให้เห็นว่าเช็คพิพาทซึ่งออกเพื่อชำระหนี้ตามเช็คฉบับแรกมีมูลหนี้อันเกิดจากการคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้รวมอยู่ ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้ ฝ. จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ไม่ทราบว่ามีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การออกเช็คพิพาทของจำเลยซึ่งไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายกลับมาเป็นความผิดขึ้นมาอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8088-8089/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสิทธิเรียกร้องคดีอาญาจากการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งเกี่ยวกับเช็ค
มูลหนี้ตามเช็คทั้งสองสำนวนนี้เป็นมูลหนี้รายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งและศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ไปแล้ว ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามเช็คทั้งสองสำนวนนี้เป็นอันระงับไป โจทก์คงมีแต่สิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2จะมิได้ถูกฟ้องและยอมความในคดีแพ่งด้วยก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เพราะมูลหนี้ดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเพียงฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7916-7918/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันหนี้: สิทธิในการเรียกเก็บเงินขึ้นอยู่กับผลการตรวจสอบปริมาณงานก่อสร้าง
จำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 6 ฉบับ ตามบันทึกต่อท้ายบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้าง ซึ่งเงื่อนไขกำหนดไว้ชัดเจนว่าต้องทราบผลการตรวจสอบและประเมินปริมาณผลงานก่อสร้างอาคารของวิศวกรคนกลางก่อน หากจำเลยเป็นหนี้โจทก์มากกว่า 1,000,000 บาท ให้โจทก์นำเช็คทั้ง 6 ฉบับไปเรียกเก็บเงินได้ทันที ถ้าปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่ถึง 1,000,000 บาท ให้โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินได้เฉพาะเท่าที่จำเลยเป็นหนี้แล้วคืนเช็คที่เหลือ แต่ถ้าปรากฏว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยแล้ว โจทก์จะต้องส่งมอบเช็คทั้ง 6 ฉบับคืนจำเลย แสดงให้เห็นว่าการให้ทราบผลการตรวจสอบของวิศวกรคนกลางก่อนเป็นสาระสำคัญของเงื่อนไขดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้ทราบก่อนว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์แน่นอน โจทก์จึงจะมีสิทธินำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินได้ เท่ากับในขณะที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คทั้ง 6 ฉบับมอบแก่โจทก์ ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจำเลยจะเป็นหนี้โจทก์หรือไม่ เช็คดังกล่าวจึงเป็นเพียงการประกันหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หลังจากทราบผลการตรวจสอบและประเมินปริมาณผลงานก่อสร้างของวิศวกรคนกลางแล้ว จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7501/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดเช็ค: การนับระยะเวลาเริ่มเมื่อใด และผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
ผู้เสียหายได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินในวันที่เช็คถึงกำหนดการใช้เงิน แต่มิได้รับเงินตามเช็คเนื่องจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้จะเป็นการปฏิเสธด้วยวาจา กรณีก็ต้องถือว่าธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คแล้ว เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ดี พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ก็ดี หาได้บัญญัติว่าการปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คนั้นต้องทำเป็นหนังสือไม่
ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยผัดผ่อนชำระเงินไปจนถึงวันที่ 10 ตุลาคม2540 ยิ่งเป็นข้อชี้แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดเกิดขึ้นและรู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดการใช้เงิน แต่ปรากฏว่าผู้เสียหายเพิ่งไปร้องทุกข์ในวันที่ 5 มกราคม 2541 จึงเกินกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวว่าจำเลยกระทำความผิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยผัดผ่อนชำระเงินไปจนถึงวันที่ 10 ตุลาคม2540 ยิ่งเป็นข้อชี้แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดเกิดขึ้นและรู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดการใช้เงิน แต่ปรากฏว่าผู้เสียหายเพิ่งไปร้องทุกข์ในวันที่ 5 มกราคม 2541 จึงเกินกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวว่าจำเลยกระทำความผิด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานออกเช็ค – จำเป็นต้องระบุหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ในคำฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา 4 การออกเช็คจะเป็นความผิดต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย หนี้ตามเช็คจะมีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด หาได้เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาไม่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยออกเช็คมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายจึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7276/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามเช็ค: การลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการบริษัท ไม่ใช่การรับผิดส่วนตัว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ผู้เสียหายเป็นการส่วนตัว มิใช่เป็นการทำแทนนิติบุคคล แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบโจทก์กลับปรากฏว่าเช็คดังกล่าวเป็นเช็คส่วนหนึ่งที่บริษัท ว. เป็นผู้ออกเพื่อชำระค่าเช่ารถเบ็นซ์จากผู้เสียหาย จำเลยลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทในฐานะกรรมการของบริษัท ว. เท่านั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัว ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ก็มิได้บรรยายให้จำเลยร่วมรับผิดกับบริษัท ว. ฐานตัวการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225