พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คแลกเงินสด: การออกเช็คโดยไม่มีหนี้เดิม ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากโจทก์ขณะแลกทรัพย์สินในระหว่างกันนั้น ผู้แลกต่างไม่ได้มีหนี้ต่อกันมาก่อน การออกเช็คในกรณีนี้จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงให้แก่โจทก์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็ค จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้ค่าสินค้าล่าช้า ดอกเบี้ยตามตกลงไม่ขัดกฎหมาย การคำนวณโทษจำคุก
จำเลยทั้งสองออกเช็คชำระหนี้ค่าสินค้าแก่โจทก์ เช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้จำเลยทั้งสองจึงออกเช็คพิพาทให้โจทก์ใหม่แทนฉบับเดิมโดยสั่งจ่ายเพิ่มขึ้นจากหนี้เดิมในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ถือว่ามูลหนี้ตามเช็คไม่ใช่หนี้กู้ยืมเงิน จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนดชำระหนี้เดิม โจทก์จึงมีสิทธิคิดค่าเสียหายจากการชำระหนี้ล่าช้าได้ และจำเลยทั้งสองยินยอมโดยออกเช็คพิพาทฉบับใหม่แก่โจทก์มูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงสมบูรณ์ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ในกรณีที่กำหนดโทษจำคุกเป็นเดือน เมื่อรวมถึง 12 เดือน ให้คิดเป็นจำนวนวัน 360 วัน มิใช่ถือเป็น 1 ปี เพราะจำนวนวันจำคุกจะคิดได้ถึง 365 หรือ 366 วัน ย่อมเป็นผลร้ายแก่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือเกิน 50 บาท ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
การออกเช็คชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปมีจำนวนเกินกว่า 50 บาท โดยมิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมกันไว้ เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ฟ้องร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 653จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เพราะการออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด แต่ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา กฎหมายฉบับที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยได้ถูกยกเลิกไปแล้ว โดย พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 ออกมาใช้บังคับแทน ดังนั้น เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลัง การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: หนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่อาจฟ้องร้องบังคับได้ ทำให้จำเลยพ้นจากความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด แต่ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา กฎหมายฉบับที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยได้ถูกยกเลิกไปแล้ว มีกฎหมายฉบับใหม่คือ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ออกมาใช้บังคับแทนปรากฏว่ากฎหมายฉบับใหม่ที่ออกภายหลัง การออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยมีจำนวนเกินกว่าห้าสิบบาทและไม่มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมกันไว้เป็นหนังสือ จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ฟ้องร้องขอให้บังคับคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลัง การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 2วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คแลกเงินสดไม่เป็นความผิดฐานออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
การออกเช็คแลกเงินสดไม่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 4แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็คแลกเงินสด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อไป ตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คแลกเงินสดไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คฉบับใหม่ หากไม่ใช่การชำระหนี้เดิม
จำเลยออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดไปจากโจทก์ การออกเช็คแลกเงินสดดังกล่าวย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 แต่การกระทำดังกล่าวมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายอันจะเป็นความผิดได้ตามนัยแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็คแลกเงินสด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดต่อไป จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คแลกเงินสดไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีหนี้เดิมเกิดขึ้นก่อน
จำเลยออกเช็คพิพาทแลกเงินสดจาก ว.ต่อมาว. นำเช็คดังกล่าวไปแลกเงินสดจากโจทก์ร่วม การออกเช็คแลกเงินสดของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่จำเลยออกเช็คจำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาและการระงับคดีอาญาเช็ค การชำระหนี้ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดทำให้คดีเลิกกัน
เช็คที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องจำเลยเป็นเช็คฉบับเดียวกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกเงินตามเช็ค ต่อมาจำเลยได้ชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์โดยนำเงินไปวางศาลในคดีแพ่งดังกล่าว เมื่อเช็คพิพาทในคดีแพ่งเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินแก่โจทก์ การที่จำเลยนำเงินไปวางต่อศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลดังกล่าว จึงมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและเพื่อให้หนี้ระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นความผูกพันมีผลทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญานี้ คดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความล่าช้าในคดีเช็ค: ผลกระทบต่ออายุความและความเป็นคำร้องทุกข์
ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีตอนแรกระบุว่า โจทก์มาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ให้ได้รับโทษตามกฎหมาย แต่ในตอนท้ายระบุว่าร้อยเวรสอบสวนได้รับแจ้งไว้แล้ว สอบถาม ผู้แจ้งยืนยันว่ายังไม่มอบคดีแก่พนักงานสอบสวน เพียงแต่ต้องการนำเช็คไปฟ้องร้องต่อศาลทางหนึ่งก่อน ดังนี้ คำของโจทก์ที่แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า ยังไม่มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าโจทก์กล่าวหาโดยมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7)
คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์หากไม่ได้มีเจตนาให้ดำเนินคดี และคดีเช็คขาดอายุความหากไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน
ข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีตอนแรกระบุว่า โจทก์มาร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ให้ได้รับโทษตามกฎหมายแต่ในตอนท้ายระบุว่าร้อยเวรสอบสวนได้รับแจ้งไว้แล้ว สอบถามผู้แจ้งยืนยันว่ายังไม่มอบคดีแก่พนักงานสอบสวน เพียงแต่ต้องการนำเช็คไปฟ้องร้องต่อศาลทางหนึ่งก่อน ดังนี้ คำของโจทก์ที่แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า ยังไม่มอบคดีต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าโจทก์กล่าวหาโดยมิได้มีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) คดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดคดีของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96