คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2477 ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทบัญญัติกฎหมายจราจรในอดีตและการพิพากษาคดีตามกฎหมายที่ใช้ ณ ขณะกระทำผิด
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 ซึ่งใช้ในขณะโจทก์หาว่าจำเลยกระทำผิดบัญญัติว่า 'เมื่อรถเดินสวนกันให้หลีกด้านซ้าย และเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวา' การที่จำเลยขับรถล้ำกึ่งกลางถนนออกไปประมาณ 10 เซ็นติเมตรขณะที่รถอีกคันหนึ่งแล่นสวนมา ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 579/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทบัญญัติกฎหมายจราจรทางบก พ.ศ. 2477 และหลักการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะกระทำผิด
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 ซึ่งใช้ในขณะโจทก์หาว่าจำเลยกระทำผิดบัญญัติว่า "เมื่อรถเดินสวนกันให้หลีกด้านซ้าย และเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวา" การที่จำเลยขับรถล้ำกึ่งกลางถนนออกไปประมาณ 10 เซ็นติเมตรขณะที่รถอีกคันหนึ่งแล่นสวนมา ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎหมายจราจรและการยกฟ้องข้อหาแซงซ้ายเมื่อมีเหตุยกเว้นตามกฎหมายใหม่
ขณะจำเลยกระทำความผิดพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 บัญญัติให้รถที่เดินสวนกันหลีกด้านซ้ายและเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวาผู้ใดฝ่าฝืนย่อมมีความผิดนั้น ต่อมาพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 4 บัญญัติให้ยกเลิกมาตรา 10 นั้นเสียและได้ยอมให้ขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายได้ เมื่อไม่มีอะไรกีดขวางและไม่กีดขวางรถอื่นทั้งผู้ขับขี่สามารถกระทำได้โดยปลอดภัยเมื่อจำเลยขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายและต้องด้วยข้อยกเว้นของกฎหมายดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขกฎหมายจราจรและการขับรถแซงซ้าย การพ้นจากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ขณะจำเลยกระทำความผิด พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 10 บัญญัติให้รถที่เดินสวนกันหลีกด้านซ้าย และเมื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นให้ขึ้นด้านขวา ผู้ใดฝ่าฝืนย่อมมีความผิดนั้น ต่อมาพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 4 บัญญัติให้ยกเลิกมาตรา 10 นั้นเสีย และได้ยอมให้ขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้ายได้ เมื่อไม่มีอะไรกีดขวางและไม่กีดขวางรถอื่น ทั้งผู้ขับขี่สามารถกระทำได้โดยปลอดภัย เมื่อจำเลยขับรถขึ้นหน้ารถอื่นทางด้านซ้าย และต้องด้วยข้อยกเว้นของกฎหมายดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1169-1170/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการชนรถยนต์ หลักการสันนิษฐานผู้ผิด และขอบเขตความรับผิดของนายจ้าง
การที่รถยนต์จำเลยแล่นเข้าไปชนรถยนต์โจทก์ทางด้านขวาของถนน เบื้องต้นศาลสันนิษฐานตามกฎหมายว่ารถยนต์จำเลยเป็นผู้ผิด จำเลยมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างว่าจำเลยมิใช่เป็นผู้ผิด เมื่อนายจ้างจะต้องรับผิดร่วมกับจำเลย นายจ้างจึงต้องมีหน้าที่นำสืบหักล้าง ถ้านำสืบหักล้างไม่ได้ ก็ไม่จำต้องอาศัยคำพยานโจทก์มาวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดอีก การที่จำเลยแล่นรถทางขวาของถนนเพื่อจะหลีกขึ้นหน้าโดยคาดหรือเดาเอาว่ารถโจทก์จะเลี้ยวทางซ้ายนั้น เป็นการเสี่ยงภัยของตนเองมิใช่หลบหลีกให้พ้นอันตราย จึงไม่อาจลบล้างข้อสันนิษฐานที่ว่ารถจำเลยเป็นผู้ผิดได้ การที่จำเลยเสี่ยงภัยเช่นนี้ และเหตุที่รถชนกันก็เพราะรถจำเลยแล่นผิดทาง จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิด
จำเลยที่ 1 เป็นหัวหน้าหมวดขนส่ง มีหน้าที่ควบคุมการจ่ายรถ ซ่อมรถของโรงงานซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้าง การที่จำเลยที่ 1 เอารถไปลองเครื่องจึงเป็นการกระทำในกิจการงานของโรงงาน เป็นทางการที่จ้าง
การทำงานในวันหยุดหรือทำงานนอกเวลาทำงานตามปกติ หากงานที่ทำเป็นกิจการของนายจ้าง ก็คงเป็นการงานในทางการที่จ้างนั่นเอง หาได้กลายเป็นงานส่วนตัวของผู้ทำไม่
การที่นายจ้างจ้างลูกจ้างทำงานให้ตน หากลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งหรือระเบียบ แต่ยังปฏิบัติงานของนายจ้างอยู่ นายจ้างจะอ้างคำสั่งหรือระเบียบภายในมาต่อสู้บุคคลภายนอกหาได้ไม่ นายจ้างจึงต้องร่วมรับผิด
การก่อเจดีย์บรรจุอัฐิผู้ตายไม่ใช่ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่จะให้ผู้รับผิดชอบชดใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 443
ตามกฎหมาย บิดาต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ เมื่อบุตรมีสิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะเรียกได้จนกว่าจะบรรลุนิติภาวะหากเป็นที่เห็นได้ว่าบิดาจะมีชีวิตอยู่อุปการะได้ถึงเวลานั้น
ค่าสินไหมทดแทนเป็นหนี้ที่ต้องชดใช้เป็นเงินจึงเป็นหนี้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ลูกหนี้จึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวมทั้งดอกเบี้ยด้วย เว้นแต่ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลูกหนี้จะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ต้องรับผิดชดใช้เป็นต้นไป ส่วนค่าสินไหมในการที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะนั้น เมื่อศาลกำหนดให้จำเลยใช้เป็นเงินจำนวนหนึ่ง จำเป็นหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระตามคำพิพากษา และต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันศาลพิพากษาเป็นต้นไป ถ้าจำนวนเงินตรงกันตั้งแต่ศาลชั้นใด ก็คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันศาลล่างพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของผู้ขับขี่ที่ขับรถผิดทาง ชนผู้อื่น แม้ผู้ถูกชนไม่มีใบอนุญาต
เพียงแต่ปรากฏว่า ผู้เสียหายไม่มีใบอนุญาตให้ขับขี่เท่านั้น ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ฟังว่า ประมาทเลินเล่อได้ ในเมื่อทางพิจารณาปรากฏว่า จำเลยขับรถผิดทางเข้าไปชนรถผู้เสียหายเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมาทเลินเล่อในการขับรถ: จำเลยขับผิดทาง ผู้เสียหายไม่มีใบอนุญาตไม่ถือเป็นเหตุประมาท
เพียงแต่ปรากฏว่า ผู้เสียหายไม่มีใบอนุญาตให้ขับขี่เท่านั้นยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ฟังว่าประมาทเลินเล่อได้ในเมื่อทางพิจารณาปรากฏว่า จำเลยขับรถผิดทางเข้าไปชนรถผู้เสียหายเอง