พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทด้วยคำพูดเปรียบเทียบ และการไม่มีอำนาจฟ้องคดีละเมิดอำนาจศาล
การที่จำเลยพูดว่า "ตุ๊ อย่าเอาไม้ไปแหย่ขี้เลย" ในขณะที่โจทก์กำลังโต้เถียงกับนายตุ๊สามีจำเลย เมื่อคณะผู้พิพากษาพร้อมด้วยโจทก์จำเลยในคดีแพ่งไปตรวจดูสถานที่พิพาทนั้นแม้คำว่า ขี้จะหมายถึงตัวโจทก์ แต่ก็เป็นถ้อยคำเปรียบเทียบที่ไม่สุภาพเท่านั้นยังไม่พอถือได้ว่าเป็นการใส่ความตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา326 จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์
ส่วนเรื่องละเมิดอำนาจศาลนั้น เมื่อมีผู้กระทำผิดก็เป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะที่จะสั่งลงโทษผู้นั้นได้เองผู้อื่นหามีสิทธิที่จะเสนอคดีให้ศาลพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิดในคดีเช่นนี้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานนี้
ส่วนเรื่องละเมิดอำนาจศาลนั้น เมื่อมีผู้กระทำผิดก็เป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะที่จะสั่งลงโทษผู้นั้นได้เองผู้อื่นหามีสิทธิที่จะเสนอคดีให้ศาลพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิดในคดีเช่นนี้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใส่ความหมิ่นประมาทต้องมีเจตนาทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถ้อยคำเปรียบเทียบไม่สุภาพไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท
การที่จำเลยพูดว่า "ตุ๊อย่าเอาไม้ไปแหย่ขี้เลย" ในขณะที่โจทก์กำลังโต้เถียงกับนายตุ๊สามีจำเลย เมื่อคณะผู้พิพากษาพร้อมด้วยโจทก์จำเลยในคดีแพ่งไปตรวจดูสถานที่พิพาทนั้นแม้คำว่า ขี้ จะหมายถึงตัวโจทก์ แต่ก็เป็นถ้อยคำเปรียบเทียบที่ไม่สุภาพเท่านั้น ยังไม่พอถือได้ว่าเป็นการใส่ความตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา326 จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์
ส่วนเรื่องละเมิดอำนาจศาลนั้น เมื่อมีผู้กระทำผิด ก็เป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะที่จะสั่งลงโทษผู้นั้นได้เองผู้อื่นหามีสิทธิที่จะเสนอคดีให้ศาลพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิดในคดีเช่นนี้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานนี้
ส่วนเรื่องละเมิดอำนาจศาลนั้น เมื่อมีผู้กระทำผิด ก็เป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะที่จะสั่งลงโทษผู้นั้นได้เองผู้อื่นหามีสิทธิที่จะเสนอคดีให้ศาลพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิดในคดีเช่นนี้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานโดยอ้างคำเบิกความในคดีก่อนเป็นคำรับของโจทก์ ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่ชอบ
ข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์กับจำเลยใครเป็นผู้มีสิทธิ(ในที่พิพาท)ดีกว่ากัน นั้น คู่ความทั้งสองฝ่ายยังโต้เถียงกันอยู่ ถือว่าเป็นประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องพิจารณาสืบพยานกันต่อไป แม้ได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเป็นคุณแก่จำเลยแล้วจะถือเอาคำเบิกความของโจทก์ (คดีนี้)ที่เบิกความไว้ในคดีนั้น เป็นคำรับของโจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่ จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำสืบให้ศาลเห็นว่าความจริงโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานทั้งสองฝ่ายแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยถือเอาคำเบิกความของโจทก์ในคดีอื่นมาเป็นคำแถลงรับของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานในคดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบ ไม่ถือคำเบิกความในคดีก่อนเป็นคำรับ
ข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์กับจำเลยใครเป็นผู้มีสิทธิ(ในที่พิพาท)ดีกว่ากัน นั้น คู่ความทั้งสองฝ่ายยังโต้เถียงกันอยู่ ถือว่าเป็นประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องพิจารณาสืบพยานกันต่อไปแม้ได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเป็นคุณแก่จำเลยแล้วจะถือเอาคำเบิกความของโจทก์ (คดีนี้)ที่เบิกความไว้ในคดีนั้น เป็นคำรับของโจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำสืบให้ศาลเห็นว่าความจริงโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานทั้งสองฝ่ายแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยถือเอาคำเบิกความของโจทก์ในคดีอื่นมาเป็นคำแถลงรับของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการประนีประนอมยอมความ: โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์จนกว่าจะมีการรังวัดและครอบครอง
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมแบ่งที่ดินให้โจทก์ 4 ไร่ เมื่อแบ่งแยกจำเลยจะลงชื่อโจทก์ในโฉนดโดยจะวัดจากทิศเหนือลงมาทางทิศใต้ ให้ได้จำนวนเนื้อที่ 4ไร่ศาลได้พิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว หากจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินให้โจทก์ก็มีแต่เพียงสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยให้แบ่งให้โจทก์เท่านั้นแม้จะรู้ว่าส่วนที่จะแบ่งให้โจทก์นั้นอยู่ทางทิศไหนเมื่อยังไม่ได้มีการรังวัดแบ่งแยกให้เป็นส่วนสัด ที่ดินส่วนนั้นก็ยังไม่ตกเป็นของโจทก์ ทั้งโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่ดินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การที่ดินยังไม่แบ่งแยก โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องรุกป่าน
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมแบ่งที่ดินให้โจทก์ 4 ไร่ เมื่อแบ่งแยกจำเลยจะลงชื่อโจทก์ในโฉนด โดยจะวัดจากทิศเหนือลงมาทางทิศใต้ ให้ได้จำนวนเนื้อที่ 4ไร่ ศาลได้พิพากษาให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว หากจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินให้ โจทก์ก็มีแต่เพียงสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยให้แบ่งให้โจทก์เท่านั้น แม้จะรู้ว่าส่วนที่จะแบ่งให้โจทก์นั้นอยู่ทางทิศไหน เมื่อยังไม่ได้มีการรังวัดแบ่งแยกให้เป็นส่วนสัด ที่ดินส่วนนั้นก็ยังไม่ตกเป็นของโจทก์ ทั้งโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดิน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่ดินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินหวงห้ามเพื่อสหกรณ์เป็นที่สาธารณสมบัติ โจทก์ไม่มีสิทธิเช่าหรือฟ้องขับไล่
ที่พิพาทเป็นที่ดินซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามไว้เพื่อการสหกรณ์ จึงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) ซึ่งต้องห้ามมิให้โอนแก่กัน เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305โจทก์ซึ่งรับโอนที่พิพาทมาจึงไม่มีสิทธิเหนือที่พิพาท และไม่มีสิทธิจะนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไปให้ผู้ใดเช่าเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธินำที่พิพาทไปให้จำเลยเช่า โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาท และเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหายจากจำเลย(อ้างฎีกาที่ 622/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินหวงห้ามเพื่อสหกรณ์เป็นที่สาธารณสมบัติ โจทก์ไม่มีสิทธิให้เช่าหรือฟ้องไล่
ที่พิพาทเป็นที่ดินซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามไว้เพื่อการสหกรณ์ จึงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) ซึ่งต้องห้ามมิให้โอนแก่กัน เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305โจทก์ซึ่งรับโอนที่พิพาทมาจึงไม่มีสิทธิเหนือที่พิพาท และไม่มีสิทธิจะนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไปให้ผู้ใดเช่า เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธินำที่พิพาทไปให้จำเลยเช่า โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาท และเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหายจากจำเลย (อ้างฎีกาที่ 622/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกสาธารณสมบัติแผ่นดินของปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าฯ และผลใช้บังคับของประกาศหวงห้ามที่ดิน
จังหวัดโดยปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสาธารณะสมบัติของแผ่นดินโดยอ้างว่ามีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) แต่ขณะฟ้อง มาตรา 37 นั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 3)พ.ศ.2499 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2499 เปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินของผู้ว่าราชการจังหวัดหลายประการแต่ไม่มีประเด็นว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ทั้งคู่ความก็มิได้ยกขึ้นเป็นข้อฎีกา แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร ก็ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ออกไปได้ โดยกฎหมายหาจำต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่อำนาจเช่นว่านี้เป็นอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ย่อมตกเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดจังหวัดผู้รักษาราชการแทน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 36แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 11
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ตามธรรมดารัฐย่อมจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้วิธีการที่จะหวงห้ามย่อมแตกต่างกันตามกาลสมัยเพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า พ.ศ. 2478ซึ่งให้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนหน้านั้นหาได้มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไรไม่ดังนั้น ในปี พ.ศ.2473 สมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการมณฑลในขณะนั้นอันเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกเป็นประกาศสงวนหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่า มิให้ผู้ใดเข้าโก่นสร้างเหยียบย่ำจับจองหรือถือกรรมสิทธิ์โดยพลการได้ ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินหวงห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลและประกาศกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาก่อให้เกิดสิทธิแต่อย่างใดไม่
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ออกไปได้ โดยกฎหมายหาจำต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่อำนาจเช่นว่านี้เป็นอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ย่อมตกเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดจังหวัดผู้รักษาราชการแทน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 36แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 11
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ตามธรรมดารัฐย่อมจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้วิธีการที่จะหวงห้ามย่อมแตกต่างกันตามกาลสมัยเพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า พ.ศ. 2478ซึ่งให้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนหน้านั้นหาได้มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไรไม่ดังนั้น ในปี พ.ศ.2473 สมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการมณฑลในขณะนั้นอันเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกเป็นประกาศสงวนหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่า มิให้ผู้ใดเข้าโก่นสร้างเหยียบย่ำจับจองหรือถือกรรมสิทธิ์โดยพลการได้ ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินหวงห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลและประกาศกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาก่อให้เกิดสิทธิแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินของปลัดจังหวัดรักษาราชการแทน และผลของประกาศหวงห้ามที่ดินก่อนมีกฎหมาย
จังหวัดโดยปลัดจังหวัดรักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน โดยอ้างว่ามีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 37(7) แต่ขณะฟ้อง มาตรา 37 นั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2499 เปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินของผู้ว่าราชการจังหวัดหลายประการ แต่ไม่มีประเด็นว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ทั้งคู่ความก็มิได้ยกขึ้นเป็นข้อฎีกา แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร ก็ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 37(7) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ออกไปได้ โดยกฎหมายหาจำต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่อำนาจเช่นว่านี้เป็นอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ย่อมตกเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดจังหวัดผู้รักษาราชการแทน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 11
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ตามธรรมดารัฐย่อมจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้ วิธีการที่จะหวงห้ามย่อมแตกต่างกันตามกาลสมัยเพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า พ.ศ. 2478ซึ่งให้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนหน้านั้นหาได้มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไรไม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2473 สมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการมณฑลในขณะนั้น อันเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกเป็นประกาศสงวนหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่า มิให้ผู้ใดเข้าโก่นสร้างเหยียบย่ำจับจองหรือถือกรรมสิทธิ์โดยพลการได้ ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินหวงห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลและประกาศกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาก่อให้เกิดสิทธิแต่อย่างใดไม่
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 37(7) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่คุ้มครองดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องผู้บุกรุกหรือไม่มีสิทธิอยู่ในสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ออกไปได้ โดยกฎหมายหาจำต้องบัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงไม่อำนาจเช่นว่านี้เป็นอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ย่อมตกเป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดจังหวัดผู้รักษาราชการแทน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2499 มาตรา 11
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ตามธรรมดารัฐย่อมจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้ วิธีการที่จะหวงห้ามย่อมแตกต่างกันตามกาลสมัยเพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ.2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า พ.ศ. 2478ซึ่งให้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนหน้านั้นหาได้มีกฎหมายบังคับไว้อย่างไรไม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2473 สมุหเทศาภิบาลผู้ว่าราชการมณฑลในขณะนั้น อันเป็นผู้แทนส่วนหนึ่งของรัฐย่อมออกเป็นประกาศสงวนหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่า มิให้ผู้ใดเข้าโก่นสร้างเหยียบย่ำจับจองหรือถือกรรมสิทธิ์โดยพลการได้ ประกาศนั้นมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินหวงห้ามตามประกาศของสมุหเทศาภิบาลและประกาศกระทรวงมหาดไทย การที่จำเลยเข้าครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาก่อให้เกิดสิทธิแต่อย่างใดไม่