พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ขึ้นอยู่กับความเป็นเจ้าของที่ดิน หากจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินเป็นทางสาธารณะ ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นทางสาธารณะ ถ้าฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลย โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง ชั้นชี้สองสถาน จำเลยรับว่าได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์จริง เพียงเท่านี้ยังไม่พอฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ไม่ใช่ทางสาธารณะ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานแล้วพิพากษาขับไล่จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้ปกครอง: บุคคลที่ไม่ใช่ญาติของบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิขอเป็นผู้ปกครอง
น้องผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ใช่ญาติของบุตรบุญธรรม ดังนั้น น้องผู้รับบุตรบุญธรรม จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2516)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีที่ศาลชั้นต้นขาดการวินิจฉัยประเด็นสำคัญ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้สมาคมจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ ตามจำนวนสมาชิกกลุ่มที่ 2 ของสมาคมจำเลยที่มีอยู่ขณะผู้ตายถึงแก่กรรม โดยไม่วินิจฉัยให้เด็ดขาดลงไปว่าขณะผู้ตายถึงแก่กรรมมีจำนวนสมาชิกกลุ่มที่ 2 เหลืออยู่เท่าใด ทั้งๆ ที่สมาคมจำเลยให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้แล้ว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา141(5) แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสมาคมจำเลยต้องจ่ายเงินให้โจทก์เต็มตามฟ้อง ศาลฎีกาย่อมแก้ให้ถูกต้องได้ เพราะศาลชั้นต้นได้พิพากษาไว้ด้วยว่าให้สมาคมจำเลยจ่ายเงินให้แก่โจทก์ไม่เกินคำขอท้ายฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2515)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาที่ไม่ชัดเจนในจำนวนสมาชิก ทำให้ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามจำนวนที่สัญญาระบุ
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้สมาคมจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ ตามจำนวนสมาชิกกลุ่มที่ 2 ของสมาคมจำเลยที่มีอยู่ขณะผู้ตายถึงแก่กรรม โดยไม่วินิจฉัยให้เด็ดขาดลงไปว่าขณะผู้ตายถึงแก่กรรมมีจำนวนสมาชิกกลุ่มที่ 2 เหลืออยู่เท่าใด ทั้งๆ ที่สมาคมจำเลยให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้แล้ว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา141 (5) แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสมาคมจำเลยต้องจ่ายเงินให้โจทก์เต็มตามฟ้อง ศาลฎีกาย่อมแก้ให้ถูกต้องได้เพราะศาลชั้นต้นได้พิพากษาไว้ด้วยว่าให้สมาคมจำเลยจ่ายเงินให้แก่โจทก์ไม่เกินคำขอท้ายฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2515)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดทุนทรัพย์ฟ้องคดีครอบครองที่ดินแยกสำนวน – ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์กล่าวในฟ้องชัดเจนว่า จำเลยแต่ละคนเข้ามาอาศัยที่ดินโจทก์ทำกินเป็นส่วนสัดตามแผนที่ท้ายฟ้องโจทก์โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย และโจทก์ก็ยังตีราคาที่ดินแต่ละส่วนที่จำเลยอาศัยมาด้วย จำเลยทั้งหมดจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี โจทก์ชอบที่จะยื่นฟ้องจำเลยมาคนละสำนวนการที่โจทก์รวมฟ้องมาในสำนวนเดียวกัน และศาลชั้นต้นยอมรับฟ้องโจทก์ไว้ ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์มีมากกว่าที่ยื่นฟ้องแยกกันมาเป็นแต่ละสำนวน
โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมกันมา แต่คดีโจทก์สำหรับจำเลยแต่ละคนมีทุนทรัพย์เพียงสำหรับจำเลยที่ 1 จำนวน 1,000 บาท จำเลยที่ 2จำนวน 2,500 บาท จำเลยที่ 3 จำนวน 1,000 บาท และจำเลยที่ 4จำนวน 1,500 บาทเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยไม่ได้อาศัยโจทก์ คดีของโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมกันมา แต่คดีโจทก์สำหรับจำเลยแต่ละคนมีทุนทรัพย์เพียงสำหรับจำเลยที่ 1 จำนวน 1,000 บาท จำเลยที่ 2จำนวน 2,500 บาท จำเลยที่ 3 จำนวน 1,000 บาท และจำเลยที่ 4จำนวน 1,500 บาทเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยไม่ได้อาศัยโจทก์ คดีของโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมฟ้องจำเลยหลายคนในคดีเดียวกัน และข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อทุนทรัพย์แต่ละจำเลยไม่ถึงเกณฑ์
โจทก์กล่าวในฟ้องชัดเจนว่า จำเลยแต่ละคนเข้ามาอาศัยที่ดินโจทก์ทำกินเป็นส่วนสัดตามแผนที่ท้ายฟ้องโจทก์ โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย และโจทก์ก็ยังตีราคาที่ดินแต่ละส่วนที่จำเลยอาศัยมาด้วย จำเลยทั้งหมดจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี โจทก์ชอบที่จะยื่นฟ้องจำเลยมาคนละสำนวน การที่โจทก์รวมฟ้องมาในสำนวนเดียวกัน และศาลชั้นต้นยอมรับฟ้องโจทก์ไว้ ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์มีมากกว่าที่ยื่นฟ้องแยกกันมาเป็นแต่ละสำนวน
โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมกันมา แต่คดีโจทก์สำหรับจำเลยแต่ละคนมีทุนทรัพย์เพียงสำหรับจำเลยที่ 1 จำนวน 1,000 บาท จำเลยที่ 2 จำนวน 2,500 บาท จำเลยที่ 3 จำนวน1,000 บาท และจำเลยที่ 4 จำนวน 1,500 บาทเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยไม่ได้อาศัยโจทก์ คดีของโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมกันมา แต่คดีโจทก์สำหรับจำเลยแต่ละคนมีทุนทรัพย์เพียงสำหรับจำเลยที่ 1 จำนวน 1,000 บาท จำเลยที่ 2 จำนวน 2,500 บาท จำเลยที่ 3 จำนวน1,000 บาท และจำเลยที่ 4 จำนวน 1,500 บาทเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยไม่ได้อาศัยโจทก์ คดีของโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กับการสอบสวนคดีล้มละลาย: ดุลพินิจในการมอบอำนาจร้องทุกข์
แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 160จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนกรณีเดียวกันนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสอบสวนผู้ใด หรือจะมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้ใดเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการสอบสวน ผู้เสียหายก็ชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเอง จะบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนหรือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้นั้นผู้นี้หาได้ไม่
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสอบสวนผู้ใด หรือจะมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้ใดเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการสอบสวน ผู้เสียหายก็ชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเอง จะบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนหรือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้นั้นผู้นี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนคดีล้มละลาย และสิทธิของผู้เสียหายในการร้องทุกข์
แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 160 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย ก็ไม่เป็นการตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนกรณีเดียวกันนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสอบสวนผู้ใด หรือจะมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้ใดเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการสอบสวน ผู้เสียหายก็ชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเองจะบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนหรือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้นั้นผู้นี้หาได้ไม่
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะสอบสวนผู้ใด หรือจะมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้ใดเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ดำเนินการสอบสวน ผู้เสียหายก็ชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน หรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเองจะบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนหรือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ผู้นั้นผู้นี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยและการปฏิบัติตามคำพิพากษา: แม้มีอุปสรรค จำเลยยังต้องชำระหนี้ตามกำหนด
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ยอมชำระเงินค่าเลี้ยงดูโจทก์เป็นรายเดือนจนกว่าโจทก์จะถึงแก่ความตาย หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใด ยอมยกที่ดินให้เป็นของโจทก์ทันที และศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว แม้ควายของจำเลยจะหายและต้องออกติดตาม จำเลยก็ยังมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา การไปตามควายกลับไม่ทันมิใช่เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 ที่จำเลยว่าขายข้าวไม่ได้เพราะข้าวไม่มีราคานั้น หากขวนขวายขายในราคาต่ำ ด้วยความจำเป็นที่จะต้องหาเงินมาชำระหนี้ ก็ย่อมทำได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าเลี้ยงดูให้โจทก์ภายในกำหนด ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจะยกเหตุทั้งสองดังกล่าวแล้วเป็นข้อแก้ตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205,219 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยและการปฏิบัติหน้าที่ตามคำพิพากษา: แม้มีเหตุขัดข้องก็ต้องพยายามชำระหนี้
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ยอมชำระเงินค่าเลี้ยงดูโจทก์เป็นรายเดือนจนกว่าโจทก์จะถึงแก่ความตาย หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใด ยอมยกที่ดินให้เป็นของโจทก์ทันที และศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว แม้ควายของจำเลยจะหายและต้องออกติดตามจำเลยก็ยังมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาการไปตามควายกลับไม่ทันมิใช่เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 ที่จำเลยว่าขายข้าวไม่ได้เพราะข้าวไม่มีราคานั้น หากขวนขวายขายในราคาต่ำด้วยความจำเป็นที่จะต้องหาเงินมาชำระหนี้ ก็ย่อมทำได้ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าเลี้ยงดูให้โจทก์ภายในกำหนดย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจะยกเหตุทั้งสองดังกล่าวแล้วเป็นข้อแก้ตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 205, 219 หาได้ไม่