พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงลงทุนสลากกินแบ่ง ศาลฎีกายืนตัดสิน จำเลยร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหาย
จำเลยนำความไปบอกกล่าวแก่ประชาชนว่า จำเลยได้รับโควต้าสลากกินแบ่งฯ มาเป็นจำนวนพัน ๆ เล่ม และแสดงตนว่าเป็นคนมีฐานะการเงินดี ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงจำเลยซื้อสลากกินแบ่งฯมาจากที่อื่นโดยยอมขาดทุนแล้วนำไปขายให้แก่ผู้รับซื้อไปจำหน่ายโดยให้ส่วนลดเล่มละ 8 บาทต่องวดที่ออกสลาก แต่ผู้รับซื้อจะต้องนำเงินลงทุนมามอบให้จำเลยไว้เป็นจำนวน 2 เท่าของราคาสลากกินแบ่งฯที่รับไปจำหน่าย เมื่อผู้มาลงทุนเลิกการรับไปจำหน่าย จำเลยจะคืนเงินให้ทั้งหมด แล้วจำเลยออกหนังสือแสดงการรับเงินหรือออกเช็คที่นำไปขึ้นเงินไม่ได้ให้ไว้ จนมีผู้นำเงินมาลงทุนกับจำเลยเป็นจำนวนมากแล้วจำเลยก็หลบหนีไป ไม่มีการจ่ายส่วนลด และไม่จ่ายเงินที่นำมาลงทุนคืนให้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยปรับได้ว่าเป็นการหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความเท็จโดยเจตนาทุจริต ทำให้จำเลยได้ไปซึ่งเงินที่มีผู้นำมาลงทุน จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต้องกันมาแล้วว่า จำเลยออกเช็คโดยเซ็นชื่อให้ผิดไปจากตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคาร ออกเช็คให้มีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในธนาคาร เพื่อใช้เงินทุนเมื่อขอคืนทั้งนี้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าเป็นการออกเช็คเพื่อประกันหนี้ มิใช่ออกให้เพื่อชำระหนี้ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อทรัพย์ของกลางเป็นของจำเลยที่ 1 เป็นทรัพย์ที่ยึดอายัดไว้เป็นพยานหลักฐานในคดี ทั้งยังฟังไม่ได้ความชัดว่าเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือได้มาจากการกระทำผิด คำขอของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ของกลางนี้ให้แก่ผู้เสียหาย จึงไม่ใช่คำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ผู้เสียหายได้สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดตามมาตรา 43 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ให้อำนาจพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาขอหรือเรียกร้องแทนผู้เสียหายได้
ในระหว่างพิจารณาศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะตัวจำเลยเพราะจำเลยถึงแก่กรรม คำขอใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดทางอาญาของจำเลยย่อมเป็นอันสิ้นสภาพไปด้วย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต้องกันมาแล้วว่า จำเลยออกเช็คโดยเซ็นชื่อให้ผิดไปจากตัวอย่างที่ให้ไว้กับธนาคาร ออกเช็คให้มีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในธนาคาร เพื่อใช้เงินทุนเมื่อขอคืนทั้งนี้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าเป็นการออกเช็คเพื่อประกันหนี้ มิใช่ออกให้เพื่อชำระหนี้ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อทรัพย์ของกลางเป็นของจำเลยที่ 1 เป็นทรัพย์ที่ยึดอายัดไว้เป็นพยานหลักฐานในคดี ทั้งยังฟังไม่ได้ความชัดว่าเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือได้มาจากการกระทำผิด คำขอของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ของกลางนี้ให้แก่ผู้เสียหาย จึงไม่ใช่คำขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ผู้เสียหายได้สูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดตามมาตรา 43 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ให้อำนาจพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาขอหรือเรียกร้องแทนผู้เสียหายได้
ในระหว่างพิจารณาศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะตัวจำเลยเพราะจำเลยถึงแก่กรรม คำขอใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดทางอาญาของจำเลยย่อมเป็นอันสิ้นสภาพไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจโอนเงิน
ปัญหาที่ว่าทรัพย์ที่ยึดขายทอดตลาดในคดีแพ่งเป็นของใครโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาแต่แรก เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาล มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่ การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้นเป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของ เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110 กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจาก การบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้วการบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาล มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่ การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้นเป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของ เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110 กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจาก การบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้วการบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีแพ่งสำเร็จก่อนการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจโอนเงิน
ปัญหาที่ว่าทรัพย์ที่ยึดขายทอดตลาดในคดีแพ่งเป็นของใครโจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาแต่แรก เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้น เป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจากการบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้ว การบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 110 หมายบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จะใช้ยันแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่ได้เว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการบังคับคดีนั้นให้ถือว่าได้สำเร็จบริบูรณ์ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคสาม ว่าให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอเฉลี่ยก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ของลูกหนี้ที่ถูกยึดในคดีแพ่งได้มีการขายทอดตลาดไปพ้นระยะเวลา 14 วันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจโอนเงินในคดีแพ่งมาในคดีล้มละลาย เพราะการบังคับคดีแพ่งสำเร็จบริบูรณ์แล้ว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 111 ที่ว่า ถ้าได้รับคำแจ้งความว่าได้มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อนที่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้ และถ้าต่อไปศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมเหลือเท่าใดให้ส่งเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายนั้น เป็นกฎหมายที่วางวิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่การบังคับคดีจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด ย่อมเป็นไปตามมาตรา 110กล่าวคือ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินไว้แล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้หลังจากการบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ไปแล้ว การบังคับคดีนั้นย่อมใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ปัญหาเรื่องลูกหนี้โอนทรัพย์สินใน 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายเป็นคนละประเด็นกับปัญหาเรื่องลูกหนี้ถูกบังคับคดีซึ่งจะใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการเพิกถอนนิติกรรมหรือขอให้ศาลสั่งห้ามอ้างสิทธิจากสัญญาที่ลูกหนี้ทำเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองสมยอมกันทำสัญญากู้เงินย้อนหลังว่าจำเลยที่ 2 กู้เงินจำเลยที่ 1 แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลจนศาลพิพากษาตามยอม ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาหรือให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2ตามคำขอดังกล่าวหมายความว่า ถ้าเพิกถอนคำพิพากษาไม่ได้ก็ขออย่าให้มีหรืออ้างสิทธิตามคำพิพากษานั้น ซึ่งศาลอาจพิพากษาให้ได้ โดยไม่จำต้องเพิกถอนสัญญาและคำพิพากษาตามยอมเพราะสัญญาและคำพิพากษานั้นเป็นเรื่องระหว่างจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการเพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ และผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้รายอื่น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองสมยอมกันทำสัญญากู้เงินย้อนหลังว่าจำเลยที่ 2 กู้เงินจำเลยที่ 1 แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลจนศาลพิพากษาตามยอม ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาหรือให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2ตามคำขอดังกล่าวหมายความว่า ถ้าเพิกถอนคำพิพากษาไม่ได้ก็ขออย่าให้มีหรืออ้างสิทธิตามคำพิพากษานั้น ซึ่งศาลอาจพิพากษาให้ได้ โดยไม่จำต้องเพิกถอนสัญญาและคำพิพากษาตามยอมเพราะสัญญาและคำพิพากษานั้นเป็นเรื่องระหว่างจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนเด็กผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
กรณีเด็กผู้เยาว์ถูกทำละเมิด อันมีผลให้เด็กมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดนั้น เป็นการที่เด็กจะได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากมีการประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องทำสัญญาแทนเด็กผู้ใช้อำนาจปกครอง จะต้องขออนุญาตศาลเสียก่อน เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของเด็ก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความแทนเด็กผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตศาล มิฉะนั้นสัญญาเป็นโมฆะและเด็กยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้
กรณีเด็กผู้เยาว์ถูกทำละเมิด อันมีผลให้เด็กมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดนั้น เป็นการที่เด็กจะได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากมีการประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องทำสัญญาแทนเด็กผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องขออนุญาตศาลเสียก่อน เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของเด็ก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์: ความยึดถือในทรัพย์สินของผู้เสียหายยังไม่ขาดตอน แม้ทรัพย์สินจะตกหล่น
ผู้เสียหายกับคณะกลองยาวไปวัดในพิธีอุปสมบท คณะกลองยาวเล่นกลองยาวบนศาลาอยู่กับผู้เสียหายและญาติ ต่อมาคณะกลองยาวก็ลงจากศาลาประโคมกลองยาวนำหน้านาค โดยมีผู้เสียหายเดินตามไปผู้เสียหายไปได้ 2 เส้น รู้สึกตัวว่าสายสร้อยข้อมือทองคำหายจึงกลับขึ้นไปหาบนศาลา ปรากฏว่า ส. อายุไม่เกิน 7 ปี เก็บสร้อยนั้นได้บนศาลาแล้วเอาไปให้จำเลยที่ 2 อายุ 13 ปี ซึ่งเป็นพี่สาวจำเลยที่ 2 เอาไปให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาที่ข้างศาลาในเวลากระชั้นชิดกัน จำเลยที่ 1 เอาสร้อยห่อพกออกจากวัดไปทันที เมื่อผู้เสียหายไปสอบถาม จำเลยที่ 1 ว่าไม่รู้เห็น พฤติการณ์เช่นนี้ถือว่าสร้อยนั้นยังอยู่ในความยึดถือของผู้เสียหาย ไม่ใช่ทรัพย์ตกหาย จำเลยที่ 1 น่าจะทราบว่าทรัพย์นั้นเป็นของพวกที่มาในคณะกลองยาวและเจ้าของจะติดตามเอาคืนจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วน ส. และจำเลยที่ 2 ไม่มีเจตนาทุจริต จึงไม่มีความผิด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2514)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์: ความยึดถือในทรัพย์สินของผู้เสียหายยังไม่ขาดตอน แม้มีผู้เก็บทรัพย์ได้ก่อน
ผู้เสียหายกับคณะกลองยาวไปวัดในพิธีอุปสมบท คณะกลองยาวเล่นกลองยาวบนศาลาอยู่กับผู้เสียหายและญาติ ต่อมาคณะกลองยาวก็ลงจากศาลาประโคมกลองยาวนำหน้านาค โดยมีผู้เสียหายเดินตามไปผู้เสียหายไปได้ 2 เส้น รู้สึกตัวว่าสายสร้อยข้อมือทองคำหายจึงกลับขึ้นไปหาบนศาลา ปรากฏว่า ส. อายุไม่เกิน 7 ปี เก็บสร้อยนั้นได้บนศาลาแล้วเอาไปให้จำเลยที่ 2 อายุ 13 ปี ซึ่งเป็นพี่สาวจำเลยที่ 2 เอาไปให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาที่ข้างศาลาในเวลากระชั้นชิดกัน จำเลยที่ 1 เอาสร้อยห่อพกออกจากวัดไปทันที เมื่อผู้เสียหายไปสอบถาม จำเลยที่ 1ว่าไม่รู้เห็น พฤติการณ์เช่นนี้ถือว่าสร้อยนั้นยังอยู่ในความยึดถือของผู้เสียหาย ไม่ใช่ทรัพย์ตกหาย จำเลยที่ 1 น่าจะทราบว่าทรัพย์นั้นเป็นของพวกที่มาในคณะกลองยาวและเจ้าของจะติดตามเอาคืน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ ส่วน ส. และจำเลยที่ 2 ไม่มีเจตนาทุจริต จึงไม่มีความผิด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2514)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานโจทก์น่าสงสัย ขาดความน่าเชื่อถือ ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
คำพยานของผู้ที่ต้องหาว่าร่วมกระทำผิดกับจำเลยแต่ถูกกันไว้เป็นพยานนั้นมีน้ำหนักน้อยยากแก่การรับฟังเป็นพยานหลักฐานยืนยันการกระทำของจำเลยได้ เพราะพยานอาจจะซัดทอดจำเลย และปกปิดการกระทำผิดของตนเองเสียเป็นการตอบแทนที่ตนมิต้องถูกฟ้องด้วย
โจทก์มีประจักษ์พยานปากเดียวที่ศาลเห็นว่ามีน้ำหนักน้อยประกอบกับพฤติการณ์พยานโจทก์ก็ผิดปกติวิสัย กับทั้งขาดพยานหลักฐานซึ่งควรนำมาประกอบคดี เช่นนี้ถือว่าพยานหลักฐานโจทก์ตกอยู่ในข่ายสงสัยซึ่งศาลชอบที่จะยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย
โจทก์มีประจักษ์พยานปากเดียวที่ศาลเห็นว่ามีน้ำหนักน้อยประกอบกับพฤติการณ์พยานโจทก์ก็ผิดปกติวิสัย กับทั้งขาดพยานหลักฐานซึ่งควรนำมาประกอบคดี เช่นนี้ถือว่าพยานหลักฐานโจทก์ตกอยู่ในข่ายสงสัยซึ่งศาลชอบที่จะยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย