พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาขายฝากแล้ว ธนาคารมีสิทธิรับเงินฝากเพื่อชำระหนี้ได้
เดิมลูกหนี้ได้เอาที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงงานพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจำนองค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารนครหลวงไทยจำกัดแล้วธนาคารนั้นได้โอนสิทธิการจำนองให้ธนาคารผู้ร้องโดยความยินยอมของลูกหนี้ ต่อจากนั้นลูกหนี้ได้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารผู้ร้องเรื่อยมา ต่อมาลูกหนี้ต้องการเงินกู้เพิ่มขึ้น จึงได้ขายฝากเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตน้ำตาลซึ่งติดตั้งและเก็บรักษาไว้ในโรงงานของลูกหนี้ไว้กับธนาคารผู้ร้องเป็นเงิน 4 ล้านบาท มีกำหนดสามปีและในวันเดียวกันนั้นลูกหนี้ได้นำเงิน 4 ล้านบาทที่ธนาคารผู้ร้องจ่ายเป็นค่าขายฝากดังกล่าว ฝากประจำไว้กับธนาคารผู้ร้องโดยลูกหนี้ตกลงให้ธนาคารผู้ร้องมีสิทธิรับเงินตามใบฝากนี้ตลอดจนดอกเบี้ยเงินฝากแทนลูกหนี้เพื่อชดใช้บรรดาหนี้สินและภาระผูกพันทั้งมวลของลูกหนี้ซึ่งมีต่อธนาคารผู้ร้องได้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้บันทึกข้อความนี้ไว้ด้านหลังใบรับฝากเงินประจำดังกล่าว ต่อมาลูกหนี้ขอเบิกเงินที่ได้ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้อง 1 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานผลิตน้ำตาล ธนาคารผู้ร้องไม่ยอมให้เบิกลูกหนี้จึงมีหนังสือขอบอกเลิกสัญญาขายฝาก เพื่อจะได้นำหลักทรัพย์ไปใช้เป็นหลักประกันในอันที่จะได้เงินมาดำเนินงานของลูกหนี้ ธนาคารผู้ร้องยอมให้เลิกสัญญาได้ ฉะนั้น เมื่อธนาคารผู้ร้องตกลงยกเลิกการขายฝากตามที่ลูกหนี้เสนอ ธนาคารผู้ร้องย่อมมีสิทธิเอาเงินฝากดังกล่าวของลูกหนี้กลับคืนมาเป็นของธนาคารผู้ร้องได้เพราะเมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม อนึ่ง จำนวนเงินตามใบฝากประจำก็มีอยู่เท่าจำนวนเงินที่ขายฝากไว้ ธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็ได้เป็นผู้รับฝากเงินจำนวนนี้จากลูกหนี้ผู้ขายฝากอยู่แล้วจึงย่อมยกเลิกใบฝากเงินนั้นเสีย โดยอาศัยสิทธิที่ลูกหนี้ได้สลักหลังใบฝากเงินนั้นไว้นำเงินดังกล่าวชำระหนี้ค่าขายฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาขายฝากและการบังคับสิทธิในเงินฝากเพื่อชำระหนี้: สิทธิของธนาคารผู้รับฝากเมื่อสัญญาขายฝากถูกยกเลิก
เดิมลูกหนี้ได้เอาที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงงานพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจำนองค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด แล้วธนาคารนั้นได้โอนสิทธิการจำนองให้ธนาคารผู้ร้องโดยความยินยอมของลูกหนี้ ต่อจากนั้นลูกหนี้ได้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารผู้ร้องเรื่อยมา ต่อมาลูกหนี้ต้องการเงินกู้เพิ่มขึ้น จึงได้ขายฝากเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตน้ำตาลซึ่งติดตั้งและเก็บรักษาไว้ในโรงงานของลูกหนี้ไว้กับธนาคารผู้ร้องเป็นเงิน 4 ล้านบาท มีกำหนดสามปี และในวันเดียวกันนั้นลูกหนี้ได้นำเงิน 4 ล้านบาทที่ธนาคารผู้ร้องจ่ายเป็นค่าขายฝากดังกล่าว ฝากประจำไว้กับธนาคารผู้ร้องโดยลูกหนี้ตกลงให้ธนาคารผู้ร้องมีสิทธิรับเงินตามใบฝากนี้ตลอดจนดอกเบี้ยเงินฝากแทนลูกหนี้เพื่อชดใช้บรรดาหนี้สินและภาระผูกพันทั้งมวลของลูกหนี้ซึ่งมีต่อธนาคารผู้ร้องได้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้บันทึกข้อความนี้ไว้ด้านหลังใบรับฝากเงินประจำดังกล่าว ต่อมาลูกหนี้ขอเบิกเงินที่ได้ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้อง 1 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานผลิตน้ำตาล ธนาคารผู้ร้องไม่ยอมให้เบิก ลูกหนี้จึงมีหนังสือขอบอกเลิกสัญญาขายฝาก เพื่อจะได้นำหลักทรัพย์ไปใช้เป็นหลักประกันในอันที่จะได้เงินมาดำเนินงานของลูกหนี้ ธนาคารผู้ร้องยอมให้เลิกสัญญาได้ ฉะนั้น เมื่อธนาคารผู้ร้องตกลงยกเลิกการขายฝากตามที่ลูกหนี้เสนอ ธนาคารผู้ร้องย่อมมีสิทธิเอาเงินฝากดังกล่าวของลูกหนี้กลับคืนมาเป็นของธนาคารผู้ร้องได้ เพราะเมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม อนึ่ง จำนวนเงินตามใบฝากประจำก็มีอยู่เท่าจำนวนเงินที่ขายฝากไว้ ธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็ได้เป็นผู้รับฝากเงินจำนวนนี้จากลูกหนี้ผู้ขายฝากอยู่แล้วจึงย่อมยกเลิกใบฝากเงินนั้นเสีย โดยอาศัยสิทธิที่ลูกหนี้ได้สลักหลังใบฝากเงินนั้นไว้ นำเงินดังกล่าวชำระหนี้ค่าขายฝากได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีอาญาที่เกิดในภาวะกฎอัยการศึก และการพิจารณาคดีโดยศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลพลเรือนขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276, 284, 309 เหตุเกิดในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 และความผิดตามมาตรา 284 นั้น อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามความในข้อ 1 ของประกาศดังกล่าวประกอบกับบัญชีท้ายประกาศ ข้อ (6) อีกทั้งคดีนี้ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่าง แม้การกระทำผิดตามมาตรา 276 และ 309 นั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 แต่ก็อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาด้วยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 36 ลงวันที่ 9 มกราคม 2515 ความผิดทุกข้อหาในคดีนี้จึงมิได้อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีอาญาที่เกิดในช่วงประกาศใช้กฎอัยการศึก: การพิจารณาคดีความผิดหลายกระทง
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลพลเรือนขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276,284,309 เหตุเกิดในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน2514 และความผิดตามมาตรา 284 นั้น อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามความในข้อ 1 ของประกาศดังกล่าวประกอบกับบัญชีท้ายประกาศ ข้อ (6) อีกทั้งคดีนี้ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่าง แม้การกระทำผิดตามมาตรา 276 และ 309 นั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 2 แต่ก็อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาด้วยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 36 ลงวันที่ 9 มกราคม 2515 ความผิดทุกข้อหาในคดีนี้จึงมิได้อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีนายหน้า: การหลอกลวงไม่ทำให้จำเลยได้เงินจากโจทก์ ถือเป็นข้อพิพาททางแพ่ง ไม่ใช่ความผิดอาญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นนายหน้าหาคนซื้อที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยตกลงให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ร้อยละ 10 โจทก์ชักนำให้จำเลยที่ 2 ไปซื้อ จำเลยที่ 2 พา บ. และ ก. ไปซื้อ โดยโจทก์เป็นผู้จัดการให้จำเลยที่ 2 นำไปซื้อ ต่อมาเมื่อโจทก์สอบถาม จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทุจริตแจ้งข้อความอันเป็นเท็จปกปิดความจริงต่อโจทก์โดยบอกว่ายังไม่ได้ขายที่ดินให้ใคร ซึ่งความจริงได้ขายให้ บ.และก.ไปแล้ว การแจ้งเท็จและปกปิดความจริง ทำให้จำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งค่านายหน้าอันเป็นสิทธิของโจทก์เป็นเงิน 3,500 บาท ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ดังนี้ หากจะฟังว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ตามฟ้องจริง การหลอกลวงเช่นนั้นก็มิได้ทำให้จำเลยได้เงินไปจากโจทก์ซึ่งอ้างว่าถูกหลอกลวงหรือจากบุคคลที่สามแต่อย่างใด เงินที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ไปนั้นเป็นเพียงเงินค่านายหน้าซึ่งโจทก์ถือว่าตนมีสิทธิจะได้ และจำเลยไม่ชำระให้เท่านั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่ง การกระทำของจำเลยไม่มีมูลเป็นความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงเกี่ยวกับค่านายหน้าไม่ทำให้เกิดความผิดอาญา หากไม่ได้เงินจากโจทก์โดยตรง คดีเป็นเรื่องแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นนายหน้าหาคนซื้อที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยตกลงให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ร้อยละ 10 โจทก์ชักนำให้จำเลยที่ 2 ไปซื้อ จำเลยที่ 2 พา บ. และ ก. ไปซื้อ โดยโจทก์เป็นผู้จัดการให้จำเลยที่ 2 นำไปซื้อ ต่อมาเมื่อโจทก์สอบถามจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทุจริตแจ้งข้อความอันเป็นเท็จปกปิดความจริงต่อโจทก์ โดยบอกว่ายังไม่ได้ขายที่ดินให้ใคร ซึ่งความจริงได้ขายให้ บ. และ ก. ไปแล้ว การแจ้งเท็จและปกปิดความจริง ทำให้จำเลยทั้งสองได้ไปซึ่งค่านายหน้าอันเป็นสิทธิของโจทก์เป็นเงิน 3,500 บาท ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ดังนี้ หากจะฟังว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์ตามฟ้องจริง การหลอกลวงเช่นนั้นก็มิได้ทำให้จำเลยได้เงินไปจากโจทก์ซึ่งอ้างว่าถูกหลอกลวงหรือจากบุคคลที่สามแต่อย่างใด เงินที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ไปนั้นเป็นเพียงเงินค่านายหน้าซึ่งโจทก์ถือว่าตนมีสิทธิจะได้ และจำเลยไม่ชำระให้เท่านั้นเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่ง การกระทำของจำเลยไม่มีมูลเป็นความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินมีคำมั่นสัญญาที่แน่นอน ผู้รับสลักหลังไม่มีสิทธิฟ้องเมื่อตั๋วถูกยกเลิกและไม่มีการสลักหลังใหม่
กระทรวงกลาโหมจ้างเหมาให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างโรงงานกลั่นน้ำมันจะจ่ายเงินค่าจ้างให้เมื่อมีการรับมอบโรงงานแล้ว 1 ปี โดยให้ธนาคาร ก. เป็นผู้จ่ายค่าจ้างแทนเพื่อเป็นหลักประกันในการจ่ายเงินค่าจ้าง ธนาคาร ก.จึงออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 หลายฉบับกำหนดวันใช้เงินตามตั๋วในวันหลังจากที่คาดคิดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จแล้วได้มอบตั๋วสัญญาใช้เงินให้ธนาคารจำเลยที่ 2 ยึดไว้เพื่อมอบให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อถึงกำหนดการใช้เงินดังนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้ระบุวันถึงกำหนดใช้เงินและคำมั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983(2)(3) แล้วข้อความที่บันทึกไว้ในตั๋วว่าเป็นการออกให้ตามสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งเป็นเพียงแสดงเหตุว่าตั๋วออกให้เพราะมีหนี้สินตามสัญญาที่ระบุไว้เท่านั้นหาใช่เรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินมีเงื่อนไขไม่
จำเลยที่ 1 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งธนาคารจำเลยที่ 2 ยึดไว้ดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ 1 ฉบับ แต่การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามกำหนด ตั๋วสัญญาใช้เงินหมดกำหนดรับเงิน ธนาคาร ก.ได้เรียกตั๋วคืนไปแล้วได้ออกตั๋วฉบับใหม่ให้ธนาคารจำเลยที่ 2 ยึดถือไว้แทน แต่ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกใหม่นี้จำเลยที่ 1 หาได้สลักหลังให้โจทก์ไม่ ฐานะของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเก่าได้หมดสิ้นไปแล้วเมื่อมีการยกเลิกตั๋วนั้นส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ก็ไม่ได้มีการสลักหลังโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเงินตามตั๋วนั้นจากจำเลย
จำเลยที่ 1 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งธนาคารจำเลยที่ 2 ยึดไว้ดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ 1 ฉบับ แต่การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามกำหนด ตั๋วสัญญาใช้เงินหมดกำหนดรับเงิน ธนาคาร ก.ได้เรียกตั๋วคืนไปแล้วได้ออกตั๋วฉบับใหม่ให้ธนาคารจำเลยที่ 2 ยึดถือไว้แทน แต่ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกใหม่นี้จำเลยที่ 1 หาได้สลักหลังให้โจทก์ไม่ ฐานะของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเก่าได้หมดสิ้นไปแล้วเมื่อมีการยกเลิกตั๋วนั้นส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ก็ไม่ได้มีการสลักหลังโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเงินตามตั๋วนั้นจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนของเจ้าของเรือต่างประเทศไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่ลูกจ้างกระทำ หากไม่มีสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือเดินสมุทรชื่อไตชุนชาน ซึ่งอยู่ต่างประเทศ ให้รับผิดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดแก่โจทก์ เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของกัปตันผู้ควบคุมเรือดังกล่าว ซึ่งเป็นลูกจ้างของเจ้าของเรือ ขณะปฏิบัติหน้าที่ตามทางการที่จ้างระหว่างเข้ามาในประเทศไทย เป็นเหตุให้เรือดังกล่าวนั้นกระแทกเรือของโจทก์แตกและจมเสียหาย ตัวแทนของตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศจะต้องรับผิดตามลำพังตนเองก็แต่เฉพาะกรณีตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างของตัวการได้กระทำไปในหน้าที่การงานของตัวการด้วยเลย ไม่ว่าตัวการจะอยู่ต่างประเทศหรือในประเทศ ฉะนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดโดยลำพังตนเองตามที่โจทก์ฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 987/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนไม่มีหน้าที่รับผิดในละเมิดที่ลูกจ้างตัวการกระทำ เว้นแต่ทำสัญญาแทนตัวการ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือเดินสมุทรชื่อไตชุนชาน ซึ่งอยู่ต่างประเทศ ให้รับผิดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดแก่โจทก์ เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของกัปตันผู้ควบคุมเรือดังกล่าว ซึ่งเป็นลูกจ้างของเจ้าของเรือ ขณะปฏิบัติหน้าที่ตามทางการที่จ้างระหว่างเข้ามาในประเทศไทย เป็นเหตุให้เรือดังกล่าวนั้นกระแทกเรือของโจทก์แตกและจมเสียหาย ตัวแทนของตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศจะต้องรับผิดตามลำพังตนเองก็แต่เฉพาะกรณีตัวแทนทำสัญญาแทนตัวการเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างของตัวการได้กระทำไปในหน้าที่การงานของตัวการด้วยเลย ไม่ว่าตัวการจะอยู่ต่างประเทศหรือในประเทศ ฉะนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดโดยลำพังตนเองตามที่โจทก์ฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 987/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินที่ยึดตามคำพิพากษาและการรบกวนการครอบครอง รวมถึงอำนาจฟ้องในความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์
การยึดถือทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 278 นั้นหมายถึงการเข้าควบคุมหรือครอบครองทรัพย์สิน ซึ่ง เจ้าพนักงานบังคับคดีจะระวังรักษาทรัพย์สินนั้นเสียเองหรือจะตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินนั้นก็ได้
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดอาคารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แล้วทำสัญญามอบหมายให้โจทก์ร่วมเป็นผู้รักษา โดยโจทก์ร่วมให้สัญญาว่าจะรักษาด้วยความระมัดระวังมิให้เสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ และจะไม่เอาออกใช้สอย ถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายจะชดใช้ราคาให้ แล้วโจทก์ร่วมใส่กุญแจห้องล่ามโซ่ใส่กุญแจอาคาร แม้มิได้เข้าไปอยู่ในตัวอาคารก็เป็นการครอบครองรักษาทรัพย์ตามสัญญาแล้ว เมื่อจำเลยเข้าไปรื้อห้องตกแต่งอาคารใหม่ และเปิดทำการค้าในอาคารนั้น จึงเป็นการเข้าไปกระทำการอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งโจทก์ร่วมครอบครองอยู่โดยปกติสุขและทำให้เสียทรัพย์ โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย และมีอำนาจฟ้องฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดอาคารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แล้วทำสัญญามอบหมายให้โจทก์ร่วมเป็นผู้รักษา โดยโจทก์ร่วมให้สัญญาว่าจะรักษาด้วยความระมัดระวังมิให้เสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ และจะไม่เอาออกใช้สอย ถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายจะชดใช้ราคาให้ แล้วโจทก์ร่วมใส่กุญแจห้องล่ามโซ่ใส่กุญแจอาคาร แม้มิได้เข้าไปอยู่ในตัวอาคารก็เป็นการครอบครองรักษาทรัพย์ตามสัญญาแล้ว เมื่อจำเลยเข้าไปรื้อห้องตกแต่งอาคารใหม่ และเปิดทำการค้าในอาคารนั้น จึงเป็นการเข้าไปกระทำการอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งโจทก์ร่วมครอบครองอยู่โดยปกติสุขและทำให้เสียทรัพย์ โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย และมีอำนาจฟ้องฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์