คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สรรเสริญ ไกรจิตติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินที่ยึดและการรบกวนการครอบครองของผู้รับรักษาทรัพย์ ผู้รับรักษาฯ มีอำนาจฟ้องรบกวนและทำให้เสียทรัพย์
การยึดถือทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 278 นั้นหมายถึงการเข้าควบคุมหรือครอบครองทรัพย์สิน ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะระวังรักษาทรัพย์สินนั้นเสียเองหรือจะตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินนั้นก็ได้
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดอาคารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แล้วทำสัญญามอบหมายให้โจทก์ร่วมเป็นผู้รักษา โดยโจทก์ร่วมให้สัญญาว่าจะรักษาด้วยความระมัดระวังมิให้เสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ และจะไม่เอาออกใช้สอย ถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายจะชดใช้ราคาให้ แล้วโจทก์ร่วมใส่กุญแจห้องล่ามโซ่ใส่กุญแจอาคาร แม้มิได้เข้าไปอยู่ในตัวอาคารก็เป็นการครอบครองรักษาทรัพย์ตามสัญญาแล้ว เมื่อจำเลยเข้าไปรื้อห้องตกแต่งอาคารใหม่ และเปิดทำการค้าในอาคารนั้น จึงเป็นการเข้าไปกระทำการอันเป็นการ รบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งโจทก์ร่วมครอบครองอยู่โดยปกติสุขและทำให้เสียทรัพย์โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยและมีอำนาจฟ้องฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้า และความแตกต่างระหว่างความผิดตามมาตรา 272 กับ 274
ความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นตามมาตรา 274 ไม่ใช่เป็นความผิดอันยอมความได้ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 96
ถ้าการกระทำผิดของจำเลยยังกระทำสืบเนื่องตลอดมาจนถึงวันที่ผู้เสียหายร้องทุกข์แล้ว คดีย่อมไม่มีทางขาดอายุความ
การกระทำเพียงแต่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น มิได้เอาเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาใช้โดยตรง ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 274 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 272 ด้วย (อ้างฎีกาที่ 782-783/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดเลียนเครื่องหมายการค้า และความผิดตามมาตรา 274 เท่านั้น
ความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นตามมาตรา 274 ไม่ใช่เป็นความผิดอันยอมความได้ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 96
ถ้าการกระทำผิดของจำเลยยังกระทำสืบเนื่องตลอดมาจนถึงวันที่ผู้เสียหายร้องทุกข์แล้ว คดีย่อมไม่มีทางขาดอายุความ
การกระทำเพียงแต่เลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น มิได้เอาเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาใช้โดยตรง ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 274 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 272 ด้วย (อ้างฎีกาที่ 782-783/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและสิทธิการรับเงินชดเชยของลูกจ้างประจำตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในข้อ 2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 คำว่า "ลูกจ้างประจำ" หมายถึงลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้เป็นการประจำ ไม่ว่าค่าจ้างนั้นจะกำหนดเป็นรายเดือนรายสัปดาห์รายวันรายชั่วโมงรายระยะเวลาอย่างอื่นหรือกำหนดตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ โจทก์เป็นช่างเย็บ รับจ้างเย็บกางเกงสตรีอยู่ที่ร้านของจำเลยซึ่งเป็นร้านรับตัดเย็บเสื้อผ้าโจทก์มีเครื่องมือในการเย็บผ้า จำเลยมีจักรเย็บผ้าและผ้าให้เย็บงานมีให้ทำเป็นประจำทุกวัน และโจทก์ได้ค่าจ้างเย็บเป็นรายตัว ซึ่งเป็นค่าจ้างที่กำหนดตามผลงานที่ทำได้ ทั้งจำเลยยังเลี้ยงอาหารโจทก์เป็นประจำอีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์มิได้อยู่กับจำเลยก็ไม่ทำให้เปลี่ยนจากลักษณะของการเป็นลูกจ้างประจำไปได้
จำเลยบอกลดค่าจ้างที่โจทก์เคยได้เป็นปกติ โจทก์ขอร้องให้จ่ายตามอัตราเดิม จำเลยไม่ยอมและกลับพูดว่าถ้าใครไม่ทำก็ให้เก็บของออกไป ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2507) ข้อ 2 ที่ว่าลดค่าจ้างปกติของลูกจ้างโดยมิได้รับความยินยอมจากลูกจ้างนั้นแล้ว
การที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานจากนายจ้างนั้น มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษในเรื่องอายุความจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างประจำ การลดค่าจ้างเป็นการเลิกจ้าง และอายุความการฟ้องเรียกค่าชดเชย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3(พ.ศ. 2507) ออกตามความในข้อ 2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 คำว่า'ลูกจ้างประจำ' หมายถึงลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้เป็นการประจำ ไม่ว่าค่าจ้างนั้นจะกำหนดเป็นรายเดือนรายสัปดาห์รายวันรายชั่วโมงรายระยะเวลาอย่างอื่น หรือกำหนดตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ โจทก์เป็นช่างเย็บ รับจ้างเย็บกางเกงสตรีอยู่ที่ร้านของจำเลยซึ่งเป็นร้านรับตัดเย็บเสื้อผ้าโจทก์มีเครื่องมือในการเย็บผ้า จำเลยมีจักรเย็บผ้าและผ้าให้เย็บ งานมีให้ทำเป็นประจำทุกวัน และโจทก์ได้ค่าจ้างเย็บเป็นรายตัว ซึ่งเป็นค่าจ้างที่กำหนดตามผลงานที่ทำได้ ทั้งจำเลยยังเลี้ยงอาหารโจทก์เป็นประจำอีกด้วย ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์มิได้อยู่กับจำเลยก็ไม่ทำให้เปลี่ยนจากลักษณะของการเป็นลูกจ้างประจำไปได้
จำเลยบอกลดค่าจ้างที่โจทก์เคยได้เป็นปกติ โจทก์ขอร้องให้จ่ายตามอัตราเดิม จำเลยไม่ยอม และกลับพูดว่าถ้าใครไม่ทำก็ให้เก็บของออกไป ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2507) ข้อ 2 ที่ว่าลดค่าจ้างปกติของลูกจ้างโดยมิได้รับความยินยอมจากลูกจ้างนั้นแล้ว
การที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานจากนายจ้างนั้น มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษในเรื่องอายุความ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้โรงพยาบาล การจัดการมรดก และการมีสิทธิรับเงินของผู้รับประโยชน์
ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยทำพินัยกรรมมีข้อความในข้อ 1 ถึงข้อ 3 ยกที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยและผู้อื่น ข้อ 4 ว่า ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวแล้ว ขอยกให้จำเลยแต่ผู้เดียวและขอให้จัดการกุศลดังกล่าวต่อไป ข้อ 5 ทรัพย์สินที่เป็นเงินสด ให้จำเลยนำไปมอบแก่เจ้าอาวาสวัด ช. เพื่อซ่อมแซมพระอุโบสถ 50,000 บาท ข้อ 6 เงินสดที่เหลือจากที่กล่าวในข้อ 5 ให้จำเลยมอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ หรือจะสร้างเป็นตึกคนไข้ก็ได้ โดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่คณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล แม้พินัยกรรม ข้อ 4 ระบุว่า ยกทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวในข้อ 1, 2, 3 ให้จำเลยแต่ผู้เดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ตกอยู่ในภาระติดพันที่จะต้อง นำเงินสดของผู้ตายที่เหลือจากจ่ายแล้วในข้อ 5 มอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ พินัยกรรมข้อนี้จึงมีผลบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 โรงพยาบาลศิริราชเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ข้อ 6 จำเลยไม่ยอมก่อตั้งมูลนิธิหรือร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราชในการตั้งมูลนิธิ โจทก์จึงเป็นผู้ร้องขอให้ก่อตั้งมูลนิธิได้ตามมาตรา 1677 และการก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรา 81 นั้น ในประการแรกจะต้องมีทรัพย์สินที่จัดสรรไว้ เมื่อจำเลยว่าไม่มี โจทก์สืบทราบว่ามี ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินของผู้ตายเพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิได้
แม้โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรม แต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด จำเลยก็ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องไม่ได้
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าผู้ตายมีสินเดิมอย่างใดบ้างแต่ก็ได้นำสืบถึงฐานะของผู้ตายซึ่งรับราชการเป็นร้อยตำรวจตรีฐานะของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าได้เงินเดือนสูงเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติสิทธิที่ผู้ตายจะได้รับเงินเดือนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายมีสินเดิมก่อนสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรมที่มีภาระผูกพัน และสิทธิของโรงพยาบาลศิริราชในการรับทรัพย์สิน
ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยทำพินัยกรรมมีข้อความในข้อ 1 ถึงข้อ 3 ยกที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยและผู้อื่น ข้อ 4 ว่า ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวแล้ว ขอยกให้จำเลยแต่ผู้เดียวและขอให้จัดการกุศลดังกล่าวต่อไป ข้อ 5 ทรัพย์สินที่เป็นเงินสด ให้จำเลยนำไปมอบแก่เจ้าอาวาสวัด ช. เพื่อซ่อมแซมพระอุโบสถ 50,000 บาท ข้อ 6 เงินสดที่เหลือจากที่กล่าวในข้อ 5 ให้จำเลยมอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิหรือจะสร้างเป็นตึกคนไข้ก็ได้ โดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่คณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล แม้พินัยกรรม ข้อ 4 ระบุว่า ยกทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวในข้อ 1, 2, 3 ให้จำเลยแต่ผู้เดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ตกอยู่ในภาระติดพันที่จะต้องนำเงินสดของผู้ตายที่เหลือจากจ่ายแล้วในข้อ 5 มอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ พินัยกรรมข้อนี้จึงมีผลบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 โรงพยาบาลศิริราชเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ข้อ 6 จำเลยไม่ยอมก่อตั้งมูลนิธิหรือร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราชในการตั้งมูลนิธิ โจทก์จึงเป็นผู้ร้องขอให้ก่อตั้งมูลนิธิได้ตามมาตรา 1677 และการก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรา 81 นั้นในประการแรกจะต้องมีทรัพย์สินที่จัดสรรไว้ เมื่อจำเลยว่าไม่มีโจทก์สืบทราบว่ามี ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินของผู้ตายเพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิได้
แม้โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรม แต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด จำเลยก็ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องไม่ได้
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าผู้ตายมีสินเดิมอย่างใดบ้าง แต่ก็ได้นำสืบถึงฐานะของผู้ตายซึ่งรับราชการเป็นร้อยตำรวจตรีฐานะของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าได้เงินเดือนสูงเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติสิทธิที่ผู้ตายจะได้รับเงินเดือนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายมีสินเดิมก่อนสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาเช่าซื้อระบุความรับผิดของผู้ซื้อแม้รถยนต์สูญหายจากเหตุสุดวิสัย ผู้ซื้อยังต้องรับผิดตามสัญญา
ข้อความในสัญญามีว่า "แม้สัญญาฉบับนี้จะต้องผ่านการโอนการต่ออายุ หรือการเปลี่ยนมืออย่างใด ๆ หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสีย เสียหายหรือย่อยยับประการใด ผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญานี้แต่อย่างใดไม่" ข้อความในสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่า ผู้ซื้อจะต้องรับผิดใช้ราคาให้แก่ผู้ขาย ไม่ว่ารถยนต์จะสูญหายไปด้วยเหตุใด ๆ ก็ตามจึงรวมถึงการสูญหายไปเพราะเหตุสุดวิสัยด้วย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4,6/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อยังต้องรับผิดแม้รถยนต์สูญหายหรือเสียหายจากเหตุสุดวิสัย
ข้อความในสัญญามีว่า 'แม้สัญญาฉบับนี้จะต้องผ่านการโอน การต่ออายุ หรือการเปลี่ยนมืออย่างใด ๆ หรือตัวยานยนต์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาต้องประสบความสูญเสีย เสียหายหรือย่อยยับประการใดผู้ซื้อก็หาหลุดพ้นจากหน้าที่รับผิดตามสัญญานี้แต่อย่างใดไม่' ข้อความในสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่า ผู้ซื้อจะต้องรับผิดใช้ราคาให้แก่ผู้ขาย ไม่ว่ารถยนต์จะสูญหายไปด้วยเหตุใด ๆ ก็ตามจึงรวมถึงการสูญหายไปเพราะเหตุสุดวิสัยด้วย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4,6/2517)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำตามพ.ร.บ.ฝิ่น: ศาลชอบวางโทษทั้งจำและปรับตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แม้กฎหมายไม่ได้กำหนดชัดเจน
มาตรา 68 พระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 เป็นบทเพิ่มโทษซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติฝิ่นซ้ำอีก หลังจากพ้นโทษในการกระทำผิดครั้งแรกไปยังไม่ครบสามปีแสดงว่าไม่เข็ดหลาบ จึงต้องเพิ่มโทษให้หนักกว่าโทษที่ลงในการกระทำความผิดครั้งแรก และเมื่อศาลได้เพิ่มโทษตามพระราชบัญญัติฝิ่นแล้ว จะเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญาด้วยอันเป็นการเพิ่มโทษจำเลยถึงสองทางหาได้ไม่
การเพิ่มโทษตามมาตรา 68 พระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. 2472 แม้จะมิได้บัญญัติให้วางโทษสำหรับการกระทำผิดครั้งหลังที่มีโทษจำคุกและปรับไว้ ศาลก็ชอบที่จะวางโทษทั้งจำทั้งปรับ จึงจะต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย
of 26