คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สรรเสริญ ไกรจิตติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 253 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันเมื่อเกิดความเสียหายเกินวงเงินที่ค้ำ
ค้ำประกันหนี้ 10,000 บาท และว่าถ้าลูกหนี้ทำความเสียหายเกินกว่านั้นก็รับผิด ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามความเสียหาย 205,764 บาท
ศาลพิพากษาคดีอาญาให้ลูกจ้างใช้ทรัพย์ที่ยักยอกไปผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในความเสียหายนั้น จะนำสืบว่าลูกจ้างไม่ได้ทำความเสียหายและปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาด้วยไม่ได้ โจทก์ฟ้องผู้ค้ำประกันในคดีแพ่งโดยไม่ฟ้องลูกจ้างด้วยก็ได้
จำเลยที่ 1 ขอให้เรียกจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยร่วมศาลไม่อนุญาตไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ ถ้าไม่โต้แย้งไว้ อุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาลเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ห้ามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งผิด
ในชั้นตรวจคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีโจทก์เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลโดยคิดคำนวณจากทุนทรัพย์ภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นศาลจะไม่รับคำฟ้อง คำสั่งเช่นว่านี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์พิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป ทั้งๆ ที่ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งไม่รับฟ้องโจทก์ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง กรณีเป็นหนี้อันแบ่งแยกไม่ได้แม้จำเลยที่ 3,4มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3,4 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนทรัพย์ที่ขัดต่อพินัยกรรม
โจทก์ทั้งสองและ อ.เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม แต่อ.เป็นสามีจำเลยและมาเป็นพยานจำเลยซึ่งแสดงให้เห็นว่า อ.ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้ โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้โอนทรัพย์พิพาทกลับคืนแก่กองมรดกเพื่อจัดแบ่งให้เป็นไปตามพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1715 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1674/2516)
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วยการแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะ ต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดก และผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วย ถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดกและเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้ว โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดกที่ไม่เป็นไปตามพินัยกรรม
โจทก์ทั้งสองและ อ. เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแต่ อ.เป็นสามีจำเลยและมาเป็นพยานจำเลยซึ่งแสดงให้เห็นว่า อ. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้โอนทรัพย์พิพาทกลับคืนแก่กองมรดกเพื่อจัดแบ่งให้เป็นไปตามพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1715 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1674/2516)
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วย การแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดกและผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดก และเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้วโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีและการอุทธรณ์: ผู้เสียภาษีต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอนก่อนฟ้องคดี แม้ได้รับยกเว้นภาษี
ภาษีการค้าอันเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ทวิ ซึ่งตามมาตรา 84 วรรค 2 ผู้ประกอบการค้าในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนดทุกครั้งนั้น เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินตามรายการที่ยื่นเพื่อเสียภาษีอากรนั้นแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา18 หากผู้ประกอบการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้เองตามมาตรา 87(1) และต้องแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 88 เมื่อได้มีการประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าแล้ว ผู้ประกอบการค้ามีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18,88 การอุทธรณ์นั้นให้อุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกำหนดและอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 30 วันตามมาตรา 30 เมื่อไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 30(2) โจทก์สั่งเครื่องอะไหล่ของเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้แทนของเก่าเมื่อชำรุด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแก่จำเลยไปแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้นเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าของโจทก์เอง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามมาตรา 79 ตรี(11) จึงได้ยื่นหนังสือต่อจำเลยขอเงินค่าภาษีอากรนั้นคืน จำเลยยังมิได้พิจารณา ดังนี้แม้เป็นกรณีที่อ้างว่าได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากรก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้เสียภาษีอากรและแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีและการอุทธรณ์ หากมิได้อุทธรณ์ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด จะไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
ภาษีการค้าอันเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ทวิซึ่งตามมาตรา 84 วรรค 2 ผู้ประกอบการค้าในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนด ทุกครั้งนั้น เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินตามรายการที่ยื่นเพื่อเสียภาษีอากรนั้นแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไป ยังผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา 18 หากผู้ประกอบการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้เองตามมาตรา 87(1) และต้องแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 88 เมื่อได้มีการประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังผู้ประกอบการค้าแล้วผู้ประกอบการค้ามีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18, 88 การอุทธรณ์นั้นให้อุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกำหนด และอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 30 วันตามมาตรา 30 เมื่อไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 30(2) โจทก์สั่งเครื่องอะไหล่ของเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อใช้แทนของเก่าเมื่อชำรุด ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระเงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแก่จำเลยไปแล้ว แต่โจทก์เห็นว่าสินค้าที่นำเข้ามานั้นเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าของโจทก์เอง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามมาตรา 79 ตรี (11) จึงได้ยื่นหนังสือต่อจำเลยขอเงินค่าภาษีอากรนั้นคืน จำเลยยังมิได้พิจารณาดังนี้แม้เป็นกรณีที่อ้างว่าได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากรก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้เสียภาษีอากรและแจ้งให้โจทก์ทราบแล้ว โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ตามขั้นตอนที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ขายฝากแล้วฟ้องแย้งสิทธิ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ส่วนโรงงานน้ำแข็งในที่ดินของผู้อื่นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อ
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินโฉนดที่พิพาท แต่โจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว และโจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 แต่แล้วโจทก์ที่ 1 กลับใช้สิทธิในฐานะเจ้าของที่ดินร่วมฟ้องเรียกที่ดินส่วนของโจทก์ที่ 1 คืนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เอกสารสัญญาเช่าซื้อนั้น แม้ในขณะทำสัญญากันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์แต่ต่อมาได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนแล้ว จะโดยผู้อ้างปิดอากรแสตมป์เองหรือผู้อ้างจะขอศาลให้สั่งเจ้าหน้าที่สรรพากรจัดการปิดให้ก็มีผลเช่นเดียวกัน ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อโรงงานทำน้ำแข็งและอุปกรณ์เครื่องทำน้ำแข็งพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 2 ได้ก่อสร้างลงในที่ดินโฉนดที่ 2295 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ และโจทก์ที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน โดยโจทก์ที่1และจำเลยที่1ได้ยินยอมให้ปลูกลงในที่ดินเพื่อให้โจทก์ที่ 1 เช่าซื้อ แต่โจทก์ที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ที่ 2 ยังไม่ครบถ้วน โรงงานน้ำแข็งและเครื่องทำน้ำแข็งจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งดังกล่าวจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอันผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกทำลงไว้ในที่ดินนั้น จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดที่ 2295 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 แม้ภายหลังต่อมาที่ดินโฉนดที่ 2295 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาขายฝาก โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งก็ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่ส่วนควบของที่ดินจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 1 ออกจากโรงงานทำน้ำแข็ง และเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 2 มิได้ครอบครองโรงงานทำน้ำแข็งพิพาทจากโจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้จำนอง/ขายฝากแล้วฟ้องขอคืนสิทธิ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และกรรมสิทธิ์โรงงานยังเป็นของเจ้าของเดิม
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินโฉนดที่พิพาท แต่โจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว และโจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 แต่แล้วโจทก์ที่ 1 กลับใช้สิทธิในฐานะเจ้าของที่ดินร่วมฟ้องเรียกที่ดินส่วนของโจทก์ที่ 1 คืนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เอกสารสัญญาเช่าซื้อนั้น แม้ในขณะทำสัญญากันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์แต่ต่อมาได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนแล้ว จะโดยผู้อ้างปิดอากรแสตมป์เองหรือผู้อ้างจะขอศาลให้สั่งเจ้าหน้าที่สรรพากรจัดการปิดให้ ก็มีผลเช่นเดียวกัน ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อโรงงานทำน้ำแข็งและอุปกรณ์เครื่องทำน้ำแข็งพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 2 ได้ก่อสร้างลงในที่ดินโฉนดที่ 2295 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ และโจทก์ที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน โดยโจทก์ที่1และจำเลยที่1ได้ยินยอมให้ปลูกลงในที่ดินเพื่อให้โจทก์ที่ 1 เช่าซื้อ แต่โจทก์ที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ที่ 2 ยังไม่ครบถ้วน โรงงานน้ำแข็งและเครื่องทำน้ำแข็งจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งดังกล่าวจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอันผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกทำลงไว้ในที่ดินนั้น จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดที่ 2295 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 แม้ภายหลังต่อมาที่ดินโฉนดที่ 2295 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาขายฝาก โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งก็ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่ส่วนควบของที่ดิน จึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 1 ออกจากโรงงานทำน้ำแข็ง และเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 2มิได้ครอบครองโรงงานทำน้ำแข็งพิพาทจากโจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินคืนจากข้าราชการ กรณีเบิกจ่ายไม่ชอบด้วยระเบียบ เริ่มนับเมื่อมีเหตุให้ชดใช้คืน
จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ดูแลนักเรียนไทยประจำสถานฑูตในต่างประเทศ มีหน้าที่ควบคุมฝ่ายการเงินและการบัญชีเสมือนเป็นหัวหน้ากองคลังเมื่อทางราชการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบเงิน แล้วแจ้งให้จำเลยทราบว่าจำเลยเบิกจ่ายใช้เงินไม่ชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จำเลยได้แสดงหลักฐานการเบิกจ่ายใช้เงินดังกล่าวให้ทางราชการตรวจสอบ โดยอ้างว่าได้เบิกจ่ายใช้ไปโดยสุจริตและชอบด้วยระเบียบแล้ว แม้เงินนั้นจำเลยจะได้ถอนจากธนาคารไปในระหว่าง พ.ศ.2501 ถึง 2505 แต่ใน พ.ศ.2506 จำเลยก็ได้นำเงินเข้าฝากธนาคารบางส่วนจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้เอาเงินของทางราชการไปเป็นส่วนตัวตั้งแต่วันที่ถอนเงิน เพราะจำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษาเงินดังกล่าวแทนทางราชการอยู่ จะถือว่าจำเลยได้กระทำละเมิดนับแต่วันที่จำเลยได้ถอนเงินจากธนาคารหาได้ไม่ และเมื่อทางราชการได้ตรวจสอบใบสำคัญในการใช้จ่ายเงินที่จำเลยเบิกมาจากธนาคารแล้วเห็นว่ามีบางรายการจำเลยใช้จ่ายไปโดยไม่ชอบได้สั่งให้จำเลยใช้เงินคืน จึงต้องถือว่าเงินที่สั่งให้ใช้คืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ จำเลยจะต้องคืนตามที่ทางราชการกำหนดให้ เมื่อนับแต่นั้นถึงวันฟ้องยังไม่พ้น 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหาย จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินคืนจากข้าราชการ กรณีปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยระเบียบ ไม่ใช่ค่าเสียหาย แต่เป็นหน้าที่คืนเงิน
จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ดูแลนักเรียนไทยประจำสถานฑูตในต่างประเทศ มีหน้าที่ควบคุมฝ่ายการเงินและการบัญชีเสมือนเป็นหัวหน้ากองคลังเมื่อทางราชการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบเงิน แล้วแจ้งให้จำเลยทราบว่าจำเลยเบิกจ่ายใช้เงินไม่ชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จำเลยได้แสดงหลักฐานการเบิกจ่ายใช้เงินดังกล่าวให้ทางราชการตรวจสอบ โดยอ้างว่าได้เบิกจ่ายใช้ไปโดยสุจริตและชอบด้วยระเบียบแล้ว แม้เงินนั้นจำเลยจะได้ถอนจากธนาคารไปในระหว่าง พ.ศ.2501 ถึง 2505แต่ใน พ.ศ.2506 จำเลยก็ได้นำเงินเข้าฝากธนาคารบางส่วนจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้เอาเงินของทางราชการไปเป็นส่วนตัวตั้งแต่วันที่ถอนเงิน เพราะจำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษาเงินดังกล่าวแทนทางราชการอยู่ จะถือว่าจำเลยได้กระทำละเมิดนับแต่วันที่จำเลยได้ถอนเงินจากธนาคารหาได้ไม่ และเมื่อทางราชการได้ตรวจสอบใบสำคัญในการใช้จ่ายเงินที่จำเลยเบิกมาจากธนาคารแล้วเห็นว่ามีบางรายการจำเลยใช้จ่ายไปโดยไม่ชอบได้สั่งให้จำเลยใช้เงินคืน จึงต้องถือว่าเงินที่สั่งให้ใช้คืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ จำเลยจะต้องคืนตามที่ทางราชการกำหนดให้เมื่อนับแต่นั้นถึงวันฟ้องยังไม่พ้น 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหาย จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้
of 26