พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องแย้งขอคืนใบสำคัญรับบิล ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์แต่ถูกจำกัดสิทธิฎีกาเนื่องจากข้อเท็จจริงพิพาท
ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองขอให้โจทก์ส่งมอบใบสำคัญรับบิลอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ของโจทก์จำนวน123,119บาทคืนแก่จำเลยทั้งสองเนื่องจากจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ตามใบสำคัญรับบิลดังกล่าวแก่โจทก์ครบถ้วนแล้วถือได้ว่าเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามจำนวนหนี้ในใบสำคัญรับบิลดังกล่าวจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์: ฟ้องแย้งชำระหนี้ตามใบสำคัญรับบิล
ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองขอให้โจทก์ส่งมอบใบสำคัญรับบิลอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ของโจทก์จำนวน 123,119 บาท คืนแก่จำเลยทั้งสอง เนื่องจากจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ตามใบสำคัญรับบิลดังกล่าวแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ถือได้ว่าเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามจำนวนหนี้ในใบสำคัญรับบิลดังกล่าวจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนวนทุนทรัพย์พิพาทเกิน 5 หมื่น: ข้อจำกัดการฎีกาในคดีละเมิดและการโต้เถียงดุลพินิจ
โจทก์ทั้งสองฟ้องฐาน ละเมิดขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนรวมกันเป็นเงิน 58,095.50 บาท แต่ จำนวนเงินที่โจทก์ที่ 1 ในฐานะ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องคือ 23,659.50บาท ซึ่ง เป็นเงินที่โจทก์ที่ 1 รับช่วงสิทธิมาจากโจทก์ที่ 2 ส่วนโจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนอื่นที่โจทก์ที่เรียกร้องไม่ได้เป็นจำนวน 34,400 บาท ดังนี้ หนี้ที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจจะแบ่งแยกได้ ที่โจทก์ทั้งสองแต่ ละคนฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดจึงเป็นคดีที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคดีโจทก์จึงต้องห้าม ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาทรัพย์สินในคดีขัดทรัพย์: ศาลใช้ดุลพินิจจากสำนวน
ผู้ร้องขัดทรัพย์ตีราคาทรัพย์ 80,000 บาท และเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์นั้นศาลชั้นต้นกำหนดราคา 230,000 บาท ได้ตามมาตรา 190(2) เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดอยู่ในสำนวนก็ไม่ต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41-44/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อปรากฏว่ากรณีพิพาทเป็นเรื่องเถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินว่า เป็นของโจทก์หรือจำเลย แม้โจทก์จะมีคำขอให้ห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่พิพาทและขอให้สั่งเพิกถอนโฉนดของจำเลยเสียด้วย ก็เป็นเพียงผลต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นเพียงส่วนของคำขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินนั่นเองจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ดังนั้น เมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ก็ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41-44/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ศาลฎีกาห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อปรากฏว่ากรณีพิพาทเป็นเรื่องเถียงกรรมสิทธิ์ที่ดินว่าเป็นของโจทก์หรือจำเลย แม้โจทก์จะมีกำขอให้ห้ามจำเลยกับบริวาร เข้าเกี่ยวข้องในที่พิพาท และขอให้สั่งเพิกถอนโฉนดของจำเลยเสียด้วย ก็เป็นเพียงผลต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นเพียงส่วนของคำขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินนั่นเอง จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ดังนั้น เมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ก็ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมทุนทรัพย์ฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเพื่อพิจารณาข้อห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248
คดีตามฟ้องโจทก์มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 5,000 บาท. ส่วนคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยก็มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 5,000 บาท.ฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเป็นคนละคดีจะถือเอาทุนทรัพย์รวมกันเพื่อพิจารณาว่าฎีกานั้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 หรือไม่. ย่อมไม่ได้. ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมทุนทรัพย์ฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเพื่อพิจารณาข้อห้ามฎีกา: ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องทั้งสองเป็นคนละคดี จึงไม่สามารถรวมทุนทรัพย์กันได้
คดีตามฟ้องโจทก์มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 5,000 บาท ส่วนคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยก็มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 5,000 บาท ฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเป็นคนละคดีจะถือเอาทุนทรัพย์รวมกันเพื่อพิจารณาว่าฎีกานั้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 หรือไม่ ย่อมไม่ได้ ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมทุนทรัพย์ฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเพื่อพิจารณาข้อห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คดีตามฟ้องโจทก์มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 5,000 บาท ส่วนคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยก็มีทุนทรัพย์ไม่ถึง 5,000 บาทฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเป็นคนละคดีจะถือเอาทุนทรัพย์รวมกันเพื่อพิจารณาว่าฎีกานั้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 หรือไม่ ย่อมไม่ได้ ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388-389/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะทายาทและผลกระทบต่อการเป็นผู้จัดการมรดก รวมถึงการตรวจสอบพินัยกรรม
จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ล. ผู้ตาย. โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบุตรของ ล.. โจทก์ค้านว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล.. ปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรของล.หรือไม่.จึงเป็นประเด็นโดยตรงและสำคัญแห่งคดี. ซึ่งศาลจำเป็นต้องวินิจฉัยชี้ขาด. หาใช่เป็นเรื่องที่จะให้ไปฟ้องร้องกันอีกคดีหนึ่งไม่. เพราะถ้าคดีฟังได้ว่าจำเลยไม่ใช่บุตรของ ล. ก็ย่อมไม่ใช่ทายาท. ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก. คำร้องของจำเลยต้องยกเสีย.ถ้าหากคดีฟังได้ในทางตรงข้าม คือฟังว่าจำเลยเป็นบุตร ล. จำเลยก็เป็นทายาทในลำดับผู้สืบสันดาน. ส.ซึ่งเป็นโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ บ. ซึ่งเป็นทายาทในลำดับน้องร่วมบิดาเดียวกับ ล. ผู้ตาย.
ส.ซึ่งเป็นโจทก์เป็นผู้รับมรดกแทนที่ บ.ซึ่งเป็นทายาทในลำดับเดียวกับจำเลย. ส.ย่อมมีสิทธิรับมรดกและร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้เท่าเทียมกับจำเลย.
โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมทรัพย์บางอย่าง. ฝ่ายจำเลยคัดค้านว่าพินัยกรรมปลอม. จึงต้องวินิจฉัยปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่. ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมไม่ปลอม. โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรมย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้. ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมปลอม. คำร้องของโจทก์ก็ต้องยก. เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยชอบธรรมและในฐานะผู้รับพินัยกรรม.
คดีของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก. โดยโจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับพินัยกรรม. เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาทเท่านั้น. โจทก์หาได้เรียกร้องเอาทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมมาด้วยไม่.จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์. ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในพินัยกรรม.
ส.ซึ่งเป็นโจทก์เป็นผู้รับมรดกแทนที่ บ.ซึ่งเป็นทายาทในลำดับเดียวกับจำเลย. ส.ย่อมมีสิทธิรับมรดกและร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้เท่าเทียมกับจำเลย.
โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างว่าโจทก์เป็นผู้รับพินัยกรรมทรัพย์บางอย่าง. ฝ่ายจำเลยคัดค้านว่าพินัยกรรมปลอม. จึงต้องวินิจฉัยปัญหาว่าพินัยกรรมปลอมหรือไม่. ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมไม่ปลอม. โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ระบุในพินัยกรรมย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้. ถ้าฟังได้ว่าพินัยกรรมปลอม. คำร้องของโจทก์ก็ต้องยก. เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยชอบธรรมและในฐานะผู้รับพินัยกรรม.
คดีของโจทก์เป็นเรื่องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก. โดยโจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นผู้รับพินัยกรรม. เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาทเท่านั้น. โจทก์หาได้เรียกร้องเอาทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมมาด้วยไม่.จึงไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์. ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามราคาทรัพย์ในพินัยกรรม.