พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่นต้องเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันและรวมโทษแล้วไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2)
การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุด โดยให้นับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอื่นอีกรวมแล้วเกิน 20 ปีเมื่อปรากฏว่าการนับโทษต่อดังกล่าวขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) ศาลชั้นต้นย่อมจะมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่ เป็นให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยคดีอื่นดังกล่าวโดยรวมโทษจำคุกทั้งสิ้นไม่เกิน 20 ปี ได้ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องการบังคับคดีที่ศาลชั้นต้นจะต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ถูกต้องตามกฎหมาย การนับโทษต่อจากโทษในคดีอื่นได้ไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) นั้น ต้องปรากฏว่าคดีอื่นดังกล่าวเป็นการกระทำผิดในลักษณะที่เกี่ยวพันกันกับคดีนี้จนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อคดีอื่นต้องมีความเกี่ยวพันกัน หากไม่มีความเกี่ยวพัน การรวมโทษเกิน 20 ปีทำได้
การนับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอื่นได้ไม่เกิน 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) นั้น ต้องปรากฏว่าคดีอื่นนั้นเป็นการกระทำความผิดในลักษณะที่เกี่ยวพันกันกับคดีที่ขอให้นับโทษต่อจนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ปรากฏว่าผู้เสียหายทั้ง 5 คดีก่อนไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับผู้เสียหายในคดีนี้ พยานหลักฐานทั้ง 5 คดีก่อนก็ไม่ใช่พยานหลักฐานชุดเดียวกันกับคดีนี้ ทั้ง 5 คดีดังกล่าวไม่เกี่ยวพันกันกับคดีนี้จนอาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้จึงนับโทษคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยทั้ง 5 คดีดังกล่าว โดยรวมโทษจำคุกทั้งสิ้นเกิน 20 ปีได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้ออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม หากปรากฏว่าการนับโทษต่อขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 91(2) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ศาลชั้นต้นย่อมจะมีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกคดีถึงที่สุดใหม่ได้ ไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเพราะเป็นเรื่องการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดีอาญาและการพิจารณาความเกี่ยวพันของคดี การจำกัดโทษตาม ป.อ.มาตรา 91(2)
ตาม ป.อ.มาตรา 91 (2) ที่บัญญัติให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี โทษจำคุกทั้งสิ้นรวมกันต้องไม่เกิน 20 ปีนั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมแต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียว หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี แต่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่งให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ส่วนคดีที่เกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ก็จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.อ.มาตรา 91 (2) เช่นเดียวกัน
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 837/2531 และ8729/2532 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7222/2532 เป็นข้อหายักยอก คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7009/2533 เป็นข้อหายักยอก และข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิพ.ศ.2499 ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องและพยานหลักฐานที่จะต้องนำสืบในคดีต่าง ๆดังกล่าวแตกต่างกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7024/2533 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 เกี่ยวกับความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เฉลิมโลก จำกัด ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับที่จำเลยได้กระทำความผิดขึ้นในคดีอื่น ๆ จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เช่นกัน จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533, 7024/2533 และคดีทั้งสี่ดังกล่าวติดต่อกันเกินกว่า20 ปีได้ คดีไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 (2)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2535)
คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 837/2531 และ8729/2532 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7222/2532 เป็นข้อหายักยอก คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7009/2533 เป็นข้อหายักยอก และข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิพ.ศ.2499 ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องและพยานหลักฐานที่จะต้องนำสืบในคดีต่าง ๆดังกล่าวแตกต่างกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจจะฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7024/2533 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 เกี่ยวกับความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เฉลิมโลก จำกัด ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับที่จำเลยได้กระทำความผิดขึ้นในคดีอื่น ๆ จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เช่นกัน จึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533, 7024/2533 และคดีทั้งสี่ดังกล่าวติดต่อกันเกินกว่า20 ปีได้ คดีไม่อยู่ในบังคับของ ป.อ.มาตรา 91 (2)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2535)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกในคดีที่ฟ้องแยกกันและไม่เกี่ยวพันกัน ไม่เข้าข่ายมาตรา 91(2) ป.อ.
ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(2) ที่บัญญัติให้ศาลลงโทษ ผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่กรณีความผิด กระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี โทษจำคุกทั้งสิ้นรวมกันต้องไม่เกิน 20 ปี นั้นเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกจำเลยในกรณีที่จำเลยกระทำ ความผิดหลายกรรมแต่ถูกฟ้องเป็นคดีเดียว หรือในกรณีที่จำเลย ถูกฟ้องหลายคดี แต่เป็นคดีที่เกี่ยวพันกันจนศาลได้มีคำสั่ง ให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ส่วนคดีที่เกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดี และไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ก็จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(2) เช่นเดียวกัน คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 พนักงานอัยการ ฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกงประชาชน ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 837/2531 และ 8729/2532 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7222/2532 เป็นข้อหายักยอกคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7009/2533 เป็นข้อหายักยอก และข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 ซึ่งความผิดตามที่ฟ้องและพยานหลักฐาน ที่จะต้องนำสืบในคดีต่าง ๆ ดังกล่าวแตกต่างกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533 จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจจะฟ้องเป็นคดี เดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ ส่วนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7024/2533 นั้น พนักงานอัยการฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522เกี่ยวกับความผิดที่จำเลยได้กระทำขึ้นในบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เฉลิมโลก จำกัด ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับที่จำเลยได้กระทำความผิดขึ้นในคดีอื่น ๆ จึงเป็นคดีที่ไม่เกี่ยวพันกัน ไม่อาจฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้เช่นกันจึงนับโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 7008/2533,7024/2533 และคดีทั้งสี่ดังกล่าวติดต่อกันเกินกว่า 20 ปีได้คดีไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5934/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกซ้อนทับในคดีอาญาหลายกระทง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโทษไม่เกินที่กฎหมายกำหนด
คดีแรกศาลพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาฉ้อโกง จำคุก 4 ปี นับแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2528 คดีหลังศาลพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหา ฉ้อโกงประชาชน ความผิดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจ หลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และความผิดต่อ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน รวมจำคุก 20 ปี นับแต่วันที่ 8 เมษายน2528 เมื่อศาลมิได้พิพากษาให้นับโทษ ในคดีหลังต่อจากคดีแรกโทษจำคุกในคดีแรกจึงซ้อนและเกลื่อนกลืน ไปกับโทษจำคุกในคดีหลัง จำเลยจึงมิได้รับโทษเกินกว่า 20 ปี ไม่ขัดต่อ ป.อ. มาตรา 91(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกหลายกระทงความผิดที่เกี่ยวข้องกับเอกสาร และข้อยกเว้นตาม ป.อ. มาตรา 91(2) ที่ศาลควรพิจารณารวมโทษ
คดีทั้งเจ็ดสำนวนที่โจทก์ขอให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกันเป็นการกระทำความผิดซึ่งมีอัตราโทษจำคุกแต่ละกระทง ความผิดไม่เกิน 10 ปี พยานหลักฐานของโจทก์ส่วนใหญ่เป็นชุด เดียวกันผู้เสียหายเป็นหน่วยราชการเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องจำเลยสำหรับการกระทำผิดทั้งเจ็ดสำนวนรวมเป็นคดีเดียวกันได้ แม้ศาลจะเรียงกระทงลงโทษจำคุก จำเลยที่ 2 ทั้งเจ็ดสำนวนแล้วมีโทษจำคุกเกินกว่า20 ปี ก็คงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 20 ปี ตามที่กำหนดไว้ตาม ป.อ. มาตรา 91(2) แต่การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 2 แต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไปโดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันเช่นนี้ ศาลก็จะลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เกินกว่าที่กำหนดไว้ตาม ป.อ. มาตรา 91(2) ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษในความผิดหลายกระทง: ลดจากโทษรวม หรือโทษที่ศาลจะลงได้ตามมาตรา 91
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ความผิดหลายกรรมไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษหรือลดมาตราส่วนโทษให้คิดจากโทษที่รวมกันทุกกระทงความผิด แต่ถ้าโทษที่เพิ่มหรือลดยังเกินกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรา 91(1),(2),(3) แล้ว จะต้องลดโทษไม่เกินกว่าที่มาตราดังกล่าวกำหนด เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามตามมาตรา 78 ในความผิดหลายกระทงโดยวางโทษจำคุกรวมกัน 26 ปี แล้วจำคุก 17 ปี 4 เดือนนั้นย่อมไม่เกินกว่า 20 ปี ตามมาตรา 91(2) โทษจำคุกที่ศาลอุทธรณ์ลงแก่จำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อในคดีทุจริต - การพิจารณาโทษรวมเมื่อศาลไม่รวมสำนวน
คดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นเรื่องทุจริตเงินบำนาญพิเศษจากส่วนราชการเดียวกันเพียงแต่อ้างชื่อผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญพิเศษต่างรายกันหน่วยราชการซึ่งเป็นผู้เสียหายก็รายเดียวกัน โจทก์อาจฟ้องจำเลยสำหรับการกระทำความผิดในคดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นคดีเดียวกันได้เพราะโจทก์จำเลยเป็นคนเดียวกัน และพยานหลักฐานน่าจะเป็นชุดเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าโจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไป และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีทุกสำนวนรวมกัน ศาลจะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อโดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแล้วศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวนแล้ว ศาลก็นับโทษจำเลยต่อกันไม่ได้เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัติไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษในคดีทุจริตเงินบำนาญพิเศษหลายกระทง หากศาลมิได้รวมการพิจารณาคดี โทษจำคุกรวมอาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
คดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นเรื่องทุจริตเงินบำนาญพิเศษจากส่วนราชการเดียวกันเพียงแต่อ้างชื่อผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญพิเศษต่างรายกันหน่วยราชการซึ่งเป็นผู้เสียหายก็รายเดียวกัน โจทก์อาจฟ้องจำเลยสำหรับการกระทำความผิดในคดีนี้และคดีที่ขอให้นับโทษต่อเป็นคดีเดียวกันได้เพราะโจทก์จำเลยเป็นคนเดียวกัน และพยานหลักฐานน่าจะเป็นชุดเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าโจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไป และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีทุกสำนวนรวมกัน ศาลจะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เมื่อโจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีที่ขอให้นับโทษต่อโดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกันแล้วศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมโดยจำคุกจำเลยเต็มตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวนแล้ว ศาลก็นับโทษจำเลยต่อกันไม่ได้เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีทุจริตหลายกระทง หากศาลมิได้รวมการพิจารณาคดี โทษจำคุกต้องไม่เกินที่กฎหมายกำหนด
การกระทำความผิดหลายกรรม ถ้า โจทก์แยกฟ้องจำเลยแต่ละกระทงความผิด และศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีทุกสำนวนรวมกัน ก็จะลงโทษจำเลยได้ไม่เกินกำหนดตาม ป.อ. มาตรา 91 แต่เมื่อโจทก์แยกฟ้องโดยศาลมิได้สั่งให้พิจารณาคดีรวมกัน และศาลลงโทษจำคุกจำเลยทุกกรรมเต็ม ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 91 ทั้งสองสำนวนแล้ว ดังนี้ จะนับโทษจำเลยต่อกันไม่ได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษเกินกำหนดที่ป.อ. มาตรา 91 บัญญัติไว้.