พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการต้องมีรายละเอียดสินทรัพย์ครบถ้วนและจัดทำด้วยความสุจริต ศาลมีอำนาจตรวจสอบเนื้อหาแผนได้
การที่กฎหมายกำหนดขั้นตอนในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนไว้ว่าเมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/46 แล้วให้ศาลพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบาทในทางเศรษฐกิจที่จะคุ้มครองเจ้าหนี้เสียงข้างน้อยและให้แผนฟื้นฟูกิจการก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าหนี้ตลอดจนประเทศชาติโดยรวม ศาลจึงมีอำนาจในการที่จะตรวจสอบถึงเนื้อหาของแผนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า (1)...(3)..." ก็หมายความเพียงว่าเมื่อแผนมีลักษณะครบถ้วนตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว ถือว่าเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ให้ศาลมีดุลพินิจที่จะเห็นชอบด้วยแผนได้ แต่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนนั้น ศาลมีอำนาจนำข้อเท็จจริงหรือหลักกฎหมายอื่นนอกเหนือจากมาตรา 90/58 มาประกอบพิจารณาได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ถ้าแผนฟื้นฟูกิจการมีลักษณะครบถ้วนตามมาตรา 90/58 แล้ว ศาลจะต้องมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนทุกกรณีไป
การพิจารณาว่าแผนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แผนนั้นจะต้องมีรายละเอียดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 บัญญัติว่า "ในแผนให้มีรายการต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย... (2) รายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สินและภาระผูกพันต่างๆ ของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ..." คำว่า สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการและประโยชน์ที่ได้รับในเชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต สินทรัพย์จึงรวมทั้งทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้อง กรณีนี้ลูกหนี้มีหนี้เงินให้กู้ยืมซึ่งมีสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าว แต่ในแผนไม่ปรากฏว่าสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินดังกล่าว ผู้ทำแผนได้กำหนดวิธีการจัดการไว้อย่างไรที่จะให้เจ้าหนี้ได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งหนี้ให้กู้ยืมเงินจำนวนมากที่กรรมการของลูกหนี้มีส่วนประมาทก่อให้เกิดความเสียหาย ลูกหนี้อาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนแก่กรรมการได้ซึ่งในการเรียกร้องนั้นเจ้าหนี้ของลูกหนี้จะเป็นผู้เรียกบังคับได้เท่าที่เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 หากลูกหนี้ล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถใช้วิธีการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 118 หรือมาตรา 119 เรียกร้องหนี้ดังกล่าวได้ หรือหากเป็นหนี้เด็ดขาดตามคำพิพากษาก็มีระยะเวลาการบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ดังนั้น ถือได้ว่าแผนกล่าวถึงรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ไม่ครบถ้วน ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 (2)
การพิจารณาว่าแผนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แผนนั้นจะต้องมีรายละเอียดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 บัญญัติว่า "ในแผนให้มีรายการต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย... (2) รายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สินและภาระผูกพันต่างๆ ของลูกหนี้ในขณะที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ..." คำว่า สินทรัพย์ หมายถึง ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการและประโยชน์ที่ได้รับในเชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต สินทรัพย์จึงรวมทั้งทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้อง กรณีนี้ลูกหนี้มีหนี้เงินให้กู้ยืมซึ่งมีสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าว แต่ในแผนไม่ปรากฏว่าสิทธิเรียกร้องในหนี้เงินดังกล่าว ผู้ทำแผนได้กำหนดวิธีการจัดการไว้อย่างไรที่จะให้เจ้าหนี้ได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งหนี้ให้กู้ยืมเงินจำนวนมากที่กรรมการของลูกหนี้มีส่วนประมาทก่อให้เกิดความเสียหาย ลูกหนี้อาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนแก่กรรมการได้ซึ่งในการเรียกร้องนั้นเจ้าหนี้ของลูกหนี้จะเป็นผู้เรียกบังคับได้เท่าที่เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 หากลูกหนี้ล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถใช้วิธีการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 118 หรือมาตรา 119 เรียกร้องหนี้ดังกล่าวได้ หรือหากเป็นหนี้เด็ดขาดตามคำพิพากษาก็มีระยะเวลาการบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ดังนั้น ถือได้ว่าแผนกล่าวถึงรายละเอียดแห่งสินทรัพย์ไม่ครบถ้วน ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเพิ่มเติม, เช็คลงวันที่ล่วงหน้า, การเรียกร้องหนี้ในคดีล้มละลาย, สละสิทธิเงื่อนเวลา
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อเรือยนต์จากจำเลย โดยชำระด้วยเงินสดบางส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่ละเดือน รวม 13 ฉบับ ภายหลังจำเลยได้โอนเช็คดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอก สัญญาระหว่างจำเลยและผู้ร้องเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์เรือยนต์ให้แก่ผู้ร้องแล้ว และผู้ร้องต้องชำระหนี้ค่าเรือยนต์ให้ครบถ้วนในวันเดียวกัน การที่จำเลยและผู้ร้องตกลงกันให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นรายเดือนตามจำนวนเงินในเช็คเป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นสัญญาเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจะคืนเช็คก่อนถึงกำหนด แล้วขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ทั้งหมดทันที หรือขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับเมื่อเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดไม่ได้ แม้จะถือว่ามูลหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายและต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนผิดสัญญา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ส่วนหนี้ตามเช็คฉบับที่ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลแล้วกับเช็คอีก 3ฉบับ ที่ผู้ทรงเช็คซึ่งรับโอนไปจากจำเลยได้นำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่าผู้ร้องยินยอมชำระเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับนี้ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือว่าผู้ร้องสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเพิ่มเติมและการเรียกร้องหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อเรือยนต์จากจำเลย โดยชำระเงินสดบางส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่ละเดือน รวม13 ฉบับ ภายหลังจำเลยได้โอนเช็คดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอกสัญญาระหว่างจำเลยและผู้ร้องเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์เรือยนต์ให้แก่ผู้ร้องแล้วและผู้ร้องต้องชำระหนี้ค่าเรือยนต์ให้ครบถ้วนในวันเดียวกัน การที่จำเลยและผู้ร้องตกลงกันให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นรายเดือนตามจำนวนเงินในเช็คเป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นสัญญาเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะคืนเช็คก่อนถึงกำหนด แล้วขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ทั้งหมดทันที หรือขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับเมื่อเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดไม่ได้ แม้จะถือว่ามูลหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้าย และต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนผิดสัญญา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ส่วนหนี้ตามเช็คฉบับที่ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลแล้วกับเช็คอีก 3 ฉบับที่ผู้ทรงเช็คซึ่งรับโอนไปจากจำเลยได้นำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่าผู้ร้องยินยอมชำระเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับนี้ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถือว่าผู้ร้องสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการตกลงผ่อนชำระหนี้ด้วยเช็ค และสิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องทำสัญญาซื้อเรือยนต์จากจำเลย โดยชำระด้วยเงินสดบางส่วนหนี้ที่เหลือผู้ร้องชำระด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าแต่ละเดือน รวม 13 ฉบับ ภายหลังจำเลยได้โอนเช็คดังกล่าวให้แก่บุคคลภายนอก สัญญาระหว่างจำเลยและผู้ร้องเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ซึ่งจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์เรือยนต์ให้แก่ผู้ร้องแล้ว และผู้ร้องต้องชำระหนี้ค่าเรือยนต์ให้ครบถ้วนในวันเดียวกัน การที่จำเลยและผู้ร้องตกลงกันให้ผู้ร้องชำระหนี้เป็นรายเดือนตามจำนวนเงินในเช็คเป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นสัญญาเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายเดิม จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจะคืนเช็คก่อนถึงกำหนด แล้วขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ทั้งหมดทันที หรือขอให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามจำนวนเงินในเช็คแต่ละฉบับ เมื่อเช็คนั้นยังไม่ถึงกำหนดไม่ได้ แม้จะถือว่ามูลหนี้เดิมตามสัญญาซื้อขายยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคท้ายและต่อมาจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีส่วนผิดสัญญา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ส่วนหนี้ตามเช็คฉบับที่ผู้ร้องนำเงินมาวางศาลแล้วกับเช็คอีก 3 ฉบับ ที่ผู้ทรงเช็คซึ่งรับโอนไปจากจำเลยได้นำมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น ปรากฏตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่าผู้ร้องยินยอมชำระเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับนี้ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือว่าผู้ร้องสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกร้องเงินตามเช็คทั้งสี่ฉบับดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจยึดทรัพย์ภาษีอากรอยู่ภายใต้กฎหมายล้มละลาย ทรัพย์สินยังเป็นของลูกหนี้จนกว่าจะมีการขายทอดตลาด
อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายล้มละลาย ฉะนั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ยึดทรัพย์ของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระค่าภาษีอากรที่ค้าง แต่ยังไม่ทันได้ขาย จำเลยได้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อนเช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นจึงยังคงอยู่แก่จำเลย และเป็นทรัพย์ที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายซึ่งตามกฎหมายย่อมเป็นทรัพย์ที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ไม่มีทางที่จะถือได้ว่าทรัพย์นั้นได้ตกเป็นของแผ่นดินไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกค่าหุ้นค้างชำระ: ต้องเป็นผู้ถือหุ้นตามกฎหมาย การโอนหุ้นต้องทำตามฟอร์ม
สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังค้างชำระจากผู้ถือหุ้นได้นั้น เป็นการให้เรียกร้องมาเป็นสินทรัพย์ของบริษัทผู้ล้มละลาย เพื่อแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ทั้งตามส่วน ดังนั้น จะต้องเป็นผู้ถือหุ้นตามกฎหมายที่จะต้องรับผิดชำระต่อบริษัท ส่วนผู้ที่จะต้องรับผิดเพราะการแสดงออกให้เจ้าหนี้ บางคนหลงเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ถือหุ้นประการใดนั้น เป็นเรื่องของเจ้าหนี้ผู้หลงเข้าใจผิดแต่ละรายไปหาใช่สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นที่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลของการโอนหุ้นที่ไม่สมบูรณ์
สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังค้างชำระจากผู้ถือหุ้นได้นั้น เป็นการให้เรียกร้องมาเป็นสินทรัพย์ของบริษัทผู้ล้มละลาย เพื่อแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายตามส่วนดังนั้น จะต้องเป็นผู้ถือหุ้นตามกฎหมายที่จะต้องรับผิดชำระต่อบริษัทส่วนผู้ที่จะต้องรับผิดเพราะการแสดงออกให้เจ้าหนี้บางคนหลงเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ถือหุ้นประการใดนั้นเป็นเรื่องของเจ้าหนี้ผู้หลงเข้าใจผิดแต่ละรายไปหาใช่สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่