พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเป็นหลักฐานการกู้ยืม ศาลบังคับตามจำนวนเงินกู้จริง
เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย สัญญาขายฝากที่ดินจึงเป็นนิติกรรมที่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง จำเลยจะขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองชำระเงินตามราคาขายฝากที่ดินเป็นต้นเงินกู้ไม่ได้ ต้องบังคับตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยมีเจตนาจะผูกพันในนิติกรรมการกู้ยืมเงินที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง โดยถือเพียงว่าสัญญาขายฝากที่ดินเป็นหลักฐานว่าโจทก์ทั้งสองได้กู้ยืมเงินจากจำเลยและโจทก์ทั้งสองได้มอบโฉนดที่ดินของตนให้จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันเงินกู้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะกรรมซื้อขายที่ดินจากการสมคบกันจดทะเบียนโอนโดยไม่สุจริต และอายุความการฟ้องเพิกถอน
จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยได้มีการส่งมอบที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองเข้าซ่อมแซมครอบครองตลอดมา อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน ข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงมีผลผูกพันบังคับต่อกันได้แล้ว
จำเลยทั้งสองสมคบกันจดทะเบียนโอนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่มีการชำระเงินกันจริง จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง การแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองในทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 ก็ได้ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อใดก็ได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองมิใช่การฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240
จำเลยทั้งสองสมคบกันจดทะเบียนโอนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่มีการชำระเงินกันจริง จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง การแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองในทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 ก็ได้ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อใดก็ได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองมิใช่การฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การซื้อขายไม่เป็นเจตนาลวง สิทธิขับไล่เมื่อไม่ผ่อนชำระ
เดิมจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทที่จดทะเบียนจำนองแก่ธนาคาร ก. และจำเลยเป็นหนี้เงินกู้ยืมโจทก์จำนวนหนึ่ง ต่อมาธนาคาร ก. ทวงให้จำเลยชำระหนี้จำนอง จำเลยจึงตกลงทำสัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ แล้วโจทก์นำไปจำนองธนาคาร ท. โดยมีข้อตกลงให้จำเลยผ่อนชำระหนี้แทนโจทก์เมื่อชำระครบถ้วนแล้วโจทก์จะโอนที่ดินและบ้านพิพาทคืนจำเลย ดังนั้น สัญญาขายบ้านและที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยทำขึ้นโดยมีเจตนาที่แท้จริง แต่มีเงื่อนไขในการโอนกลับคืนอันถือเป็นข้อตกลงที่บังคับได้ การซื้อขายบ้านและที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่การแสดงเจตนาลวง แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ผ่อนชำระหนี้แทนโจทก์ และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ประสงค์ให้จำเลยและบริวารอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทอีกต่อไป โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายฝากโดยสุจริตของบุคคลภายนอก และผลกระทบต่อการเพิกถอนนิติกรรมอันเป็นเจตนาลวง
ขณะที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับขายฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่านิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างโจทก์เจ้าของที่ดินกับจำเลยที่ 1 เป็นเจตนาลวง อีกทั้งจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากไว้ในราคาที่สูงกว่าราคาประเมินมาก ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น โจทก์ไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องการแสดงเจตนาลวงดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ เมื่อการขายฝากมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่ถอน จำเลยที่ 2 โอนให้จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ขายต่อให้จำเลยที่ 4 ดังนี้ นิติกรรมการให้และการซื้อขายก็ไม่อาจเพิกถอนได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8533/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายก่อนจดทะเบียนนิติบุคคล และเจตนาลวง: สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 เจ้าของที่ดินพิพาท ทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนกับ พ. ตกลงจัดสรรขายที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 โดยให้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดขึ้นดำเนินการ ต่อมาวันที่ 9 ตุลาคม 2536 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระบุตกลงขายให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ลงนามในฐานะผู้จะขาย และจำเลยที่ 1 กับ ว. ภริยาจำเลยที่ 1 ลงนามร่วมกันในฐานะตัวแทนโจทก์ผู้จะซื้อ ส่วนโจทก์จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2536 การตกลงทำสัญญาดังกล่าว จึงอยู่ในช่วงระยะเวลาก่อนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและมีอำนาจลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายในฐานะผู้จะขาย แต่ขณะนั้นโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 และ ว. ภริยาจำเลยที่ 1 ซึ่งลงนามในสัญญาดังกล่าวในช่องผู้จะซื้อย่อมไม่มีฐานะเป็นตัวแทนโจทก์ แสดงให้เห็นได้ว่า การที่จำเลยที่ 1ลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายในฐานะผู้จะขายและจำเลยที่ 1 ลงนามร่วมกับ ว. ภริยาของตนในฐานะผู้จะซื้อ เป็นการแสดงเจตนาลวงเพื่อให้พ. หุ้นส่วนนำไปแสดงเพื่อขอกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน แต่ไม่สามารถหาแหล่งเงินกู้ยืมได้ สัญญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพราะเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่งโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ต่อมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 165/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินและผลกระทบต่อบุคคลภายนอกผู้ซื้อโดยสุจริต
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองโดยมีชื่อโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โจทก์ทั้งสองกู้ยืมเงินและจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคาร แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้โจทก์ที่ 2 จึงโอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไว้เพื่อไม่ให้ธนาคารบังคับจำนอง และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้แก่ธนาคารดังกล่าวอีก ต่อมาโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองแล้วโอนขายให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เช่นนี้ เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ฉะนั้น ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ทั้งสองที่จะต้องนำสืบถึงความไม่สุจริตของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยโมฆะจากเจตนาลวงและข้อตกลงพิเศษที่ขัดแย้งกับกรมธรรม์
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ไม่ได้ค้างชำระเบี้ยประกัน เพราะโจทก์ตกลงรับชำระเบี้ยประกันภัยจากจำเลยเพียงอัตราร้อยละ 30 ของเบี้ยประกันทั้งหมดซึ่งผู้เอาประกันต้องจ่ายตามกรมธรรม์โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น ฉะนั้น จำเลยจึงนำสืบตามคำให้การ และศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวได้
คู่ความซึ่งมีหน้าที่นำพยานมาสืบภายหลังต้องถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนในเวลาที่พยานเบิกความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89 จะต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบภายหลังประสงค์จะสืบพยานของตนเพื่อหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นหรือเพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำหรือหนังสือซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้นโดยเฉพาะ ดังนั้นการที่จำเลยนำสืบหักล้างพยานโจทก์โดยตรง ย่อมไม่ใช่เป็นจู่โจมทางพยานหลักฐานหรือเอาเปรียบโจทก์ ศาลรับฟังได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 89
ก่อนตกลงทำสัญญาประกันภัย โจทก์กับจำเลยได้ตกลงกันว่าโจทก์ยอมรับเบี้ยประกันอัตราร้อยละ 30 ของเบี้ยประกันภัยทั้งหมดและให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเองนับแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2536 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2536แต่ตามกรมธรรม์ประกันภัย ระบุให้จำเลยชำระเบี้ยประกันทั้งหมดและให้โจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตลอดอายุสัญญา การแสดงเจตนาในการทำสัญญาประกันภัยดังกล่าว จึงเป็นการแสดงเจตนาลวง โดยโจทก์กับจำเลยสมรู้กันทำขึ้นเพื่อลวงบุคคลอื่นว่าจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัย และโจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บุคคลภายนอก สัญญาประกันภัยจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคหนึ่งจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณียกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เมื่อจำเลยได้ชำระเบี้ยประกันให้โจทก์ไปแล้วร้อยละ 30 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเบี้ยประกันที่เหลือจากจำเลยอีก
คู่ความซึ่งมีหน้าที่นำพยานมาสืบภายหลังต้องถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนในเวลาที่พยานเบิกความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89 จะต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบภายหลังประสงค์จะสืบพยานของตนเพื่อหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำพยานฝ่ายที่นำสืบก่อนในข้อความทั้งหลายซึ่งพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นหรือเพื่อพิสูจน์ข้อความอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเกี่ยวด้วยการกระทำหรือถ้อยคำหรือหนังสือซึ่งพยานเช่นว่านั้นได้กระทำขึ้นโดยเฉพาะ ดังนั้นการที่จำเลยนำสืบหักล้างพยานโจทก์โดยตรง ย่อมไม่ใช่เป็นจู่โจมทางพยานหลักฐานหรือเอาเปรียบโจทก์ ศาลรับฟังได้ เพราะกรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 89
ก่อนตกลงทำสัญญาประกันภัย โจทก์กับจำเลยได้ตกลงกันว่าโจทก์ยอมรับเบี้ยประกันอัตราร้อยละ 30 ของเบี้ยประกันภัยทั้งหมดและให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเองนับแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2536 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2536แต่ตามกรมธรรม์ประกันภัย ระบุให้จำเลยชำระเบี้ยประกันทั้งหมดและให้โจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตลอดอายุสัญญา การแสดงเจตนาในการทำสัญญาประกันภัยดังกล่าว จึงเป็นการแสดงเจตนาลวง โดยโจทก์กับจำเลยสมรู้กันทำขึ้นเพื่อลวงบุคคลอื่นว่าจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัย และโจทก์เป็นผู้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้บุคคลภายนอก สัญญาประกันภัยจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคหนึ่งจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณียกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เมื่อจำเลยได้ชำระเบี้ยประกันให้โจทก์ไปแล้วร้อยละ 30 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเบี้ยประกันที่เหลือจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายโมฆะจากเจตนาหลอกลวง จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาและเงินมัดจำ
โจทก์มิใช่บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น หากแต่ได้บรรยายด้วยว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครั้นถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอนขายให้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2 คำฟ้องดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบกันโดยตลอดแล้วมีความหมายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 สมรู้ร่วมคิดกันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันขึ้นโดยไม่เป็นความจริงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้จำเลยที่ 1ต้องโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ข้อความตามคำฟ้องดังกล่าวชัดพอที่จะทำให้จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีได้แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 2 มิได้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 2รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1ภายหลังโดยอ้างว่าตนเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและมีสิทธิที่จะซื้อได้ก่อนโจทก์ซึ่งไม่เป็นความจริง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาไม่สุจริตสมรู้ร่วมคิดกันแสดงเจตนาลวงโดยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้จำเลยที่ 1 ต้องโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ไม่โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ เงินมัดจำที่โจทก์จะต้องคืนให้แก่ ว.ผู้จะซื้อที่ดินพิพาทต่อจากโจทก์นั้น เป็นเงินที่ ว.ออกเป็นค่ามัดจำไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ว.ตามสัญญาที่ทำกันไว้ได้ โจทก์ก็ต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่ ว. และหากโจทก์ไม่ผิดสัญญาโดยสามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.ได้ เงินมัดจำนี้โจทก์ก็ต้องหักเป็นเงินค่าที่ดินที่ ว.จะต้องชำระให้แก่โจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่ ว. จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ เงินค่าขาดกำไรที่โจทก์จะได้รับจากการขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้หรือควรจะรู้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วไปขายต่อให้ ว.จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นความเสียหายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ การชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาโดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างให้จำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะสัญญาซื้อขายที่ดิน สมรู้ร่วมคิดหลีกเลี่ยงสัญญาเดิม และขอบเขตความรับผิดชอบค่าเสียหาย
โจทก์มิใช่บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น หากแต่ได้บรรยายด้วยว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ครั้นถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยที่ 1 ไม่ยอมโอนขายให้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเจตนาไม่สุจริต เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกับจำเลยที่ 2 คำฟ้องดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบกันโดยตลอดแล้วมีความหมายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 สมรู้ร่วมคิดกันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันขึ้นโดยไม่เป็นความจริง เป็นการกระทำที่ไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้จำเลยที่ 1 ต้องโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ข้อความตามคำฟ้องดังกล่าวชัดพอที่จะทำให้จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีได้แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ภายหลังโดยอ้างว่าตนเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและมีสิทธิที่จะซื้อได้ก่อนโจทก์ซึ่งไม่เป็นความจริง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาไม่สุจริตสมรู้ร่วมคิดกันแสดงเจตนาลวงโดยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้จำเลยที่ 1 ต้องโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ไม่โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้
เงินมัดจำที่โจทก์จะต้องคืนให้แก่ ว.ผู้จะซื้อที่ดินพิพาทต่อจากโจทก์นั้น เป็นเงินที่ ว.ออกเป็นค่ามัดจำไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.ตามสัญญาที่ทำกันไว้ได้ โจทก์ก็ต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่ ว.และหากโจทก์ไม่ผิดสัญญาโดยสามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.ได้ เงินมัดจำนี้โจทก์ก็ต้องหักเป็นเงินค่าที่ดินที่ ว.จะต้องชำระให้แก่โจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่ ว.จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์
เงินค่าขาดกำไรที่โจทก์จะได้รับจากการขายที่ดินพิพาทให้แก่ว.เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตาม ป.พ.พ.มาตรา 222 วรรคสองเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้หรือควรจะรู้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วไปขายต่อให้ ว.จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นความเสียหายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์
การชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาโดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างให้จำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 369 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ภายหลังโดยอ้างว่าตนเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและมีสิทธิที่จะซื้อได้ก่อนโจทก์ซึ่งไม่เป็นความจริง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาไม่สุจริตสมรู้ร่วมคิดกันแสดงเจตนาลวงโดยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างกันเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้จำเลยที่ 1 ต้องโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ไม่โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้
เงินมัดจำที่โจทก์จะต้องคืนให้แก่ ว.ผู้จะซื้อที่ดินพิพาทต่อจากโจทก์นั้น เป็นเงินที่ ว.ออกเป็นค่ามัดจำไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ไม่สามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.ตามสัญญาที่ทำกันไว้ได้ โจทก์ก็ต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่ ว.และหากโจทก์ไม่ผิดสัญญาโดยสามารถโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ ว.ได้ เงินมัดจำนี้โจทก์ก็ต้องหักเป็นเงินค่าที่ดินที่ ว.จะต้องชำระให้แก่โจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่ ว.จึงถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์
เงินค่าขาดกำไรที่โจทก์จะได้รับจากการขายที่ดินพิพาทให้แก่ว.เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตาม ป.พ.พ.มาตรา 222 วรรคสองเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้หรือควรจะรู้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทแล้วไปขายต่อให้ ว.จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นความเสียหายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์
การชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาโดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างให้จำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 369 แม้จำเลยที่ 1 จะไม่อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6411/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองอำพรางซื้อขาย: นิติกรรมจำนองเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกัน แต่ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกันได้ เพราะที่ดินพิพาทตกอยู่ภายใต้ข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายจึงได้จดทะเบียนจำนองเป็นการอำพรางนิติกรรมซื้อขายนิติกรรมจำนองจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้และจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองได้