คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 376

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก & อายุความ: สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
หนังสือของ ว. ถึงจำเลย มีข้อความแสดงเจตนาแก่จำเลยว่า ว. กับพวกต้องการให้จำเลยจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ย่อมมีลักษณะเป็นคำเสนอ การที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วน และทำบันทึกภายในยอมรับว่า ค้างชำระหนี้โจทก์ ย่อมมีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่าง ว. กับพวก และจำเลย โดยให้จำเลยรับมอบงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์แทน เนื่องจากจำเลย ยังค้างชำระหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่ซื้อจาก ว. กับพวกอยู่ และสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือโจทก์ โดยจำเลยทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ โดยไม่จำต้องมีหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องระหว่าง ว. กับพวกและโจทก์ เพราะสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ตั้งประเด็นในคำฟ้องทำนองเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้อง แต่ได้บรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่า ว. กับพวก ตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์ แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไป โดยเมื่อจำเลยได้รับหนังสือจาก ว. แล้วชำระหนี้ให้โจทก์เพียงบางส่วน ซึ่งแสดงว่ามีการตกลงกันระหว่าง ว. กับพวกและจำเลยแล้ว ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องจะต้องด้วยบทกฎหมายเรื่องใดเป็นเรื่องที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วยแล้ว
จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียม แต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ว. กับพวก โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยจึงอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงว่าจะ ชำระหนี้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 376 แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญา ซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของ ว. กับพวก ซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยดังกล่าวได้ คดีจึงต้องมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ มิใช่มีอายุความตามสัญญาซื้อขายและติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก อายุความ 10 ปี ข้อต่อสู้ทางสัญญาซื้อขาย
ว. มีหนังสือถึงจำเลยมีข้อความแสดงเจตนาแก่จำเลยว่าต้องการให้จำเลยจ่ายเงิน 2,112,450 บาท ให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจรับงานจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์ไป 360,000 บาท กับทำบันทึกภายในบริษัทจำเลยยอมรับว่ายังค้างชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,752,450 บาท หนังสือของ ว. ย่อมมีลักษณะเป็นคำเสนอ ส่วนการที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วน และทำบันทึกภายในยอมรับว่าค้างชำระหนี้แก่โจทก์ มีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่าง ว. กับพวกและจำเลย สัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือโจทก์ โดยจำเลยทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ และสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ
แม้โจทก์จะตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องแต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาเป็นที่เข้าใจได้ว่า ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไปเมื่อจำเลยได้รับหนังสือจาก ว. แล้วชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน แสดงว่ามีการตกลงกันระหว่าง ว. กับพวกและจำเลยแล้ว ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วย
จำเลยไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมแต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีอายุความ 10 ปี อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไรจำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงจะชำระหนี้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 376 แต่ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของ ช. กับพวกซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยได้ คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก & อายุความสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
หนังสือที่ ว. มีถึงจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ของ ว. มีข้อความว่า ว. ต้องการให้จำเลยจ่ายเงิน 2,112,450 บาท ให้โจทก์ โดยจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้วหลังจากนั้นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจรับงานดังกล่าวจากโจทก์และจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ไป 360,000 บาท กับทำบันทึกภายในบริษัทจำเลยยอมรับว่ายังค้างชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,752,450 บาท หนังสือดังกล่าวมีลักษณะเป็นคำเสนอ ส่วนการที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วนและทำบันทึกภายในยอมรับว่าค้างชำระหนี้แก่โจทก์ มีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่าง ว. และจำเลยโดยให้จำเลยรับมอบงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์แทน เนื่องจากจำเลยยังค้างชำระค่าที่ดินและอาคารที่ซื้อจาก ว. อยู่ สัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก โดยจำเลยจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ และสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงไม่มีปัญหาว่ามีหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องระหว่าง ว. และโจทก์หรือไม่
จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการซื้อขายและติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมแต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ว. โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไปจาก ว. มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารย่อมมีอายุความ 10 ปี อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ ว. ได้ เมื่อสัญญาระหว่างจำเลยและ ว. เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไรจำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงว่าจะชำระหนี้ของ ว. ให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 376 แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งกระจกและอลูมิเนียมของ ว. ขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 มิใช่มีกำหนด 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้สัญญาเช่าซื้อ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและราคารถยนต์เมื่อรถยนต์สูญหาย
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันรถยนต์ที่เช่าซื้อเอาประกันภัยไว้กับบริษัท ท.โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระเบี้ยประกัน โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา และรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไป ข้อสัญญาเช่าซื้อระบุว่า หากผิดนัดสองคราวติดต่อกันถือว่าสัญญาเลิกกันทันที ดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพราะการไม่ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จนเป็นเหตุให้มีการเลิกสัญญาอันได้แก่ค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1ยังคงครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้ออยู่จนกระทั่งรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไป อันเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาให้ชดใช้ราคารถยนต์โดยตรงอยู่แล้วส่วนข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อที่ว่า หากเกิดการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ โจทก์จะนำเงินที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยมาใช้ในการซื้อรถยนต์ใหม่ แต่ถ้าค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับไม่พอที่จะซื้อรถยนต์ใหม่ได้ จำเลยที่ 1 ต้องออกเงินใช้จนครบนั้น เป็นข้อตกลงเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก คือโจทก์ได้รับค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการสูญหายของรถยนต์ได้จากบริษัท ท. อีกทางหนึ่งด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ซึ่งสิทธิของโจทก์จะเกิดขึ้นต่อเมื่อได้แสดงเจตนาแก่บริษัท ท. ว่าจะถือประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1ดำเนินการขอชดเชยค่าสินไหมทดแทนจากบริษัท ท. แต่จำเลยที่ 1ไม่ดำเนินการ อาจเป็นเหตุให้บริษัท ท. ยกข้อต่อสู้อันเกิดแก่สัญญาประกันภัยที่มีอยู่ต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาต่อสู้โจทก์ผู้รับประโยชน์ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 376 การที่โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้บริษัท ท.ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงมีขั้นตอนและเสี่ยงต่อการที่โจทก์จะไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนยิ่งกว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อการสูญหายของรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปโดยตรง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2793/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่แจ้งความทันทีหลังรถถูกลัก ทำให้เสียสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย
อ.ได้เอาประกันภัยรถยนต์ไว้แก่บริษัทจำเลย ในกรมธรรม์ประกันภัยได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่า เมื่อมีการกระทำผิดในทางอาญาซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยไม่ชักช้า ต่อมารถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ได้ถูกคนร้ายลักไป อ.แน่ใจในทันทีว่าส.เป็นผู้ลักไปแต่อ.เพิ่งจะไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหลังจากที่รถถูกลักไปแล้ว 14 วัน ซึ่งอาจเกิดผลเสียหายแก่จำเลยได้ ดังนี้ถือได้ว่า อ.มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและการประกันภัย: การใช้สิทธิโดยสุจริต แม้เวลาผ่านไป
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า ผู้เช่าซื้อคือจำเลยที่ 1 ต้องประกันภัยรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปจากโจทก์ และเสียค่าเบี้ยประกันภัย โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ จำเลยที่ 1 จึงได้เอาประกันภัยรถพิพาทไว้กับบริษัทประกันภัย ต่อมาระหว่างชำระค่าเช่าซื้อไม่เสร็จ เช่นนี้ ตามสัญญาเช่าซื้อมีว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อการสูญหายและเสียหายทุกชนิดอันเกิดขึ้นแก่รถยนต์ที่เช่าซื้อ เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อไปเกิดสูญหายขึ้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาใช้ราคารถยนต์ได้โดยตรง และที่ข้อสัญญาที่ให้ผู้เช่าซื้อต้องประกันภัยและเสียเบี้ยประกันภัยดังกล่าวข้างต้น ก็เป็นการที่ตกลงกันเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือโจทก์ ให้ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการสูญหายของรถยนต์ได้จากบริษัทประกันภัยอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งสิทธิของโจทก์จะเกิดมีขึ้นก็ต่อเมื่อได้แสดงเจตนาแก่บริษัทประกันภัยว่า จะถือเอาประโยชน์จากสัญญา และบริษัทประกันภัยก็อาจยกข้อต่อสู้อันเกิดแต่สัญญาประกันภัยที่มีต่อจำเลยที่ 1 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 376 การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย แต่ได้เรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 โดยตรงแม้จะเป็นเวลาภายหลังที่รถยนต์ได้หายไปแล้วเป็นเวลาถึง 3 ปี ก็หาใช่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและการประกันภัย: การใช้สิทธิโดยสุจริตแม้เวลาผ่านไป
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า ผู้เช่าซื้อคือจำเลยที่ 1 ต้องประกันภัยรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปจากโจทก์ และเสียเบี้ยประกันภัย โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ จำเลยที่ 1 จึงได้เอาประกันภัยรถพิพาทไว้กับบริษัทประกันภัย ต่อมาระหว่างชำระค่าเช่าซื้อไม่เสร็จ เช่นนี้ตามสัญญาเช่าซื้อมีว่า จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อการสูญหายและเสียหายทุกชนิดอันเกิดขึ้นแก่รถยนต์ที่เช่าซื้อ เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อไปเกิดสูญหายขึ้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาใช้ราคารถยนต์ได้โดยตรงและที่ข้อสัญญาที่ให้ผู้เช่าซื้อต้องประกันภัยและเสียเบี้ยประกันภัยดังกล่าวข้างต้น ก็เป็นการที่ตกลงกันเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือโจทก์ ให้ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการสูญหายของรถยนต์ได้จากบริษัทประกันภัยอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งสิทธิของโจทก์จะเกิดมีขึ้นก็ต่อเมื่อได้แสดงเจตนาแก่บริษัทประกันภัยว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญา และบริษัทประกันภัยก็อาจยกข้อต่อสู้อันเกิดแต่สัญญาประกันภัยที่มีต่อจำเลยที่ 1 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 376. การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยแต่ได้เรียกร้องต่อจำเลยที่ 1 โดยตรงแม้จะเป็นเวลาภายหลังที่รถยนต์ได้หายไปแล้วเป็นเวลาถึง 3 ปี ก็หาใช่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของคู่สัญญาประนีประนอมยอมความในการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ขัดต่อข้อตกลง
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่าจำเลยที่ 1 จะยกที่ดินให้แก่บุตรของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เอาที่ดินนั้นไปทำจำนองไว้กับจำเลยที่ 2 โจทก์ในฐานะที่เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของคู่สัญญาประนีประนอมยอมความในการฟ้องเพิกถอนจำนองที่ดินที่ตกลงจะยกให้บุตร
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยที่ 1 จะยกที่ดินให้แก่บุตรของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เอาที่ดินนั้นไปทำจำนองไว้ กับจำเลยที่ 2 โจทก์ในฐานะที่เป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2503)