พบผลลัพธ์ทั้งหมด 158 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้ประชาชนหลงผิด
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GANTRISIN'ในสินค้าจำพวก 3 เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษาโรคมนุษย์และได้ขายยาที่มีเครื่องหมายนี้มากว่า 10 ปีแล้ว จำเลยเพิ่งผลิตยาใช้เครื่องหมายการค้าว่า 'KANDICIN' ออกจำหน่ายได้ 2 ปี เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยเป็นอักษรโรมันใช้ภาษาต่างประเทศเป็นลักษณะสำคัญ ลักษณะและจำนวนตัวอักษรไล่เรี่ยกัน มีสามพยางค์เท่ากัน การอ่านออกสำเนียงพื้นเสียงอักษรที่นำหน้าก็ดี พยางค์ที่ 2 และที่ 3 ก็ดี คล้ายกันและเหมือนกันของโจทก์อ่านออกเสียงได้ว่า 'กันทริสซิน' หรือ 'กานตริซิน' ของจำเลยว่า 'แคนดิซิน' หรือ 'คานดิซิน' เป็นสำเนียงที่ใกล้เคียงคล้ายกันมากเม็ดยา ขนาดและสีก็อย่างเดียวกัน ตัวอักษรที่พิมพ์ทับกันบนเม็ดยาก็คล้ายกัน และต่างก็ใช้กับยาปฏิชีวนะเหมือนกัน จึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ เครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้ประชาชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้า เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี ความรับผิดของผู้ค้ำประกันต่อหนี้เดิมและหนี้ในอนาคต ข้อตกลงดอกเบี้ยทบต้น
จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 และสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ระบุชัดว่าเป็นการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 ซึ่งจำเลยที่ 1 เปิดไว้กับธนาคารโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินตามสัญญาที่ทำไว้โดยวิธีเดินสะพัดจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว บัญชีนั้นจะเป็นบัญชีชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว หรือเป็นบัญชีของบริษัทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ เป็นผู้เปิดไว้ในนามของบริษัท จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ และไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกัน แต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าว จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่ จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1 ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้ว จึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกัน แต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าว จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่ จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1 ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้ว จึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันครอบคลุมหนี้เดิมและดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณี
จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 และสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ระบุชัดว่าเป็นการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 ซึ่งจำเลยที่ 1เปิดไว้กับธนาคารโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เบิกเงินตามสัญญาที่ทำไว้โดยวิธีเดินสะพัดจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าว บัญชีนั้นจะเป็นบัญชีชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว หรือเป็นบัญชีของบริษัทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ เป็นผู้เปิดไว้ในนามของบริษัทจึงไม่ใช่ข้อสำคัญ และไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้วจึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ก่อนแล้วก่อนทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันแต่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 2 เข้าค้ำประกันจำนวนเงินที่เบิกคือ ตามบัญชีกระแสรายวันเลขที่ 715 การเบิกเงินเกินบัญชีย่อมหมายถึงการเบิกจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ดังกล่าวจึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้จำกัดในวงเงินและระยะเวลาตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ธนาคารโจทก์จะให้จำเลยรับรองหนี้เดิมนั้นหรือไม่จึงไม่เป็นข้อสำคัญ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่1ซึ่งมีอยู่ก่อนเข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นด้วย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ มีข้อความว่าถ้าธนาคารโจทก์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกให้ถือว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยทุกครั้งไป โดยธนาคารไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบก่อน เป็นความยินยอมของจำเลยที่ 2 โดยสมัครใจยอมค้ำประกันต่อไปอีกเอง จึงใช้บังคับได้ และไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด
การคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเมื่อยังไม่มีการหักทอนบัญชีต่อกัน ดอกเบี้ยทบต้นจึงยังคงคิดคำนวณกันได้ต่อไป จนถึงวันที่หักทอนบัญชี และมีการผิดนัดแล้วจึงจะคิดคำนวณดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้ คงคิดได้แต่ดอกเบี้ยอัตราตามสัญญา โดยวิธีคิดดอกเบี้ยธรรมดาจากเงินต้นซึ่งรวมดอกเบี้ยทบต้นสำหรับระยะเวลาก่อนผิดนัดเป็นเงินต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาตค้าอาหาร: พิจารณาจากพื้นที่ใช้ประกอบการค้าทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่วางขาย
เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่องควบคุมการค้าอาหารและน้ำแข็งในสถานที่เอกชน(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2505 มุ่งควบคุมสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการค้าสถานที่ใช้ประกอบการค้าตามความของเทศบัญญัติฉบับนี้ จึงต้องหมายถึงสถานที่ที่ใช้ประกอบการค้าทั้งหมด หาได้หมายถึงเฉพาะที่ตั้งสำหรับวางขายสินค้าเท่านั้นไม่ เมื่อร้านค้าของโจทก์ที่ใช้เป็นที่ขายอาหารบรรจุขวดมีเนื้อที่ 60 ตารางเมตร โจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตรา 60 ตารางเมตร ที่ระบุไว้ตามบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตนั้นจะเสียเฉพาะเนื้อที่ตรงที่ตั้งตู้และชั้นวางขายอาหาร หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาตค้าอาหาร: พิจารณาจากพื้นที่ใช้ประกอบการค้าทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่วางขาย
เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่องควบคุมการค้าอาหารและน้ำแข็งในสถานที่เอกชน(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2505 มุ่งควบคุมสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการค้าสถานที่ใช้ประกอบการค้าตามความของเทศบัญญัติฉบับนี้ จึงต้องหมายถึงสถานที่ที่ใช้ประกอบการค้าทั้งหมด หาได้หมายถึงเฉพาะที่ตั้งสำหรับวางขายสินค้าเท่านั้นไม่ เมื่อร้านค้าของโจทก์ที่ใช้เป็นที่ขายอาหารบรรจุขวดมีเนื้อที่ 60 ตารางเมตร โจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตรา 60 ตารางเมตร ที่ระบุไว้ตามบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตนั้นจะเสียเฉพาะเนื้อที่ตรงที่ตั้งตู้และชั้นวางขายอาหาร หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการและตัวแทนในความเสียหายจากการใช้รถราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพลาธิการกองพลทหารม้า สั่งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพลขับและสังกัดอยู่ในกองพลเดียวกัน ขับรถยนต์ของทางราชการกองพลทหารม้าไปขนปูนซิเมนต์ให้วัดซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการวัดอยู่ด้วย กิจการดังกล่าวมิใช่ราชการของกองทัพบกจำเลยที่ 3 ทั้งมิได้เกี่ยวกับตัวจำเลยที่ 1 แต่ประการใด ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่2 เป็นตัวการ และจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในกิจการนี้โดยปริยาย เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กลับกองพลทหารม้าได้ชนรถยนต์โจทก์เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวการย่อมต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ทำไปนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 820 (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2515)
แม้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จะเป็นข้าราชการทหารสังกัดอยู่ในกองพลทหารม้าซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของกองทัพบกจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การขนปูนซิเมนต์ดังกล่าวข้างต้นเป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 3 แต่อย่างไร การใช้รถยนต์ของทางราชการก็ดี การเติมน้ำมันของทางราชการก็ดี หาทำให้กิจการส่วนตัวจำเลยที่ 2 กลายเป็นงานราชการของจำเลยที่ 3 ไปไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นแก่โจทก์
ในเรื่องค่าเสื่อมราคารถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้นั้น แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ตาม เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดจำนวนค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ฎีกา ศาลฎีกาอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 245(1),247 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้
แม้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จะเป็นข้าราชการทหารสังกัดอยู่ในกองพลทหารม้าซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของกองทัพบกจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การขนปูนซิเมนต์ดังกล่าวข้างต้นเป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 3 แต่อย่างไร การใช้รถยนต์ของทางราชการก็ดี การเติมน้ำมันของทางราชการก็ดี หาทำให้กิจการส่วนตัวจำเลยที่ 2 กลายเป็นงานราชการของจำเลยที่ 3 ไปไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นแก่โจทก์
ในเรื่องค่าเสื่อมราคารถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้นั้น แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ตาม เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดจำนวนค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ฎีกา ศาลฎีกาอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 245(1),247 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของตัวการและตัวแทน กรณีใช้รถราชการในกิจการส่วนตัว
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพลาธิการกองพลทหารม้า สั่งให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นพลขับและสังกัดอยู่ในกองพลเดียวกัน ขับรถยนต์ของทางราชการกองพลทหารม้าไปขนปูนซิเมนต์ให้วัดซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการวัดอยู่ด้วยกิจการดังกล่าวมิใช่ราชการของกองทัพบกจำเลยที่ 3 ทั้งมิได้เกี่ยวกับตัวจำเลยที่ 1 แต่ประการใด ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่2 เป็นตัวการและจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในกิจการนี้โดยปริยายเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กลับกองพลทหารม้าได้ชนรถยนต์โจทก์เสียหายถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวการย่อมต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ทำไปนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 427 ประกอบด้วยมาตรา 820
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2515)
แม้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จะเป็นข้าราชการทหารสังกัดอยู่ในกองพลทหารม้าซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของกองทัพบกจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การขนปูนซิเมนต์ดังกล่าวข้างต้นเป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 3แต่อย่างไร การใช้รถยนต์ของทางราชการก็ดี การเติมน้ำมันของทางราชการก็ดี หาทำให้กิจการส่วนตัวจำเลยที่ 2 กลายเป็นงานราชการของจำเลยที่ 3 ไปไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นแก่โจทก์
ในเรื่องค่าเสื่อมราคารถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้นั้น แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ตาม เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดจำนวน ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ฎีกา ศาลฎีกาอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 245 (1), 247 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2515)
แม้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จะเป็นข้าราชการทหารสังกัดอยู่ในกองพลทหารม้าซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของกองทัพบกจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การขนปูนซิเมนต์ดังกล่าวข้างต้นเป็นเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 3แต่อย่างไร การใช้รถยนต์ของทางราชการก็ดี การเติมน้ำมันของทางราชการก็ดี หาทำให้กิจการส่วนตัวจำเลยที่ 2 กลายเป็นงานราชการของจำเลยที่ 3 ไปไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นแก่โจทก์
ในเรื่องค่าเสื่อมราคารถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้นั้น แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ตาม เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลดจำนวน ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ฎีกา ศาลฎีกาอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 245 (1), 247 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1รับผิดเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และข้อยกเว้นการห้ามอุทธรณ์กรณีฉ้อฉล
โจทก์ตั้งให้ทนายโจทก์มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยได้ และทนายโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย ศาลได้พิพากษาไปตามยอมแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกมัดโจทก์ไม่ให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138 เว้นแต่กรณีจะต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา138(1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล
ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ทนายโจทก์ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับข้อความและจำนวนเงินที่จะตกลงกับจำเลยได้เต็มที่ และเมื่อได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จะมาอ้างว่าจำเลยบอกเล่ากับทนายโจทก์ไม่ตรงความจริงเป็นการฉ้อฉลทนายโจทก์หาได้ไม่
ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ทนายโจทก์ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับข้อความและจำนวนเงินที่จะตกลงกับจำเลยได้เต็มที่ และเมื่อได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จะมาอ้างว่าจำเลยบอกเล่ากับทนายโจทก์ไม่ตรงความจริงเป็นการฉ้อฉลทนายโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายทำสัญญาประนีประนอมยอมความและการฉ้อฉล: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์ตามมาตรา 138
โจทก์ตั้งให้ทนายโจทก์มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยได้ และทนายโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย ศาลได้พิพากษาไปตามยอมแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกมัดโจทก์ไม่ให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138 เว้นแต่กรณีจะต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา138(1)เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล
ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ทนายโจทก์ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับข้อความและจำนวนเงินที่จะตกลงกับจำเลยได้เต็มที่และเมื่อได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จะมาอ้างว่าจำเลยบอกเล่ากับทนายโจทก์ไม่ตรงความจริงเป็นการฉ้อฉลทนายโจทก์หาได้ไม่
ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ทนายโจทก์ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับข้อความและจำนวนเงินที่จะตกลงกับจำเลยได้เต็มที่และเมื่อได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จะมาอ้างว่าจำเลยบอกเล่ากับทนายโจทก์ไม่ตรงความจริงเป็นการฉ้อฉลทนายโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานการกระทำของจำเลยที่เป็นมูลเหตุแห่งหนี้ แม้จะมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการ ก็ถือเป็นรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นแห่งคดี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายใบขอซื้อสินค้าเชื่อซึ่งจำเลยลงชื่อไว้ให้โจทก์และรับเงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยรับรองว่าหากโจทก์นำใบขอซื้อสินค้าเชื่อนั้นไปขึ้นสินค้าไม่ได้ จำเลยยอมคืนเงินให้ ชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า ภริยาจำเลยเป็นผู้นำใบขอซื้อสินค้าเชื่อของจำเลยไปขายให้โจทก์และรับเงินไปจากโจทก์ ทั้งนี้โดยจำเลยบอกโจทก์ว่าจำเลยต้องขับรถไม่มีเวลามาติดต่อ จึงใช้ให้ภริยาจำเลยมาติดต่อ และจำเลยรับรองกับโจทก์ว่าถ้าโจทก์ไปรับสินค้าไม่ได้ จำเลยจะคืนเงินให้การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นการสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่จำเลยได้มาขายสิทธิตามใบขอซื้อสินค้าเชื่อของตน อันเป็นมูลเหตุแห่งหนี้ที่จำเลยได้เข้าตกลงยินยอมผูกพันรับผิดต่อโจทก์ด้วยตัวของจำเลยเอง จึงเกี่ยวแก่ประเด็นแห่งคดีโดยตรงโจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาเป็นการสืบนอกฟ้องไม่
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 36/2515)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 36/2515)