คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม เพชรคุปต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 158 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน ศาลพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและค่าปรับตามสมควร
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานผิดสัญญาไม่ขายที่ดินให้โจทก์ โดยคำนวณจากผลกำไรทั้งหมดซึ่งโจทก์คาดหมายว่าจะขายที่ดินได้ในราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อจากจำเลยแต่ความเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนั้นเป็นเพียงความหวังของโจทก์โจทก์จะขายที่ดินได้ในราคานั้นหรือไม่ ไม่เป็นที่แน่นอนยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษแต่ที่ดินที่จะซื้อขายมีทางหลวงตัดผ่านไป พอคาดหมายได้ว่าต้องมีราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการไม่ชำระหนี้ของจำเลย ศาลมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร
แม้ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ไม่เหมาะสม จำเลยก็จะร้องมาในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาเพื่อให้แก้ไขคำพิพากษาศาลล่างโดยมิได้อุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่ แต่ศาลฎีกามีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วยหากเห็นเป็นการสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน ศาลพิจารณาจากราคาตลาดและค่าปรับที่สมเหตุสมผล
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานผิดสัญญาไม่ขายที่ดินให้โจทก์ โดยคำนวณจากผลกำไรทั้งหมดซึ่งโจทก์คาดหมายว่าจะขายที่ดินได้ในราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อจากจำเลย แต่ความเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนั้นเป็นเพียงความหวังของโจทก์โจทก์จะขายที่ดินได้ในราคานั้นหรือไม่ ไม่เป็นที่แน่นอน ยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ แต่ที่ดินที่จะซื้อขายมีทางหลวงตัดผ่านไป พอคาดหมายได้ว่าต้องมีราคาเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการไม่ชำระหนี้ของจำเลย ศาลมีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร
แม้ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ไม่เหมาะสม จำเลยก็จะร้องมาในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาเพื่อให้แก้ไขคำพิพากษาศาลล่างโดยมิได้อุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่ แต่ศาลฎีกามีอำนาจที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วย หากเห็นเป็นการสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตั๋วสัญญาใช้เงินมีคำมั่นสัญญาที่แน่นอน ผู้รับสลักหลังไม่มีสิทธิฟ้องเมื่อตั๋วถูกยกเลิกและไม่มีการสลักหลังใหม่
กระทรวงกลาโหมจ้างเหมาให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างโรงงานกลั่นน้ำมันจะจ่ายเงินค่าจ้างให้เมื่อมีการรับมอบโรงงานแล้ว 1 ปี โดยให้ธนาคาร ก. เป็นผู้จ่ายค่าจ้างแทนเพื่อเป็นหลักประกันในการจ่ายเงินค่าจ้าง ธนาคาร ก.จึงออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 หลายฉบับกำหนดวันใช้เงินตามตั๋วในวันหลังจากที่คาดคิดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จแล้วได้มอบตั๋วสัญญาใช้เงินให้ธนาคารจำเลยที่ 2 ยึดไว้เพื่อมอบให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อถึงกำหนดการใช้เงินดังนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้ระบุวันถึงกำหนดใช้เงินและคำมั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983(2)(3) แล้วข้อความที่บันทึกไว้ในตั๋วว่าเป็นการออกให้ตามสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งเป็นเพียงแสดงเหตุว่าตั๋วออกให้เพราะมีหนี้สินตามสัญญาที่ระบุไว้เท่านั้นหาใช่เรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินมีเงื่อนไขไม่
จำเลยที่ 1 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งธนาคารจำเลยที่ 2 ยึดไว้ดังกล่าวข้างต้นให้โจทก์ 1 ฉบับ แต่การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามกำหนด ตั๋วสัญญาใช้เงินหมดกำหนดรับเงิน ธนาคาร ก.ได้เรียกตั๋วคืนไปแล้วได้ออกตั๋วฉบับใหม่ให้ธนาคารจำเลยที่ 2 ยึดถือไว้แทน แต่ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกใหม่นี้จำเลยที่ 1 หาได้สลักหลังให้โจทก์ไม่ ฐานะของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเก่าได้หมดสิ้นไปแล้วเมื่อมีการยกเลิกตั๋วนั้นส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ก็ไม่ได้มีการสลักหลังโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเงินตามตั๋วนั้นจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนสินค้าและเงินค่าขายหลังศาลสั่งคืนของกลาง การรักษาทรัพย์แทนเจ้าของ และการผิดนัดชำระหนี้
กรณีที่พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใดๆ อันจะพึงริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึดให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบหรือไม่ริบของกลาง
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของ การที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13 พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501 ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืน โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507 เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนสินค้าของกลางที่ศาลสั่งให้คืนแก่เจ้าของหลังคดีถึงที่สุด และสิทธิเรียกร้องเงินค่าขายจากกรมศุลกากร
กรณีที่พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใดๆ อันจะพึงริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึดให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบหรือไม่ริบของกลาง
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของการที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งโจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืนโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องตัวแทนรับผิดตามสัญญาตัวแทน ไม่ใช่การเรียกค่าของตามปพพ.มาตรา 165(1)
จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของโจทก์ โดยหาผู้เช่าซื้อมาทำสัญญากับโจทก์โดยตรงและรับรถยนต์ไป ในการนี้จำเลยมีสิทธิได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 1,000 บาท ต่อรถ 1 คัน และจำเลยหาผู้ใดมาเช่าซื้อ จำเลยต้องทำสัญญาค้ำประกันชดใช้เงินให้แก่โจทก์ในเมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญาทุกกรณี ส่วนการเก็บเงินค่าเช่าซื้อตามงวด จำเลยเป็นผู้เก็บส่งโจทก์ หากผู้เช่าซื้อผิดสัญญา จำเลยก็ยึดรถที่เช่าซื้อนั้นคืนโจทก์หรือใช้ราคาให้ตามสัญญา ในการนี้โจทก์คิดค่าตอบแทนให้จำเลย 7 เปอร์เซ็นต์ของราคารถ ต่อมาผู้เช่าซื้อรถยนต์บางรายชำระเงินค่าเช่าซื้อไม่ครบ โจทก์ทวงถามอยู่เสมอ จำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยติดค้างโจทก์ 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นสัญญาชดใช้ค่าสินค้าที่ผู้เช่าซื้อรถยนต์ค้างชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์รวมเป็นเงิน 210,500 บาท ฉบับที่ 2 เป็นสัญญารับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยไปยึดรถยนต์คืนจากผู้เช่าซื้อที่ผิดสัญญาเช่าซื้อมาแล้วปล่อยให้รถตากแดดตากฝนจนได้รับความเสียหายเป็นเงิน 28,500 บาทกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยยอมรับผิดชำระค่าเช่าซื้อแทนผู้เช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่รวมทั้งยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ ในฐานะเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์การฟ้องจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นการฟ้องตัวแทนให้รับผิดตามสัญญาตัวแทน หาใช่เป็นเรื่องที่พ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของซึ่งมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817-1818/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าฟิล์มภาพยนตร์เพื่อเช่าฉาย ถือเป็นการขายสินค้า ต้องเสียภาษีการค้าทั้งในฐานะผู้นำเข้าและผู้ให้เช่า
การนำสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร เข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายประมวลรัษฎากรมาตรา 79 ทวิ ให้ถือว่าเป็นการขายสินค้า และให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับ และให้ถือว่าผู้ที่นำสินค้านั้นเข้าในราชอาณาจักรเป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1
ฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายเสร็จแล้วส่งกลับไปนอกราชอาณาจักรนั้น เป็นสินค้าในประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า ที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขาย จึงถือว่าโจทก์ผู้ที่นำฟิล์มภาพยนตร์เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นผู้ประกอบการค้าได้ขายฟิล์มภาพยนตร์ และให้ถือมูลค่าของฟิล์มภาพยนตร์นั้นเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 ทวิ แม้โจทก์จะประกอบการค้าประเภทการค้า 5 การให้เช่าทรัพย์สินที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์และได้เสียภาษีการค้าในประเภทดังกล่าวถูกต้องแล้ว แต่ตามประมวลรัษฎากรซึ่งใช้บังคับขณะเกิดกรณีพิพาท ไม่มีบทยกเว้นให้โจทก์นำฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วเข้าในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายได้โดยไม่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า ประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) อีกด้วย
เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในขณะเดียวกัน 2 ประเภทคือประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) และประเภทการค้า 5 โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าทั้งสองประเภท และไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน หากแต่เป็นการเสียภาษีแต่ละประเภทการค้าที่โจทก์ได้กระทำในฐานะผู้ประกอบการค้าให้ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร
(วรรค 2 วินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17-18/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817-1818/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าฟิล์มเพื่อเช่าฉาย ถือเป็นการขายสินค้า ต้องเสียภาษีการค้าทั้งในฐานะผู้นำเข้าและผู้ให้เช่า
การนำสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร เข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขายประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ ให้ถือว่าเป็นการขายสินค้า และให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับ และให้ถือว่าผู้ที่นำสินค้านั้นเข้าในราชอาณาจักรเป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1
ฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วซึ่งโจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายเสร็จแล้วส่งกลับไปนอกราชอาณาจักรนั้น เป็นสินค้าในประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าที่มิใช่เป็นของใช้ส่วนตัวซึ่งใช้กันตามปกติและตามสมควร ทั้งมิใช่นำมาขายหรือผลิตเพื่อขาย จึงถือว่าโจทก์ผู้ที่นำฟิล์มภาพยนตร์เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นผู้ประกอบการค้าได้ขายฟิล์มภาพยนตร์ และให้ถือมูลค่าของฟิล์มภาพยนตร์นั้นเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ แม้โจทก์จะประกอบการค้าประเภทการค้า 5 การให้เช่าทรัพย์สินที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์และได้เสียภาษีการค้าในประเภทดังกล่าวถูกต้องแล้ว แต่ตามประมวลรัษฎากรซึ่งใช้บังคับขณะเกิดกรณีพิพาท ไม่มีบทยกเว้นให้โจทก์นำฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำแล้วเข้าในราชอาณาจักรเพื่อให้เช่าฉายได้โดยไม่ต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(ก) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า ประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) อีกด้วย
เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าในขณะเดียวกัน 2 ประเภทคือ ประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก) และประเภทการค้า 5 โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าทั้งสองประเภท และไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน หากแต่เป็นการเสียภาษีแต่ละประเภทการค้าที่โจทก์ได้กระทำในฐานะผู้ประกอบการค้าให้ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร
(วรรคสองวินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17-18/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุตรนอกกฎหมายรับมรดก: การรับรองบุตรโดยมิได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่พิพาทและให้ส่งกระบือให้โจทก์เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นมรดกตกแก่โจทก์จำเลย ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งมรดกนั้นได้
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ย่อมมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนรับรองบุตร และไม่จำต้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายคล้ายกันจนทำให้ประชาชนหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้า
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GANTRISIN' ในสินค้าจำพวก 3 เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษาโรคมนุษย์ และได้ขายยาที่มีเครื่องหมายนี้มากว่า 10 ปีแล้ว จำเลยเพิ่งผลิตยาใช้เครื่องหมายการค้าว่า 'KANDICIN' ออกจำหน่ายได้ 2 ปี เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยเป็นอักษรโรมัน ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นลักษณะสำคัญ ลักษณะและจำนวนตัวอักษรไล่เรี่ยกัน มีสามพยางค์เท่ากัน การอ่านออกสำเนียงพื้นเสียงอักษรที่นำหน้าก็ดี พยางค์ที่ 2 และที่ 3 ก็ดี คล้ายกันและเหมือนกัน ของโจทก์อ่านออกเสียงได้ว่า 'กันทริสซิน'หรือ'การตริซิน' ของจำเลยว่า 'แคนดิซิน'หรือ'คานดิซิน' เป็นสำเนียงที่ใกล้เคียงคล้ายกันมาก เม็ดยา ขนาดและสีก็อย่างเดียวกัน ตัวอักษรที่พิมพ์ทับกันบนเม็ดยาก็คล้ายกัน และต่างก็ใช้กับยาปฏิชีวนะเหมือนกัน จึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ เครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้ประชาชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้า เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
of 16