พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือกาบที่ใช้เป็นพาหนะนำคนต่างด้าวเข้าประเทศผิดกฎหมาย
จำเลยใช้เรือกาบของกลางเป็นพาหนะพาคนต่างด้าวสัญชาติลาวเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ในทางอื่นซึ่งมิใช่ช่องทางที่รัฐบาลได้ประกาศกำหนดให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรและไม่ผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองโดยจำเลยได้รับเงินเป็นค่าจ้างจากคนต่างด้าวจำนวน 2,000 บาท เรือกาบพร้อมด้วยไม้พายจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้เพื่อให้ได้รับผลในการกระทำความผิดโดยตรง จึงเป็นของควรริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้ามาในราชอาณาจักรโดยต่างด้าวที่ต้องห้ามและการตีความหนังสือขอความร่วมมือของเจ้าหน้าที่
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 15(7) บัญญัติถึงลักษณะคนต่างด้าวที่ต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรว่า 'มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นคนอันธพาลหรือเป็นคนที่น่าจะก่อเหตุร้าย. หรืออันตรายต่อความปลอดภัยของประชาชนหรือราชอาณาจักร'. แต่โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องให้เห็นว่า ผู้โดยสารที่จำเลยนำมากับเครื่องบินเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะเช่นนั้น. โจทก์กล่าวหาในฟ้องแต่ประการเดียวว่า ผู้โดยสารคนนั้นเป็นคนต่างด้าวที่ต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร. เพราะมีเชื้อชาติรูเมเนียในเครือของประเทศคอมมิวนิสต์. ซึ่งไม่มีสัมพันธ์ไมตรีทางการทูตกับประเทศไทย. ข้อกล่าวหาของโจทก์จึงมิได้แสดงว่า ผู้โดยสารคนนั้นเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 15(7)แต่อย่างใด.
หนังสือของกองตรวจคนเข้าเมืองถึงบริษัทการบินทุกบริษัทมีความว่า. ขอมิให้รับบุคคลสัญชาติของประเทศที่ไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยหรือคนของประเทศค่ายคอมมิวนิสต์. และไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร. หรือเดินทางต่อไปประเทศอื่น. เป็นเพียงการขอความร่วมมือ. ดังนั้น การที่บุคคลดังกล่าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนหนังสือฉบับนี้. หรือการที่จำเลยรับบุคคลดังกล่าวนี้มากับเครื่องบินของจำเลยมาลงที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เพื่อบินต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย. โดยไม่ต้องด้วยหนังสือขอความร่วมมือ. จึงหาเป็นความผิดตามกฎหมายอย่างใดไม่.
หนังสือของกองตรวจคนเข้าเมืองถึงบริษัทการบินทุกบริษัทมีความว่า. ขอมิให้รับบุคคลสัญชาติของประเทศที่ไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยหรือคนของประเทศค่ายคอมมิวนิสต์. และไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร. หรือเดินทางต่อไปประเทศอื่น. เป็นเพียงการขอความร่วมมือ. ดังนั้น การที่บุคคลดังกล่าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนหนังสือฉบับนี้. หรือการที่จำเลยรับบุคคลดังกล่าวนี้มากับเครื่องบินของจำเลยมาลงที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เพื่อบินต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย. โดยไม่ต้องด้วยหนังสือขอความร่วมมือ. จึงหาเป็นความผิดตามกฎหมายอย่างใดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีเชื้อชาติจากประเทศที่ไม่มีสัมพันธ์ทางการทูต ไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายคนเข้าเมืองหากไม่มีลักษณะต้องห้ามอื่น
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 15(7) บัญญัติถึงลักษณะคนต่างด้าวที่ต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรว่า "มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นคนอันธพาลหรือเป็นคนที่น่าจะก่อเหตุร้าย หรืออันตรายต่อความปลอดภัยของประชาชนหรือราชอาณาจักร" แต่โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องให้เห็นว่า ผู้โดยสารที่จำเลยนำมากับเครื่องบินเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะเช่นนั้น โจทก์กล่าวหาในฟ้องแต่ประการเดียวว่า ผู้โดยสารคนนั้นเป็นคนต่างด้าวที่ต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร เพราะมีเชื้อชาติรูเมเนียในเครือของประเทศคอมมิวนิสต์ ซึ่งไม่มีสัมพันธ์ไมตรีทางการทูตกับประเทศไทย ข้อกล่าวหาของโจทก์จึงมิได้แสดงว่า ผู้โดยสารคนนั้นเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 15(7) แต่อย่างใด
หนังสือของกองตรวจคนเข้าเมืองถึงบริษัทการบินทุกบริษัทมีความว่า ขอมิให้รับบุคคลสัญชาติของประเทศที่ไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยหรือคนของประเทศค่ายคอมมิวนิสต์ และไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเดินทางต่อไปประเทศอื่น เป็นเพียงการขอความร่วมมือ ดังนั้น การที่บุคคลดังกล่าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนหนังสือฉบับนี้ หรือการที่จำเลยรับบุคคลดังกล่าวนี้มากับเครื่องบินของจำเลยมาลงที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เพื่อบินต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย โดยไม่ต้องด้วยหนังสือขอความร่วมมือ จึงหาเป็นความผิดตามกฎหมายอย่างใดไม่
หนังสือของกองตรวจคนเข้าเมืองถึงบริษัทการบินทุกบริษัทมีความว่า ขอมิให้รับบุคคลสัญชาติของประเทศที่ไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยหรือคนของประเทศค่ายคอมมิวนิสต์ และไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเดินทางต่อไปประเทศอื่น เป็นเพียงการขอความร่วมมือ ดังนั้น การที่บุคคลดังกล่าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนหนังสือฉบับนี้ หรือการที่จำเลยรับบุคคลดังกล่าวนี้มากับเครื่องบินของจำเลยมาลงที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เพื่อบินต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย โดยไม่ต้องด้วยหนังสือขอความร่วมมือ จึงหาเป็นความผิดตามกฎหมายอย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมีเชื้อชาติจากประเทศที่ไม่มีสัมพันธ์ทางการทูต ไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายคนเข้าเมืองหากไม่มีพฤติการณ์ต้องห้าม
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 15(7) บัญญัติถึงลักษณะคนต่างด้าวที่ต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรว่า 'มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นคนอันธพาลหรือเป็นคนที่น่าจะก่อเหตุร้าย หรืออันตรายต่อความปลอดภัยของประชาชนหรือราชอาณาจักร' แต่โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องให้เห็นว่า ผู้โดยสารที่จำเลยนำมากับเครื่องบินเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะเช่นนั้น โจทก์กล่าวหาในฟ้องแต่ประการเดียวว่า ผู้โดยสารคนนั้นเป็นคนต่างด้าวที่ต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร เพราะมีเชื้อชาติรูเมเนียในเครือของประเทศคอมมิวนิสต์ ซึ่งไม่มีสัมพันธ์ไมตรีทางการทูตกับประเทศไทย ข้อกล่าวหาของโจทก์จึงมิได้แสดงว่า ผู้โดยสารคนนั้นเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 15(7)แต่อย่างใด
หนังสือของกองตรวจคนเข้าเมืองถึงบริษัทการบินทุกบริษัทมีความว่า ขอมิให้รับบุคคลสัญชาติของประเทศที่ไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยหรือคนของประเทศค่ายคอมมิวนิสต์ และไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเดินทางต่อไปประเทศอื่น เป็นเพียงการขอความร่วมมือ ดังนั้น การที่บุคคลดังกล่าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนหนังสือฉบับนี้ หรือการที่จำเลยรับบุคคลดังกล่าวนี้มากับเครื่องบินของจำเลยมาลงที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เพื่อบินต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย โดยไม่ต้องด้วยหนังสือขอความร่วมมือ จึงหาเป็นความผิดตามกฎหมายอย่างใดไม่
หนังสือของกองตรวจคนเข้าเมืองถึงบริษัทการบินทุกบริษัทมีความว่า ขอมิให้รับบุคคลสัญชาติของประเทศที่ไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยหรือคนของประเทศค่ายคอมมิวนิสต์ และไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเดินทางต่อไปประเทศอื่น เป็นเพียงการขอความร่วมมือ ดังนั้น การที่บุคคลดังกล่าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนหนังสือฉบับนี้ หรือการที่จำเลยรับบุคคลดังกล่าวนี้มากับเครื่องบินของจำเลยมาลงที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เพื่อบินต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย โดยไม่ต้องด้วยหนังสือขอความร่วมมือ จึงหาเป็นความผิดตามกฎหมายอย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานที่เกิดเหตุในคดีอาญา ไม่ต้องตรงกันทุกประการ หากไม่กระทบสาระสำคัญของข้อกล่าวหา และจำเลยไม่หลงต่อสู้
การที่โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดหนองคายในข้อหาพาคนต่างด้าวหลบหนี้เข้ามาในราชอาณาจักรไทยจำเลยต่อสู้อ้างฐานที่อยู่ แม้ทางพิจารณาปรากฏว่าจับจำเลยได้ที่ตำบลวัดธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้บรรยายไว้ในฟ้องว่าจำเลยไม่พาคนต่างด้าวไปผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่ไปรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองที่ใกล้ที่สุด ซึ่งทางพิจารณาได้ความว่าเป็นตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดหนองคายเช่นนี้ถือว่าในข้อสถานที่เกิดเหตุทางพิจารณาไม่แตกต่างกับที่โจทก์บรรยายในฟ้องในข้อสาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้อย่างใดลงโทษจำเลยตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานที่เกิดเหตุในฟ้อง ไม่จำเป็นต้องตรงกับสถานที่จับกุม หากไม่แตกต่างในสาระสำคัญ ศาลยังลงโทษได้
การที่โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ในข้อหาพาคนต่างด้าวหลบหนีเข้ามาในราชอาณาจักรไทย จำเลยต่อสู้อ้างฐานที่อยู่ แม้ทางพิจารณาปรากฏว่าจับจำเลยได้ที่ตำบลวัดธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้บรรยายไว้ในฟ้องว่า จำเลยไม่พาคนต่างด้าวไปผ่านการตรวจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ทีทำการตรวจคนเข้าเมืองทีใกล้ที่สุด ซึ่งทางพิจารณาได้ความว่า เป็นตำบลในเมืองอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เช่นนี้ถือว่า ในข้อสถานที่เกิดเหตุ ทางพิจารณาไม่แตกต่างกับที่โจทก์บรรยายในฟ้องในข้อสาระสำคัญ และจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้อย่างใด ลงโทษตามฟ้องได้