พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบรายละเอียดการกระทำของจำเลยที่ผูกพันรับผิดตามสัญญาซื้อสินค้าเชื่อ ไม่ถือเป็นการสืบนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายใบขอซื้อสินค้าเชื่อซึ่งจำเลยลงชื่อไว้ให้โจทก์และรับเงินไปจากโจทก์ โดยจำเลยรับรองว่าหากโจทก์นำใบขอซื้อสินค้าเชื่อนั้นไปขึ้นสินค้าไม่ได้ จำเลยยอมคืนเงินให้ ชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า ภริยาจำเลยเป็นผู้นำใบขอซื้อสินค้าเชื่อของจำเลยไปขายให้โจทก์และรับเงินไปจากโจทก์ ทั้งนี้โดยจำเลยบอกโจทก์ว่าจำเลยต้องขับรถไม่มีเวลามาติดต่อ จึงใช้ให้ภริยาจำเลยมาติดต่อ และจำเลยรับรองกับโจทก์ว่าถ้าโจทก์ไปรับสินค้าไม่ได้ จำเลยจะคืนเงินให้การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นการสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยที่จำเลยได้มาขายสิทธิตามใบขอซื้อสินค้าเชื่อของตน อันเป็นมูลเหตุแห่งหนี้ที่จำเลยได้เข้าตกลงยินยอมผูกพันรับผิดต่อโจทก์ด้วยตัวของจำเลยเอง จึงเกี่ยวแก่ประเด็นแห่งคดีโดยตรง โจทก์มีสิทธินำสืบได้ หาเป็นการสืบนอกฟ้องไม่
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 36/2515)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 36/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายอาญาในคดีข่มขืนโทรมหญิง: กฎหมายใหม่ใช้บังคับกับเหตุการณ์ก่อนประกาศใช้ไม่ได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 เดิม ไม่มีข้อความซึ่งบัญญัติให้การกระทำโดยใช้อาวุธปืนและมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงมีโทษหนักขึ้นเหมือนอย่างที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมแล้วโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ข้อ 7 จำเลยกับพวก ร่วมกันใช้อาวุธปืนขู่เข็ญข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายในลักษณะโทรมหญิงก่อนใช้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ระหว่างพิจารณามีประกาศนั้นออกใช้ประกาศดังกล่าวข้อ 7ไม่ใช่กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามมาตรา 3 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงนำมาปรับบทแก่การกระทำผิดของจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาใหม่ย้อนหลังไม่ได้ แม้จะเป็นคุณต่อจำเลย ศาลต้องใช้กฎหมายเดิมที่ใช้ ณ เวลาที่กระทำผิด
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2514 จำเลยกระทำความผิดสามกรรมต่างกัน คือฐานมีอาวุธปืนฯไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กระทงหนึ่ง ฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและกระทำอนาจารแก่หญิงนั้น (กระทงหนึ่ง) สองบท และฐานประทุษร้ายหญิงผู้ถูกพาไปนั้นถึงอันตรายแก่กายอีกกระทงหนึ่งซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำความผิด ให้อำนาจศาลที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป หรือจะลงเฉพาะกระทงที่หนักที่สุดก็ได้ ต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2514 เป็นต้นไป ข้อ 2 ของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา91 เดิมนั้นเสีย โดยให้ใช้ข้อความในประกาศดังกล่าวนั้นแทน ซึ่งให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิดหลายกรรมทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อมีประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวออกมาบัญญัติการวางโทษแตกต่างกับกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดเช่นนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ศาลจึงต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิมแก่จำเลย และลงโทษจำเลยเฉพาะฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ซึ่งเป็นกระทง(และบท) ที่หนักที่สุดแต่กระทงเดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองเพื่อประกันหนี้เดิมและหนี้ใหม่ การปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตของธนาคาร และผลกระทบต่อเจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยเป็นหนี้ธนาคารผู้คัดค้านอยู่ก่อนแล้ว โดยเบิกเงินเกินบัญชีไป 9 แสนบาทเศษ แล้วจำเลยได้กู้เงินธนาคารผู้คัดค้านอีก 5 แสนบาท และจดทะเบียนจำนองเรือยนต์ของจำเลยรวม47 ลำ ไว้กับธนาคารผู้คัดค้าน เพื่อเป็นประกันสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งจำเลยเบิกเกินบัญชีไปดังกล่าวแล้วและเงินที่จำเลยกู้ ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนจำนองเรือยนต์ของจำเลยอีก 2 ลำไว้กับธนาคารผู้คัดค้าน เพื่อเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีรายใหม่อีก ดังนี้ ถือว่าการจำนองเรือยนต์ทั้งสองคราวนั้น เป็นการจำนองโดยมีค่าตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองเพื่อประกันหนี้เดิมและหนี้ใหม่ การปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตของธนาคาร และผลกระทบต่อเจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยเป็นหนี้ธนาคารผู้คัดค้านอยู่ก่อนแล้ว โดยเบิกเงินเกินบัญชีไป9 แสนบาทเศษ แล้วจำเลยได้กู้เงินธนาคารผู้คัดค้านอีก 5 แสนบาทและจดทะเบียนจำนองเรือยนต์ของจำเลยรวม 47 ลำ ไว้กับธนาคารผู้คัดค้าน เพื่อเป็นประกันสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งจำเลยเบิกเกินบัญชีไปดังกล่าวแล้วและเงินที่จำเลยกู้ ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนจำนองเรือยนต์ของจำเลยอีก 2 ลำ ไว้กับธนาคารผู้คัดค้าน เพื่อเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีรายใหม่อีก ดังนี้ถือว่าการจำนองเรือยนต์ทั้งสองคราวนั้น เป็นการจำนองโดยมีค่าตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยเจตนา แต่ไม่ถือเป็นการทารุณโหดร้ายเนื่องจากเกิดจากโทสะ
การที่จำเลยใช้มืดปลายแหลมยาวคืบเศษ แทงผู้ตายทางด้านหน้าล้มลงไป แล้วแทงซ้ำทางด้านหลังอีกหลายทีเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยปราศจากการยับยั้งเนื่องจากโทสะจริตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน เป็นผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยฉับพลันเท่านั้น ยังไม่เข้าลักษณะของการกระทำด้วยความทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแทงซ้ำโดยโทสะ ไม่ถึงขั้นทารุณโหดร้าย
การที่จำเลยใช้มืดปลายแหลมยาวคืบเศษ แทงผู้ตายทางด้านหน้าล้มลงไป แล้วแทงซ้ำทางด้านหลังอีกหลายที เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยปราศจากการยับยั้งเนื่องจากโทสะจริตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน เป็นผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตายโดยฉับพลันเท่านั้น ยังไม่เข้าลักษณะของการกระทำด้วยความทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับอาวัลไม่ต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หากผู้สั่งจ่ายไม่ชำระหนี้ ผู้รับอาวัลมีสิทธิไล่เบี้ย
จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้แก่เจ้าหนี้ โดยโจทก์เป็นผู้รับอาวัลโจทก์ไม่ใช่ลูกหนี้โดยตรง เพียงแต่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินในเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายไม่ชำระ ความผูกพันของโจทก์จำเลยซึ่งมีต่อเจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน.จึงมิใช่เป็นลูกหนี้ร่วมกันจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 296 แม้มาตรา 967 จะบัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายและผู้รับอาวัลต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง ก็เพื่อประโยชน์แก่ผู้ทรงในอันที่จะว่ากล่าวเรียกเงินตามตั๋ว แต่ในระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้รับอาวัล ผู้สั่งจ่ายจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ระบุในตั๋วแลกเงินก่อน หากผู้สั่งจ่ายไม่ชำระผู้รับอาวัลจึงต้องรับผิดชดใช้ให้ เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน และโจทก์ใช้เงินให้เจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปแล้วบางส่วนโดยมีหลักฐานการชำระหนี้ โจทก์ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งโจทก์ประกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสามโดยหาจำต้องชำระแล้วทั้งหมดหรือถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินในตั๋วแลกเงินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับอาวัลมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินเมื่อชำระหนี้แทนได้ แม้ยังไม่ชำระหนี้ทั้งหมด
จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้แก่เจ้าหนี้ โดยโจทก์เป็นผู้รับอาวัลโจทก์ไม่ใช่ลูกหนี้โดยตรง เพียงแต่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินในเมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายไม่ชำระ ความผูกพันของโจทก์จำเลยซึ่งมีต่อเจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน.จึงมิใช่เป็นลูกหนี้ร่วมกันจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 296 แม้มาตรา 967 จะบัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายและผู้รับอาวัลต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง ก็เพื่อประโยชน์แก่ผู้ทรงในอันที่จะว่ากล่าวเรียกเงินตามตั๋ว แต่ในระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้รับอาวัล ผู้สั่งจ่ายจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่ระบุในตั๋วแลกเงินก่อน หากผู้สั่งจ่ายไม่ชำระผู้รับอาวัลจึงต้องรับผิดชดใช้ให้ เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน และโจทก์ใช้เงินให้เจ้าหนี้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินไปแล้วบางส่วนโดยมีหลักฐานการชำระหนี้ โจทก์ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งโจทก์ประกันไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสามโดยหาจำต้องชำระแล้วทั้งหมดหรือถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินในตั๋วแลกเงินไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษอาญาตามบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แม้โจทก์อ้างบทเดิม ศาลใช้บทที่แก้ไขแล้วได้
จำเลยมีบุหรี่ซิกาแรตที่ผลิตในต่างประเทศไว้ในครอบครองโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ อันเป็นความผิดตามมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 เมื่อโจทก์อ้างบทมาตราที่จำเลยกระทำผิดมาท้ายฟ้องแล้ว แม้อ้างบทมาตราที่เป็นบทลงโทษไม่ถูกต้อง คืออ้างแต่มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบพ.ศ.2509 และพระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2510ซึ่งถูกยกเลิกแก้ไขใหม่แล้ว เมื่อปรากฏว่าขณะจำเลยกระทำผิดได้มีพระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2512 มาตรา 17ยกเลิกแก้ไขบทลงโทษมาตรา 49 ใหม่ ดังนี้ ศาลก็ลงโทษจำเลยด้วยระวางโทษที่กำหนดในบทมาตราที่แก้ไขใหม่ได้