พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์ด้วยความรุนแรงและการแก้ไขโทษฐานพาอาวุธ ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ โดยมีจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้าย แล้วแซงเข้าประกบรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายสุดใช้เท้าถีบหน้าอกผู้เสียหายรถเสียหลักล้มลง ผู้เสียหายถูกรถจักรยานยนต์ล้มทับขาได้รับอันตรายสาหัส จำเลยที่ 1 หยุดรถ จำเลยที่ 3 ลงจากรถถือมีดปลายแหลมเดินเข้าไปหาผู้เสียหายแล้วกระชากเอาสร้อยคอทองคำที่ผู้เสียหายสวมใส่อยู่ขาดติดมือไปได้บางส่วน หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รออยู่หลบหนีไปด้วยกัน เมื่อจำเลยที่ 3 มีอาวุธมีดติดตัวไปด้วยในการปล้นทรัพย์จำเลยทั้งสามจึงต้องมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง และลงโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 340 วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี, 83 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 และจำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 อีกกระทงหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความสาหัสของบาดแผลเพื่อกำหนดโทษฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
ผู้บาดเจ็บถูกฟันศีรษะ 1 ที และถูกแทงหลัง 1 ที ต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล 15 วัน แพทย์ก็ให้กลับและให้ไปโรงพยาบาลทุก 3 วันเพราะประสาทยังไม่ปกติไปโรงพยาบาลอีก 3 ครั้ง แล้วขอยามารักษาที่บ้านเพราะต้องเดินไกลสะเทือนสมอง เพียงเท่านี้ไม่ปรากฏอาการใดที่จะถือเป็นทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน ถือว่ายังไม่เป็นอันตรายสาหัส
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทุกคนฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสาม จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกาเห็นว่าบาดเจ็บนั้นไม่ถึงสาหัสจึงเป็นผิดเพียงตาม มาตรา 340 วรรคสอง ซึ่งมีโทษเบากว่าแม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกา ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลตลอดถึงจำเลยอื่นด้วย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทุกคนฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้มีผู้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสาม จำเลยที่ 1 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกาเห็นว่าบาดเจ็บนั้นไม่ถึงสาหัสจึงเป็นผิดเพียงตาม มาตรา 340 วรรคสอง ซึ่งมีโทษเบากว่าแม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกา ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลตลอดถึงจำเลยอื่นด้วย