พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาต้องได้รับความยินยอมจากภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สมบูรณ์ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบุตรของ ย. แต่ต่างมารดากันมารดาโจทก์และมารดาจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับ ย.มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใครจะเป็นภริยาหลวงหรือภริยาน้อยก็ตาม ก็อยู่ในฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. ด้วยกันทั้งคู่ การที่สามีจะยกสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้ใดโดยเสน่หานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1473 สามีต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนเว้นแต่จะเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสังคม และตามมาตรา 1476การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมจากกัน ถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ในระหว่างสมรส ย.ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยโดยเสน่หา การให้ในกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสมาคม เมื่อไม่ปรากฏว่าภริยาของ ย.ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การให้ดังกล่าวแล้วจึงไม่สมบูรณ์หลังจากบิดาและมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของมารดาซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หานี้ได้
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย.จำเลยให้การต่อสู้ว่า ย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย.จำเลยให้การต่อสู้ว่า ย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาต้องได้รับความยินยอมจากภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สมบูรณ์ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบุตรของ ย. แต่ต่างมารดากันมารดาโจทก์และมารดาจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับ ย.มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5. ใครจะเป็นภริยาหลวงหรือภริยาน้อยก็ตาม ก็อยู่ในฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. ด้วยกันทั้งคู่ การที่สามีจะยกสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้ใดโดยเสน่หานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 สามีต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อน เว้นแต่จะเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสังคม และตามมาตรา 1476การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมจากกัน. ถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ในระหว่างสมรส ย. ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยโดยเสน่หา การให้ในกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสมาคม เมื่อไม่ปรากฏว่าภริยาของ ย. ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การให้ดังกล่าวแล้วจึงไม่สมบูรณ์ หลังจากบิดาและมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของมารดาซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หานี้ได้
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลย โดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย. จำเลยให้การต่อสู้ว่าย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลย โดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย. จำเลยให้การต่อสู้ว่าย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าระงับสิ้นเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม ศาลจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินคืนโจทก์ ศาลล่างพิพากษาตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ถึงแก่กรรมบุตรจำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย เมื่อจำเลยซึ่งในระหว่างพิจารณายังมีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินได้ถึงแก่กรรมไปแล้วเช่นนี้ สัญญาเช่าอันเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับสิ้นไป การที่จะบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ย่อมไม่อาจทำได้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไป ศาลฎีกาย่อมสั่งจำหน่ายคดีเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าระงับสิ้นเมื่อผู้เช่าถึงแก่กรรม ศาลจำหน่ายคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าที่ดินคืนโจทก์ศาลล่างพิพากษาตามฟ้อง แต่ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยได้ถึงแก่กรรมบุตรจำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย เมื่อจำเลยซึ่งในระหว่างพิจารณายังมีชื่อเป็นผู้เช่าที่ดินได้ถึงแก่กรรมไปแล้วเช่นนี้ สัญญาเช่าอันเป็นสิทธิเฉพาะตัวย่อมระงับสิ้นไป การที่จะบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ย่อมไม่อาจทำได้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไป ศาลฎีกาย่อมสั่งจำหน่ายคดีเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับบุตรบุญธรรม: ผู้รับบุตรบุญธรรมมีอำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์ที่ถูกละเมิด แม้ไม่ได้เรียกร้องมรดก
ขณะที่ผู้ตายถูกทำละเมิดถึงตาย ผู้ตายเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ที่ 2 และผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์อยู่ โจทก์ที่ 2 ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับบุตรบุญธรรม กรณีผู้เยาว์ถูกละเมิดถึงแก่ความตาย
ขณะที่ผู้ตายถูกทำละเมิดถึงตาย ผู้ตายเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ที่ 2 และผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์อยู่ โจทก์ที่ 2 ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ย่อมมีอำนาจฟ้อง ผู้ทำละเมิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนหลังมีคำพิพากษา: การบังคับคดีตามคำพิพากษาไม่ใช่การใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 40,000 บาท แล้วไปจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทให้โจทก์ ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 1 เดือน ครั้นพ้นกำหนดตามคำบังคับแล้วโจทก์จึงวางเงิน 40,000 บาทต่อศาล จำเลยจะอ้างว่าเมื่อโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลภายในกำหนด 1 เดือน ตามคำบังคับ ต้องถือว่าโจทก์สละสิทธิ ที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยโดยเด็ดขาดดังนี้หาได้ไม่ การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีโดยใช้สิทธิไถ่ถอนทรัพย์ภายใน 10 ปี เป็นการใช้สิทธิตามคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จะนำบทบัญญัติในเรื่องกำหนดเวลาในการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาเกี่ยวข้องอีกไม่ได้ และไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 496 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนที่ดินหลังมีคำพิพากษา: การบังคับคดีตามคำพิพากษาต่างจากการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 40,000 บาท แล้วไปจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทให้โจทก์ ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 1 เดือน ครั้นพ้นกำหนดตามคำบังคับแล้วโจทก์จึงวางเงิน 40,000 บาทต่อศาล จำเลยจะอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลภายในกำหนด 1 เดือน ตามคำบังคับต้องถือว่าโจทก์สละสิทธิ ที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยโดยเด็ดขาด ดังนี้หาได้ไม่ การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีโดยใช้สิทธิไถ่ถอนทรัพย์ภายใน 10 ปี เป็นการใช้สิทธิตามคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จะนำบทบัญญัติในเรื่องกำหนดเวลาในการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาเกี่ยวข้องอีกไม่ได้ และไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้เรื่องชำระหนี้หลังศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว ถือเป็นการไม่ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 12 กันยายน ถึงวันที่ 22 กันยายน 2512จำเลยซื้อเชื่อสินค้าเก้าอี้ไปจากโจทก์ ขอให้ศาลบังคับจำเลยใช้เงินค่าซื้อสินค้าเชื่อ จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าตามวันเดือนปีตามฟ้อง จำเลยไม่ได้ซื้อเชื่อสินค้าเก้าอี้เป็นจำนวนเงินจากโจทก์ตามฟ้อง โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ จำเลยมิได้กล่าวแก้ไว้ว่าได้ชำระหนี้ราคาเก้าอี้ตามฟ้องให้โจทก์แล้ว จำเลยจึงจะฎีกาว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์แล้วไม่ได้เพราะจำเลยมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวไว้ในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองจำกัดเฉพาะทรัพย์สินของผู้จำนอง แม้ระบุสิ่งปลูกสร้างภายหลังก็ไม่รวมถึงกรรมสิทธิ์บุคคลอื่น
ผู้ที่มิใช่เจ้าของทรัพย์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำทรัพย์นั้นไปจำนอง
แม้เอกสารต่อท้ายสัญญาจำนองจะมีข้อความระบุว่าผู้จำนองได้จำนองสิ่งปลูกสร้างซึ่งได้ปลูกสร้างขึ้นภายหลังจำนองด้วย ข้อความดังกล่าวก็ย่อมหมายถึงสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนองเท่านั้น ไม่รวมถึงทรัพย์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลภายนอกด้วย ผู้รับจำนองจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายสิ่งปลูกสร้างของบุคคลภายนอกซึ่งได้ปลูกสร้างไว้บนที่ดินของผู้จำนอง
แม้เอกสารต่อท้ายสัญญาจำนองจะมีข้อความระบุว่าผู้จำนองได้จำนองสิ่งปลูกสร้างซึ่งได้ปลูกสร้างขึ้นภายหลังจำนองด้วย ข้อความดังกล่าวก็ย่อมหมายถึงสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนองเท่านั้น ไม่รวมถึงทรัพย์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลภายนอกด้วย ผู้รับจำนองจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายสิ่งปลูกสร้างของบุคคลภายนอกซึ่งได้ปลูกสร้างไว้บนที่ดินของผู้จำนอง