พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: ต้องมีเจตนาปิดบังตั้งแต่ทำสัญญาแรก การทำสัญญาภายหลังไม่ถือเป็นนิติกรรมอำพราง
การทำนิติกรรมอำพราง ขณะทำนิติกรรมคู่กรณีจะต้องมีเจตนาทำนิติกรรมอันหนึ่งขึ้นมาอำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่ง แต่ขณะจำเลยกู้ยืมเงินจาก จ. สามีโจทก์ โจทก์จำเลยยังไม่มีเจตนาที่จะทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทและสัญญาให้จำเลยอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทมาปิดบังอำพรางนิติกรรมที่จำเลยกู้ยืมเงินสามีโจทก์ สัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทและสัญญาให้อาศัยได้กระทำขึ้นภายหลัง ทั้งมิได้ทำขึ้นโดยบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีเดียวกัน จึงไม่อยู่ในความหมายของนิติกรรมอำพราง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4696/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: การกู้ยืมเงินที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้สัญญาซื้อขาย ศาลต้องบังคับตามนิติกรรมที่แท้จริง
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยมอบรถยนต์ให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันแต่ทำหนังสือการรับเงินค่าขายรถยนต์มอบให้โจทก์เป็นหลักฐานนิติกรรมการซื้อขายรถยนต์จึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้เงินและตกเป็นโมฆะ ต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา155 วรรคสอง แม้จะต้องถือว่าหนังสือการรับเงินค่าขายรถยนต์ใช้บังคับเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินได้ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายขอเรียกเงินคืน แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ว่าเป็นการกู้ยืมเงินจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก