พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีขัดทรัพย์โดยผู้พิพากษานายเดียวไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีทุนทรัพย์เกินห้าหมื่น
คดีร้องขัดทรัพย์ซึ่งมีทุนทรัพย์เกินกว่าห้าหมื่นบาทผู้พิพากษานายเดียวตรวจคำร้องขอแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอ เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21(2) เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) และเป็นกรณีที่ต้องมีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาอย่างน้อยสองนาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22,23 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาคดีขัดทรัพย์: การพิจารณาคำร้องขอต้องมีองค์คณะตามกฎหมาย
คดีร้องขัดทรัพย์ซึ่งมีทุนทรัพย์เกินกว่าห้าหมื่นบาท ผู้พิพากษานายเดียวตรวจคำร้องขอแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอ เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21(2) เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) และเป็นกรณีที่ต้องมีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาอย่างน้อยสองนาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22, 23 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสเมื่อหย่าต้องแบ่งให้ได้ส่วนเท่ากันตามกฎหมาย ไม่ใช่วิธีหักกลบลบกัน
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 บัญญัติไว้ คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากัน จะแบ่งโดยวิธีตีราคาสินสมรสทั้งหมด แล้วคิดคำนวณส่วนที่แต่ละฝ่ายจะได้รับแล้วนำมาหักกลบลบกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3875/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสเมื่อหย่าต้องแบ่งเท่ากันตามสัดส่วนทรัพย์สินทั้งหมด ไม่ใช่หักกลบลบกัน
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 บัญญัติไว้ คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากัน จะแบ่งโดยวิธีตีราคาสินสมรสทั้งหมด แล้วคิดคำนวณส่วนที่แต่ละฝ่ายจะได้รับแล้วนำมาหักกลบลบกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าขายลดเช็คที่ไม่สมบูรณ์ และผลกระทบต่อสิทธิของผู้ทรงเช็ค
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 สลักหลังแล้วมอบให้ ช. พนักงานของจำเลยที่ 2 นำไปขายลดแก่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. นำเช็คพิพาทไปเสนอต่อบริษัทโจทก์แล้วบอกแก่พนักงานของโจทก์ว่า จะออกไปข้างนอกสักครู่แล้วจะกลับมารับเงินค่าขายลดเช็ค ระหว่างนั้นมีผู้ปลอมตัวแต่งเครื่องแบบเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 นำดอกเบี้ยค่าขายลดเช็คมาชำระและขอรับเงินค่าขายลดเช็ค เมื่อ ช. กลับมาที่บริษัทโจทก์ปรากฏว่าโจทก์มอบเช็คค่าขายลดเช็คให้แก่บุคคลผู้นั้นไปและมีผู้นำเช็คนั้นไปขึ้นเงินไปแล้ว ดังนี้โจทก์ขาดความระมัดระวังเช่นบุคคลผู้ประกอบธุรกิจการเงินจะต้องใช้ความระมัดระวัง เป็นผู้ผิดในการชำระหนี้ค่าขายลดเช็คพิพาทให้แก่ผู้ไม่มีอำนาจรับ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่าขายลดเช็คให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว การขายลดเช็คพิพาทไม่สมบูรณ์โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทเพราะจำเลยที่ 1 แจ้งอายัดไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ใช้เงินตามเช็คนั้น
(ตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1024/2525)
(ตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1024/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความระมัดระวังของผู้ซื้อเช็คลดราคา การชำระหนี้ไม่สมบูรณ์ และผลกระทบต่อสิทธิในการเรียกร้อง
จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 สลักหลังแล้วมอบให้ ช. พนักงานของจำเลยที่ 2 นำไปขายลดแก่โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. นำเช็คพิพาทไปเสนอต่อบริษัทโจทก์แล้วบอกแก่พนักงานของโจทก์ว่า จะออกไปข้างนอกสักครู่แล้วจะกลับมารับเงินค่าขายลดเช็ค ระหว่างนั้นมีผู้ปลอมตัวแต่งเครื่องแบบเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 นำดอกเบี้ยค่าขายลดเช็คมาชำระและขอรับเงินค่าขายลดเช็ค เมื่อ ช. กลับมาที่บริษัทโจทก์ปรากฏว่าโจทก์มอบเช็คค่าขายลดเช็คให้แก่บุคคลผู้นั้นไปและมีผู้นำเช็คนั้นไปขึ้นเงินไปแล้ว ดังนี้โจทก์ขาดความระมัดระวังเช่นบุคคลผู้ประกอบธุรกิจการเงินจะต้องใช้ความระมัดระวัง เป็นผู้ผิดในการชำระหนี้ค่าขายลดเช็คพิพาทให้แก่ผู้ไม่มีอำนาจรับ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่าขายลดเช็คให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว การขายลดเช็คพิพาทไม่สมบูรณ์โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทเพราะจำเลยที่ 1 แจ้งอายัดไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ใช้เงินตามเช็คนั้น
(ตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1024/2525)
(ตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1024/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีแร่ไว้ในครอบครอง: การขนย้ายและแต่งแร่อยู่คนละกรรม
องค์การเหมืองแร่จ้างจำเลยผลิตแร่ในเขตประทานบัตร ต่อมาจับจำเลยพร้อมแร่ของกลางที่บ้านจำเลยนอกเขตประทานบัตรขององค์การการที่จำเลยมีแร่ไว้ในครอบครองเป็นความผิดสำเร็จลงเมื่อจำเลยขนแร่ลงที่บ้านจำเลย เมื่อจำเลยแต่งแร่หรือล้างแร่ขึ้นอีกจึงเป็นความผิด อีกกรรมหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะ, สิทธิในกองมรดก, หนังสือสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์, การแบ่งมรดก
ด. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับเดิม) ในขณะที่ ด. มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5อยู่แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ด. จึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 และ 1445(เดิม) โจทก์ที่ 1จึงมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ด.แม้การสมรสระหว่างด. กับโจทก์ที่ 1จะยังไม่มีคำพิพากษาเพิกถอนหรือพิพากษาว่าเป็นโมฆะ แต่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะจำเลยได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า 'บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย' ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า 'บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย' ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะของคู่สมรสเดิมก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสิทธิในการรับมรดกของทายาท
ด. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับเดิม) ในขณะที่ ด. มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 อยู่แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ด. จึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 และ 1445 (เดิม) โจทก์ที่ 1 จึงมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ด. แม้การสมรสระหว่าง ด. กับโจทก์ที่ 1 จะยังไม่มีคำพิพากษาเพิกถอนหรือพิพากษาว่าเป็นโมฆะ แต่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะจำเลยได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า "บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย" ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า "บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย" ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3699-3700/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาสำคัญในการกระทำผิดป่าสงวน หากไม่ทราบว่าที่ดินเป็นป่าสงวน ไม่อาจถือว่ามีความผิดได้
การที่จำเลยยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยจำเลยไม่ทราบว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การกระทำ ของจำเลยจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิด จำเลยไม่มีความผิด ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14
คำขอของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งจำเลยกับบริวารออกไปจากที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองนั้น เป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคท้ายเมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรานี้แล้วศาลย่อมไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้
คำขอของโจทก์ที่ขอให้ศาลสั่งจำเลยกับบริวารออกไปจากที่ดินที่จำเลยยึดถือครอบครองนั้น เป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคท้ายเมื่อศาลมิได้พิพากษาชี้ขาดว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรานี้แล้วศาลย่อมไม่มีอำนาจสั่งให้ตามที่โจทก์ขอได้