คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุนทร วรรณแสง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องเงินคืนจากหนี้ละเมิด: การชำระหนี้ก่อนฟ้องทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องเงินเกินชำระทันที
โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยเนื่องจากมูลหนี้ฐานละเมิดที่โจทก์ทำเงินของจำเลยขาดบัญชีไป การชำระเงินในลักษณะเช่นนี้ ย่อมมีผลตามกฎหมายขึ้นทันทีว่า ถ้าโจทก์ชำระเงินเกินกว่าจำนวนหนี้ที่โจทก์จะต้องรับผิด จำเลยก็ต้องคืนเงินส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้ สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกเงินคืนจึงมีขึ้นตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยแล้ว นับแต่วันนั้นถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่าสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ภูมิลำเนาเดิมของผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ได้ย้ายภูมิลำเนา ถือเป็นการปฏิบัติชอบแล้ว การอ้างว่าไม่ทราบเรื่องจึงฟังไม่ขึ้น
จำเลยไปประกอบอาชีพที่มีที่อยู่แน่นอน โดยมิได้ย้ายภูมิลำเนาไปจากที่เดิม ภูมิลำเนาเดิมของจำเลยมีน้องชายของจำเลยอยู่เจ้าหน้าที่ได้ปิดหมายที่ภูมิลำเนาเดิม จึงเป็นการปฏิบัติโดยชอบ น้องชายจำเลยทราบถึงการปิดหมายข้อที่จำเลยอ้างว่าน้องชายจำเลยไม่แจ้งให้ทราบจึงไม่มีเหตุผล กรณีถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างฉ้อฉลในการทำสัญญาเลิกห้างหุ้นส่วน จำเลยต้องแสดงรายละเอียดวิธีการฉ้อฉลเพื่อให้สืบพยานได้
คำให้การจำเลยอ้างเพียงว่าโจทก์ใช้กลอุบายร่วมกับบุคคลภายนอกฉ้อฉลจำเลยให้ทำบันทึกข้อตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนเพื่อยึดเอากิจการของห้างไปดำเนินการเอง มิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ได้ฉ้อฉลจำเลยด้วยวิธีการอย่างใด จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามข้ออ้างของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างเหตุฉ้อฉลเพื่อโต้แย้งความสมบูรณ์ของบันทึกข้อตกลงเลิกห้างหุ้นส่วน จำเลยต้องแสดงรายละเอียดวิธีการฉ้อฉล
คำให้การจำเลยอ้างเพียงว่าโจทก์ใช้กลอุบายร่วมกับบุคคลภายนอกฉ้อฉลจำเลยให้ทำบันทึกข้อตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนเพื่อยึดเอากิจการของห้างไปดำเนินการเอง มิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ได้ฉ้อฉลจำเลยด้วยวิธีการอย่างใด จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามข้ออ้างของตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิป้องกันตัว: จำเลยถูกไล่ตามและยิงก่อน จึงมีสิทธิยิงตอบเพื่อป้องกันชีวิต
ป.และผู้ตายเดินกระแทกไหล่จำเลย จำเลยต่อว่าจึงเกิดชกกันขึ้น มีผู้ห้ามจนเลิกกันไปแล้วผู้ตายเอาปืนจี้เพื่อนจำเลยจะไปส่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อ้างว่าเพื่อนจำเลยยิงปืนจำเลยจึงไปขอให้พี่สาวจำเลยมาช่วยเจรจา ป. ไม่ยอมและชกจำเลย ช. กับ ก. เข้าช่วย ป. จำเลยล้มลงจึงใช้ไม้ตี ช.1 ที แล้วจำเลยเห็นผู้ตายถือปืนเล็งมาทางจำเลย จำเลยจึงวิ่งหนีผู้ตายวิ่งไล่ตามและยิงจำเลย จำเลยรู้สึกเจ็บที่เท้าซ้ายและน่องซ้ายล้มลง หันไปดูเห็นผู้ตายยืนอยู่ห่างจำเลย 2 วา ถือปืนจ้องมาทางจำเลยจำเลยจึงยิงผู้ตาย 1 นัดถูกผู้ตายถึงแก่ความตายดังนี้ นับว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยจึงมีสิทธิป้องกันชีวิตของตน การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวที่ชอบด้วยกฎหมาย: ภยันตรายใกล้ถึงและการกระทำพอสมควรแก่เหตุ
ป.และผู้ตายเดินกระแทกไหล่จำเลย จำเลยต่อว่าจึงเกิดชกกันขึ้น มีผู้ห้ามจนเลิกกันไปแล้วผู้ตายเอาปืนจี้เพื่อนจำเลยจะไปส่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อ้างว่าเพื่อนจำเลยยิงปืนจำเลยจึงไปขอให้พี่สาวจำเลยมาช่วยเจรจา ป. ไม่ยอมและชกจำเลย ช. กับ ก. เข้าช่วย ป. จำเลยล้มลงจึงใช้ไม้ตี ช. 1 ที แล้วจำเลยเห็นผู้ตายถือปืนเล็งมาทางจำเลย จำเลยจึงวิ่งหนีผู้ตายวิ่งไล่ตามและยิงจำเลย จำเลยรู้สึกเจ็บที่เท้าซ้ายและน่องซ้ายล้มลง หันไปดูเห็นผู้ตายยืนอยู่ห่างจำเลย 2 วา ถือปืนจ้องมาทางจำเลย จำเลยจึงยิงผู้ตาย 1 นัดถูกผู้ตายถึงแก่ความตายดังนี้ นับว่าเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยจึงมีสิทธิป้องกันชีวิตของตน การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากรและการเฉลี่ยทรัพย์: การประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายและการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีค้างชำระ
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้า โดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84,85 ทวิ กำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วัน นับแต่วันจ่ายเงินตามมาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้ว การประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้ว จึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร, การประเมินภาษี, สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้, การเฉลี่ยทรัพย์
ในกรณีที่จำเลยยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบรายการการค้า หรือบางเดือนมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีการค้าของจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 88 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่ 5 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (1) ไม่
ตามมาตรา 84, 85 ทวิกำหนดให้จำเลยต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ดังนั้นวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าของจำเลยเดือนแรกสุดของภาษีการค้าปี พ.ศ.2511 คือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2511 การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินและแจ้ง การประเมินภาษีการค้าประจำปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 จึงอยู่ภายในกำหนด 10 ปีตามมาตรา 88 ทวิ (2) แล้ว
หากเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีเชื่อว่าจำเลยยื่นรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายปี พ.ศ.2511 ถึง 2514 ไว้ไม่ครบถ้วน โดยปรากฏว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปีแรก พ.ศ.2511 ยื่นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2512 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องหักไว้ตามมาตรา 50 และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการแสดงการหักภาษีพร้อมกับชำระภาษี ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันจ่ายเงินตาม มาตรา 52 และ 59 แต่จำเลยมิได้ยื่นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหมายเรียกลงวันที่ 23 มีนาคม 2515 เรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยไปไต่สวนและให้นำบัญชีพร้อมด้วยเอกสารไปส่งมอบให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี ถูกต้องตามมาตรา19 และ 23 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้จำเลยเสียภาษีเพิ่ม เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2519 และจำเลยได้รับแจ้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2520 ก็ชอบด้วยมาตรา 20 แล้วการประเมินตามมาตรา 20 ไม่ จำต้องยื่นภายในกำหนด 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการ เมื่อนับจากวันที่จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเสียภาษีเพิ่ม ยังไม่เกิน 10 ปีสิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของเจ้าพนักงานจึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ภาษีที่ค้างภายในกำหนด 10 ปีแล้วจึงมีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้อง อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เพราะหากจำเลยไม่นำเงินภาษีไปชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะสั่งยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อนำมาชำระค่าภาษีค้างได้ โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรโดยยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2522 จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และไม่เป็นหนี้บุริมสิทธิ ก็ขอเฉลี่ยทรัพย์ที่ยึดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ได้ (อ้างฎีกาที่ 1879/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับขน: การยกเว้นความรับผิดจากเหตุสุดวิสัยและข้อตกลงชัดแจ้ง
การชำระหนี้อันเกิดจากสัญญารับขนของนั้น กฎหมายไม่ได้ห้ามมิให้ทำความตกลงล่วงหน้า ยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดในการชำระหนี้ของลูกหนี้ เมื่อตัวแทนของโจทก์ลงลายมือชื่อแสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งว่า ถ้าเรือไม่สามารถรับขนสินค้าของโจทก์เนื่องด้วยเหตุสุดวิสัยหรือไม่มาถึงท่าเรือกรุงเทพอย่างปลอดภัย ผู้รับขนไม่ต้องรับผิด ดังนั้นการที่เครื่องยนต์เรือเกิดชำรุดเสียหาย ไม่อาจมาถึงท่าเรือในเวลาที่กำหนดอย่างปลอดภัยผู้รับขนจึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญารับขน: การตกลงล่วงหน้าและเหตุสุดวิสัย
การชำระหนี้อันเกิดจากสัญญารับขนของนั้น กฎหมายไม่ได้ห้ามมิให้ทำความตกลงล่วงหน้า ยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดในการชำระหนี้ของลูกหนี้ เมื่อตัวแทนของโจทก์ลงลายมือชื่อแสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งว่า ถ้าเรือไม่สามารถรับขนสินค้าของโจทก์เนื่องด้วยเหตุสุดวิสัยหรือไม่มาถึงท่าเรือกรุงเทพอย่างปลอดภัย ผู้รับขนไม่ต้องรับผิด ดังนั้นการที่เครื่องยนต์เรือเกิดชำรุดเสียหาย ไม่อาจมาถึงท่าเรือในเวลาที่กำหนดอย่างปลอดภัยผู้รับขนจึงไม่ต้องรับผิด
of 32