คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 491

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนำก่อนใช้ป.พ.พ. หากมีพฤติการณ์เป็นการขายฝาก เกิน 10 ปี สิทธิไถ่ระงับ
สัญญาจำนำที่ดินที่ได้ทำกันก่อนประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ต้องบังคับตามกฎหมายที่มีอยู่ก่อน ได้แก่พระราชบัญญัติการขายฝากและจำนำที่ดิน ร.ศ.115 และโดยเฉพาะประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 ซึ่งให้ดูกิริยาที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันว่าเป็นจำนำหรือขายฝาก แม้ในสัญญาจะมีข้อความเป็นอย่างอื่นก็ต้องถือตามกิริยาที่ประพฤติต่อกันตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1044/2492
บิดาโจทก์ได้ตกลงกับผู้รับจำนำมอบที่พิพาทให้ไว้เอาค่าเช่าหักชำระดอกเบี้ยและค่าภาษีแล้ว บิดาโจทก์ได้อพยพไปอยู่ที่อื่นและเคยมาคิดเงินกับผู้รับจำนำเป็นบางปี บิดาโจทก์ตายไปประมาณ 30 ปีแล้ว ก่อนตายไม่เคยพูดขอไถ่จำนำเลย แสดงว่าบิดาโจทก์ได้มอบที่พิพาทให้ผู้รับจำนำทำกินต่างดอกเบี้ยมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว การปฏิบัติของคู่สัญญาเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการขายฝากซึ่งประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน ร.ศ.118 ข้อ 6 มีข้อความว่า ในการขายฝากที่ดิน ถ้ามีข้อสัญญาจะให้ไถ่ได้เกินกว่า 10 ปีไป อย่าให้วินิจฉัยว่าไถ่ได้เมื่อพ้น10 ปีไปเลย เมื่อบิดาโจทก์ได้จำนำที่พิพาทไว้ตั้งแต่ปี 2460 และได้มอบที่พิพาทให้ผู้รับจำนำทำกินต่างดอกเบี้ยตั้งแต่ปี 2473 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีไปมากแล้ว ที่พิพาทจึงหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับซื้อฝาก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิไถ่ถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินเป็นประกัน
การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ถ้าโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก สัญญานั้นก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดี ภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรก ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้ จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการจำนอง แม้ไม่ได้จดทะเบียน ศาลสั่งให้จำเลยรับเงินไถ่ถอน
การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทถ้าโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝากสัญญานั้นก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดีภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาขายฝากและการบังคับสิทธิในเงินฝากเพื่อชำระหนี้: สิทธิของธนาคารผู้รับฝากเมื่อสัญญาขายฝากถูกยกเลิก
เดิมลูกหนี้ได้เอาที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงงานพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจำนองค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด แล้วธนาคารนั้นได้โอนสิทธิการจำนองให้ธนาคารผู้ร้องโดยความยินยอมของลูกหนี้ ต่อจากนั้นลูกหนี้ได้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารผู้ร้องเรื่อยมา ต่อมาลูกหนี้ต้องการเงินกู้เพิ่มขึ้น จึงได้ขายฝากเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตน้ำตาลซึ่งติดตั้งและเก็บรักษาไว้ในโรงงานของลูกหนี้ไว้กับธนาคารผู้ร้องเป็นเงิน 4 ล้านบาท มีกำหนดสามปี และในวันเดียวกันนั้นลูกหนี้ได้นำเงิน 4 ล้านบาทที่ธนาคารผู้ร้องจ่ายเป็นค่าขายฝากดังกล่าว ฝากประจำไว้กับธนาคารผู้ร้องโดยลูกหนี้ตกลงให้ธนาคารผู้ร้องมีสิทธิรับเงินตามใบฝากนี้ตลอดจนดอกเบี้ยเงินฝากแทนลูกหนี้เพื่อชดใช้บรรดาหนี้สินและภาระผูกพันทั้งมวลของลูกหนี้ซึ่งมีต่อธนาคารผู้ร้องได้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้บันทึกข้อความนี้ไว้ด้านหลังใบรับฝากเงินประจำดังกล่าว ต่อมาลูกหนี้ขอเบิกเงินที่ได้ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้อง 1 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานผลิตน้ำตาล ธนาคารผู้ร้องไม่ยอมให้เบิก ลูกหนี้จึงมีหนังสือขอบอกเลิกสัญญาขายฝาก เพื่อจะได้นำหลักทรัพย์ไปใช้เป็นหลักประกันในอันที่จะได้เงินมาดำเนินงานของลูกหนี้ ธนาคารผู้ร้องยอมให้เลิกสัญญาได้ ฉะนั้น เมื่อธนาคารผู้ร้องตกลงยกเลิกการขายฝากตามที่ลูกหนี้เสนอ ธนาคารผู้ร้องย่อมมีสิทธิเอาเงินฝากดังกล่าวของลูกหนี้กลับคืนมาเป็นของธนาคารผู้ร้องได้ เพราะเมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม อนึ่ง จำนวนเงินตามใบฝากประจำก็มีอยู่เท่าจำนวนเงินที่ขายฝากไว้ ธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็ได้เป็นผู้รับฝากเงินจำนวนนี้จากลูกหนี้ผู้ขายฝากอยู่แล้วจึงย่อมยกเลิกใบฝากเงินนั้นเสีย โดยอาศัยสิทธิที่ลูกหนี้ได้สลักหลังใบฝากเงินนั้นไว้ นำเงินดังกล่าวชำระหนี้ค่าขายฝากได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาขายฝากแล้ว ธนาคารมีสิทธิรับเงินฝากเพื่อชำระหนี้ได้
เดิมลูกหนี้ได้เอาที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงงานพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจำนองค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารนครหลวงไทยจำกัดแล้วธนาคารนั้นได้โอนสิทธิการจำนองให้ธนาคารผู้ร้องโดยความยินยอมของลูกหนี้ ต่อจากนั้นลูกหนี้ได้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารผู้ร้องเรื่อยมา ต่อมาลูกหนี้ต้องการเงินกู้เพิ่มขึ้น จึงได้ขายฝากเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตน้ำตาลซึ่งติดตั้งและเก็บรักษาไว้ในโรงงานของลูกหนี้ไว้กับธนาคารผู้ร้องเป็นเงิน 4 ล้านบาท มีกำหนดสามปีและในวันเดียวกันนั้นลูกหนี้ได้นำเงิน 4 ล้านบาทที่ธนาคารผู้ร้องจ่ายเป็นค่าขายฝากดังกล่าว ฝากประจำไว้กับธนาคารผู้ร้องโดยลูกหนี้ตกลงให้ธนาคารผู้ร้องมีสิทธิรับเงินตามใบฝากนี้ตลอดจนดอกเบี้ยเงินฝากแทนลูกหนี้เพื่อชดใช้บรรดาหนี้สินและภาระผูกพันทั้งมวลของลูกหนี้ซึ่งมีต่อธนาคารผู้ร้องได้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้บันทึกข้อความนี้ไว้ด้านหลังใบรับฝากเงินประจำดังกล่าว ต่อมาลูกหนี้ขอเบิกเงินที่ได้ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้อง 1 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานผลิตน้ำตาล ธนาคารผู้ร้องไม่ยอมให้เบิกลูกหนี้จึงมีหนังสือขอบอกเลิกสัญญาขายฝาก เพื่อจะได้นำหลักทรัพย์ไปใช้เป็นหลักประกันในอันที่จะได้เงินมาดำเนินงานของลูกหนี้ ธนาคารผู้ร้องยอมให้เลิกสัญญาได้ ฉะนั้น เมื่อธนาคารผู้ร้องตกลงยกเลิกการขายฝากตามที่ลูกหนี้เสนอ ธนาคารผู้ร้องย่อมมีสิทธิเอาเงินฝากดังกล่าวของลูกหนี้กลับคืนมาเป็นของธนาคารผู้ร้องได้เพราะเมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม อนึ่ง จำนวนเงินตามใบฝากประจำก็มีอยู่เท่าจำนวนเงินที่ขายฝากไว้ ธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็ได้เป็นผู้รับฝากเงินจำนวนนี้จากลูกหนี้ผู้ขายฝากอยู่แล้วจึงย่อมยกเลิกใบฝากเงินนั้นเสีย โดยอาศัยสิทธิที่ลูกหนี้ได้สลักหลังใบฝากเงินนั้นไว้นำเงินดังกล่าวชำระหนี้ค่าขายฝากได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกผลจากทรัพย์สินขายฝาก: กรรมสิทธิ์ตกแก่ผู้ซื้อฝาก เว้นแต่ตกลงกันเป็นอื่น
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 492 บัญญัติว่าทรัพย์สินซึ่งขายฝากนั้นถ้าไถ่ภายในเวลาที่กำหนด ก็ให้ถือเป็นอันว่ากรรมสิทธิ์ไม่เคยตกไปแก่ผู้ซื้อเลยนั้นหมายถึงเฉพาะตัวทรัพย์สินเท่านั้นแต่ไม่รวมถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินด้วย เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ขายฝากที่ดินมีโฉนดไว้กับจำเลย เมื่อโจทก์ขอไถ่ถอน จำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมรับไถ่ถอน จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ขอเก็บค่าเช่าที่ดินที่ขายฝากในระหว่างอายุสัญญาขายฝากโดยตกลงว่า จะไถ่ถอนเมื่อใด โจทก์จะชำระค่าเช่าหรือผลประโยชน์ที่เก็บได้ในระหว่างนั้นแก่จำเลย โจทก์ผิดสัญญาไม่ยอมชำระค่าเช่าที่ดินให้จำเลยจึงไม่ยอมให้ไถ่ถอน ข้อตกลงดังที่จำเลยอ้างนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ คู่สัญญาอาจจะตกลงกันเป็นพิเศษอย่างไรก็ได้ แม้มิได้ระบุไว้ในสัญญาขายฝากจำเลยก็นำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงนั้นได้ เพราะมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาขายฝากอันเกี่ยวกับค่าไถ่หรือสินไถ่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกผลจากทรัพย์สินขายฝาก: สิทธิของผู้ซื้อฝากและข้อยกเว้นจากการตกลงเพิ่มเติม
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 492 บัญญัติว่าทรัพย์สินซึ่งขายฝากนั้นถ้าไถ่ภายในเวลาที่กำหนด ก็ให้ถือเป็นอันว่ากรรมสิทธิ์ไม่เคยตกไปแก่ผู้ซื้อเลยนั้นหมายถึงเฉพาะตัวทรัพย์สินเท่านั้นแต่ไม่รวมถึงดอกผลแห่งทรัพย์สินด้วย เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ขายฝากที่ดินมีโฉนดไว้กับจำเลย เมื่อโจทก์ขอไถ่ถอน จำเลยบิดพลิ้วไม่ยอมรับไถ่ถอน จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ขอเก็บค่าเช่าที่ดินที่ขายฝากในระหว่างอายุสัญญาขายฝากโดยตกลงว่าจะไถ่ถอนเมื่อใด โจทก์จะชำระค่าเช่าหรือผลประโยชน์ที่เก็บได้ในระหว่างนั้นแก่จำเลย โจทก์ผิดสัญญาไม่ยอมชำระค่าเช่าที่ดินให้จำเลยจึงไม่ยอมให้ไถ่ถอน ข้อตกลงดังที่จำเลยอ้างนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ คู่สัญญาอาจจะตกลงกันเป็นพิเศษอย่างไรก็ได้ แม้มิได้ระบุไว้ในสัญญาขายฝากจำเลยก็นำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงนั้นได้ เพราะมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาขายฝากอันเกี่ยวกับค่าไถ่หรือสินไถ่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินหลังออกโฉนด: น.ส.3 ถูกยกเลิกตามกฎหมาย ทำให้จำนองไม่สมบูรณ์
การที่อำเภอได้ออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ในที่พิพาทให้เจ้าของที่ดิน จนกระทั่งสำนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินที่พิพาทให้เจ้าของที่ดินไปแล้ว ดังนี้ถือได้ว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับเดิมเป็นอันยกเลิกแล้วตามความในมาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ต่อมาเจ้าของที่ดินได้นำต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวไปจำนองไว้กับโจทก์ โดยจดทะเบียนการจำนอง ณ ที่ว่าการอำเภอ แล้วต่อมาเจ้าของที่ดินได้นำที่ดินแปลงเดียวกันนี้พร้อมโฉนดไปขายฝากให้บุตรจำเลยโดยจดทะเบียนการขายฝากที่สำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ดังนี้ แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยจดทะเบียนถูกต้องและสุจริตก็ตามก็หามีผลบังคับแก่ที่ดินแปลงพิพาทไม่ โจทก์ผู้รับจำนองไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลย (ผู้รับโอนมรดกที่พิพาท) ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากโจทก์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินหลังออกโฉนด: สิทธิจำนองเป็นโมฆะเมื่อ น.ส.3 ถูกยกเลิกด้วยการออกโฉนด
การที่อำเภอได้ออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ในที่พิพาทให้เจ้าของที่ดิน จนกระทั่งสำนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินที่พิพาทให้เจ้าของที่ดินไปแล้ว ดังนี้ถือได้ว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับเดิมเป็นอันยกเลิกแล้วตามความในมาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ต่อมาเจ้าของที่ดินได้นำต้นฉบับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวไปจำนองไว้กับโจทก์ โดยจดทะเบียนการจำนอง ณ ที่ว่าการอำเภอ แล้วต่อมาเจ้าของที่ดินได้นำที่ดินแปลงเดียวกันนี้พร้อมโฉนดไปขายฝากให้บุตรจำเลยโดยจดทะเบียนการขายฝากที่สำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนดดังนี้ แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยจดทะเบียนถูกต้องและสุจริตก็ตามก็หามีผลบังคับแก่ที่ดินแปลงพิพาทไม่ โจทก์ผู้รับจำนองไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลย (ผู้รับโอนมรดกที่พิพาท) ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากโจทก์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่การขายฝาก: แม้ผู้ซื้อฝากบ่ายเบี่ยงรับเงิน ผู้ขายฝากยังถือว่าใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนด
โจทก์ขายฝากที่นาไว้กับจำเลย ต่อมาโจทก์ขอไถ่การขายฝากภายในกำหนดเวลา แต่จำเลยไม่ยอมโดยเกี่ยงจะให้โจทก์ชำระค่าเช่านาที่ค้างด้วย โจทก์จึงไม่ยอมวางเงินค่าขายฝาก เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายไม่ยอมรับค่าขายฝากจากโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ได้ขอไถ่จากจำเลยภายในกำหนดเวลาขายฝากแล้ว
of 38