พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่การขายฝาก: แม้ผู้ซื้อฝากบ่ายเบี่ยงรับเงิน ผู้ขายฝากยังถือว่าใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนด
โจทก์ขายฝากที่นาไว้กับจำเลย ต่อมาโจทก์ขอไถ่การขายฝากภายในกำหนดเวลา แต่จำเลยไม่ยอมโดยเกี่ยงจะให้โจทก์ชำระค่าเช่านาที่ค้างด้วย โจทก์จึงไม่ยอมวางเงินค่าขายฝาก เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายไม่ยอมรับค่าขายฝากจากโจทก์ถือได้ว่าโจทก์ได้ขอไถ่จากจำเลยภายในกำหนดเวลาขายฝากแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อสังหาริมทรัพย์, สัญญาซื้อขาย, สัญญาจะซื้อขาย, โมฆะ, นิติกรรมกู้ยืม
1. การที่จะวินิจฉัยว่าทรัพย์ใดเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือไม่นั้น ย่อมอยู่ที่ลักษณะสภาพของตัวทรัพย์นั้นเองว่าเป็นทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน.ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 100 หรือไม่ ส่วนทรัพย์นั้นจะเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่เป็นคนละเรื่องกัน ดังเช่นปลูกตึกลงในที่ดินที่เช่าผู้อื่นเป็นการชั่วคราวตึกนั้นย่อมไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 แต่ลักษณะสภาพของตึกเป็นทรัพย์ติดอยู่กับที่ดินเป็นการถาวรตึกนั้นจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ การซื้อขายตึกเช่นว่านี้จึงต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. แม้ข้อความในสัญญาจะมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายมีสิทธิซื้อโรงเรือนคืนได้ภายในกำหนด 5 เดือนก็ดี แต่ในสัญญานั้นเองก็มีข้อความว่า ยอมให้ผู้ซื้อยึดถือครอบครองเป็นเจ้าของตั้งแต่วันทำสัญญา โดยที่ผู้ขายซึ่งยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนต้องเสียค่าตอบแทน ซึ่งในสัญญาเรียกว่าดอกเบี้ยให้แก่ผู้ซื้อเป็นรายเดือน และผู้ขายก็ได้รับเงินค่าโรงเรือนไปครบถ้วนแล้ว ดังนี้ สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขาย หากแต่เป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาดในลักษณะของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ
3. จำเลยที่ 3 ต้องการเงิน 30,000 บาทเพื่อนำไปชำระหนี้ผู้อื่น จึงขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นน้อง ทำสัญญาขายโรงเรือนให้โจทก์ ในสัญญาพิพาทมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะซื้อคืนได้ภายใน 5 เดือนเท่าราคาขายพร้อมด้วยดอกเบี้ย และโจทก์ผู้ซื้อยอมให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนได้ นอกจากนี้จำเลยที่ 3 ยังได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์อีกฉบับหนึ่งว่า เมื่อครบกำหนด 5 เดือน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมออกจากโรงเรือน และไม่สามารถใช้เงิน 30,000 บาทกับดอกเบี้ยคืนให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ยอมใช้เงิน30,000 บาทกับดอกเบี้ยแทน ดังนี้ สัญญาพิพาทเข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้ยืมเงินอีกอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136 โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยได้ แม้ในคำบรรยายฟ้องโจทก์จะไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า หากสัญญาพิพาทเป็นโมฆะแล้ว โจทก์จำเลยตั้งใจให้สมบูรณ์ในแบบสัญญากู้เงินก็ดี เมื่อตามฟ้องของโจทก์คำให้การจำเลยประกอบกับข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างใดแล้ว ก็เป็นเรื่องของศาลที่จะยกบทกฎหมายขึ้นปรับคดีเองได้ ทั้งโจทก์มีคำขอให้จำเลยใช้เงินคืนให้โจทก์ด้วย จึงไม่ใช่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
(ข้อ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 38/2515)
2. แม้ข้อความในสัญญาจะมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายมีสิทธิซื้อโรงเรือนคืนได้ภายในกำหนด 5 เดือนก็ดี แต่ในสัญญานั้นเองก็มีข้อความว่า ยอมให้ผู้ซื้อยึดถือครอบครองเป็นเจ้าของตั้งแต่วันทำสัญญา โดยที่ผู้ขายซึ่งยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนต้องเสียค่าตอบแทน ซึ่งในสัญญาเรียกว่าดอกเบี้ยให้แก่ผู้ซื้อเป็นรายเดือน และผู้ขายก็ได้รับเงินค่าโรงเรือนไปครบถ้วนแล้ว ดังนี้ สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขาย หากแต่เป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาดในลักษณะของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ
3. จำเลยที่ 3 ต้องการเงิน 30,000 บาทเพื่อนำไปชำระหนี้ผู้อื่น จึงขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นน้อง ทำสัญญาขายโรงเรือนให้โจทก์ ในสัญญาพิพาทมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะซื้อคืนได้ภายใน 5 เดือนเท่าราคาขายพร้อมด้วยดอกเบี้ย และโจทก์ผู้ซื้อยอมให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนได้ นอกจากนี้จำเลยที่ 3 ยังได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์อีกฉบับหนึ่งว่า เมื่อครบกำหนด 5 เดือน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมออกจากโรงเรือน และไม่สามารถใช้เงิน 30,000 บาทกับดอกเบี้ยคืนให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ยอมใช้เงิน30,000 บาทกับดอกเบี้ยแทน ดังนี้ สัญญาพิพาทเข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้ยืมเงินอีกอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136 โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยได้ แม้ในคำบรรยายฟ้องโจทก์จะไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า หากสัญญาพิพาทเป็นโมฆะแล้ว โจทก์จำเลยตั้งใจให้สมบูรณ์ในแบบสัญญากู้เงินก็ดี เมื่อตามฟ้องของโจทก์คำให้การจำเลยประกอบกับข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างใดแล้ว ก็เป็นเรื่องของศาลที่จะยกบทกฎหมายขึ้นปรับคดีเองได้ ทั้งโจทก์มีคำขอให้จำเลยใช้เงินคืนให้โจทก์ด้วย จึงไม่ใช่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
(ข้อ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 38/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อสังหาริมทรัพย์-สัญญาซื้อขาย-นิติกรรมอำพราง-สัญญากู้ยืม: การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำตามแบบ หากไม่ถูกต้องอาจเป็นนิติกรรมกู้ยืม
1. การที่จะวินิจฉัยว่าทรัพย์ใดเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือไม่นั้นย่อมอยู่ที่ลักษณะสภาพของตัวทรัพย์นั้นเองว่าเป็นทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน.ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 100 หรือไม่ ส่วนทรัพย์นั้นจะเป็นส่วนควบของที่ดินหรือไม่เป็นคนละเรื่องกัน ดังเช่นปลูกตึกลงในที่ดินที่เช่าผู้อื่นเป็นการชั่วคราวตึกนั้นย่อมไม่เป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 109 แต่ลักษณะสภาพของตึกเป็นทรัพย์ติดอยู่กับที่ดินเป็นการถาวรตึกนั้นจึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ การซื้อขายตึกเช่นว่านี้จึงต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. แม้ข้อความในสัญญาจะมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายมีสิทธิซื้อโรงเรือนคืนได้ภายในกำหนด 5 เดือนก็ดี แต่ในสัญญานั้นเองก็มีข้อความว่ายอมให้ผู้ซื้อยึดถือครอบครองเป็นเจ้าของตั้งแต่วันทำสัญญาโดยที่ผู้ขายซึ่งยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนต้องเสียค่าตอบแทนซึ่งในสัญญาเรียกว่าดอกเบี้ยให้แก่ผู้ซื้อเป็นรายเดือน และผู้ขายก็ได้รับเงินค่าโรงเรือนไปครบถ้วนแล้ว ดังนี้ สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขาย หากแต่เป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาดในลักษณะของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ
3. จำเลยที่ 3 ต้องการเงิน 30,000 บาทเพื่อนำไปชำระหนี้ผู้อื่นจึงขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นน้อง ทำสัญญาขายโรงเรือนให้โจทก์ในสัญญาพิพาทมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะซื้อคืนได้ภายใน 5 เดือนเท่าราคาขายพร้อมด้วยดอกเบี้ย และโจทก์ผู้ซื้อยอมให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนได้ นอกจากนี้จำเลยที่ 3 ยังได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์อีกฉบับหนึ่งว่า เมื่อครบกำหนด 5 เดือนถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมออกจากโรงเรือน และไม่สามารถใช้เงิน30,000 บาทกับดอกเบี้ยคืนให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ยอมใช้เงิน30,000 บาทกับดอกเบี้ยแทน ดังนี้ สัญญาพิพาทเข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้ยืมเงินอีกอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยได้ แม้ในคำบรรยายฟ้องโจทก์จะไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า หากสัญญาพิพาทเป็นโมฆะแล้ว โจทก์จำเลยตั้งใจให้สมบูรณ์ในแบบสัญญากู้เงินก็ดี เมื่อตามฟ้องของโจทก์คำให้การจำเลยประกอบกับข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างใดแล้ว ก็เป็นเรื่องของศาลที่จะยกบทกฎหมายขึ้นปรับคดีเองได้ ทั้งโจทก์มีคำขอให้จำเลยใช้เงินคืนให้โจทก์ด้วยจึงไม่ใช่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
(ข้อ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 38/2515)
2. แม้ข้อความในสัญญาจะมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายมีสิทธิซื้อโรงเรือนคืนได้ภายในกำหนด 5 เดือนก็ดี แต่ในสัญญานั้นเองก็มีข้อความว่ายอมให้ผู้ซื้อยึดถือครอบครองเป็นเจ้าของตั้งแต่วันทำสัญญาโดยที่ผู้ขายซึ่งยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนต้องเสียค่าตอบแทนซึ่งในสัญญาเรียกว่าดอกเบี้ยให้แก่ผู้ซื้อเป็นรายเดือน และผู้ขายก็ได้รับเงินค่าโรงเรือนไปครบถ้วนแล้ว ดังนี้ สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขาย หากแต่เป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาดในลักษณะของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถ้ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ
3. จำเลยที่ 3 ต้องการเงิน 30,000 บาทเพื่อนำไปชำระหนี้ผู้อื่นจึงขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นน้อง ทำสัญญาขายโรงเรือนให้โจทก์ในสัญญาพิพาทมีเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะซื้อคืนได้ภายใน 5 เดือนเท่าราคาขายพร้อมด้วยดอกเบี้ย และโจทก์ผู้ซื้อยอมให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ยังคงอาศัยอยู่ในโรงเรือนได้ นอกจากนี้จำเลยที่ 3 ยังได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์อีกฉบับหนึ่งว่า เมื่อครบกำหนด 5 เดือนถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมออกจากโรงเรือน และไม่สามารถใช้เงิน30,000 บาทกับดอกเบี้ยคืนให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ยอมใช้เงิน30,000 บาทกับดอกเบี้ยแทน ดังนี้ สัญญาพิพาทเข้าแบบเป็นนิติกรรมกู้ยืมเงินอีกอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยได้ แม้ในคำบรรยายฟ้องโจทก์จะไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า หากสัญญาพิพาทเป็นโมฆะแล้ว โจทก์จำเลยตั้งใจให้สมบูรณ์ในแบบสัญญากู้เงินก็ดี เมื่อตามฟ้องของโจทก์คำให้การจำเลยประกอบกับข้อนำสืบของทั้งสองฝ่ายรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างใดแล้ว ก็เป็นเรื่องของศาลที่จะยกบทกฎหมายขึ้นปรับคดีเองได้ ทั้งโจทก์มีคำขอให้จำเลยใช้เงินคืนให้โจทก์ด้วยจึงไม่ใช่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
(ข้อ 3 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 38/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เครื่องยนต์เช่าซื้อ: การโอนสิทธิโดยผู้ไม่มีกรรมสิทธิ์ และผลกระทบต่อผู้รับซื้อฝาก
โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดเครื่องเรือยนต์ซึ่งประกอบติดตั้งไว้สำหรับเรือยนต์ประมงอวนลากซึ่งมีระวางเกินกว่า 5 ตันผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์เครื่องเรือยนต์ดังกล่าว ในฐานะเป็นผู้รับซื้อฝากเรือยนต์ไว้จากภริยาจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าซื้อเครื่องยนต์ดังกล่าวและยังมิได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน กรรมสิทธิ์จึงยังไม่โอนไปยังจำเลยและกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1332 ผู้ร้องจึงย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในเครื่องเรือยนต์ซึ่งตนจะมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เครื่องยนต์เช่าซื้อ - การโอนสิทธิโดยผู้ไม่มีกรรมสิทธิ์ - สิทธิของผู้รับซื้อฝาก
โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดเครื่องเรือยนต์ซึ่งประกอบติดตั้งไว้สำหรับเรือยนต์ประมงอวนลากซึ่งมีระวางเกินกว่า 5 ตัน ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์เครื่องเรือยนต์ดังกล่าวในฐานะเป็นผู้รับซื้อฝากเรือยนต์ไว้จากภริยาจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าซื้อเครื่องยนต์ดังกล่าวและยังมิได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน กรรมสิทธิ์จึงยังไม่โอนไปยังจำเลยและกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1332 ผู้ร้องจึงย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในเครื่องเรือยนต์ซึ่ง ตนจะมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่จดทะเบียนแล้วย่อมผูกพันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ แม้มีการขายฝากและหลุดเป็นสิทธิ
เจ้าของที่ดินและตึกพิพาทเอาที่ดินและตึกพิพาทไปขายฝากในระหว่างขายฝากได้เอาตึกพิพาทไปให้จำเลยเช่า โดยผู้ซื้อฝากมิได้รู้เห็นยินยอมอนุญาต สัญญาเช่าจึงไม่ผูกพันผู้ซื้อฝาก แต่เจ้าของที่ดินและตึกพิพาทกับผู้เช่ายังคงถูกผูกพันอยู่ตามสัญญาเช่า เพราะสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเป็นบุคคลสิทธิ เมื่อเจ้าของที่ดินขายฝาก แล้วไม่ไถ่คืน ทรัพย์สินที่ขายฝากหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้ซื้อฝากผู้ซื้อฝากได้ขายให้แก่ผู้ซื้อ ในที่สุดเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทได้ซื้อที่ดินและตึกพิพาทคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง จึงต้องถือว่า ตึกพิพาทมีสัญญาเช่าที่จดทะเบียนโดยชอบ ระหว่างเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทกับจำเลยผู้เช่า เมื่อเจ้าของนำที่ดินและตึกพิพาทไปขายฝากใหม่ผู้ซื้อฝากคนใหม่จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า ซึ่งเจ้าของที่ดินมีอยู่ต่อจำเลยแม้ภายหลังผู้ซื้อฝากจะได้ทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิแล้วขายต่อให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าดังกล่าวก็ยังคงตกติดมายังโจทก์อีกมิได้ระงับไปแต่อย่างใด โจทก์ผู้รับโอนถูกผูกพันตามสัญญาเช่านั้น จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากตึกพิพาท หรือเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่จดทะเบียนแล้วย่อมผูกพันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ แม้มีการขายฝากและหลุดเป็นสิทธิ
เจ้าของที่ดินและตึกพิพาท เอาที่ดินและตึกพิพาทไปขายฝากในระหว่างขายฝากได้เอาตึกพิพาทไปให้จำเลยเช่า โดยผู้ซื้อฝากมิได้รู้เห็นยินยอมอนุญาต สัญญาเช่าจึงไม่ผูกพันผู้ซื้อฝากแต่เจ้าของที่ดินและตึกพิพาทกับผู้เช่ายังคงถูกผูกพันอยู่ตามสัญญาเช่า เพราะสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเป็นบุคคลสิทธิ เมื่อเจ้าของที่ดินขายฝากแล้วไม่ไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้ซื้อฝาก ผู้ซื้อฝากได้ขายให้แก่ผู้ซื้อ ในที่สุดเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทได้ซื้อที่ดินและตึกพิพาทคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์อีกครั้งหนึ่งจึงต้องถือว่า ตึกพิพาทมีสัญญาเช่าที่จดทะเบียนโดยชอบระหว่างเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทกับจำเลยผู้เช่า เมื่อเจ้าของนำที่ดินและตึกพิพาทไปขายฝากใหม่ ผู้ซื้อฝากคนใหม่จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า ซึ่งเจ้าของที่ดินมีอยู่ต่อจำเลยแม้ภายหลังผู้ซื้อฝากจะได้ทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิแล้วขายต่อให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าดังกล่าวก็ยังคงตกติดมายังโจทก์อีกมิได้ระงับไปแต่อย่างใด โจทก์ผู้รับโอนถูกผูกพันตามสัญญาเช่านั้นจึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากตึกพิพาทหรือเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่ามีข้อตกลงให้ไถ่ถอนคืนได้ หากไม่ได้ทำตามรูปแบบสัญญาขายฝาก สัญญาเป็นโมฆะ
บิดาจำเลยได้ขายนาพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้โจทก์ทำหนังสือสัญญากันเองชำระราคากันแล้ว และบิดาจำเลยได้ส่งมอบนาพิพาทให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญาในสัญญาซื้อขายนั้นมีข้อความว่า เมื่อผู้ขายต้องการจะไถ่ถอนนาคืน จะยอมคิดดอกเบี้ยให้ผู้ซื้อร้อยละ 10 บาทต่อเดือนอันเป็นข้อสัญญาที่ให้ไถ่ถอนนาคืนเช่นสัญญาขายฝาก
เมื่อไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาขายฝากโดยถูกต้องจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ขายจะขอไถ่ถอนนาคืนโดยอาศัยสัญญานี้ไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 352/2492)
เมื่อไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาขายฝากโดยถูกต้องจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ขายจะขอไถ่ถอนนาคืนโดยอาศัยสัญญานี้ไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 352/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่มีข้อตกลงให้ไถ่ถอนคืนได้ หากไม่ทำตามรูปแบบสัญญาขายฝาก สัญญาเป็นโมฆะ
บิดาจำเลยได้ขายนาพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้โจทก์ ทำหนังสือสัญญากันเองชำระราคากันแล้ว และบิดาจำเลยได้ส่งมอบนาพิพาทให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญา ในสัญญาซื้อขายนั้นมีข้อความว่า เมื่อผู้ขายต้องการจะไถ่ถอนนาคืน จะยอมคิดดอกเบี้ยให้ผู้ซื้อร้อยละ 10 บาทต่อเดือน อันเป็นข้อสัญญาที่ให้ไถ่ถอนนาคืนเช่นสัญญาขายฝาก
เมื่อไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาขายฝากโดยถูกต้อง จึงตกเป็นโมฆะ จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ขายจะขอไถ่ถอนนาคืน โดยอาศัยสัญญานี้ไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 352/2492)
เมื่อไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาขายฝากโดยถูกต้อง จึงตกเป็นโมฆะ จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ขายจะขอไถ่ถอนนาคืน โดยอาศัยสัญญานี้ไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 352/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942-943/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากโมฆะแต่มีเจตนาสละสิทธิครอบครอง ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองเมื่อพ้นกำหนดไถ่
ทำสัญญาขายฝากที่ดินมือเปล่าโดยมิได้จดทะเบียนและผู้ขายมอบนาให้ผู้ซื้อทำกินโดยมีข้อตกลงว่า ถ้าไม่ไถ่ภายในกำหนด 3 เดือน ให้ที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อโดยผู้ขายไม่เกี่ยวข้องต่อไป ดังนี้ ถึงแม้สัญญาขายฝากจะเป็นโมฆะ แต่ก็ยังถือได้ว่าผู้ขายได้สละสิทธิครอบครองไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วันพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว ผู้ซื้อย่อมได้สิทธิครอบครองตั้งแต่วันพ้นกำหนด 3 เดือนแล้ว และกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่ผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นแทนจำนวนเงินที่กู้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656