คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 491

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากขัดต่อมาตรา 496 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การขยายเวลาไม่ผูกพัน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยอ้างว่าจำเลยได้ขายฝากหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์แล้ว จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ตกลงขยายเวลาการขายฝากให้อีก 1 ปีและฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ให้ขยายเวลาการขายฝากตามที่ตกลงกันไว้ ดังนี้ หากแม้จะฟังว่าได้มีการตกลงกันจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างก็ตาม ก็ไม่อาจบังคับตามฟ้องแย้งที่ขอให้ศาลขยายเวลาให้อีก 1 ปีได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อมาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงใช้บังคับไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 129/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากหลุดจำนอง ขยายเวลาสัญญาขัดมาตรา 496 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สัญญาเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยอ้างว่าจำเลยได้ขายฝากหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์แล้ว จำเลยต่อสู้ว่า โจทก์ตกลงขยายเวลาการขายฝากให้อีก 1 ปี และฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ให้ขยายเวลาการขายฝากตามที่ตกลงกันไว้ ดังนี้ หากแม้จะฟังว่าได้มีการตกลงกันจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างก็ตาม ก็ไม่อาจบังคับตามฟ้องแย้งที่ขอให้ศาลขยายเวลาให้อีก 1 ปีได้ เพราะข้อตกลงดังกล่าวขัดต่อ มาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงใช้บังคับไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 129/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าที่ดินขายฝากเป็นสิทธิแยกต่างหากจากสินไถ่ โจทก์มีสิทธิพิสูจน์ข้อตกลงได้โดยไม่ต้องห้ามตามมาตรา 94
ข้อตกลงของคู่สัญญาขายฝากเกี่ยวกับค่าเช่าทรัพย์สินที่ขายฝากถ้ามิได้จดแจ้งลงไว้ในสัญญาขายฝากเป็นอย่างอื่น คู่สัญญาย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงในเรื่องนี้ได้ เพราะค่าเช่าซึ่งเป็นดอกผลของทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นเงินต่างก้อนกับสินไถ่ซึ่งเป็นราคาไถ่ถอนที่ดินขายฝาก การนำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเช่าระหว่างกำหนดเวลาขายฝาก จึงไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาขายฝากอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าทรัพย์ขายฝากเป็นสิทธิแยกต่างหากจากค่าไถ่ การนำสืบข้อตกลงเรื่องค่าเช่าไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา
ข้อตกลงของคู่สัญญาขายฝากเกี่ยวกับค่าเช่าทรัพย์สินที่ขายฝาก ถ้ามิได้จดแจ้งลงไว้ในสัญญาขายฝากเป็นอย่างอื่น คู่สัญญาย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงในเรื่องนี้ได้ เพราะค่าเช่าซึ่งเป็นดอกผลของทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นเงินต่างก้อนกับสินไถ่ซึ่งเป็นราคาไถ่ถอนที่ดินขายฝาก การนำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับค่าเช่าระหว่างกำหนดเวลาขายฝาก จึงไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาขายฝากอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเช่าซื้อ: การขายฝากโดยผู้เช่าซื้อไม่มีผลผูกพันต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์
จำเลยเช่าซื้อเครื่องยนต์ไปจากโจทก์ แล้วผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ก่อนโจทก์ฟ้องเรียกเงินค้างชำระ จำเลยเอาเครื่องยนต์นั้นไปขายฝากแก่ผู้ร้อง เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลย จำเลยประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างแต่แล้วก็ผิดนัดชำระอีก แม้จำเลยจะมิได้ไถ่เครื่องยนต์นั้นคืนจากผู้ร้องตามสัญญาขายฝาก โจทก์ก็ยังมีสิทธินำยึดเครื่องยนต์นั้นได้ เพราะจำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์อันจะนำไปขายฝากได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเช่าซื้อ: การขายฝากโดยผู้ไม่มีกรรมสิทธิ์ไม่ทำให้ผู้ซื้อฝากได้กรรมสิทธิ์
จำเลยเช่าซื้อเครื่องยนต์ไปจากโจทก์ แล้วผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อก่อนโจทก์ฟ้องเรียกเงินค้างชำระ จำเลยเอาเครื่องยนต์นั้นไปขายฝากแก่ผู้ร้อง เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลย จำเลยประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างแต่แล้วก็ผิดนัดชำระอีก แม้จำเลยจะมิได้ไถ่เครื่องยนต์นั้นคืนจากผู้ร้องตามสัญญาขายฝาก โจทก์ก็ยังมีสิทธินำยึดเครื่องยนต์นั้นได้ เพราะจำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์อันจะนำไปขายฝากได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121-1122/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ขายฝากโดยตัวแทนที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ และการรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์ไม่รู้หนังสือ เชิดบุตรของตนเป็นตัวแทนเพื่อติดต่อทางเอกสารกับจำเลยตลอดมา เมื่อจำเลยชำระเงินให้โจทก์ โจทก์ให้บุตรทำใบรับเงินให้จำเลย โจทก์ย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยผู้สุจริตเหมือนว่าบุตรนั้นเป็นตัวแทนของตน โดยจำเลยไม่จำต้องมีหนังสือแต่งตั้งตัวแทนมาแสดง
บทบัญญัติมาตรา 653 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่า การนำสืบถึงการใช้หนี้เงินกู้ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงนั้น ไม่นำมาใช้บังคับในกรณีชำระเงินไถ่การขายฝาก
เอกสารใบรับเงินซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์ในวันออกใบรับเงินนั้น เมื่อมีการปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้ว แม้จะมิได้เสียเงินเพิ่มอากร ศาลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121-1122/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ขายฝากและการรับผิดแทนตัวแทน แม้ไม่มีเอกสารมอบอำนาจ
โจทก์ไม่รู้หนังสือ. เชิดบุตรของตนเป็นตัวแทนเพื่อติดต่อทางเอกสารกับจำเลยตลอดมา เมื่อจำเลยชำระเงินให้โจทก์. โจทก์ให้บุตรทำใบรับเงินให้จำเลย โจทก์ย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยผู้สุจริตเสมือนว่าบุตรนั้นเป็นตัวแทนของตน. โดยจำเลยไม่จำต้องมีหนังสือแต่งตั้งตัวแทนมาแสดง.
บทบัญญัติมาตรา 653 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่า การนำสืบถึงการใช้หนี้เงินกู้ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงนั้น. ไม่นำมาใช้บังคับ.ในกรณีชำระเงินไถ่การขายฝาก.
เอกสารใบรับเงินซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์ในวันออกใบรับเงินนั้น. เมื่อมีการปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้ว. แม้จะมิได้เสียเงินเพิ่มอากร. ศาลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121-1122/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ขายฝากและการรับรองการชำระหนี้โดยตัวแทนที่มิได้มีหนังสือมอบอำนาจ
โจทก์ไม่รู้หนังสือ เชิดบุตรของตนเป็นตัวแทนเพื่อติดต่อทางเอกสารกับจำเลยตลอดมา เมื่อจำเลยชำระเงินให้โจทก์ โจทก์ให้บุตรทำใบรับเงินให้จำเลย โจทก์ย่อมต้องรับผิดต่อจำเลยผู้สุจริตเสมือนว่าบุตรนั้นเป็นตัวแทนของตน โดยจำเลยไม่จำต้องมีหนังสือแต่งตั้งตัวแทนมาแสดง
บทบัญญัติมาตรา 653 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่า การนำสืบถึงการใช้หนี้เงินกู้ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดงนั้น ไม่นำมาใช้บังคับ ในกรณีชำระเงินไถ่การขายฝาก
เอกสารใบรับเงินซึ่งมิได้ปิดอากรแสตมป์ในวันออกใบรับเงินนั้น เมื่อมีการปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้ว แม้จะมิได้เสียเงินเพิ่มอากร ศาลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนอง สัญญาขายฝากเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์และสิทธิฟ้องขับไล่
ในกรณีที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้ว่าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนองนั้น. ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาขายฝากเกิดจากเจตนาลวงของคู่กรณี โดยคู่กรณีมีเจตนาที่จะทำสัญญาจำนองกัน. หากเป็นจริงดังจำเลยกล่าวอ้างสัญญาขายฝากก็ใช้บังคับไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118. เมื่อสัญญาขายฝากใช้บังคับไม่ได้แล้ว.โจทก์ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทตามสัญญาขายฝาก. และไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย(เทียบตามนัยฎีกาที่ 295/2508).
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างสัญญาขายฝาก. ย่อมมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญาขายฝาก และมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่. และเมื่อไม่ได้พิพาทกันเรื่องการบังคับจำนอง. จึงยังไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าสัญญาจำนองนั้นจะมีผลบังคับได้หรือไม่.
of 38