คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 491

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง สัญญาขายฝาก – จำนอง สิทธิในการนำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าความจริงจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 4,000 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี รวมกันเข้าไว้ในต้นเงินมีกำหนดเวลากู้กัน 1 ปี แต่โจทก์ขอให้ทำเป็นสัญญาขายฝากกันไว้ไม่ต้องทำสัญญากู้และจำนองสัญญาขายฝากจึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมจำนอง ข้อต่อสู้ของจำเลยดังนี้ถือได้ว่าเป็นการกล่าวถึงความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดของสัญญาขายฝาก โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบพยานในข้อนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย มิใช่การสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร (อ้างฎีกาที่ 295/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นสัญญาจำนอง จำเลยมีสิทธิสืบพยานได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าความจริงจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 4,000 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี รวมกันเข้าไว้ในต้นเงินมีกำหนดเวลากู้กัน 1 ปี แต่โจทก์ขอให้ทำเป็นสัญญาขายฝากกันไว้ไม่ต้องทำสัญญากู้และจำนองสัญญาขายฝากจึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมจำนอง ข้อต่อสู้ของจำเลยดังนี้ถือได้ว่าเป็นการกล่าวถึงความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดของสัญญาขายฝาก โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบพยานในข้อนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคท้ายมิใช่การสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร (อ้างฎีกาที่ 295/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการกู้ยืมและจำนอง โจทก์ห้ามใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายฝาก
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่าความจริงจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 4,000 บาท โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี รวมกันเข้าไว้ในต้นเงินมีกำหนดเวลากู้กัน 1 ปี แต่โจทก์ขอให้ทำเป็นสัญญาขายฝากกันไว้ไม่ต้องทำสัญญากู้และจำนอง สัญญาขายฝากจึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมจำนอง ข้อต่อสู้ของจำเลยดังนี้ถือได้ว่าเป็นการกล่าวถึงความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดของสัญญาขายฝาก โดยคู่กรณีมีเจตนาที่แท้จริงจะทำสัญญาจำนองกัน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบพยานในข้อนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคท้าย มิใช่การสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
(อ้างฎีกาที่ 295/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาขายฝากบ้านบนที่ดินเช่า: กรรมสิทธิ์ย่อมตกแก่ผู้ซื้อฝากเมื่อไม่ไถ่ถอน
โจทก์สร้างบ้านรายพิพาทลงในที่ดินที่โจทก์เช่ามา แล้วขายฝากบ้านไว้กับจำเลยโดยไม่ได้พูดกันถึงเรื่องที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทแต่ขายฝากไว้ในราคาสูงมาก ดังนี้ แสดงให้เห็นว่า สัญญาขายฝากบ้านรายพิพาทนี้โจทก์จำเลยมีความเข้าใจต่อกัน และเจตนาขายฝากบ้านรายพิพาทโดยประสงค์ให้บ้านรายพิพาทคงปลูกอยู่ในที่ดินนั้น ไม่ต้องรื้อบ้านรายพิพาทไป เมื่อโจทก์ไม่ไถ่คืนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา กรรมสิทธิ์ย่อมตกไปเป็นของจำเลยโดยโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อบ้านรายพิพาทไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ทรัพย์คืนจากผู้รับซื้อฝาก, อายุความคดีแพ่ง, และข้อจำกัดการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย จำเลยซื้อจากนายกองบิดาโจทก์ ส่วนที่ซึ่งนายกองบิดาโจทก์ขายฝากจำเลยเป็นที่คนละแปลงนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับการไถ่โอนที่ดินคืนให้แก่โจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ที่ขายฝาก จึงเป็นคดีที่มีคำขออันคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อราคาที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่นายกองขายฝากอยู่ตรงไหน พร้อมทั้งได้แสดงแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง และมีสำเนาทะเบียนบุริมสิทธิ ฯลฯ แนบมาท้ายฟ้องด้วย เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 แล้ว
อายุความตามมาตรา 1754 เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก ส่วนคดีที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าหนี้มิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษในมาตรา 1754 แต่อย่างใด เมื่อเป็นคดีที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของนายกองผู้ขายเดิมฟ้องขอไถ่ทรัพย์คืนจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากตามมาตรา 497 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยหลังจากนายกองผู้ขายเดิมตายเกิน 1 ปี คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะคดีนี้ไม่เป็นคดีมรดกหรือเป็นคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก จะนำมาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
ข้อที่ว่าสิทธิในการไถ่ทรัพย์ตามมาตรา 497 พึงใช้ได้แก่บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะให้เป็นผู้ไถ่ถอนได้เมื่อนายกองผู้ขายเดิมไม่ได้ทำสัญญายอมให้โจทก์เป็นคนไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะไถ่ทรัพย์นั้น เป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ทรัพย์คืนจากผู้รับซื้อฝาก: ประเด็นอายุความและสิทธิของผู้รับมรดก
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย จำเลยซื้อจากนายกองบิดาโจทก์ส่วนที่ซึ่งนายกองบิดาโจทก์ขายฝากจำเลยเป็นที่คนละแปลงนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับการไถ่โอนที่ดินคืนให้แก่โจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ที่ขายฝาก จึงเป็นคดีที่มีคำขออันคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อราคาที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่นายกองขายฝากอยู่ตรงไหน พร้อมทั้งได้แสดงแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง และมีสำเนาทะเบียนบุริมสิทธิฯลฯ แนบมาท้ายฟ้องด้วย เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
อายุความตามมาตรา 1754 เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก ส่วนคดีที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าหนี้มิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษในมาตรา 1754 แต่อย่างใด เมื่อเป็นคดีที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของนายกองผู้ขายเดิมฟ้องขอไถ่ทรัพย์คืนจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากตามมาตรา 497(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยหลังจากนายกองผู้ขายเดิมตายเกิน 1 ปีคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะคดีนี้ไม่เป็นคดีมรดกหรือเป็นคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก จะนำมาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
ข้อที่ว่าสิทธิในการไถ่ทรัพย์ตามมาตรา 497 พึงใช้ได้แก่บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะให้เป็นผู้ไถ่ถอนได้ เมื่อนายกองผู้ขายเดิมไม่ได้ทำสัญญายอมให้โจทก์เป็นคนไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะไถ่ทรัพย์นั้น เป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่าในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ยังไม่ยุติ และการฟ้องขับไล่หลังบอกเลิกสัญญาเช่า
โจทก์จำเลยพิพาทกันในคดีก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยได้ขายฝากที่พิพาทไว้กับโจทก์และจำเลยมิได้ไถ่คืนภายในกำหนดเวลา ที่พิพาทจึงตกเป็นของโจทก์ จำเลยได้อุทธรณ์ต่อมา แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่ายังไม่จำต้องพิจารณาว่าทรัพย์ที่พิพาทเป็นของโจทก์ผู้ให้เช่าหรือไม่ ถือว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อันเป็นคำพิพากษาชั้นที่สุดยังมิได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว จำเลยจึงยกขึ้นต่อสู้และขอให้วินิจฉัยใหม่ในคดีนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
(อ้างฎีกาที่ 1276/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาถึงที่สุดเรื่องการขายฝากและการครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกาอนุญาตให้วินิจฉัยประเด็นขายฝากได้เนื่องจากยังไม่ถึงที่สุด
โจทก์จำเลยพิพาทกันในคดีก่อน ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยได้ขายฝากที่พิพาทไว้กับโจทก์ และจำเลยมิได้ไถ่คืนภายในกำหนดเวลา ที่พิพาทจึงตกเป็นของโจทก์จำเลยได้อุทธรณ์ต่อมา แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่ายังไม่จำต้องพิจารณาว่าทรัพย์ที่พิพาทเป็นของโจทก์ผู้ให้เช่าหรือไม่ ถือว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อันเป็นคำพิพากษาชั้นที่สุดยังมิได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว จำเลยจึงยกขึ้นต่อสู้และขอให้วินิจฉัยใหม่ในคดีนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 (อ้างฎีกาที่ 1276/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนต้องมีสิทธิครอบครอง: ผู้เช่าที่ยังไม่ได้รับมอบที่ดิน ไม่มีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับสำนักงานทรัพย์สินฯ 1 แปลงเป็นที่ดินซึ่งมีบ้านเรือนปลูกอยู่แล้ว นับตั้งแต่โจทก์ทำสัญญาเช่า ไม่ปรากฏว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์หรือได้ครอบครองที่เช่านั้นในฐานะเป็นผู้เช่าแต่อย่างใด ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้เจ้าของบ้านนั้นรื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่เช่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า: ต้องมีการส่งมอบและครอบครองที่ดินก่อนจึงจะมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับสำนักงานทรัพย์สินฯ 1 แปลง เป็นที่ดินซึ่งมีบ้านเรือนปลูกอยู่แล้ว นับตั้งแต่โจทก์ทำสัญญาเช่า ไม่ปรากฏว่าสำนักงานทรัพย์สิน ฯ ได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์หรือได้ครอบครองที่เช่านั้นในฐานะเป็นผู้เช่าแต่อย่างใด ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้เจ้าของบ้านนั้นรื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่เช่าได้
of 38