พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3692/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาจำนำ: สัญญาขายฝากเป็นโมฆะ
พยานโจทก์และพยานจำเลยเบิกความยันกันอยู่ว่าโจทก์จำนำหรือขายฝากรถยนต์ ยากที่รับฟังว่าฝ่ายใดเบิกความตามจริง แต่ตามคำเบิกความของโจทก์และ ส. ได้ความว่า โจทก์ชำระหนี้จำนำรถยนต์แก่จำเลย 5 ครั้ง และ ส. เบิกความตอบคำถามติงทนายโจทก์ว่าโจทก์และจำเลยเข้าใจตรงกันว่าให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน นอกจากนั้น จำเลยเบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์รับว่า โจทก์โอนเงินเข้าบัญชีของจำเลยและข้อความสนทนาทางแอปพลิเคชันไลน์เป็นการติดต่อระหว่างโจทก์และจำเลย โดยข้อความดังกล่าวระบุว่าเป็นการโอนเงินชำระดอกเบี้ยไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าซื้อรถยนต์คืนจากจำเลย ตามพฤติการณ์จึงเชื่อว่า โจทก์ส่งมอบรถยนต์ให้จำเลยเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้อันเป็นการจำนำรถยนต์ อีกทั้งการขายฝากนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ขายฝากย่อมตกเป็นของผู้ซื้อฝากตั้งแต่เมื่อทำสัญญาขายฝาก แต่ตามคำเบิกความตอบคำถามค้านทนายโจทก์ปรากฏว่าจำเลยหักเงินที่จ่ายให้โจทก์เป็นค่าจอดรถยนต์และค่าดูแลรักษาไว้ด้วย ส่อแสดงว่าจำเลยถือว่ารถยนต์ดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และตามสำเนาสัญญาขายฝากรถยนต์ มีข้อความว่า "ข้อ 1 ผู้ขายตกลงขายฝากและผู้ซื้อตกลงซื้อรถยนต์...ในราคา 90,000 บาท...ผู้ขายได้รับเงินไปเรียบร้อยแล้ว จึงได้มอบรถพร้อมใบคู่มือจดทะเบียน...ให้แก่ผู้ซื้อไว้เพื่อกระทำการโอนรถได้หากพ้นกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนแล้ว ข้อ 2 ผู้ขายฝากจะกระทำการไถ่รถในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ทำสัญญามิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิ์ ข้อ 6 ถ้าในระหว่างสัญญาขายฝาก...จะด้วยเหตุผลใดก็ตามทำให้รถที่ขายฝากไม่สามารถที่จะกระทำการโอนได้ในภายหลังที่ผู้ขายฝากสละสิทธิ์ไถ่รถ...ผู้ขายฝากจะต้องคืนเงินที่รับไปตามข้อ 1 พร้อมด้วยดอกเบี้ย...ให้แก่ผู้ซื้อ..." ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า โจทก์จะยอมให้รถยนต์ตกไปยังจำเลยก็ต่อเมื่อโจทก์ไม่ชำระเงิน 90,000 บาท คืนแก่จำเลยเมื่อถึงเวลาที่กำหนด ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ตกลงให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตกไปยังจำเลยทันทีโดยมีข้อตกลงกันว่าโจทก์อาจไถ่รถยนต์นั้นคืนได้ในภายหลัง อันจะต้องด้วยลักษณะของสัญญาขายฝากตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์และจำเลยมีเจตนาผูกพันตามสัญญาจำนำ หาได้มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาขายฝากไม่ สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจำนำจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ต้องบังคับตามสัญญาจำนำตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่รับชำระหนี้จำนำในส่วนที่เหลือ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับชำระหนี้จำนำในส่วนที่เหลือกับขอให้จำเลยคืนรถยนต์ตามฟ้องได้ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5437/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำทรัพย์สินเพื่อไถ่ถอนจากการขายฝาก ไม่ถือเป็นยักยอกทรัพย์ หากมีหลักประกันชัดเจน
โจทก์มีอาชีพขายเครื่องประดับอัญมณี โจทก์นำเครื่องประดับอัญมณีไปขายฝากหรือจำนำที่ห้างทอง พ. เป็นเงิน 3 ล้านบาทเศษ ต่อมาโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ช่วยเหลือโดยการไถ่ทรัพย์สินดังกล่าวให้ ซึ่งแน่นอนว่าโจทก์ต้องมีหลักประกันที่น่าเชื่อถือให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความสนิทสนมกันเป็นพิเศษถึงขนาดที่จำเลยที่ 1 จะนำเงินจำนวนมากไปไถ่ทรัพย์สินให้โจทก์โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือหลักประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ไถ่ทรัพย์สินมาแล้วโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ทันทีเพื่อเป็นหลักประกันหนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 จำเลยที่ 1 ผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่าจะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วนตามมาตรา 758ส่วนการที่โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 นำทรัพย์สินไปขายให้แก่บุคคลอื่นโดยโจทก์กำหนดราคาขายให้นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผู้รับจำนำจะช่วยขายทรัพย์สินที่จำนำให้แก่โจทก์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้คืนแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่เรื่องตัวการตัวแทนทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทรัพย์สินจำนำให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วหรือไม่ แต่กลับได้ความจากโจทก์เองว่า จำเลยที่ 2 มีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินเพื่อชำระหนี้จำนำทรัพย์สินดังกล่าวให้เสร็จภายใน 30 วัน อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มิใช่ผู้ซื้อทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้หากจะฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทรัพย์สินไปแล้วและยังไม่ได้ชำระเงินค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้จำนำคืนให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งที่โจทก์ต้องฟ้องร้องขอชำระหนี้ที่จำนำหรือเรียกราคาทรัพย์สินคืนจากจำเลยทั้งสองเท่านั้น จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5437/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำทรัพย์สินเพื่อไถ่ถอนจากการขายฝาก และความแตกต่างระหว่างการจำนำกับตัวการตัวแทน
โจทก์มีอาชีพขายเครื่องประดับอัญมณี โจทก์นำเครื่องประดับอัญมณีไปขายฝากหรือจำนำที่ห้างทอง พ. เป็นเงิน 3 ล้านบาทเศษ ต่อมาโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ช่วยเหลือโดยการไถ่ทรัพย์สินดังกล่าวให้ ซึ่งแน่นอนว่าโจทก์ต้องมีหลักประกันที่น่าเชื่อถือให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีความสนิทสนมกันเป็นพิเศษถึงขนาดที่จำเลยที่ 1 จะนำเงินจำนวนมากไปไถ่ทรัพย์สินให้โจทก์โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือหลักประกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ไถ่ทรัพย์สินมาแล้วโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่จำเลยที่ 1 ทันทีเพื่อเป็นหลักประกันหนี้ ย่อมเข้าลักษณะเป็นการจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 จำเลยที่ 1 ผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่าจะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วนตามมาตรา 758ส่วนการที่โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 นำทรัพย์สินไปขายให้แก่บุคคลอื่นโดยโจทก์กำหนดราคาขายให้นั้น ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผู้รับจำนำจะช่วยขายทรัพย์สินที่จำนำให้แก่โจทก์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้คืนแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิใช่เรื่องตัวการตัวแทนทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทรัพย์สินจำนำให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วหรือไม่ แต่กลับได้ความจากโจทก์เองว่า จำเลยที่ 2 มีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินเพื่อชำระหนี้จำนำทรัพย์สินดังกล่าวให้เสร็จภายใน 30 วัน อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มิใช่ผู้ซื้อทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้หากจะฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายทรัพย์สินไปแล้วและยังไม่ได้ชำระเงินค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้จำนำคืนให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งที่โจทก์ต้องฟ้องร้องขอชำระหนี้ที่จำนำหรือเรียกราคาทรัพย์สินคืนจากจำเลยทั้งสองเท่านั้น จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการยึดทรัพย์สินของผู้กู้เมื่อมีการค้ำประกันด้วยทรัพย์สิน และสิทธิของผู้รับประกัน
ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทั้ง 7 รายการ เป็นของจำเลยจำเลยเพียงแต่มอบทรัพย์ดังกล่าวให้ผู้ร้องเพื่อเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยกู้ยืมเงินไปจากผู้ร้องเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิยึดทรัพย์ดังกล่าวของจำเลยออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ได้ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนำและชำระหนี้ของบริษัทลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย เพื่อคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้รายอื่น
บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ได้มอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจำนำไว้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกับวันที่บริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็น โจทก์ฟ้องให้ล้มละลายบริษัทลูกหนี้ย่อมทราบอย่างแน่ชัดแล้วว่าฐานะทางการเงินของบริษัทลูกหนี้ไม่ดีไม่สามารถที่จะชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านและบรรดาเจ้าหนี้อื่นได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัทลูกหนี้แล้ว มีเจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวม 51 รายเป็นเงินประมาณ 67 ล้านบาท แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ได้เพียงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1 แปลง ซึ่งมีราคาประมาณ 14 ล้านบาทเท่านั้น การที่บริษัทลูกหนี้จำนำวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์นมข้นหวานไว้แก่ผู้คัดค้าน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เมื่อผู้คัดค้านนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนำมาหักทอนบัญชีลดยอดหนี้และนำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันของบริษัทลูกหนี้รวมเป็นเงิน 5,462,800 บาท อันเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวนั้นย่อมเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 และผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่าผู้คัดค้านมีบุริมสิทธิในทรัพย์จำนำนั้น
การที่บริษัทลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจากบริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแล้วซึ่งผู้คัดค้านก็ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้เป็นอย่างดีแล้วว่าไม่อาจชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ เป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการชำระหนี้นั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115.
การที่บริษัทลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจากบริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแล้วซึ่งผู้คัดค้านก็ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้เป็นอย่างดีแล้วว่าไม่อาจชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ เป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการชำระหนี้นั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนำและชำระหนี้ของบริษัทลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้รายอื่น
บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ได้มอบวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจำนำไว้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกับวันที่บริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายบริษัทลูกหนี้ย่อมทราบอย่างแน่ชัดแล้วว่าฐานะทางการเงินของบริษัทลูกหนี้ไม่ดีไม่สามารถที่จะชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านและบรรดาเจ้าหนี้อื่นได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัทลูกหนี้แล้ว มีเจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวม 51 รายเป็นเงินประมาณ 67 ล้านบาท แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ได้เพียงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง1 แปลง ซึ่งมีราคาประมาณ 14 ล้านบาทเท่านั้น การที่บริษัทลูกหนี้จำนำวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์นมข้นหวานไว้แก่ผู้คัดค้าน จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เมื่อผู้คัดค้านนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนำมาหักทอนบัญชีลดยอดหนี้และนำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันของบริษัทลูกหนี้รวมเป็นเงิน 5,462,800 บาท อันเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวนั้นย่อมเป็นการกระทำเพื่อให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการกระทำนั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 115 และผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่าผู้คัดค้านมีบุริมสิทธิในทรัพย์จำนำนั้น
การที่บริษัทลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจากบริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแล้วซึ่งผู้คัดค้านก็ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้เป็นอย่างดีแล้วว่าไม่อาจชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ เป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการชำระหนี้นั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 115.
การที่บริษัทลูกหนี้นำเงินเข้าบัญชีเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจากบริษัทลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องให้ล้มละลายแล้วซึ่งผู้คัดค้านก็ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของบริษัทลูกหนี้เป็นอย่างดีแล้วว่าไม่อาจชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายได้ เป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการชำระหนี้นั้นเสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 115.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำและดอกเบี้ย: แม้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้ง ศาลก็สั่งให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยได้ หากมีข้อตกลงหรือกฎหมายรองรับ
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยรับเงิน 3,500 บาท ที่โจทก์กู้ไปจากจำเลยและให้จำเลยมอบปืนที่โจทก์จำนำไว้เป็นประกันคืนให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ได้ชำระเงินยืมคืนภายในกำหนดรวมทั้งดอกเบี้ยจำเลยยอมรับชำระหนี้จากโจทก์แต่ขอคิดค่าดอกเบี้ยด้วย ดังนี้ ศาลย่อมพิพากษาตามคำขอของโจทก์ให้จำเลยรับชำระเงิน 3,500บาท รวมทั้งดอกเบี้ยที่โจทก์จะต้องรับผิดด้วยได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ใช้ดอกเบี้ยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทนจำนำทรัพย์ ศาลยืนยันสิทธิยึดทรัพย์ของผู้รับจำนำ
โจทก์มอบรถยนต์ของโจทก์พร้อมด้วยทะเบียนรถและใบโอนรถซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์ในช่องผู้โอน ให้ส.นำไปขายผู้อื่น.แล้วส.นำรถยนต์ไปจำนำไว้กับจำเลยผู้ซึ่งรับจำนำไว้โดยสุจริต. การกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการเชิดส.ให้เป็นตัวแทนของโจทก์. ฉะนั้น โจทก์จะติดตามเอารถยนต์คืนโดยไม่ไถ่ถอนการจำนำก่อนหาได้ไม่. จำเลยมีสิทธิยึดรถยนต์ไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทน การจำนำ และสิทธิของผู้รับจำนำ: โจทก์มอบรถพร้อมเอกสารให้ตัวแทนนำไปจำนำ จำเลยมีสิทธิยึดรถจนกว่าจะได้รับชำระหนี้
โจทก์มอบรถยนต์ของโจทก์พร้อมด้วยทะเบียนรถและใบโอนรถซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์ในช่องผู้โอน ให้ ส.นำไปขายผู้อื่น แล้ว ส.นำรถยนต์ไปจำนำไปกับจำเลยผู้ซึ่งรับจำนำไว้โดยสุจริต การกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการเชิด ส. ให้เป็นตัวแทนของโจทก์ ฉะนั้น โจทก์จะติดตามเอารถยนต์คืนโดยไม่ไถ่ถอนการจำนำก่อนหาได้ไม่ จำเลยมีสิทธิยึดรถยนต์ไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทนจำนำทรัพย์ โจทก์จะติดตามเอารถคืนต้องไถ่ถอนการจำนำก่อน
โจทก์มอบรถยนต์ของโจทก์พร้อมด้วยทะเบียนรถและใบโอนรถซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์ในช่องผู้โอน ให้ส.นำไปขายผู้อื่นแล้วส.นำรถยนต์ไปจำนำไว้กับจำเลยผู้ซึ่งรับจำนำไว้โดยสุจริต การกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการเชิดส.ให้เป็นตัวแทนของโจทก์ ฉะนั้น โจทก์จะติดตามเอารถยนต์คืนโดยไม่ไถ่ถอนการจำนำก่อนหาได้ไม่จำเลยมีสิทธิยึดรถยนต์ไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน