คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 63

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271-1273/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าและการละเมิดสิทธิ โจทก์มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการค้าขายสินค้ามีเครื่องหมายการค้านั้น
การที่คู่ความทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น แม้การมอบอำนาจจะมีหนังสือมอบอำนาจก็ตาม แต่กฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าในการยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจนั้นติดมากับฟ้องด้วย ซึ่งต่างกับกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61,63 และ 64 ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าต้องยื่นใบแต่งทนาย แสดงใบมอบอำนาจ ทำหนังสือแต่งตั้งหรือยื่นใบมอบฉันทะต่อศาล ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้ยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นคำฟ้อง ก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271-1273/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทางกฎหมายและการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า ผู้รับโอนสิทธิมีอำนาจฟ้องร้องได้
การที่คู่ความทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น แม้การมอบอำนาจจะมีหนังสือมอบอำนาจก็ตามแต่กฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าในการยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจนั้นติดมากับฟ้องด้วย ซึ่งต่างกับกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61, 63 และ 64 ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าต้องยื่นใบแต่งทนาย แสดงใบมอบอำนาจทำหนังสือแต่งตั้งหรือยื่นใบมอบฉันทะต่อศาล ฉะนั้นแม้โจทก์จะมิได้ยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นคำฟ้องก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่15/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโดยผู้แทน, ความถูกต้องของเอกสารท้ายฟ้อง, และการคิดดอกเบี้ยสัญญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 63 ให้อำนาจศาลที่จะทำการสอบสวนเรื่องผู้แทนนิติบุคคลจนเป็นที่พอใจได้
ผู้แทนนิติบุคคลมอบอำนาจให้ฟ้องความแล้ว แม้ผู้มอบอำนาจจะตายลง ก็ไม่ทำให้ใบมอบอำนาจในนามของนิติบุคคลนั้นเสียไป
สำเนาเอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ปฏิเสธ ต้องถือว่าจำเลยรับอยู่ในตัว โจทก์ไม่จำต้องส่งต้นฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของนิติบุคคล, การส่งเอกสารประกอบฟ้อง, และการคิดดอกเบี้ยบัญชีเดินสะพัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 63 ให้อำนาจศาลที่จะทำการสอบสวนเรื่องผู้แทนนิติบุคคลจนเป็นที่พอใจได้
ผู้แทนนิติบุคคลมอบอำนาจให้ฟ้องความแล้ว แม้ผู้มอบอำนาจจะตายลง ก็ไม่ทำให้ใบมอบอำนาจในนามของนิติบุคคลนั้นเสียไป
สำเนาเอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ปฏิเสธ ต้องถือว่าจำเลยรับอยู่ในตัว โจทก์ไม่จำต้องส่งต้นฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แก่ทนายความผู้รับมอบอำนาจ: การผูกพันของตัวการต่อบุคคลภายนอก
ทนายความซึ่งได้รับมอบอำนาจในการบังคับคดีตามใบมอบอำนาจที่กระทำตามแบบพิมพ์ของกองหมายนั้น ย่อมไม่มีอำนาจรับเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา แต่ถ้าปรากฏว่า ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เคยชำระหนี้ บางงวดแก่ทนายความผู้รับมอบอำนาจเล่นนั้น และผู้มอบอำนาจได้เคยแสดงออกว่า รับรู้ถึงการรับเงินนั้น ดังนี้ ย่อมมีเหตุอันควรที่จะทำให้ลูกหนี้ดังกล่าวเชื่อว่าทนายความผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจรับเงินชำระหนี้แทนผู้มอบอำนาจได้ ฉะนั้น ลูกหนี้ผู้ชำระหนี้แก่ทนายความผู้รับมอบอำนาจโดยสุจริตและโดยมีเหตุอันควรเชื่อเช่นนั้น ย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822
(เรื่องใบมอบอำนาจตามแบบพิมพ์นี้ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนบริษัท การมอบอำนาจหลังยื่นฟ้อง และผลของการไม่มีอำนาจฟ้องตั้งแต่แรก
ในคดีแพ่ง ศาลจะจะต้องพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะแต่ข้อประเด็นที่คู่ความอ้างอิงยกขึ้นเป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอันปรากฏตามฟ้องและคำให้การเหล่านั้น
ตามฟ้อง โจทก์กล่าวอ้างว่า นายฟูจิโอ ผู้จัดการสาขาในประเทศไทย ได้รับมอบหมายอำนาจให้ฟ้องคดีในรามบริษัทโจทก์ในญี่ปุ่นได้ โดยมีหนังสือมอบอำนาจเป็นหลักฐาน จะได้อ้างส่งศาลวันพิจารณา นายฟูจิโอมิได้อ้างว่าตนเป็นตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปและมีกรณีฉุกเฉินเพื่อป้องกันความเสียหายของบริษัทโจทก์แต่อย่างไรเลย ต่อมาภายหลังที่จำเลยให้การตัดฟ้องและร้องขอให้ศาลวินิจฉัยเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 แล้ว ทนายโจทก์จะอ้างหนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ซึ่งเพิ่งมอบอำนาจขึ้นภายหลังวันที่นายฟูจิโอแต่งทนายยื่นฟ้องศาลแล้ว 9 วัน มาเพื่อแสดงว่านายฟูจิโอมีอำนาจแต่งทนายยื่นฟ้องแทนบริษัทโจทก์ได้หาไม่ และกรณีเช่นว่านี้หาเป็นกรณีฉุกเฉินประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 802 ไม่ เพราะการรู้ว่าบริษัทจะต้องเสียหายด้วยการเสียภาษีนั้น สาขาบริษัทได้รู้นับแต่วันรับแจ้งการประเมินแล้ว มีเวลาเพียงพอตามประมวลรัษฎากร ที่จะจัดการให้ได้รับมอบอำนาจให้การะทำการยื่นฟ้องต่อศาลได้ถ้าบริษัทโจทก์เห็นว่า การเรียกเก็บภาษีไม่ถูกต้องและติดใจจะยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อการอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร ไม่สำเร็จ
การที่นายฟูจิโอแต่ทนายยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว 9 วัน บริษัทโจทก์จึงได้ทำการมอบอำนาจให้นายฟูจิโอทำการยื่นฟ้องต่อศาลแทนบริษัทได้ ทั้งได้ให้สัตยาบันการกระทำที่แล้วมานั้นด้วย ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณา เพราะเมื่อนายฟูจิโอไม่มีอำนาจแต่งทนายยื่นฟ้องแทนบริษัทในเวลาที่ยื่นฟ้องนั้นแล้ว ฟ้องของโจทก์ก็ไม่เป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก ไม่มีทางใด ๆ ที่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณามาแต่ต้น แม้จะได้มีการรับรองหรือให้สัตยาบันในภายหลังต่อมา ก็หากระทำให้ฟ้องที่เสียใช้ไม่ได้แล้วนั้น กลับคืนดีมาเป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณาในภายหลังได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 723-724/2503 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนบริษัท: การมอบอำนาจหลังยื่นฟ้องเป็นโมฆะ แม้มีการให้สัตยาบัน
ในคดีแพ่ง ศาลจำจะต้องพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะแต่ในข้อประเด็นที่คู่ความอ้างอิงยกขึ้นเป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอันปรากฏตามฟ้องและคำให้การเท่านั้น
ตามฟ้อง โจทก์กล่าวอ้างว่า นายฟูจิโอ ผู้จัดการสาขาในประเทศไทย ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในนามบริษัทโจทก์ในญี่ปุ่นได้ โดยมีหนังสือมอบอำนาจเป็นหลักฐาน จะได้อ้างส่งศาลวันพิจารณา นายฟูจิโอมิได้อ้างว่าตนเป็นตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปและมีกรณีฉุกเฉินเพื่อป้องกันความเสียหายของบริษัทโจทก์แต่อย่างไรเลย ต่อมาภายหลังที่จำเลยให้การตัดฟ้องและร้องขอให้ศาลวินิจฉัยเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 แล้วทนายโจทก์จะอ้างหนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ซึ่งเพิ่งมอบอำนาจขึ้นภายหลังวันที่นายฟูจิโอแต่งทนายยื่นฟ้องศาลแล้ว 9 วันมาเพื่อแสดงว่านายฟูจิโอมีอำนาจแต่งทนายยื่นฟ้องแทนบริษัทโจทก์หาได้ไม่ และกรณีเช่นว่านี้หาเป็นกรณีฉุกเฉินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 802 ไม่ เพราะการรู้ว่าบริษัทจะต้องเสียหายด้วยการเสียภาษีนั้น สาขาบริษัทได้รู้นับแต่วันรับแจ้งการประเมินแล้ว มีเวลาเพียงพอตามประมวลรัษฎากรที่จะจัดการให้ได้รับมอบอำนาจให้กระทำการยื่นฟ้องต่อศาลได้ถ้าบริษัทโจทก์เห็นว่าการเรียกเก็บภาษีไม่ถูกต้องและติดใจจะยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อการอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรไม่สำเร็จ
การที่นายฟูจิโอแต่งทนายยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว 9 วัน บริษัทโจทก์จึงได้ทำการมอบอำนาจให้นายฟูจิโอทำการยื่นฟ้องต่อศาลแทนบริษัทได้ ทั้งได้ให้สัตยาบันการกระทำที่แล้วมานั้นด้วย ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณา เพราะเมื่อนายฟูจิโอไม่มีอำนาจแต่งทนายยื่นฟ้องแทนบริษัทในเวลาที่ยื่นฟ้องนั้นแล้วฟ้องของโจทก์ก็ไม่เป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก ไม่มีทางใดๆ ที่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณามาแต่ต้น แม้จะได้มีการรับรองหรือให้สัตยาบันในภายหลังต่อมา ก็หากระทำให้ฟ้องที่เสียใช้ไม่ได้แล้วนั้นกลับคืนดีมาเป็นฟ้องอันชอบด้วยวิธีพิจารณาในภายหลังได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 723-724/2502 ซึ่งวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2502)
of 4