คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.ที่ดิน ม. 81

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขั้นตอนการขอรับมรดกอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อโต้แย้ง และการฟ้องติดตามทรัพย์สินคืน
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ได้ยื่นขอรับมรดกบ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แต่จำเลยคัดค้านว่าบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินเปรียบเทียบ โจทก์จำเลยก็ไม่สามารถตกลงกันได้ เจ้าพนักงานที่ดินจึงแจ้งให้คู่กรณีไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน กรณีต้องบังคับตาม ป.ที่ดินมาตรา 81 ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ว่า เมื่อมีผู้โต้แย้งการขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกของผู้ร้องขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสอบสวนคู่กรณีและเปรียบเทียบ ถ้าเปรียบเทียบแล้วไม่ตกลงให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งการไปตามที่เห็นสมควร หากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวให้ไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้เมื่อศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดประการใดจึงให้ดำเนินการไปตามกรณี ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดที่กล่าวข้างต้นก็ให้ดำเนินการไปตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่ง ซึ่งระยะเวลาที่กำหนดให้คู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน 60 วัน ดังกล่าวเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ให้คู่กรณีฝ่ายไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติ หาใช่อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 ไม่ แม้คู่กรณีไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่ฟ้องศาลตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานที่ดินก็ยังคงดำเนินการต่อไปได้ตามระเบียบของทางราชการและกฎหมายตามที่เห็นสมควรทั้งไม่เป็นการตัดสิทธิคู่กรณีนั้นที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลคดีเดิมอีกด้วย
โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของบ้านพิพาทเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 เป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลา 60 วันหลังเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งผล ไม่ใช่อายุความฟ้องคดี แต่เป็นขั้นตอนตามกฎหมายที่ดิน
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ได้ยื่นขอรับมรดกบ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แต่จำเลยคัดค้านว่าบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินเปรียบเทียบโจทก์จำเลยก็ไม่สามารถตกลงกันได้ เจ้าพนักงานที่ดินจึงแจ้งให้คู่กรณีไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ว่า เมื่อมีผู้โต้แย้งการขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกของผู้ร้องขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสอบสวนคู่กรณีและเปรียบเทียบ ถ้าเปรียบเทียบแล้วไม่ตกลงให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งการไปตามที่เห็นสมควร หากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวให้ไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้เมื่อศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดประการใดจึงให้ดำเนินการไปตามกรณี ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดที่กล่าวข้างต้นก็ให้ดำเนินการไปตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่ง ซึ่งระยะเวลาที่กำหนดให้คู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน 60 วัน ดังกล่าวเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ให้คู่กรณีฝ่ายไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหาใช่อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 ไม่แม้คู่กรณีไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่ฟ้องศาลตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานที่ดินก็ยังคงดำเนินการต่อไปได้ตามระเบียบของทางราชการและกฎหมายตามที่เห็นสมควรทั้งไม่เป็นการตัดสิทธิคู่กรณีนั้นที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลคดีเดิมอีกด้วย โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของบ้านพิพาทเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 เป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลา 60 วันหลังเจ้าพนักงานที่ดินแจ้งผลไม่ใช่ อายุความ แต่เป็นขั้นตอนตามกฎหมายที่ดิน โจทก์ยังฟ้องได้
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของส.ได้ยื่นขอรับมรดกบ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินแต่จำเลยคัดค้านว่าบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินเปรียบเทียบโจทก์จำเลยก็ไม่สามารถตกลงกันได้เจ้าพนักงานที่ดินจึงแจ้งให้คู่กรณีไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน60วันกรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา81ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ว่าเมื่อมีผู้โต้แย้งการขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกของผู้ร้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสอบสวนคู่กรณีและเปรียบเทียบถ้าเปรียบเทียบแล้วไม่ตกลงให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งการไปตามที่เห็นสมควรหากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวให้ไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน60วันนับแต่วันทราบคำสั่งโดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้เมื่อศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดประการใดจึงให้ดำเนินการไปตามกรณีถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดที่กล่าวข้างต้นก็ให้ดำเนินการไปตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งซึ่งระยะเวลาที่กำหนดให้คู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน60วันดังกล่าวเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ให้คู่กรณีฝ่ายไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหาใช่อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/3ไม่แม้คู่กรณีไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่ฟ้องศาลตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตามเจ้าพนักงานที่ดินก็ยังคงดำเนินการต่อไปได้ตามระเบียบของทางราชการและกฎหมายตามที่เห็นสมควรทั้งไม่เป็นการตัดสิทธิคู่กรณีนั้นที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลคดีเดิมอีกด้วย โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของบ้านพิพาทเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยผู้ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336เป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ทายาทอื่นรับมรดกที่ดิน ย่อมทำให้ผู้รับมรดกมีกรรมสิทธิ์สมบูรณ์
บันทึกที่ จ.ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินใจความว่า ที่ดินพิพาทมีชื่อ ฉ.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ซึ่งได้ตายไปแล้ว วันนี้ (วันที่ 2 ธันวาคม 2530) ทายาทของผู้ตายคือจำเลยได้มายื่นเรื่องราวขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของ ฉ. จ.ได้รับทราบเรื่องราวและประกาศขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้โดยตลอดแล้ว จ.เป็นทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ด้วย แต่ จ.ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่อย่างใด และยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่เพียงผู้เดียว เช่นนี้ถ้อยคำของ จ.เป็นบันทึกที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติไปตาม ป.ที่ดิน มาตรา 81ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2516) ออกตามความในพ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ซึ่งถ้อยคำของ จ.ดังกล่าวไม่ใช่กรณีทายาทสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ.มาตรา 1612 เพราะการสละมรดกตามมาตรานี้หมายถึงการสละส่วนหนึ่งของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด แต่บันทึกถ้อยคำของนายจำรัสดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความ มีผลบังคับได้ตาม มาตรา 850, 852 และ 1750ทั้งตามโฉนดที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนเสร็จสิ้น อันถือได้ว่าจำเลยผู้มีชื่อในโฉนดได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้โดยสมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินแล้วโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ จ.จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินแปลงนี้จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ผู้อื่นรับมรดกแทนและผลผูกพันทางกฎหมาย: สิทธิในการฟ้องแบ่งมรดก
บันทึกที่จ. ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินมีใจความสำคัญว่าที่ดินมรดกที่มีชื่อฉ. ผู้ตายเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์นี้ทายาทของผู้ตายคือจำเลยและจ. แต่จ. ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่อย่างใดและยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่เพียงผู้เดียวนั้นเป็นบันทึกที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติไปตามประมวลกฎหมายที่ดินฯมาตรา81ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่24(พ.ศ.2516)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯซึ่งถ้อยคำดังกล่าวไม่ใช่กรณีทายาทสละมรดกตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612เพราะการสละมรดกตามมาตรานี้หมายถึงการสละส่วนหนึ่งของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใดแต่บันทึกถ้อยคำของจ. ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850,852และ1750ทั้งตามโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยส่งศาลในวันชี้สองสถานระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนเสร็จสิ้นโดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของจ.ไม่คัดค้านความถูกต้องถือได้ว่าจำเลยผู้มีชื่อในโฉนดได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้โดยสมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินแล้วโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินแปลงนี้จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6286/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่นำทายาททุกคนมาให้ความยินยอม ส่งผลให้การโอนขายสิทธิในส่วนที่ไม่ชอบนั้นเป็นโมฆะ
โจทก์ไม่ได้มาให้ถ้อยคำยินยอมต่อเจ้าพนักงานที่ดินทั้งมิได้มอบอำนาจให้ บ. ซึ่งเป็นภริยาไปให้ถ้อยคำยินยอมแทนในการที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับมรดกที่ดินพิพาท การกระทำของ บ. ไม่ผูกพันโจทก์ จำเลยที่ 1 มิได้นำทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทั้งหมดมาให้ถ้อยคำยินยอมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การจดทะเบียนรับมรดกที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 เฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทคนอื่น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81และกฎกระทรวง ฉบับที่ 24(พ.ศ. 2516) การจดทะเบียนรับมรดกคงสมบูรณ์เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 สิทธิครอบครองที่ดินที่จะมีการแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ต้องเป็นของผู้อื่นหาได้หมายถึงที่ดินที่ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเองไม่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อสู้ว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต และมีสิทธิครอบครองแล้วจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5963/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการบังคับคดีและมรดก: การจดทะเบียนสิทธิและการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์
สิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาในฐานะเป็นผู้ชนะคดีตามคำพิพากษาอันถึงที่สุด และข้อตกลงในชั้นบังคับคดีระหว่างโจทก์ทั้งสองกับผู้แพ้คดีนั้นเป็นการได้สิทธิโดยผลของคำพิพากษา จึงแตกต่างกับสิทธิในที่ดินที่โจทก์ทั้งสองได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาท ซึ่งถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของที่ดินแทนที่เจ้ามรดก แม้การได้สิทธิในที่ดินดังกล่าวตามคำพิพากษาโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าเป็นทายาทของเจ้ามรดกก็หาใช่การได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโดยทางมรดกโดยทั่วไปอันจะต้องดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามลำดับขั้นตอนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 81 ประกอบด้วยกฎกระทรวงฉบับที่ 24(พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 และระเบียบของกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. 2516 ให้เสร็จสิ้นเสียชั้นหนึ่งก่อนไม่ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะขอจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมได้ทันที แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็นสมควรไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกที่มีอุปสรรคในการแบ่งปันที่ดิน ศาลอนุญาตตั้งผู้จัดการมรดกได้
คดีได้ความว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกเป็นที่ดิน 3 แปลง แต่ละแปลงตั้งอยู่ต่างอำเภอกัน ที่ดินแปลงหนึ่งมีเนื้อที่น้อยไม่สามารถจะแบ่งปันให้แก่ทายาทซึ่งมีทั้งหมด 6 คนได้จึงมีความจำเป็นต้องขายที่ดินนี้แล้วนำเงินมาแบ่งปันกันในระหว่างทายาททุกคน แม้ทายาทจะมีสิทธิขอจดทะเบียนรับมรดกที่ดินโดยทางพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็ได้วางวิธีปฏิบัติไว้หลายขั้นตอนและพนักงานเจ้าหน้าที่อาจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จดทะเบียนก็ได้หากมีการโต้แย้งคัดค้านคู่กรณีก็ต้องนำคดีมาสู่ศาลเพื่อวินิจฉัยในที่สุด วิธีการจดทะเบียนรับมรดกที่ดินดังกล่าวจึงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากหลายประการและก็ไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะได้รับอนุญาตเสมอไป กรณีจึงพอถือได้ว่าการจัดการหรือการแบ่งปันมรดกของผู้ตายมีเหตุขัดข้องชอบที่ทายาทจะใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนที่ดินมรดกไม่ถูกต้องเมื่อทายาทไม่ได้ยื่นคำขอรับมรดก และการฟ้องแย้งสิทธิในที่ดินของทายาทที่ไม่ได้ประโยชน์จากคำพิพากษา
คดีมีปัญหาว่า การลงชื่อทายาทตามฟ้องลงในแบบ น.ส.3 ชอบหรือไม่เท่านั้น ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ที่พิพาทให้แน่ชัดว่าครอบครองจำนวนเท่าใดก็ตาม โจทก์ก็ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา โดยบรรยายข้อเท็จจริงและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนระบุไว้ชัดแจ้งว่า "ให้แบ่งที่ดินพิพาทออกเป็น 9 ส่วน ให้โจทก์ทั้ง 3 ได้คนละ 1 ส่วน "คำพิพากษาดังกล่าวที่ให้แบ่งที่พิพาทเป็น 9 ส่วน ก็เพื่อจะกำหนดจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์แต่ละคนที่ฟ้องว่าควรจะได้รับส่วนแบ่งมากน้อยเพียงใดเท่านั้น คำพิพากษาย่อมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคือโจทก์ทั้งสามในคดีนั้น ส่วนทายาทอื่นไม่ได้เป็นโจทก์หรือร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วม จึงไม่อาจจะถือเอาประโยชน์จากคำพิพากษานี้ได้
ทายาทอื่นมิได้ยื่นคำขอรับมรดกในที่ดินแปลงพิพาทซึ่งจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินว่าด้วยการได้ซึ่งที่ดินกองมรดก การที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทนั้นลงไว้ในแบบ น.ส.3 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและมีส่วนได้ในที่ดินแปลงพิพาทจึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนที่ดินพิพาทไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อทายาทไม่ได้ยื่นคำขอรับมรดก และคำพิพากษาฎีกาผูกพันเฉพาะคู่ความ
คดีมีปัญหาว่า การลงชื่อทายาทตามฟ้องลงในแบบ น.ส.3ชอบหรือไม่เท่านั้น ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ที่พิพาทให้แน่ชัดว่าครอบครองจำนวนเท่าใดก็ตาม โจทก์ก็ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา โดยบรรยายข้อเท็จจริงและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนระบุไว้ชัดแจ้งว่า "ให้แบ่งที่ดินพิพาทออกเป็น 9 ส่วน ให้โจทก์ทั้ง 3 ได้คนละ 1 ส่วน "คำพิพากษาดังกล่าวที่ให้แบ่งที่พิพาทเป็น 9 ส่วนก็เพื่อจะกำหนดจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์แต่ละคนที่ฟ้องว่าควรจะได้รับส่วนแบ่งมากน้อยเพียงใดเท่านั้นคำพิพากษาย่อมมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคือโจทก์ทั้งสามในคดีนั้น ส่วนทายาทอื่นไม่ได้เป็นโจทก์หรือร้องสอดเข้าเป็นโจทก์ร่วม จึงไม่อาจจะถือเอาประโยชน์จากคำพิพากษานี้ได้
ทายาทอื่นมิได้ยื่นคำขอรับมรดกในที่ดินแปลงพิพาทซึ่งจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดินว่าด้วยการได้มาซึ่งที่ดินกองมรดก การที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนใส่ชื่อทายาทนั้นลงไว้ในแบบ น.ส.3 จึงไม่ถูกต้อง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและมีส่วนได้ในที่ดินแปลงพิพาทจึงมีอำนาจฟ้อง
of 2