คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สัญชัย สัจจวานิช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเพื่อละเว้นการจับกุม ถือเป็นความผิดข่มขืนใจตามมาตรา 148
เมื่อตามพฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้อำนาจในตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด ข่มขืนใจให้โจทก์ร่วมมอบเงินให้แก่จำเลย โดยขู่ว่าถ้าไม่ให้เงินก็จะจับกุม มิใช่ว่าจำเลยจับกุมโจทก์ร่วมโดยชอบด้วยอำนาจในตำแหน่ง แล้วเรียกเอาเงินเพื่อไม่ให้นำตัวโจทก์ร่วมไปส่งให้พนักงานสอบสวนตามหน้าที่เช่นนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 148 หาใช่ความผิดตามมาตรา 149 ไม่
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 148 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขัดทรัพย์ซ้ำและสิทธิสวมจากการยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ถูกบังคับคดี
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่งตามคำพิพากษาที่ได้วินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกัน ผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด อ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับบุตรอีกสองคน ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าผู้ร้องที่ 1 ไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึด แต่มีสิทธิเพียงขอรับส่วนแบ่งของตนหลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปแล้วเท่านั้น ผู้ร้องที่ 1 กับผู้ร้องที่ 2 ที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดนั้นอีก โดยอ้างว่าผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พิพาทคนละครึ่ง และผู้ร้องทั้งสามกับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลชั้นต้น โดยจำเลยยอมยกกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของจำเลยให้แก่ผู้ร้องทั้งสาม ผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลง จึงขอให้ศาลปล่อยที่ดินที่พิพาทให้ผู้ร้องทั้งสาม ดังนี้คำร้องฉบับหลังในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ร้องที่ 1 ย่อมเป็นคำร้องซ้ำกับคำร้องเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ส่วนคำร้องในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ร้องที่ 2 ที่ 3 นั้นเป็นเรื่องจำเลยยอมให้ส่วนของจำเลยในที่ดินที่พิพาทตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นเพียงผู้เข้าสวมสิทธิในที่ดินส่วนของจำเลยเท่านั้น เมื่อผู้ร้องที่ 2 ที่ 3 มาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าทรัพย์ที่ยึดไม่ใช่ของโจทก์หรือจำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยการดำเนินคดีทางร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและยกคำร้อง จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขัดทรัพย์ซ้ำ & การสวมสิทธิในที่ดินจากการประนีประนอมยอมความ ศาลยกคำร้อง
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่งตามคำพิพากษาที่ได้วินิจฉัยว่า โจทก์จำเลยเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกัน ผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด อ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับบุตรอีกสองคน ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า ผู้ร้องที่ 1 ไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ถูกยึด แต่มีสิทธิเพียงขอรับส่วนแบ่งของตนหลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปแล้วเท่านั้น ผู้ร้องที่ 1 กับผู้ร้องที่ 2 ที่ 3ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดนั้นอีก โดยอ้างว่าผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่พิพาทคนละครึ่ง และผู้ร้องทั้งสามกับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลชั้นต้น โดยจำเลยยอมยก0กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของจำเลยให้แก่ผู้ร้องทั้งสามผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลง จึงขอให้ศาลปล่อยที่ดินที่พิพาทให้ผู้ร้องทั้งสาม ดังนี้ คำร้องฉบับหลังในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ร้องที่ 1 ย่อมเป็นคำร้องซ้ำกับคำร้องเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ส่วนคำร้องในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ร้องที่ 2 ที่ 3 นั้น เป็นเรื่องจำเลยยอมให้ส่วนของจำเลยในที่ดินที่พิพาทตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นเพียงผู้เข้าสวมสิทธิในที่ดินส่วนของจำเลยเท่านั้น เมื่อผู้ร้องที่ 2 ที่ 3 มาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าทรัพย์ที่ยึดไม่ใช่ของโจทก์หรือจำเลยย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยการดำเนินคดีทางร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและยกคำร้อง จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงวันเดือนปีในเช็คโดยผู้ทรงหลังผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต ไม่ถือเป็นการปลอมแปลงเอกสาร หากทำโดยสุจริตและเป็นไปตามเจตนาเดิม
โจทก์ลงวันเดือนปีในเช็คตามเจตนาของผู้สั่งจ่ายที่ขอผัดไม่เป็นการปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007เพราะมิใช่แก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่ลงในเช็คหากแต่เป็นการลงวันเดือนปีที่ถูกต้องแท้จริงโดยสุจริต ซึ่งเป็นอำนาจของโจทก์ผู้ทรงที่จะกระทำได้ตามมาตรา 910 วรรคห้า ไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นทายาทและผู้รับมรดกของย. ผู้สั่งจ่ายเช็ค โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทเมื่อใด และเมื่อโจทก์ทราบการตายของ ย.เมื่อต้นมิถุนายน 2514 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ 9 พฤษภาคม 2515คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2612/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงวันเดือนปีเช็คโดยผู้ทรงหลังผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต ไม่ถือเป็นการปลอมแปลงเอกสาร หากเป็นการลงวันเดือนปีที่ถูกต้องตามเจตนาเดิม
โจทก์ลงวันเดือนปีในเช็คตามเจตนาของผู้สั่งจ่ายที่ขอผัดไม่เป็นการปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1007เพราะมิใช่แก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่ลงในเช็ค หากแต่เป็นการลงวันเดือนปีที่ถูกต้องแท้จริงโดยสุจริต ซึ่งเป็นอำนาจของโจทก์ผู้ทรงที่จะกระทำได้ตามมาตรา 910 วรรคห้า ไม่เป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นทายาทและผู้รับมรดกของย. ผู้สั่งจ่ายเช็ค โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทเมื่อใด และเมื่อโจทก์ทราบการตายของ ย. เมื่อต้นมิถุนายน 2514 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อ 9 พฤษภาคม 2515 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเป็นพ้นวิสัยเมื่อรถยนต์ถูกยึด เจ้าของไม่มีสิทธิรับเงินดาวน์คืน
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อ จึงมีหนี้ที่จะต้องให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถยนต์นั้น แต่โจทก์ได้รถยนต์ไปใช้เพียง 3 เดือนยังไม่ถึง 24 เดือนตามที่ตกลงในสัญญาเช่าซื้อโดยมิได้ผิดนัดไม่ใช้เงินแก่จำเลย ก็ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรยึดรถยนต์ไปจำเลยไม่สามารถส่งมอบรถคืนให้โจทก์ได้อีก การชำระหนี้ของจำเลยคือต้องให้โจทก์ได้ใช้หรือรับประโยชน์ในรถยนต์คันนั้น กลายเป็นพ้นวิสัยเสียแล้ว โดยจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทน คือเงินที่โจทก์ได้ชำระครั้งแรกให้จำเลยในวันทำสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2342/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเป็นพ้นวิสัยเมื่อทรัพย์สินถูกยึด จำเลยไม่มีสิทธิรับเงินค่าเช่าซื้อ
จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อ จึงมีหนี้ที่จะต้องให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าได้ใช้หรือรับประโยชน์จากรถยนต์นั้น แต่โจทก์ได้รถยนต์ไปใช้เพียง 3 เดือนยังไม่ถึง 24 เดือนตามที่ตกลงในสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้ผิดนัด ไม่ใช้เงินแก่จำเลย ก็ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรยึดรถยนต์ไปจำเลยไม่สามารถส่งมอบรถคืนให้โจทก์ได้อีก การชำระหนี้ของจำเลยคือต้องให้โจทก์ได้ใช้หรือรับประโยชน์ในรถยนต์คันนั้น กลายเป็นพ้นวิสัยเสียแล้ว โดยจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทน คือเงินที่โจทก์ได้ชำระครั้งแรกให้จำเลยในวันทำสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าเดิมด้วยบันทึกเพิ่มเติม และการโอนสิทธิการเช่าตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
สัญญาเช่าฉบับเดิมห้ามมิให้โอนสิทธิการเช่า หรือให้เช่าช่วงหรือให้ผู้อื่นเข้าครอบครองสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาตจากจำเลยผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาโจทก์(ผู้เช่า) กับจำเลยได้ทำบันทึกเพิ่มเติมสัญญาเช่าฉบับเดิม โดยกำหนดข้อตกลงกันขึ้นใหม่ ให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าได้โดยต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเสียก่อนและในกรณีโอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่น นอกจากผู้สืบสันดานหรือบุตรของผู้สืบสันดานของผู้เช่าแล้วผู้เช่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน.หรือการเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าภายในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้แล้วแต่อัธยาศัยของผู้ให้เช่า ดังนี้การที่โจทก์ (ผู้เช่า) ขอโอนสิทธิการเช่าให้นางน้อย แม้ให้นางน้อยเข้าอยู่ในสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาต จึงไม่ผิดเงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าเพิ่มเติม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าเดิมด้วยบันทึกเพิ่มเติม และสิทธิในการโอนสิทธิเช่าโดยมีค่าธรรมเนียม
สัญญาเช่าฉบับเดิมห้ามมิให้โอนสิทธิการเช่าหรือให้เช่าช่วงหรือให้ผู้อื่นเข้าครอบครองสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาตจากจำเลยผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาโจทก์ (ผู้เช่า) กับจำเลยได้ทำบันทึกเพิ่มเติมสัญญาเช่าฉบับเดิม โดยกำหนดข้อตกลงกันขึ้นใหม่ ให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าได้โดยต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเสียก่อนและในกรณีโอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่น นอกจากผู้สืบสันดานหรือบุตรของผู้สืบสันดานของผู้เช่าแล้วผู้เช่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนหรือการเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าภายในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้แล้วแต่อัธยาศัยของผู้ให้เช่าดังนี้การที่โจทก์ (ผู้เช่า) ขอโอนสิทธิการเช่าให้นางน้อย แม้ให้นางน้อยเข้าอยู่ในสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาต จึงไม่ผิดเงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าเพิ่มเติม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายคดีลูกหนี้ล้มละลาย: ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการแล้ว แม้เจ้าหนี้จะถอนคำขอรับชำระหนี้
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง และ ต่อมาได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเนื่องเกี่ยวโยงกัน เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173แม้ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีที่ฟ้องนั้นเสีย จำเลยก็ไม่อาจยกอายุความขึ้นใช้ยันโจทก์ได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 25ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาคดีไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ มิใช่มีอำนาจสั่งงดการพิจารณาไว้อย่างเดียวโจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยที่ 1 ต่อมาศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดในคดีอื่นและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องสอบสวนและทำความเห็นเสนอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 105, 106เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ไว้ในคดีล้มละลายด้วย การพิจารณาคดีของจำเลยที่ 1ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 1 เสียได้ ตามมาตรา 25 ตอนท้าย คำสั่งจำหน่ายคดีเช่นนี้มิใช่สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132
ระหว่างที่คดีโจทก์อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแม้โจทก์จะขอถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยชอบแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะยกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง และเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ต่อไป ตามคำร้องของโจทก์ได้
of 27