พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูหลังบุตรบรรลุนิติภาวะ: การฟ้องร้องตามสัญญาเดิมที่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ฐานะยากไร้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นภรรยาของจำเลย ต่อมาได้ตกลงแยกกันอยู่ โดยจำเลยตกลงทำสัญญาแบ่งรายได้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองที่จำเลยมอบภาระให้โจทก์ในอัตราเศษหนึ่งส่วนสามของรายได้ประจำเดือนที่จำเลยได้รับจนกว่าบุตรทั้งสองคนจะบรรลุนิติภาวะ หรือจนกว่าโจทก์จะยอมหย่าขาดจากจำเลย เมื่อบุตรทั้งสองบรรลุนิติภาวะแล้วจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โดยถือเอาจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามข้อกำหนดในท้ายสัญญาท้ายฟ้องตลอดมาต่อมาจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์เพียงเดือนละ 1,200 บาทเท่านั้น ซึ่งจำเลยมีหน้าที่แบ่งรายได้ให้โจทก์หนึ่งในสามส่วนเป็นเงิน 1,860 บาท ไม่ครบตามข้อตกลงขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์โดยแบ่งเงินรายได้ประจำเดือนให้โจทก์หนึ่งในสามส่วนเป็นเงิน 1,860บาททุกเดือนดังนี้ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์ถือเอาอัตราและจำนวนเงินที่จำเลยเคยจ่ายให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยอ้างข้อตกลงตามสัญญาแบ่งเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นหลักในการคำนวณจำนวนเงินที่จำเลยเคยจ่ายให้โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่โจทก์นำสัญญาแบ่งรายได้เลี้ยงดูบุตรที่สิ้นผลบังคับแล้ว (เพราะบุตรบรรลุนิติภาวะ) มาฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดไม่
กรณีภรรยาฟ้องให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ครบตามจำนวนที่เคยจ่ายให้ภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1594 ที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ไร้ทรัพย์สินและมิสามารถหาเลี้ยงตนเองได้
กรณีภรรยาฟ้องให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ครบตามจำนวนที่เคยจ่ายให้ภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1594 ที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ไร้ทรัพย์สินและมิสามารถหาเลี้ยงตนเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย: ความเชื่อโดยสุจริตว่ามีคนบุกรุกเพื่อลักทรัพย์
จำเลยเคยถูกปล้นบ้านมาก่อน และเมื่อ 20 วันก่อนเกิดเหตุก็มีคนร้ายเข้าบ้านจำเลย คืนเกิดเหตุสามีจำเลยไม่อยู่ จำเลยปิดประตูบ้านซึ่งเป็นร้านค้าเข้านอนอยู่กับเด็ก ๆ เวลาประมาณ 22 นาฬิกาได้ยินเสียงดังกุกกักที่ระเบียงเรือน จึงหยิบปืนเปิดประตูแง้มออกดูเห็นเงาคนตะคุ่ม ๆ อยู่บนระเบียงเรือนคนหนึ่ง และข้างล่างระเบียงเรือนอีกคนหนึ่ง จำเลยถามว่า 'ใคร' ได้ยินเสียงตอบว่า 'อย่าดัง' จำเลยเข้าใจว่าเป็นคนร้าย จึงยิงปืนไปยังคนที่อยู่ระเบียง 2 นัด คนทั้งสองหนีไปจำเลยยิงขู่อีก 1 นัด แล้วตะโกนว่า 'ช่วยด้วย โจรขึ้นบ้าน' มีชาวบ้านมาและพบผู้ตายนอนตายเพราะถูกกระสุนปืนที่จำเลยยิงอยู่ที่ข้างคูน้ำบริเวณบ้านจำเลย ดังนี้ เป็นกรณีซึ่งมีเหตุทำให้จำเลยเชื่อได้ว่าผู้ตายมีเจตนาจะเข้ามาลักทรัพย์จำเลย เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยสำคัญผิดคิดว่าผู้ตายเป็นคนร้ายจึงใช้ปืนยิง เป็นการป้องกันสิทธิในทรัพย์สินของตนพอสมควรแก่เหตุ ถือได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ประกอบด้วยมาตรา 62
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันสิทธิในทรัพย์สิน: การยิงผู้บุกรุกในเวลากลางคืนโดยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้าย
จำเลยเคยถูกปล้นบ้านมาก่อน และเมื่อ 20 วันก่อนเกิดเหตุก็มีคนร้ายเข้าบ้านจำเลย คืนเกิดเหตุสามีจำเลยไม่อยู่ จำเลยปิดประตูบ้านซึ่งเป็นร้านค้าเข้านอนอยู่กับเด็ก ๆ เวลาประมาณ 22 นาฬิกาได้ยินเสียงดังกุกกักที่ระเบียงเรือน จึงหยิบปืนเปิดประตูแง้มออกดูเห็นเงาคนตะคุ่ม ๆ อยู่บนระเบียงเรือนคนหนึ่ง และข้างล่างระเบียงเรือนอีกคนหนึ่ง จำเลยถามว่า "ใคร" ได้ยินเสียงตอบว่า "อย่าดัง" จำเลยเข้าใจว่าเป็นคนร้าย จึงยิงปืนไปยังคนที่อยู่ระเบียง 2 นัด คนทั้งสองหนีไปจำเลยยิงขู่อีก 1 นัด แล้วตะโกนว่า "ช่วยด้วย โจรขึ้นบ้าน" มีชาวบ้านมาและพบผู้ตายนอนตายเพราะถูกกระสุนปืนที่จำเลยยิงอยู่ที่ข้างคูน้ำบริเวณบ้านจำเลย ดังนี้ เป็นกรณีซึ่งมีเหตุทำให้จำเลยเชื่อได้ว่าผู้ตายมีเจตนาจะเข้ามาลักทรัพย์จำเลย เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยสำคัญผิดคิดว่าผู้ตายเป็นคนร้ายจึงใช้ปืนยิง เป็นการป้องกันสิทธิในทรัพย์สินของตนพอสมควรแก่เหตุ ถือได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ประกอบด้วยมาตรา 62
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอมในศาล: ศาลมีอำนาจพิพากษาตามข้อตกลงได้ แม้ยังไม่เด็ดขาด
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องที่ดิน ก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา คู่ความแถลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่า'ตกลงกันได้แล้ว โดยตกลงกันแบ่งที่ดินคนละครึ่ง โดยจำเลยได้ด้านทิศเหนือ โจทก์ได้ด้านทิศใต้ โจทก์จำเลยตกลงจะไปแบ่งกันเอง และจะแถลงให้ศาลทราบ'ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องอ้างว่าข้อตกลงนั้นทำให้โจทก์เสียเปรียบ เพราะจะได้แต่ที่ดอนซึ่งเป็นป่า ขอให้เรียกจำเลยมาทำความตกลงกันใหม่จำเลยแถลงคัดค้านว่า ข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอให้ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ดังนี้ ศาลชอบที่จะพิพากษาไปตามข้อตกลงนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เพราะข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งที่ดินระหว่างการพิจารณาคดี: ศาลมีอำนาจพิพากษาตามข้อตกลงได้
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องที่ดินก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาคู่ความแถลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่า "ตกลงกันได้แล้วโดยตกลงกันแบ่งที่ดินคนละครึ่ง โดยจำเลยได้ด้านทิศเหนือ โจทก์ได้ด้านทิศใต้ โจทก์จำเลยตกลงจะไปแบ่งกันเอง และจะแถลงให้ศาลทราบ" ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องอ้างว่าข้อตกลงนั้นทำให้โจทก์เสียเปรียบ เพราะจะได้แต่ที่ดอนซึ่งเป็นป่า ขอให้เรียกจำเลยมาทำความตกลงกันใหม่จำเลยแถลงคัดค้านว่า ข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอให้ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ดังนี้ ศาลชอบที่จะพิพากษาไปตามข้อตกลงนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เพราะข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและการนำไม้ออกจากป่าอันเป็นเหตุให้ป่าเสื่อมเสีย
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงมาแล้วว่า ทางหลวงชนบทตรงที่จับจำเลยได้พร้อมกับไม้ของกลางอยู่ในบริเวณป่าอันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ และไม้ของกลางเป็นไม้ที่ถูกตัดจากในป่าสงวนแห่งชาติ การที่จำเลยฎีกาว่าทางหลวงชนบทที่จำเลยถูกจับนั้นมิใช่ป่าสงวนแห่งชาติ และการนำไม้หวงห้ามออกจากป่าหมายถึงการนำไม้ที่มีอยู่หรือขึ้นอยู่ในป่า มิได้หมายความถึงการซื้อไม้ที่มีคนนำมาขายให้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ไม้ของกลางตัดมาจากป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพของป่านั้นแล้ว การที่จำเลยนำไม้ของกลางออกจากป่าสงวนแห่งชาติซึ่งอยู่ในความหมายของการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นความผิดตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ไม้ของกลางตัดมาจากป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพของป่านั้นแล้ว การที่จำเลยนำไม้ของกลางออกจากป่าสงวนแห่งชาติซึ่งอยู่ในความหมายของการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นความผิดตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การกระทำอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียสภาพป่า
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยข้อเท็จจริงมาแล้วว่า ทางหลวงชนบทตรงที่จับจำเลยได้พร้อมกับไม้ของกลางอยู่ในบริเวณป่าอันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ และไม้ของกลางเป็นไม้ที่ถูกตัดจากในป่าสงวนแห่งชาติ การที่จำเลยฎีกาว่าทางหลวงชนบทที่จำเลยถูกจับนั้น มิใช่ป่าสงวนแห่งชาติ และการนำไม้หวงห้ามออกจากป่าหมายถึง การนำไม้ที่มีอยู่หรือขึ้นอยู่ในป่า มิได้หมายความถึงการซื้อไม้ที่มีคนนำมาขายให้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนี้ เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ไม้ของกลางตัดมาจากป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพของป่านั้นแล้ว การที่จำเลยนำไม้ของกลางออกจากป่าสงวนแห่งชาติซึ่งอยู่ในความหมายของการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นความผิดตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ไม้ของกลางตัดมาจากป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพของป่านั้นแล้ว การที่จำเลยนำไม้ของกลางออกจากป่าสงวนแห่งชาติซึ่งอยู่ในความหมายของการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นความผิดตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการเพิกถอนใบอนุญาตขับรถกรณีขับประมาท และขอบเขตการพิจารณาโทษ
มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 13 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ข้อ11 บัญญัติว่าเมื่อผู้ใดฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลมีอำนาจถอนใบอนุญาตขับรถได้และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 4(14) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2508 มาตรา 3 ให้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า ใบอนุญาตขับรถ ให้หมายความว่าใบอนุญาตให้ผู้ขับทำการขับขี่หรือลากเข็นรถหรือรถรางตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ รถจ้างรถลาก ล้อเลื่อน การจดทะเบียนคนขับรถรางและการขนส่ง ดังนี้ ใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ซึ่งนายทะเบียนการขนส่งออกให้แก่จำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่งจึงเป็นใบอนุญาตขับรถตามความหมายในพระราชบัญญัติจราจรทางบกเมื่อจำเลยกระทำผิดและศาลพิพากษาลงโทษจำเลย (ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 66 ที่แก้ไขแล้ว) ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถที่กล่าวนั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการเพิกถอนใบอนุญาตขับรถกรณีขับประมาท และการตีความคำว่า 'ใบอนุญาตขับรถ' ตามกฎหมาย
มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 13 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ข้อ11 บัญญัติว่าเมื่อผู้ใดฝ่าฝืนบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ศาลมีอำนาจถอนใบอนุญาตขับรถได้และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477มาตรา 4(14) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 มาตรา 3 ให้วิเคราะห์ศัพท์คำว่าใบอนุญาตขับรถให้หมายความว่าใบอนุญาตให้ผู้ขับทำการขับขี่หรือลากเข็นรถหรือรถรางตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ รถจ้างรถลาก ล้อเลื่อน การจดทะเบียนคนขับรถรางและการขนส่ง ดังนี้ ใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถยนต์ ซึ่งนายทะเบียนการขนส่งออกให้แก่จำเลยตามพระราชบัญญัติการขนส่ง จึงเป็นใบอนุญาตขับรถตามความหมายในพระราชบัญญัติจราจรทางบก เมื่อจำเลยกระทำผิดและศาลพิพากษาลงโทษจำเลย (ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 66 ที่แก้ไขแล้ว) ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งสำหรับหน้าที่ผู้ขับรถที่กล่าวนั้นเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแต่งตั้งทนายความของหุ้นส่วนผู้จัดการ: การแต่งตั้งทนายความของห้างหุ้นส่วน และการระบุผู้แต่งตั้งในใบแต่งทนาย
ซ. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนโจทก์ แต่งตั้งให้ ป.เป็นทนายความ แม้ว่าในใบแต่งทนายจะระบุว่า ซ. เป็นผู้แต่งตั้งทนาย แต่ ซ. ได้ลงชื่อและประทับตราของห้างหุ้นส่วนโจทก์ไว้ด้วยแสดงถึงอำนาจในการแต่งตั้งทนายความแทนห้างหุ้นส่วนโจทก์ไว้แล้ว ส่วนด้านหลังใบแต่งทนาย แม้ ป.ผู้รับเป็นทนายจะระบุรับเป็นทนายให้ ซ. โดยมิได้ระบุถึงห้างหุ้นส่วนโจทก์ซึ่ง ซ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่อาจแปลได้ว่า ป.รับเป็นทนายในฐานะส่วนตัวของ ซ. ดังนั้น การที่ ป. ลงชื่อเป็นผู้ฟ้องคดีของห้างหุ้นส่วนโจทก์ จึงหาเป็นการไม่ชอบไม่