พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้รับอาวัลและการสิ้นสภาพนิติบุคคลของห้างหุ้นส่วนที่ชำระบัญชี
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่งและต่อมาได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชี ระหว่างการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ยอมรับใช้เงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ดังกล่าวโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวได้ลงนามเป็นผู้รับอาวัลในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ดังนี้ แม้ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่1 จะจดทะเบียนเลิกกันแล้วก็ยังไม่สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคลเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีเมื่อจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ในระหว่างการชำระบัญชีโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ชำระบัญชีด้วยเป็นผู้ทำแทนและเป็นผู้รับอาวัลในฐานะส่วนตัวด้วยจำเลยทั้งสองจึงต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้นๆ ถึงกำหนดใช้เงินโดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา940 วรรคแรก บัญญัติว่า ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกันดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแก่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้นๆ ถึงกำหนดใช้เงินโดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา940 วรรคแรก บัญญัติว่า ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกันดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแก่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้รับอาวัลและการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง และต่อมาได้จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชี ระหว่างการชำระบัญชีจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ยอมรับใช้เงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวได้ลงนามเป็นผู้รับอาวัลในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ดังนี้ แม้ห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเลิกกันแล้ว ก็ยังไม่สิ้นสภาพเป็นนิติบุคคล เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี เมื่อจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ในระหว่างการชำระบัญชี โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ชำระบัญชีด้วยเป็นผู้แทนและเป็นผู้รับอาวัลในฐานะส่วนตัวด้วย จำเลยทั้งสองจึงต้องผูกพันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้น ๆ ถึงกำหนดใช้เงิน โดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา 940 วรรคแรก บัญญัติว่าผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน ดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแต่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 บัญญัติเรื่องอายุความฟ้องร้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาสามปีนับแต่วันตั๋วนั้น ๆ ถึงกำหนดใช้เงิน โดยไม่ได้ระบุถึงอายุความฟ้องร้องผู้รับอาวัล แต่มาตรา 940 วรรคแรก บัญญัติว่าผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน ดังนี้ จึงต้องใช้มาตรา 1001 บังคับแต่จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลด้วยจะนำมาตรา 1002 ซึ่งใช้บังคับแก่ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังตั๋วเงินมาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่พ้นเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงอำนาจฟ้องที่ไม่ถูกต้องทำให้คดีเป็นฟ้องซ้ำ แต่การแสดงอำนาจฟ้องที่ถูกต้องในคดีใหม่ทำให้คดีไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้อง ก.ว่าผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ และฟ้อง ด.ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน ปรากฏว่าโจทก์มิได้แสดงอำนาจฟ้องว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ข.เป็นผู้ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันแทนโจทก์ ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์นำสืบในประเด็นข้อนี้ไม่ได้จึงวินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่คู่สัญญากับ ก. และ ด.จำเลย และพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยว่า ก.ผิดสัญญาเช่าซื้อ และ ด.ผิดสัญญาค้ำประกันจริงหรือไม่อันเป็นเรื่องโจทก์แสดงอำนาจฟ้องไม่ถูกต้อง โจทก์จึงมาฟ้อง ด.เป็นจำเลยในคดีนี้ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันโดยแสดงอำนาจฟ้องมาถูกต้องว่า ได้มอบอำนาจให้ ช.เป็นตัวแทนของโจทก์ในการนี้ พร้อมกับแนบหนังสือมอบอำนาจและกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์มาครบถ้วน คดีของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงอำนาจฟ้องที่ไม่ถูกต้องทำให้คดีเป็นฟ้องซ้ำ แต่การแสดงอำนาจฟ้องที่ถูกต้องในคดีต่อมาทำให้คดีไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้อง ก. ว่าผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ และฟ้อง ด.ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน ปรากฏว่าโจทก์มิได้แสดงอำนาจฟ้องว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อและหนังสือค้ำประกันแทนโจทก์ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์นำสืบในประเด็นข้อนี้ไม่ได้ จึงวินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่คู่สัญญากับ ก. และ ด. จำเลยและพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยว่า ก. ผิดสัญญาเช่าซื้อและ ด. ผิดสัญญาค้ำประกันจริงหรือไม่อันเป็นเรื่องโจทก์แสดงอำนาจฟ้องไม่ถูกต้องโจทก์จึงมาฟ้อง ด. เป็นจำเลยในคดีนี้ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันโดยแสดงอำนาจฟ้องมาถูกต้องว่า ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นตัวแทนของโจทก์ในการนี้ พร้อมกับแนบหนังสือมอบอำนาจและกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์มาครบถ้วนคดีของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสิทธิเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนที่ไม่ผูกขาด + ความแตกต่างของเครื่องหมาย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้เป็นอักษรโรมันคำว่า TASTE อยู่เหนือรูปปลา ภายในรูปอาร์ม การจดทะเบียนโจทก์ไม่ถือเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันคำว่า TASTE ทั้งรวมหรือแยกกันแต่ลำพังจากรูปปลา อาร์มซึ่งการจดทะเบียนได้ระบุไว้ด้วยว่า ไม่ให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันคำว่า TASTEทั้งรวมหรือแยกกันตามลำพังจากรูปปลาอาร์ม ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเฉพาะเครื่องหมายการค้าตามที่จดทะเบียนไว้เท่านั้นกล่าวคือ ต้องเป็นอักษรโรมันคำว่า TASTE อยู่เหนือรูปปลาภายในรูปอาร์มเครื่องหมายการค้าที่มีแต่เพียงอักษรโรมันอย่างเดียวใช้คำว่า TASTE หรือการใช้อักษรไทยคำว่า เทสท์ จึงไม่เป็นของโจทก์ที่จะมีสิทธิแต่ผู้เดียวตามความหมายของมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าที่ ไม่ได้จดทะเบียนนั้นไม่ได้ ตามมาตรา 29
ความตอนท้ายของมาตรา 19 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 มาตรา 6 วรรคแรกที่ว่าคำแสดงปฏิเสธอันลงไว้ในทะเบียนนั้นไม่กระทบสิทธิแห่งเจ้าของโดยประการอันมิได้เป็นปัญหาเนื่องแต่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของให้คำแสดงปฏิเสธนั้นหมายถึงสิทธิประการอื่นเช่นสิทธิฟ้องร้องคดีซึ่งจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ดังมีบัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง เป็นต้น แต่โจทก์มิได้ฟ้องโดยอาศัยสิทธิประการอื่น
เครื่องหมายการค้าโจทก์ใช้ตัวเอนว่า 'TASTE' และยังมีอักษรตัวตรงในบรรทัดล่างว่า 'MODERNFROMU.S.A.' ส่วนเครื่องหมายการค้าจำเลยแม้จะเป็นอักษรโรมันคำว่า TASTE แต่ก็เป็นอักษรตัวตรงและบรรทัดต่อไปใช้อักษรไทยตัวใหญ่กว่าว่า 'เทสท์' โดยมีอักษรไทยบรรทัดถัดไปอีกว่า'23 บางลำภู' อันเป็นการแตกต่างกันเห็นได้ชัดแม้แต่ชื่อร้านของจำเลยก็ใช้เป็นภาษาไทยว่า เทสท์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อสิทธิของโจทก์แต่ประการใด
ความตอนท้ายของมาตรา 19 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 มาตรา 6 วรรคแรกที่ว่าคำแสดงปฏิเสธอันลงไว้ในทะเบียนนั้นไม่กระทบสิทธิแห่งเจ้าของโดยประการอันมิได้เป็นปัญหาเนื่องแต่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของให้คำแสดงปฏิเสธนั้นหมายถึงสิทธิประการอื่นเช่นสิทธิฟ้องร้องคดีซึ่งจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ดังมีบัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสอง เป็นต้น แต่โจทก์มิได้ฟ้องโดยอาศัยสิทธิประการอื่น
เครื่องหมายการค้าโจทก์ใช้ตัวเอนว่า 'TASTE' และยังมีอักษรตัวตรงในบรรทัดล่างว่า 'MODERNFROMU.S.A.' ส่วนเครื่องหมายการค้าจำเลยแม้จะเป็นอักษรโรมันคำว่า TASTE แต่ก็เป็นอักษรตัวตรงและบรรทัดต่อไปใช้อักษรไทยตัวใหญ่กว่าว่า 'เทสท์' โดยมีอักษรไทยบรรทัดถัดไปอีกว่า'23 บางลำภู' อันเป็นการแตกต่างกันเห็นได้ชัดแม้แต่ชื่อร้านของจำเลยก็ใช้เป็นภาษาไทยว่า เทสท์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อสิทธิของโจทก์แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสิทธิเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนที่มีข้อจำกัดและผลต่อการฟ้องละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้เป็นอักษรโรมัน คำว่าTASTE อยู่เหนือรูปปลา ภายในรูปอาร์ม การจดทะเบียนโจทก์ไม่ถือเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันคำว่า TASTE ทั้งรวมหรือแยกกันแต่ลำพังจากรูปปลา อาร์ม ซึ่งการจดทะเบียนได้ระบุไว้ด้วยว่าไม่ให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันคำว่า TASTE ทั้งรวมหรือแยกกันตามลำพังจากรูปปลา อาร์ม ฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเฉพาะเครื่องหมายการค้าตามที่จดทะเบียนไว้เท่านั้น กล่าวคือ ต้องเป็นอักษรโรมันคำว่า TASTE อยู่เหนือรูปปลาภายในรูปอาร์ม เครื่องหมายการค้าที่มีแต่เพียงอักษรโรมันอย่างเดียวใช้คำว่า TASTE หรือการใช้อักษรไทยคำว่า เทสท์ จึงไม่เป็นของโจทก์ที่จะมีสิทธิแต่ผู้เดียวตามความหมายของมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 โจทก์จึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นไม่ได้ ตามมาตรา 29
ความตอนท้ายของมาตรา 19 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 มาตรา 6 วรรคแรกที่ว่าคำแสดงปฏิเสธอันลงไว้ในทะเบียนนั้นไม่กระทบสิทธิแห่งเจ้าของโดยประการอันมิได้เป็นปัญหา เนื่องแต่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของให้คำแสดงปฏิเสธนั้น หมายถึงสิทธิประการอื่นเช่นสิทธิฟ้องร้องคดีซึ่งจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ดังมีบัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสองเป็นต้น แต่โจทก์มิได้ฟ้องโดยอาศัยสิทธิประการอื่น
เครื่องหมายการค้าโจทก์ใช้ตัวเอนว่า "TASTE" และยังมีอักษรตัวตรงในบรรทัดล่างว่า "Modern from U.S.A." ส่วนเครื่องหมายการค้าจำเลยแม้จะเป็นอักษรโรมันคำว่า TASTE แต่ก็เป็นอักษรตัวตรงและบรรทัดต่อไปใช้อักษรไทยตัวใหญ่กว่าว่า "เทสท์" โดยมีอักษรไทยบรรทัดถัดไปอีกว่า "23 บางลำภู" อันเป็นการแตกต่างกันเห็นได้ชัดแม้แต่ชื่อร้านของจำเลยก็ใช้เป็นภาษาไทยว่า เทสท์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อสิทธิของโจทก์แต่ประการใด
ความตอนท้ายของมาตรา 19 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 มาตรา 6 วรรคแรกที่ว่าคำแสดงปฏิเสธอันลงไว้ในทะเบียนนั้นไม่กระทบสิทธิแห่งเจ้าของโดยประการอันมิได้เป็นปัญหา เนื่องแต่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของให้คำแสดงปฏิเสธนั้น หมายถึงสิทธิประการอื่นเช่นสิทธิฟ้องร้องคดีซึ่งจำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ดังมีบัญญัติไว้ในมาตรา 29 วรรคสองเป็นต้น แต่โจทก์มิได้ฟ้องโดยอาศัยสิทธิประการอื่น
เครื่องหมายการค้าโจทก์ใช้ตัวเอนว่า "TASTE" และยังมีอักษรตัวตรงในบรรทัดล่างว่า "Modern from U.S.A." ส่วนเครื่องหมายการค้าจำเลยแม้จะเป็นอักษรโรมันคำว่า TASTE แต่ก็เป็นอักษรตัวตรงและบรรทัดต่อไปใช้อักษรไทยตัวใหญ่กว่าว่า "เทสท์" โดยมีอักษรไทยบรรทัดถัดไปอีกว่า "23 บางลำภู" อันเป็นการแตกต่างกันเห็นได้ชัดแม้แต่ชื่อร้านของจำเลยก็ใช้เป็นภาษาไทยว่า เทสท์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อสิทธิของโจทก์แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้หลานเป็นสินสมรสตามสมควรทางศีลธรรม ไม่ต้องมียินยอมจากภริยา
ในคำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่าการที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินให้จำเลยที่ 2 โจทก์ไม่รู้เห็นยินยอม และได้เน้นอีกว่าเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทน ไม่ใช่เป็นการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ เป็นการโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นปู่ย่าของจำเลยที่ 2 มีที่ดินนอกจากที่พิพาทอีกหลายแปลง มีราคานับล้านบาทที่พิพาทส่วนที่ยกให้เป็นเพียงส่วนน้อย มีราคาไม่มากการยกให้โจทก์ก็ทราบดีและยินยอมอันเป็นการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ไม่จำเป็นให้ความยินยอมเป็นหลักฐาน เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ที่ว่าไม่ได้ให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ทั้งได้อธิบายเกี่ยวกับการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีไว้ชัดแจ้ง จึงเป็นประเด็นแห่งคดี
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากจะเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทนแล้ว ในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นหลานของโจทก์และจำเลยที่ 1 เคยอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูแต่เล็กมาจนโต ทั้งจำเลยที่ 1 กับโจทก์ยังมีที่ดินอีกหลายแปลงมีราคานับล้านบาท การยกให้ดังกล่าวจึงเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีและไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่ง เป็นภริยา
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากจะเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทนแล้ว ในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นหลานของโจทก์และจำเลยที่ 1 เคยอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูแต่เล็กมาจนโต ทั้งจำเลยที่ 1 กับโจทก์ยังมีที่ดินอีกหลายแปลงมีราคานับล้านบาท การยกให้ดังกล่าวจึงเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีและไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่ง เป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินสินสมรสให้บุตร/หลานโดยเสน่หา การให้ตามสมควรทางศีลธรรม และอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์
ในคำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่า การที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินให้จำเลยที่ 2 โจทก์ไม่รู้เห็นยินยอม และได้เน้นอีกว่า. เป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทน ไม่ใช่เป็นการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ เป็นการโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์ เป็นปู่ย่าของจำเลยที่ 2 มีที่ดินนอกจากที่พิพาทอีกหลายแปลง มีราคานับล้านบาท ที่พิพาทส่วนที่ยกให้เป็นเพียงส่วนน้อย มีราคาไม่มาก การยกให้ โจทก์ก็ทราบดีและยินยอม อันเป็นการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ไม่จำเป็นต้องให้ความยินยอมเป็นหลักฐานเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ที่ว่า ไม่ได้ให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ทั้งได้อธิบายเกี่ยวกับการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีไว้ชัดแจ้ง จึงเป็นประเด็นแห่งคดี
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากจะเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทนแล้ว ในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นหลานของโจทก์และจำเลยที่ 1 เคยอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูแต่เล็กมาจนโต ทั้งจำเลยที่1 กับโจทก์ยังมีที่ดินอีกหลายแปลงมีราคานับล้านบาทการยกให้ดังกล่าวจึงเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นภริยา
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากจะเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทนแล้ว ในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นหลานของโจทก์และจำเลยที่ 1 เคยอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูแต่เล็กมาจนโต ทั้งจำเลยที่1 กับโจทก์ยังมีที่ดินอีกหลายแปลงมีราคานับล้านบาทการยกให้ดังกล่าวจึงเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีน้ำมันก๊าดไว้โดยไม่แจ้ง ไม่ถือเป็นหลักฐานการมีไว้เพื่อขาย จึงไม่ริบ
จำเลยมีน้ำมันก๊าดของกลาง แม้จะมีจำนวนมากและไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บก็ไม่เป็นเหตุที่จะรับฟังว่าจำเลยมีไว้เพื่อขายหรือจำหน่าย ดังนั้น น้ำมันก๊าดของกลางจึงไม่ใช่ของควรริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องหมิ่นประมาท: การบรรยายวันเวลาและรายละเอียดที่อยู่ในวิสัยของโจทก์
ความผิดฐานหมิ่นประมาท โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันเวลาซึ่งเกิดการกระทำความผิดว่า จำเลยหมิ่นประมาทใส่ความ ธ. โดยการโฆษณาด้วยเอกสารหนังสือลงวันที่ 22 มีนาคม 2515 ต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 และจำเลยโฆษณาด้วยเอกสารหนังสือลงวันที่เดียวกันต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผ่านเลขาธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้มีความเห็นของเลขาธิการเสนออธิการบดีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2515 เวลากลางวัน ดังนี้ ถือว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำนั้นๆ เท่าที่อยู่ในวิสัยของโจทก์ที่จะบรรยายได้ ให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)