คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สัญชัย สัจจวานิช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมแบบเอกสารลับ: วันเดือนปีไม่จำเป็นต้องระบุในพินัยกรรม หากปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย
พินัยกรรมแบบเอกสารลับนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1660 หาได้บังคับให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมในพินัยกรรมไม่ แต่เมื่อได้ปฏิบัติการถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1660 บัญญัติไว้ทุกประการแล้วก็เป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมายใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมแบบเอกสารลับไม่จำเป็นต้องลงวันเดือนปี หากปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ถือเป็นพินัยกรรมสมบูรณ์
พินัยกรรมแบบเอกสารลับนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1660 หาได้บังคับให้ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมในพินัยกรรมไม่แต่เมื่อได้ปฏิบัติการถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1660 บัญญัติไว้ทุกประการแล้ว ก็เป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินที่ให้เพื่อขอขมา ไม่ใช่สินสอด – สิทธิเรียกคืนไม่มี
ชายได้เสียเงินให้แก่มารดาของหญิงเพื่อขอขมามารดาของหญิง เนื่องจากชายได้พาหญิงหนีไปอยู่กินฉันสามีภริยาโดยไม่ได้สู่ขอตามประเพณี และชายกับหญิงนั้นก็อยู่กินกันต่อมาโดยมิได้มีเจตนาจะสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินสินสอดหรือของหมั้น และมิใช่เป็นการให้เพราะมารดาหญิงหลอกลวงดังฟ้องโจทก์ด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกคืนเงินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินสอดคืนได้หรือไม่เมื่อไม่มีเจตนาสมรส: เงินที่ให้เพื่อขอขมามารดา ไม่ใช่สินสอด
ขายได้เสียเงินให้แก่มารดาของหญิงเพื่อขอขมามารดาของหญิง เนื่องจากชายได้พาหญิงหนีไปอยู่กันฉันสามีภริยา โดยไม่ได้สู่ขอตามประเพณี และชายกับหญิงนั้นก็อยู่กินกันต่อมาโดยมิได้มีเจตนาจะสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ถือไม่ได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินสินสอดหรือของหมั้นและมิใช่เป็นการให้เพราะมารดาหญิงหลอกลวงดังฟ้อง โจทก์ด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกคืนเงินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการขอเงินสินบนนำจับ และการริบของกลางในคดีไม่แจ้งปริมาณสิ่งของควบคุม
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489มาตรา 9 บัญญัติให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้จ่ายสินบนหรือรางวัลได้โดยให้จ่ายราคาของกลางหรือค่าปรับแตกต่างกับพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 30 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีความผิดเป็นผู้เสียเงินค่าสินบนนำจับ มิได้ให้อำนาจพนักงานอัยการขอแทนได้พนักงานอัยการหรือรัฐบาลไม่มีสิทธิในเงินสินบนนั้น และพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ได้บัญญัติทับพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดในเรื่องเงินสินบนนำจับนั้นแล้ว พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะขอเงินสินบนนำจับแทนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1043/2492 และ 1933/2492)
จำเลยกระทำความผิดฐานไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บสิ่งของที่ประกาศควบคุม เมื่อของกลางมิใช่สิ่งของที่ห้ามการค้ากำไรเกินควรจึงริบสิ่งของนั้นตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 29 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการขอสินบนนำจับในคดีป้องกันการค้ากำไรเกินควร และการริบของกลางที่ไม่ใช่ของต้องห้าม
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 9 บัญญัติให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้จ่ายสินบนหรือรางวัลได้โดยให้จ่ายราคาของกลางหรือค่าปรับแตกต่างกับพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 30 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีความผิดเป็นผู้เสียเงินค่าสินบนนำจับ มิได้ให้อำนาจพนักงานอัยการขอแทนได้ พนักงานอัยการหรือรัฐบาลไม่มีสิทธิในเงินสินบนนั้น และพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ได้บัญญัติทับพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดในเรื่องเงินสินบนนำจับนั้นแล้ว พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะขอเงินสินบนนำจับแทนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1043/2492 และ 1933/2492)
จำเลยกระทำความผิดฐานไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บสิ่งของที่ประกาศควบคุม เมื่อของกลางมิใช่สิ่งของที่ห้ามการค้ากำไรเกินควร จึงริบสิ่งของนั้นตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาตรา 29 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนด้วยการขายที่ดินที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ การกระทำเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343
จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 2 ได้จัดสรรที่ดินในนามของจำเลยที่ 2 ให้ประชาชนเช่าซื้อ แต่ที่ดินนั้นมิใช่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ตามที่จำเลยโฆษณาชี้ชวนแก่ประชาชน และจำเลยไม่สามารถจะโอนขายที่ดินนั้นได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ประชาชนโดยเจตนาทุจริต ผู้เสียหายทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ชำระเงินผ่อนไปบ้างแล้วบริษัทจำเลยที่ 2 ก็ปิดที่ทำการไม่มีคนมาทำงานแม้จะได้ความว่ามีผู้สั่งจองโดยยังไม่ชำระเงินราว 10 ราย มีผู้ซื้อที่ดินเพียง 2 รายคือ อ.กับผู้เสียหายและมีแต่ผู้เสียหายเพียงรายเดียวที่ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยการกระทำของจำเลยก็เป็นความ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงขายที่ดินที่ไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของตนเข้าข่ายฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 343
จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 2 ได้จัดสรรที่ดินในนามของจำเลยที่ 2 ให้ประชาชนเช่าซื้อ แต่ที่ดินนั้นมิใช่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ตามที่จำเลยโฆษณาชี้ชวนแก่ประชาชน และจำเลยไม่สามารถจะโอนขายที่ดินนั้นได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ประชาชนโดยเจตนาทุจริตผู้เสียหายทำสัญญาเช่าซื้อกับบริษัทจำเลยที่ 2 ได้ชำระเงินผ่อนไปบ้างแล้วบริษัทจำเลยที่ 2 ก็ปิดที่ทำการไม่มีคนมาทำงาน แม้จะได้ความว่ามีผู้สั่งจองโดยยังไม่ชำระเงินราว 10 ราย มีผู้ซื้อที่ดินเพียง 2 ราย คือ อ. กับผู้เสียหายและมีแต่ผู้เสียหายเพียงรายเดียวที่ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงิน-ค้ำประกัน-ยกฟ้อง-ขอคืนโฉนด: สิทธิของผู้ค้ำประกันเมื่อคดีสิ้นสุด
ศาลชั้นต้นอายัดเงินของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(1) แล้วเปลี่ยนเป็นให้ อ. ทำสัญญาค้ำประกันเงินที่ถูกอายัดต่อศาลชั้นต้น ต่อมาศาลชั้นต้นยกฟ้อง วิธีการชั่วคราวระงับไปตาม มาตรา 260(3) คดีอยู่ระหว่างโจทก์ฎีกา อ. ขอรับโฉนดที่วางไว้คืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จในคดีจัดการมรดก: ประเด็นสำคัญไม่ใช่จำนวนทายาทหรือทรัพย์สิน
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีมีว่า ผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ มีเหตุที่จะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 และผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 หรือไม่ส่วนที่ว่าเจ้ามรดกมีทายาทกี่คน ทรัพย์มรดกมีเท่าไรนั้นมิใช่ข้อสำคัญในคดี ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะเบิกความเกี่ยวกับจำนวนทายาทหรือแสดงหลักฐานทรัพย์มรดกไม่ตรงต่อความจริงไปบ้าง ก็ไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177,180
คดีฟ้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีอยู่ที่ว่าผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมายหรือไม่ซึ่งหน้าที่ผู้จัดการมรดกนี้เริ่มต้นแต่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตามมาตรา 1716 ดังนั้น แม้ผู้จัดการมรดกจะเบิกความเท็จในคดีดังกล่าวว่าไม่รู้ตัวทายาทของเจ้ามรดกบางคนในขณะที่ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี จึงไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
of 27