คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สัญชัย สัจจวานิช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จในคดีผู้จัดการมรดก: ประเด็นสำคัญของคดีไม่ใช่จำนวนทายาทหรือทรัพย์สิน
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นในคดีมีว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ มีเหตุที่จะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 และผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 หรือไม่ ส่วนที่ว่าเจ้ามรดกมีทายาทกี่คน ทรัพย์มรดกมีเท่าไรนั้นมิใช่ข้อสำคัญในคดี ดังนั้นแม้ผู้ร้องจะเบิกความเกี่ยวกับจำนวนทายาทหรือแสดงหลักฐานทรัพย์มรดกไม่ตรงต่อความจริงไปบ้าง ก็ไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จหรือแสดงหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 180
คดีฟ้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีอยู่ที่ว่า ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหน้าที่ผู้จัดการมรดกนี้เริ่มต้นแต่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตามมาตรา 1716 ดังนั้น แม้ผู้จัดการมรดกจะเบิกความเท็จในคดีดังกล่าวว่าไม่รู้ตัวทายาทเจ้ามรดกบางคนในขณะที่ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีจึงไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการถอนตัวทนาย: จำเลยยังไม่ทราบคำขอถอนตัว ทนายมาศาลแล้ว ถือไม่ได้ว่าขาดนัด
วันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลย ทนายจำเลยมาศาลยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนาย ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอโดยตัวจำเลยไม่มาศาลและไม่ปรากฏว่าได้ทราบคำขอของทนายความแล้วหาได้ไม่ ทั้งเมื่อทนายของจำเลยมาศาลในวันนัดแล้วเช่นนี้การที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาคดีไปนั้น จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: ผลของการถอนตัวทนายก่อนจำเลยทราบ & การมีอยู่ของทนายในวันนัด
วันนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยมาศาลยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนาย ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอโดยจำเลยไม่มาศาลและไม่ปรากฏว่าได้ทราบคำขอของทนายความแล้วหาได้ไม่ ทั้งเมื่อทนายของจำเลยมาศาลในวันนัดแล้วเช่นนี้ การที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาคดีไปนั้น จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนสิทธิในทรัพย์สินหลังมีคำพิพากษาประนีประนอมยอมความ: ผู้ร้องย่อมมีสิทธิก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
โจทก์และผู้ร้องต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีที่จำเลยเป็นคนคนเดียวกัน จำเลยยอมใช้หนี้เงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยภายใน 10 วันนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยยอมโอนที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ผู้ร้องเป็นการใช้หนี้แทนภายใน 10 วันนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความปรากฏว่าโจทก์นำยึดเรือนและที่พิพาทของจำเลยในวันเดียวกันกับที่ผู้ร้องกับจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์นำยึดภายหลังการทำยอมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนโจทก์นำยึด แม้จำเลยจะยังมิได้กระทำการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนให้ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ขอให้เพิกถอนการยึดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้ตามสิทธิประนีประนอมยอมความและการยึดทรัพย์: ลำดับก่อนหลังของสิทธิ
โจทก์และผู้ร้องต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีที่จำเลยเป็นคนคนเดียวกัน จำเลยยอมใช้หนี้เงินให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยภายใน 10 วันนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยยอมโอนที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ผู้ร้องเป็นการใช้หนี้แทนภายใน 10 วันนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความปรากฏว่าโจทก์นำยึดเรือนและที่พิพาทของจำเลยในวันเดียวกันกับที่ผู้ร้องกับจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกัน โดยโจทก์นำยึดภายหลังการทำยอมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนโจทก์นำยึด แม้จำเลยจะยังมิได้กระทำการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนให้ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ขอให้เพิกถอนการยึดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้มีคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้
โจทก์นำยึดที่ดินมีโฉนดของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินใช้หนี้เงินกู้ตามคำพิพากษา. ปรากฏว่าที่ดินแปลงนี้จำเลยได้ขายให้ผู้ร้องขัดทรัพย์แล้วตั้งแต่ พ.ศ.2511 แต่การโอนขัดข้อง ผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ฟ้องจำเลย ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง หากจำเลยไม่จัดการโอน ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย คดีถึงที่สุดแล้ว แม้ศาลได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงินให้แก่โจทก์ และโจทก์ยึดทรัพย์จำเลยก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีจำเลยดังกล่าว และกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดนี้ยังไม่ได้เปลี่ยนมือและยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องได้สิทธิที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้โดยผลแห่งคำพิพากษาคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินให้ซึ่งถึงที่สุดแล้วเช่นนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินนี้ก่อนโจทก์ ซึ่งเพียงแต่ยึดที่ดินแปลงนี้ไว้เพื่อบังคับคดีเท่านั้น ผู้ร้องย่อมจะขอให้เพิกถอนการยึดของโจทก์ได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เช่นกัน กรณีต่างกับมาตรา 1299 ซึ่งเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิซึ่งยังไม่บริบูรณ์จนกว่าจะได้จดทะเบียนทรัพย์สิทธินั้นๆ แล้ว
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานผู้ร้องและพยานโจทก์และพิพากษายกคำร้องของผู้ร้องขัดทรัพย์ แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์จะอุทธรณ์ขอให้มีการสืบพยานใหม่เท่านั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีมีพยานหลักฐานพร้อมที่จะตรวจดูได้เพียงพอที่จะชี้ขาดได้แล้วศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะชี้ขาดพิพากษาคดีไปได้เลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้มีคำพิพากษาถึงที่สุดก่อนการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้
โจทก์นำยึดที่ดินมีโฉนดของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินใช้หนี้เงินกู้ตามคำพิพากษา ปรากฏว่าที่ดินแปลงนี้จำเลยได้ขายให้ผู้ร้องขัดทรัพย์แล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2511 แต่การโอนขัดข้อง ผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ฟ้องจำเลย ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง หากจำเลยไม่จัดการโอน ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย คดีถึงที่สุดแล้ว แม้ศาลได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงินให้แก่โจทก์ และโจทก์ยึดทรัพย์จำเลยก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีจำเลยดังกล่าว และกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดนี้ยังไม่ได้เปลี่ยนมือและยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องได้สิทธิที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้โดยผลแห่งคำพิพากษาคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินให้ซึ่งถึงที่สุดแล้วเช่นนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินนี้ก่อนโจทก์ ซึ่งเพียงแต่ยึดที่ดินแปลงนี้ไว้เพื่อบังคับคดีเท่านั้น ผู้ร้องย่อมจะขอให้เพิกถอนการยึดของโจทก์ได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เช่นกัน กรณีต่างกับมาตรา 1299 ซึ่งเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิซึ่งยังไม่บริบูรณ์จนกว่าจะได้จดทะเบียนทรัพย์สิทธินั้น ๆ แล้ว
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานผู้ร้องและพยานโจทก์และพิพากษายกคำร้องของผู้ร้องขัดทรัพย์ แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์จะอุทธรณ์ขอให้มีการสืบพยานใหม่เท่านั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีมีพยานหลักฐานพร้อมที่จะตรวจดูได้เพียงพอที่จะชี้ขาดได้แล้วศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะชี้ขาดพิพากษาคดีไปได้เลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราโทรมหญิง: ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงกลับศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคสอง, 83 ตามที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคแรก, 83 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ (โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายคนเดียว ส่วนจำเลยที่ 2 ถือปืนขู่) จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย เข้าลักษณะเป็นการโทรมหญิงและพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติได้ส่วนกำหนดโทษให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราโทรมหญิง: ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงกลับ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคสอง,83 ตามที่แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคแรก,83 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ (โดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายคนเดียว ส่วนจำเลยที่ 2 ถือปืนขู่) จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย เข้าลักษณะเป็นการโทรมหญิงและพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคสองซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติได้ส่วนกำหนดโทษให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจข่มขืนใจเรียกเงินจากผู้ประกอบการ อ้างความผิดที่ไม่เกิดขึ้น การกระทำผิดตามมาตรา 148
เมื่อตามพฤติการณ์ของจำเลยแสดงว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้อำนาจในตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิด ข่มขืนใจให้โจทก์ร่วมมอบเงินให้แก่จำเลย โดยขู่ว่าถ้าไม่ให้เงินก็จะจับกุม มิใช่ว่าจำเลยจับกุมโจทก์ร่วมโดยชอบด้วยอำนาจในตำแหน่ง แล้วเรียกเอาเงินเพื่อไม่ให้นำตัวโจทก์ร่วมไปส่งให้พนักงานสอบสวนตามหน้าที่เช่นนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 148 หาใช่ความผิดตามมาตรา 149 ไม่
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 148 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
of 27