พบผลลัพธ์ทั้งหมด 250 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมายในอุทธรณ์ต้องทำโดยตรง การอ้างอิงเอกสารในสำนวนไม่ถือว่าเป็นการระบุตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรค 2 มีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่คู่ความผู้อุทธรณ์ประสงค์จะยกขึ้นเป็นข้อคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ระบุไว้ในอุทธรณ์ การที่จำเลยระบุในอุทธรณ์เพียงว่า ขอให้ถือเอาคำแถลงปิดสำนวนในศาลชั้นต้น ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาวินิจฉัยมาแล้วเป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์ เป็นการอ้างถึงเอกสารฉบับอื่น แม้จะอยู่ในสำนวนก็มิใช่การระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายในอุทธรณ์ อุทธรณ์เช่นนี้ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรค 2ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เหตุผลที่ไม่สุจริตของผู้ขายไม่ใช่เหตุเลิกสัญญาตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินคืน
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์วางมัดจำ 3,000 บาทค่าที่ดินตกลงชำระกันเป็นงวด ๆ เมื่อได้ชำระค่าที่ดินไปบ้างแล้วโจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินและเช็คที่ได้ชำระค่าที่ดินไปตามสำเนาหนังสือบอกเลิกสัญญาท้ายฟ้อง อ้างเหตุแตกร้าวที่โจทก์ถูกตำรวจจับเรื่องอายัดเช็ค ทั้งหาว่าจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถไปโอนโฉนดให้แต่ตามฟ้องโจทก์หาได้กล่าวอ้างตั้งประเด็นว่า จำเลยทำผิดสัญญาแต่ประการใดไม่ กลับอ้างว่าจำเลยไม่สุจริตพยายามกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอับอายโดยถูกพนักงานสอบสวนควบคุมตัวจึงไม่ประสงค์ซื้อที่ดินต่อไป ดังนี้แสดงว่า เหตุเลิกสัญญาไม่ใช่เกิดจากจำเลยทำผิดสัญญาข้อใด ๆ แต่เป็นเพราะโจทก์ไม่พอใจจำเลย จึงไม่ต้องการซื้อที่ดินเท่านั้น
การเลิกสัญญานอกจากจะได้ระบุไว้ชัดในสัญญาว่า ให้เลิกกัน ได้อย่างไรแล้วก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387, 388, 389 และมาตรา 466 ฯลฯ แม้ตามสัญญาจะระบุว่า ถ้าผู้ซื้อ(โจทก์)ผิดสัญญาโดยไม่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ซื้อยอมให้ผู้ขาย(จำเลย)ริบเงินมัดจำก็เป็นแต่ข้อสัญญาที่ให้ถือปฏิบัติไปตามมาตรา 378นั่นเอง จะแปลเลยไปถึงกับว่าเมื่อโจทก์แสดงเจตนาไม่ซื้อที่ดินแล้วเท่ากับผิดสัญญาแล้วหาได้ไม่ เพราะการทำผิดสัญญาก็ยังไม่เกิดขึ้นสัญญาข้อนี้ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้อย่างใด การที่โจทก์บอกปัดเลิกสัญญาเสียตามชอบใจไม่มีผลให้สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นความผูกพันต่อกัน โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่ชำระไปแล้วคืนโดยอาศัยสิทธิเรียกเงินคืนจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 391 ไม่ได้
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาจะต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาทั้งสองฝ่ายพร้อม ๆ กันตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระค่าที่ดินไปก่อนทำการโอนตลอดจนส่งมอบที่ดินคืนตามฟ้องแย้งไม่ได้
การเลิกสัญญานอกจากจะได้ระบุไว้ชัดในสัญญาว่า ให้เลิกกัน ได้อย่างไรแล้วก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387, 388, 389 และมาตรา 466 ฯลฯ แม้ตามสัญญาจะระบุว่า ถ้าผู้ซื้อ(โจทก์)ผิดสัญญาโดยไม่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ซื้อยอมให้ผู้ขาย(จำเลย)ริบเงินมัดจำก็เป็นแต่ข้อสัญญาที่ให้ถือปฏิบัติไปตามมาตรา 378นั่นเอง จะแปลเลยไปถึงกับว่าเมื่อโจทก์แสดงเจตนาไม่ซื้อที่ดินแล้วเท่ากับผิดสัญญาแล้วหาได้ไม่ เพราะการทำผิดสัญญาก็ยังไม่เกิดขึ้นสัญญาข้อนี้ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้อย่างใด การที่โจทก์บอกปัดเลิกสัญญาเสียตามชอบใจไม่มีผลให้สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นความผูกพันต่อกัน โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่ชำระไปแล้วคืนโดยอาศัยสิทธิเรียกเงินคืนจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 391 ไม่ได้
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาจะต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาทั้งสองฝ่ายพร้อม ๆ กันตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระค่าที่ดินไปก่อนทำการโอนตลอดจนส่งมอบที่ดินคืนตามฟ้องแย้งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เหตุผลการเลิกสัญญาต้องเป็นความผิดสัญญาของอีกฝ่าย ไม่ใช่ความไม่พอใจส่วนตัว
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์วางมัดจำ 3,000 บาทค่าที่ดินตกลงชำระกันเป็นงวด ๆ เมื่อได้ชำระค่าที่ดินไปบ้างแล้ว โจทก์ฟ้องให้จำเลยคืนเงินและเช็คที่ได้ชำระค่าที่ดินไปตามสำเนาหนังสือบอกเลิกสัญญาท้ายฟ้อง อ้างเหตุแตกร้าวที่โจทก์ถูกตำรวจจับเรื่องอายัดเช็ค ทั้งหาว่าจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถไปโอนโฉนดให้แต่ตามฟ้องโจทก์หาได้กล่าวอ้างตั้งประเด็นว่า จำเลยทำผิดสัญญาแต่ประการใดไม่ กลับอ้างว่าจำเลยไม่สุจริตพยายามกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอับอายโดยถูกพนักงานสอบสวนควบคุมตัว จึงไม่ประสงค์ซื้อที่ดินต่อไป ดังนี้แสดงว่า เหตุเลิกสัญญาไม่ใช่เกิดจากจำเลยทำผิดสัญญาข้อใด ๆ แต่เป็นเพราะโจทก์ไม่พอใจจำเลย จึงไม่ต้องการซื้อที่ดินเท่านั้น
การเลิกสัญญานอกจากจะได้ระบุไว้ชัดในสัญญาว่า ให้เลิกกันได้อย่างไรแล้วก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387, 388, 389 และมาตรา 466 ฯลฯ แม้ตามสัญญาจะระบุว่า ถ้าผู้ซื้อ(โจทก์)ผิดสัญญาโดยไม่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ซื้อยอมให้ผู้ขาย(จำเลย)ริบเงินมัดจำก็เป็นแต่ข้อสัญญาที่ให้ถือปฏิบัติไปตามมาตรา 378 นั่นเอง จะแปลเลยไปถึงกับว่าเมื่อโจทก์แสดงเจตนาไม่ซื้อที่ดินแล้วเท่ากับผิดสัญญาแล้วหาได้ไม่ เพราะการทำผิดสัญญาก็ยังไม่เกิดขึ้นสัญญาข้อนี้ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้อย่างใด การที่โจทก์บอกปัดเลิกสัญญาเสียตามชอบใจไม่มีผลให้สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นความผูกพันต่อกัน โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่ชำระไปแล้วคืนโดยอาศัยสิทธิเรียกเงินคืนจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 391 ไม่ได้
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาจะต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาทั้งสองฝ่ายพร้อม ๆ กันตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระค่าที่ดินไปก่อนทำการโอนตลอดจนส่งมอบที่ดินคืนตามฟ้องแย้งไม่ได้
การเลิกสัญญานอกจากจะได้ระบุไว้ชัดในสัญญาว่า ให้เลิกกันได้อย่างไรแล้วก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387, 388, 389 และมาตรา 466 ฯลฯ แม้ตามสัญญาจะระบุว่า ถ้าผู้ซื้อ(โจทก์)ผิดสัญญาโดยไม่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว ผู้ซื้อยอมให้ผู้ขาย(จำเลย)ริบเงินมัดจำก็เป็นแต่ข้อสัญญาที่ให้ถือปฏิบัติไปตามมาตรา 378 นั่นเอง จะแปลเลยไปถึงกับว่าเมื่อโจทก์แสดงเจตนาไม่ซื้อที่ดินแล้วเท่ากับผิดสัญญาแล้วหาได้ไม่ เพราะการทำผิดสัญญาก็ยังไม่เกิดขึ้นสัญญาข้อนี้ไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้อย่างใด การที่โจทก์บอกปัดเลิกสัญญาเสียตามชอบใจไม่มีผลให้สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นความผูกพันต่อกัน โจทก์จะเรียกร้องเอาค่าที่ดินที่ชำระไปแล้วคืนโดยอาศัยสิทธิเรียกเงินคืนจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 391 ไม่ได้
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาจะต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาทั้งสองฝ่ายพร้อม ๆ กันตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 369 จำเลยจะบังคับให้โจทก์ชำระค่าที่ดินไปก่อนทำการโอนตลอดจนส่งมอบที่ดินคืนตามฟ้องแย้งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัสต์รีซีท: การโอนกรรมสิทธิ์สินค้าเพื่อชำระหนี้ต่างตอบแทน
เอกสารทรัสต์รีซีทที่ผู้สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศทำให้ไว้แก่ธนาคารโดยยอมให้ธนาคารยึดถือเอกสารดังกล่าวเป็นประกันเพื่อการชำระเงินตามตั๋วเงินและถือกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่สั่งซื้อเป็นของธนาคารโดยผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องเอาสินค้านั้นไปจำหน่ายแล้วนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระให้ธนาคารผู้ร้อง อันเป็นผลจากการที่ผู้สั่งซื้อสินค้าเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับธนาคารในการสั่งซื้อสินค้านั้นเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีผลผูกพันคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 วัตถุประสงค์แห่งสัญญาเช่นนี้นอกจากจะก่อให้เกิดสิทธิแก่ธนาคารในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องเอาชดใช้ราคาสินค้าแล้วยังเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะสิ่งให้เจ้าหนี้ไปจนกว่าจะมีการชำระราคาแล้วเสร็จตราบใดที่ผู้สั่งสินค้ายังไม่ชำระราคาสินค้าให้แก่ธนาคารก็จะเรียกร้องเอากรรมสิทธิ์ในสินค้าคืนจากธนาคารไม่ได้ กรณีเช่นนี้ธนาคารจึงเป็นทั้งเจ้าหนี้และเจ้าของสินค้าไปพร้อม ๆ กัน
เอกสารทรัสต์รีซีทที่จำเลยทำให้ไว้แก่ธนาคาร ย่อมเป็นการก่อตั้งทรัพยสิทธิ ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1298 กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่สั่งซื้อมาจึงตกเป็นของธนาคารไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ธนาคารมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะขอให้ปล่อยทรัพย์ที่เจ้าหนี้ของจำเลยยึดไว้ได้
เอกสารทรัสต์รีซีทที่จำเลยทำให้ไว้แก่ธนาคาร ย่อมเป็นการก่อตั้งทรัพยสิทธิ ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1298 กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่สั่งซื้อมาจึงตกเป็นของธนาคารไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ธนาคารมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะขอให้ปล่อยทรัพย์ที่เจ้าหนี้ของจำเลยยึดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัสต์รีซีทกับการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า: สิทธิของธนาคารผู้ให้กู้
เอกสารทรัสต์รีซีทที่ผู้สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศทำให้ไว้แก่ธนาคารโดยยอมให้ธนาคารยึดถือเอกสารดังกล่าวเป็นประกันเพื่อการชำระเงินตามตั๋วเงินและถือกรรมสิทธิ์ในสินค้าที่สั่งซื้อเป็นของธนาคารโดยผู้สั่งซื้อสินค้าจะต้องเอาสินค้านั้นไปจำหน่ายแล้วนำเงินที่ได้จากการขายมาชำระให้ธนาคารผู้ร้อง อันเป็นผลจากการที่ผู้สั่งซื้อสินค้าเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับธนาคารในการสั่งซื้อสินค้านั้นเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีผลผูกพันคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369. วัตถุประสงค์แห่งสัญญาเช่นนี้นอกจากจะก่อให้เกิดสิทธิแก่ธนาคารในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องเอาชดใช้ราคาสินค้าแล้วยังเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะสิ่งให้เจ้าหนี้ไปจนกว่าจะมีการชำระราคาแล้วเสร็จตราบใดที่ผู้สั่งสินค้ายังไม่ชำระราคาสินค้าให้แก่ธนาคารก็จะเรียกร้องเอากรรมสิทธิ์ในสินค้าคืนจากธนาคารไม่ได้ กรณีเช่นนี้ธนาคารจึงเป็นทั้งเจ้าหนี้และเจ้าของสินค้าไปพร้อม ๆ กัน
เอกสารทรัสต์รีซีทที่จำเลยทำให้ไว้แก่ธนาคาร ย่อมเป็นการก่อตั้งทรัพย์สิทธิ ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1298 กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่สั่งซื้อมาจึงตกเป็นของธนาคารไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ธนาคารมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะขอให้ปล่อยทรัพย์ที่เจ้าหนี้ของจำเลยยึดไว้ได้
เอกสารทรัสต์รีซีทที่จำเลยทำให้ไว้แก่ธนาคาร ย่อมเป็นการก่อตั้งทรัพย์สิทธิ ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1298 กรรมสิทธิ์ในสินค้าที่สั่งซื้อมาจึงตกเป็นของธนาคารไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ธนาคารมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะขอให้ปล่อยทรัพย์ที่เจ้าหนี้ของจำเลยยึดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คที่ไม่มีเงินในบัญชี ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ แต่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยนำเอาแบบพิมพ์ที่มีรายการระบุว่าเป็นเช็ค ระบุชื่อธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ หมายเลขบี 10105906 มา กรอกรายการและเซ็นชื่อของจำเลยออกให้แก่ผู้เสียหาย โดยจำเลยไม่มีเงินฝากในธนาคารศรีนคร จำกัด ดังนี้ ไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิเพราะจำเลยลงชื่อของจำเลยเอง มิได้ปลอมลายมือชื่อของผู้ใดและการสั่งจ่ายเงินโดยไม่มีเงินฝากหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับธนาคารนั้นฯ ก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำเอาเช็คระบุชื่อธนาคารศรีนคร จำกัดสาขาเล่งเน่ยยี่ สั่งจ่ายเงิน 4,000 บาทมาใช้แก่ผู้เสียหายอันเป็นเอกสารสิทธิและเป็นตั๋วเงินปลอม ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับแต่ฎีกาว่า "เช็คของกลางเป็นเช็คที่มีผู้อื่นจัดพิมพ์ขึ้นโดยเลียนแบบเช็คของธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ เช็คของกลางจึงเป็นเช็คปลอมโดยเป็นการปลอมเช็คของธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ขึ้นทั้งฉบับ" ข้อความตามฎีกาโจทก์ดังนี้มิได้กล่าวในฟ้อง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำเอาเช็คระบุชื่อธนาคารศรีนคร จำกัดสาขาเล่งเน่ยยี่ สั่งจ่ายเงิน 4,000 บาทมาใช้แก่ผู้เสียหายอันเป็นเอกสารสิทธิและเป็นตั๋วเงินปลอม ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับแต่ฎีกาว่า "เช็คของกลางเป็นเช็คที่มีผู้อื่นจัดพิมพ์ขึ้นโดยเลียนแบบเช็คของธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ เช็คของกลางจึงเป็นเช็คปลอมโดยเป็นการปลอมเช็คของธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ขึ้นทั้งฉบับ" ข้อความตามฎีกาโจทก์ดังนี้มิได้กล่าวในฟ้อง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ หากลงชื่อตนเอง
จำเลยนำเอาแบบพิมพ์ที่มีรายการระบุว่าเป็นเช็ค ระบุชื่อธนาคารศรีนครจำกัดสาขาเล่งเน่ยยี่หมายเลขบี 10105906 มากรอกรายการและเซ็นชื่อของจำเลยออกให้แก่ผู้เสียหาย โดยจำเลยไม่มีเงินฝากในธนาคารศรีนคร จำกัดดังนี้ ไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิ เพราะจำเลยลงชื่อของจำเลยเอง มิได้ปลอมลายมือชื่อของผู้ใด และการสั่งจ่ายเงินโดยไม่มีเงินฝากหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างใดกับธนาคารนั้นฯ ก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำเอาเช็คระบุชื่อธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ สั่งจ่ายเงิน 4,000 บาทมาใช้แก่ผู้เสียหายอันเป็นเอกสารสิทธิและเป็นตั๋วเงินปลอม ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับ แต่ฎีกาว่า "เช็คของกลางเป็นเช็คที่มีผู้อื่นจัดพิมพ์ขึ้นโดยเลียนแบบเช็คของธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ เช็คของกลางจึงเป็นเช็คปลอมโดยเป็นการปลอมเช็คของธนาคารศรีนครจำกัดสาขาเล่งเน่ยยี่ขึ้นทั้งฉบับ" ข้อความตามฎีกาโจทก์ดังนี้มิได้กล่าวในฟ้องศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำเอาเช็คระบุชื่อธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ สั่งจ่ายเงิน 4,000 บาทมาใช้แก่ผู้เสียหายอันเป็นเอกสารสิทธิและเป็นตั๋วเงินปลอม ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับ แต่ฎีกาว่า "เช็คของกลางเป็นเช็คที่มีผู้อื่นจัดพิมพ์ขึ้นโดยเลียนแบบเช็คของธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาเล่งเน่ยยี่ เช็คของกลางจึงเป็นเช็คปลอมโดยเป็นการปลอมเช็คของธนาคารศรีนครจำกัดสาขาเล่งเน่ยยี่ขึ้นทั้งฉบับ" ข้อความตามฎีกาโจทก์ดังนี้มิได้กล่าวในฟ้องศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาพยายามฆ่าจากการขว้างระเบิดขวด: ศาลฎีกาวินิจฉัยความร้ายแรงของอาวุธและความเสียหายที่เกิดขึ้น
ระเบิดขวดเป็นอาวุธที่มีดินระเบิดบรรจุอยู่ในขวด เมื่อขว้างไปกระทบกับของแข็งขวดแตกระเบิดเป็นชิ้นๆ แหลมคมกระจายไป เมื่อถูกร่างกายย่อมทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายถึงบาดเจ็บ จำเลยขว้างระเบิดขวด ผู้เสียหายคนหนึ่งถูกสะเก็ดระเบิดที่บริเวณใบหน้าและโหนกแก้ม บาดแผลมีลักษณะเพียงถลอก ไม่ปรากฏว่าสะเก็ดระเบิดถูกโดยตรงหรือเฉี่ยวไป แต่ผู้เสียหายอีกคนหนึ่งมีบาดแผลถูกสะเก็ดระเบิดยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ที่เอว เห็นได้ว่าระเบิดขวดนี้มีความร้ายแรงมาก หากสะเก็ดระเบิดนั้นถูกอวัยวะสำคัญอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย ไม่ใช่เพียงทำร้ายร่างกาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามฆ่าจากการขว้างระเบิดขวด ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
ระเบิดขวดเป็นอาวุธที่มีดินระเบิดบรรจุอยู่ในขวดเมื่อขว้างไปกระทบกับของแข็งขวดแตกระเบิดเป็นชิ้นๆ แหลมคมกระจายไป เมื่อถูกร่างกายย่อมทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายถึงบาดเจ็บจำเลยขว้างระเบิดขวด ผู้เสียหายคนหนึ่งถูกสะเก็ดระเบิดที่บริเวณใบหน้าและโหนกแก้ม บาดแผลมีลักษณะเพียงถลอก ไม่ปรากฏว่าสะเก็ดระเบิดถูกโดยตรงหรือเฉี่ยวไป แต่ผู้เสียหายอีกคนหนึ่งมีบาดแผลถูกสะเก็ดระเบิดยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ที่เอว เห็นได้ว่าระเบิดขวดนี้มีความร้ายแรงมากหากสะเก็ดระเบิดนั้นถูกอวัยวะสำคัญอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย ไม่ใช่เพียงทำร้ายร่างกาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ เจ้าของมีสิทธิทำลายได้ ไม่ถือเป็นความเสียหาย
จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ร่วมไปจัดการขายที่ดิน แต่เป็นหนังสือมอบอำนาจที่ใช้ไม่ได้. เนื่องจากมีรอยขีดฆ่า และไม่ได้เซ็นชื่อกำกับข้อความเกี่ยวกับการรับเงิน ถือว่าหนังสือมอบอำนาจนี้ยังเป็นเอกสารของจำเลยอยู่ แม้จะได้มอบให้โจทก์ร่วมยึดถือไว้ ก็เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับดำเนินการไปตามที่มอบอำนาจเท่านั้น แต่เมื่อการมอบอำนาจของจำเลยไม่เป็นผล หนังสือมอบอำนาจนั้นก็เป็นอันหมดประโยชน์แก่โจทก์ร่วมแล้วจำเลยผู้เป็นเจ้าของย่อมจะฉีกหรือทำลายเสียได้ การที่จะอ้างว่าที่จำเลยฉีกทำลายเสียทำให้โจทก์ร่วมไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานว่าจำเลยได้ขายที่ดินคืนให้โจทก์ร่วมแล้ว ทำให้โจทก์ร่วมเสียหายนั้นหาได้ไม่ เพราะแม้ในหนังสือมอบอำนาจนั้นจะมีข้อความถึงการรับเงินด้วย ก็อาจใช้ยันจำเลยไม่ได้ เพราะจำเลยไม่รับรองว่าถูกต้อง เรื่องการรับเงินความจริงเป็นอย่างไร โจทก์ร่วมย่อมนำสืบในทางแพ่งได้อยู่ หาได้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมไม่ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188