คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เสถียร ลิมปิษเฐียร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 250 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ เจ้าของมีสิทธิทำลายได้ ไม่ถือเป็นความเสียหาย
จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ร่วมไปจัดการขายที่ดิน แต่เป็นหนังสือมอบอำนาจที่ใช้ไม่ได้. เนื่องจากมีรอยขีดฆ่า และไม่ได้เซ็นชื่อกำกับข้อความเกี่ยวกับการรับเงิน ถือว่าหนังสือมอบอำนาจนี้ยังเป็นเอกสารของจำเลยอยู่ แม้จะได้มอบให้โจทก์ร่วมยึดถือไว้ ก็เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับดำเนินการไปตามที่มอบอำนาจเท่านั้น แต่เมื่อการมอบอำนาจของจำเลยไม่เป็นผล หนังสือมอบอำนาจนั้นก็เป็นอันหมดประโยชน์แก่โจทก์ร่วมแล้วจำเลยผู้เป็นเจ้าของย่อมจะฉีกหรือทำลายเสียได้ การที่จะอ้างว่าที่จำเลยฉีกทำลายเสียทำให้โจทก์ร่วมไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานว่าจำเลยได้ขายที่ดินคืนให้โจทก์ร่วมแล้ว ทำให้โจทก์ร่วมเสียหายนั้นหาได้ไม่ เพราะแม้ในหนังสือมอบอำนาจนั้นจะมีข้อความถึงการรับเงินด้วย ก็อาจใช้ยันจำเลยไม่ได้ เพราะจำเลยไม่รับรองว่าถูกต้อง เรื่องการรับเงินความจริงเป็นอย่างไร โจทก์ร่วมย่อมนำสืบในทางแพ่งได้อยู่ หาได้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมไม่ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3218/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเมื่อถอนฟ้อง: ผู้รับผิดและอัตราการคำนวณ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายและยื่นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราวแล้ว โจทก์ก็เป็นผู้ติดตามแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเรียกทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้เป็นจำเลยจากกองบังคับคดีแพ่งมารวบรวมไว้ในคดีล้มละลายต่อมาโจทก์ถอนฟ้อง ซึ่งศาลอนุญาตและจำหน่ายคดีไปแล้วบรรดากิจการที่ได้ดำเนินมาย่อมต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเงินจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับมาก็ต้องคืนให้กองบังคับคดีแพ่ง และถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายที่จะนำมาใช้จ่ายได้ โจทก์จึงต้องเป็นผู้รับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์เองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 155 แต่การคิดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินเมื่อเงินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับมาต้องส่งคืนไปไม่มีการจำหน่ายจึงต้องคิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสามครึ่งของราคาทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 179(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3218/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเมื่อถอนฟ้อง ผู้ใดเป็นผู้รับผิดและอัตราค่าธรรมเนียมที่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย และยื่นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราวแล้ว โจทก์ก็เป็นผู้ติดตามแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเรียกทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้เป็นจำเลยจากกองบังคับคดีแพ่งมารวบรวมไว้ในคดีล้มละลาย ต่อมาโจทก์ถอนฟ้อง ซึ่งศาลอนุญาตและจำหน่ายคดีไปแล้ว บรรดากิจการที่ได้ดำเนินมาย่อมต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เงินจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับมาก็ต้องคืนให้กองบังคับคดีแพ่ง และถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายที่จะนำมาใช้จ่ายได้ โจทก์จึงต้องเป็นผู้รับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์เองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 155 แต่การคิดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน เมื่อเงินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับมาต้องส่งคืนไป ไม่มีการจำหน่ายจึงต้องคิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสามครึ่งของราคาทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทถูกตัดสิทธิมรดกตามพินัยกรรม ไม่อาจยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ผู้รับพินัยกรรมได้
ทายาทโดยธรรมที่ถูกตัดมิให้รับมรดกโดยพินัยกรรมหมดสิทธิที่จะได้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ผู้รับพินัยกรรมได้
ที่พิพาทตกได้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมของเจ้ามรดก แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ก็ย่อมถูกตัดมิให้รับมรดกในส่วนที่เกี่ยวกับที่พิพาทแล้ว จึงไม่มีทางจะถือเอาประโยชน์จากอายุความ 1 ปีได้ จำเลยที่ 1 ผู้รับโอนที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะผู้ชอบที่จะใช้สิทธิของจำเลยที่ 2 เท่านั้น จึงยกอายุความ1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ดุจกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการวางเงินประกันค่าเสียหาย ทำให้ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีได้
ศาลชั้นต้นเห็นว่า คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงคดีจึงสั่งให้ผู้ร้องวางเงินเพื่อประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนเมื่อผู้ร้องนำเงินมาวางศาลไม่ครบตามจำนวน ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เรียกได้ว่า ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายและผลกระทบต่อการพิจารณาคดี: แม้จำเลยไม่มาศาล แต่หากมีทนายมาศาลถือว่าไม่ใช่การขาดนัด
ในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลย จำเลยไม่มาศาล คงแต่ง ป.เป็นทนายความมาศาล ศาลรับใบแต่งทนายของจำเลยและได้ทำการไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลย เช่นนี้ ถือว่าป.เป็นทนายความของจำเลยโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61แล้ว การที่ศาลกลับไปสั่งไม่รับ ป.เป็นทนายความของจำเลย โดยเห็นว่า ป.แถลงว่าลายเซ็นของจำเลยในใบแต่งทนายเป็นลายเซ็นที่แท้จริงมีสามีของจำเลยรับรอง เป็นการขัดกับชื่อของจำเลยซึ่งเป็นนางสาวนั้น จึงเป็นการมิชอบกรณีนี้ต้องถือว่าทนายของจำเลยมาศาลแล้ว เมื่อศาลทำการสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวแล้วพิพากษาคดีไปเลย โดยมิได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงไม่ใช่เป็นการพิจารณาโดยขาดนัด จำเลยจะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ หากจำเลยไม่พอใจก็ชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิเรียงคำฟ้องแทนโจทก์ได้ แม้ไม่ใช่ทนายความ
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำนาจยื่นคำฟ้องได้จึงชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้อง รวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย หาจำต้องมอบอำนาจให้ทนายความเรียงหรือแต่งคำฟ้องให้อีกต่อหนึ่งไม่ ฉะนั้น คำฟ้องของโจทก์ซึ่งผู้รับมอบอำนาจลงชื่อเป็น ผู้เรียงจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดี: ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิเรียง/แต่งคำฟ้องแทนโจทก์ได้ แม้ไม่ใช่ทนายความ
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความซึ่งมีอำนาจยื่นคำฟ้องได้จึงชอบที่จะเรียงหรือแต่งคำฟ้อง รวมทั้งลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ด้วย หาจำต้องมอบอำนาจให้ทนายความเรียงหรือแต่งคำฟ้องให้อีกต่อหนึ่งไม่ ฉะนั้น คำฟ้องของโจทก์ซึ่งผู้รับมอบอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงจึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีและการฟ้องคัดค้านการประเมิน: การชำระภาษีหลังได้รับคำชี้ขาดไม่ตัดสิทธิในการฟ้อง
มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475ที่บัญญัติให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีแก่กรมการอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งทรัพย์นั้นตั้งอยู่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมินนั้น เป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับผู้รับประเมินจะไปชำระได้ที่ไหนเมื่อใดเท่านั้นหาใช่เป็นบทบังคับเด็ดขาดว่าจะต้องชำระค่าภาษีตามการประเมินเบื้องต้นเสมอไป เพราะตามมาตรา 25 และมาตรา 26 บัญญัติให้โอกาสแก่ผู้รับประเมินที่ไม่พอใจการประเมินเบื้องต้นร้องขอไปยังผู้มีอำนาจชี้ขาดการประเมินได้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมินเพื่อให้มีการพิจารณาการประเมินนั้นใหม่ ทั้งค่าภาษีที่มิได้ชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 38 นั้น ตามมาตรา 42 บัญญัติให้ถือว่าเป็นเงินค่าภาษีค้างชำระอันจะต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 43 และอาจถูกบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยพนักงานเก็บภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 ต่อไปด้วย การไม่ชำระภาษีตามมาตรา 38 กฎหมายมิได้ถือเป็นการตัดสิทธิผู้รับประเมินในการฟ้องร้องคดีเพื่อโต้แย้งการประเมินภาษีแต่ประการใด
วันที่ 5 สิงหาคม 2508 โจทก์ได้รับใบแจ้งการประเมินภาษีจากจำเลยให้นำค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินไปชำระให้จำเลย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ประเมินภาษีใหม่เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508 ต่อมาวันที่ 21 พฤษภาคม2512 โจทก์ได้รับคำชี้ขาดจากจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเท่าที่ประเมินไว้เดิมโจทก์จึงนำภาษีกับเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบไปชำระให้จำเลยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2512 แล้ววันรุ่งขึ้นโจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อแสดงว่าการประเมินภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 31 เพราะโจทก์ได้ฟ้องภายใน 30 วันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดและฟ้องของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามมาตรา 39 เพราะก่อนฟ้องโจทก์ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นเสร็จแล้ว ทั้งนี้ ไม่จำต้องคำนึงว่าหนี้ค่าภาษีถึงกำหนดชำระหรือเลยกำหนดชำระขณะฟ้องหรือยัง
จำเลยประเมินภาษีจากรายได้ค่าเช่าห้องพักตามแบบ ภ.ร.ด.2ของโจทก์ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้รับประเมินจะต้องกรอกรายการตามความเป็นจริง ตามความในมาตรา 20 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิได้สั่งการให้แก้ไขรายการเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือว่าเป็นจำนวนค่าเช่าสุทธิสำหรับการประเมินภาษีเพราะตามมาตรา 8 บัญญัติว่า ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าท่านว่า ค่าเช่านั้นเป็นหลักคำนวณค่ารายปี ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอลดค่าภาษี ลงโดยอาศัยเทียบเคียงเสมอกับโรงแรมอื่นแต่อย่างใดจะฟังว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่เป็นการถูกต้องหาได้ไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะตัดสินลดภาษีให้โจทก์ได้ (ฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 39 หรือไม่วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหัวหน้ากองที่ออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงระเบียบการจ่ายเงิน ทำให้เกิดความเสียหายต่อธนาคาร
ธนาคารออมสินโจทก์ได้ออกคำสั่งวางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการถอนเงินของนักเรียนผู้ฝากเงินนอกสถานที่ไว้ว่า เวลาจะถอนนักเรียนต้องมอบฉันทะให้อาจารย์ผู้ปกครองเป็นผู้ขอถอนให้โดยลงชื่อในใบมอบฉันทะ แล้วมอบให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารนำมาเบิกเงินที่ธนาคารเมื่อตรวจสอบกับบัญชีเงินฝากมียอดเงินถูกต้อง ก็ให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารเซ็นรับเงินไปตามที่ขอถอน แล้วนำใบถอนเงินกลับไปให้ผู้รับมอบฉันทะเซ็นชื่อในช่องผู้รับเงินในใบถอน แล้วจึงมอบเงินให้ จำเลยดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองส่งเสริมการออมทรัพย์ของธนาคารออมสินโจทก์ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว และได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวมาหลายปี แต่ต่อมาจำเลยได้ออกคำสั่งใหม่โดยมิชอบด้วยระเบียบแบบแผนแก่พนักงานในบังคับบัญชาของจำเลย เปลี่ยนแปลงทางปฏิบัติตามคำสั่งเดิมที่วางไว้ว่า เมื่อมีการถอนเงินก็ให้มอบฉันทะให้พนักงานธนาคารมาถอนแล้ว พนักงานผู้มาถอนก็รับเงินของผู้ฝากไปมอบให้แก่ผู้ถอนนอกสถานที่ ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ทำให้ปราศจากหลักฐานในการตรวจสอบว่าพนักงานจ่ายเงินให้แก่ตัวผู้ถอนหรือไม่ และเป็นเหตุให้พนักงานใต้บังคับบัญชาของจำเลยซึ่งได้รับมอบฉันทะจากนักเรียนให้มาถอนเงินแทนได้รับเงินแล้วไม่นำไปมอบให้แก่นักเรียนผู้มอบฉันทะ ดังนี้ จำเลยซึ่งเป็นผู้ออกคำสั่งย่อมต้องรับผิดในฐานะที่จำเลยเป็นผู้ประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารออมสินโจทก์ เมื่อผู้ฝากเงินยังไม่ได้รับเงินไป เพราะความผิดของพนักงานธนาคารซึ่งจำเลยต้องร่วมรับผิดชอบด้วย โดยธนาคารออมสินโจทก์ต้องรับสำรองจ่ายให้แก่ผู้ฝากไป ธนาคารออมสินโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
of 25