พบผลลัพธ์ทั้งหมด 250 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632-1633/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยจำเลย ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและชี้ขาดคดีได้ หากมีเจตนาจงใจประวิงคดีโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
พฤติการณ์ที่ถือว่าจำเลยจงใจประวิงหน่วงเหนี่ยวให้คดีชักช้าโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ซึ่งศาลมีอำนาจงดสืบพยานจำเลย และชี้ขาดคดีไป โดยไม่ต้องสืบพยานจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632-1633/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยจำเลย: ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและชี้ขาดคดีได้
พฤติการณ์ที่ถือว่าจำเลยจงใจประวิงหน่วงเหนี่ยวให้คดีชักช้าโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ซึ่งศาลมีอำนาจงดสืบพยานจำเลยและชี้ขาดคดีไป โดยไม่ต้องสืบพยานจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียค่าอ้างเอกสารและการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลต้องรับฟังหากชำระก่อนมีคำพิพากษา
โจทก์ผู้อ้างพยานเอกสารมิได้เสียค่าอ้างเอกสารภายในกำหนด 3 วันตามคำสั่งศาลชั้นต้น แต่ได้เสียก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา ดังนี้ศาลจะตัดไม่รับฟังพยานเอกสารของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514-1515/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้โดยเสน่หาจากเหตุเนรคุณและการฉ้อฉลในการโอนทรัพย์สิน
ผู้ให้ซึ่งเป็นมารดาผู้รับพูดกับผู้รับว่า อย่าขายที่นาพิพาทเลยผู้รับกลับเถียงว่านาของกู จะขาย จะทำไม มึงยกให้กูแล้วอีแม่หมาๆ อีดอกทอง เมื่อไหร่มึงจะตาย ดังนี้ถือได้ว่าผู้รับได้ประพฤติเนรคุณ โดยหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้ผู้ให้มีสิทธิเรียกถอนคืนการให้จากผู้รับได้แล้ว
การเพิกถอนการให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณนั้น ผู้ให้ชอบที่จะเรียกถอนการให้ได้นับแต่วันทราบเหตุเนรคุณ ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 533 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้รับได้โอนกรรมสิทธิ์ ที่นาพิพาทให้บุคคลอื่นซึ่งได้รับโอนโดยไม่สุจริต ผู้ให้มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 โดยถือว่าผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบจากการที่ผู้รับผู้เป็นลูกหนี้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่นาพิพาทนั้นไป
การเพิกถอนการให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณนั้น ผู้ให้ชอบที่จะเรียกถอนการให้ได้นับแต่วันทราบเหตุเนรคุณ ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 533 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้รับได้โอนกรรมสิทธิ์ ที่นาพิพาทให้บุคคลอื่นซึ่งได้รับโอนโดยไม่สุจริต ผู้ให้มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 โดยถือว่าผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบจากการที่ผู้รับผู้เป็นลูกหนี้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่นาพิพาทนั้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514-1515/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการให้โดยเสน่หาจากเหตุประพฤติเนรคุณและการฉ้อฉลของผู้รับ
ผู้ให้ซึ่งเป็นมารดาผู้รับพูดกับผู้รับว่า อย่าขายที่นาพิพาทเลย ผู้รับกลับเถียงว่านาของกู จะขาย จะทำไม มึงยกให้กูแล้ว อีแม่หมาๆ อีดอกทอง เมื่อไหร่มึงจะตาย ดังนี้ถือได้ว่าผู้รับได้ประพฤติเนรคุณ โดยหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้ผู้ให้มีสิทธิเรียกถอนคืนการให้จากผู้รับได้แล้ว
การเพิกถอนการให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณนั้น ผู้ให้ชอบที่จะเรียกถอนการให้ได้นับแต่วันทราบเหตุเนรคุณ ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 533 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้รับได้โอนกรรมสิทธิ์ ที่นาพิพาทให้บุคคลอื่นซึ่งได้รับโอนโดยไม่สุจริต ผู้ให้มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 โดยถือว่าผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบจากการที่ผู้รับผู้เป็นลูกหนี้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่นาพิพาทนั้นไป
การเพิกถอนการให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณนั้น ผู้ให้ชอบที่จะเรียกถอนการให้ได้นับแต่วันทราบเหตุเนรคุณ ภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 533 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากผู้รับได้โอนกรรมสิทธิ์ ที่นาพิพาทให้บุคคลอื่นซึ่งได้รับโอนโดยไม่สุจริต ผู้ให้มีสิทธิขอเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา237 โดยถือว่าผู้ให้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบจากการที่ผู้รับผู้เป็นลูกหนี้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่นาพิพาทนั้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316-1319/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.บ.เฉพาะ และการกำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาซื้อขายล่าสุดของที่ดินในบริเวณเดียวกัน
ที่ดินของผู้ร้องคัดค้านถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พ.ศ.2509 เพื่อจัดสร้างพุทธมณฑลตามความประสงค์ของรัฐบาล และตามมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนให้ถือเอาราคาในวันที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองรายสุดท้ายในบริเวณพุทธมณฑลได้มอบอสังหาริมทรัพย์ให้กระทรวงมหาดไทยเข้าครอบครองเป็นเกณฑ์คำนวณทุกราย การจัดสร้างพุทธมณฑลนั้นเป็นโครงการของรัฐบาลกำหนดขึ้นโดยมีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญสืบไป ถือว่าเป็นประโยชน์ของรัฐอย่างหนึ่ง รัฐบาลได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการจัดสร้างพุทธมณฑล มีหน้าที่จัดสร้างพุทธมณฑลให้เป็นผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล คณะกรรมการได้ดำเนินการวางโครงการ แผนผัง หารายได้ และจัดซื้อที่ดินเข้าปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ตามโครงการ ตลอดจนเสนอรัฐบาลในการแต่งตั้งกรรมการสาขาเพื่อปฏิบัติงานแยกเป็นสัดส่วนไป โดยมีข้าราชการสังกัดต่างกระทรวงกันเป็นประธานคณะกรรมการเหล่านั้นทุกคณะ กิจการที่ดำเนินไปเป็นการกระทำในนามของรัฐบาลที่จัดให้ข้าราชการกระทรวงต่างๆ เข้าดำเนินงานรับผิดชอบคณะกรรมการได้แต่งตั้งกรรมการสาขาขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการดำเนินการและประสานงานจัดสร้างพุทธมณฑล มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานและคณะกรรมการสาขานี้ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นคณะหนึ่ง มีรองอธิบดีกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าคณะ ให้มีหน้าที่ดำเนินการจัดซื้อที่ดินโดยรับช่วงหน้าที่จากคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินสร้างพุทธมณฑลชุดก่อนมา และมีหน้าที่จัดสร้างถนน ขุดคูปลูกต้นไม้ในบริเวณพุทธมณฑล เจ้าหน้าที่คณะนี้ได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ตามหน้าที่ตลอดมา อันแสดงว่าการซื้อและเข้าครอบครองที่ดินบริเวณจัดสร้างพุทธมณฑลในส่วนที่ซื้อไว้แล้วเป็นหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ จึงถือได้ว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยในการรับมอบและเข้าครอบครองที่ดินในบริเวณพุทธมณฑลตามความหมายของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว โดยไม่จำต้องคำนึงถึงว่ากรมใดจะมีหน้าที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของรัฐแห่งนี้ และเงินที่ใช้จ่ายจะได้มาจากงบประมาณแผ่นดินหรือไม่
เมื่อกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบและเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณพุทธมณฑลที่คณะกรรมการซื้อมา และราคาซื้อขายรายสุดท้ายก่อนที่เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนทราบ ปรากฏตามทะเบียนของสำนักงานที่ดินว่าเป็นรายที่ บ. ขายให้กรมการศาสนาในราคาไร่ละ 1,500 บาท กรณีจึงกำหนดเงินค่าทดแทนแน่นอนได้ตามราคาที่ดินรายสุดท้ายดังกล่าวการที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายาอำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมพ.ศ.2509 มาตรา 5 ได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แจ้งให้ผู้ร้องคัดค้านซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไปรับเงินค่าทดแทนซึ่งกำหนดไว้แน่นอนตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องคัดค้านปฏิเสธไม่ยอมรับ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิที่จะวางเงินค่าทดแทนเพื่อมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497
เมื่อกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบและเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณพุทธมณฑลที่คณะกรรมการซื้อมา และราคาซื้อขายรายสุดท้ายก่อนที่เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนทราบ ปรากฏตามทะเบียนของสำนักงานที่ดินว่าเป็นรายที่ บ. ขายให้กรมการศาสนาในราคาไร่ละ 1,500 บาท กรณีจึงกำหนดเงินค่าทดแทนแน่นอนได้ตามราคาที่ดินรายสุดท้ายดังกล่าวการที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายาอำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมพ.ศ.2509 มาตรา 5 ได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แจ้งให้ผู้ร้องคัดค้านซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไปรับเงินค่าทดแทนซึ่งกำหนดไว้แน่นอนตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องคัดค้านปฏิเสธไม่ยอมรับ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิที่จะวางเงินค่าทดแทนเพื่อมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316-1319/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กำหนดราคาค่าทดแทนตามราคาซื้อขายรายสุดท้าย และสิทธิในการเข้าครอบครองที่ดิน
ที่ดินของผู้ร้องคัดค้านถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรีและตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พ.ศ.2509เพื่อจัดสร้างพุทธมณฑลตามความประสงค์ของรัฐบาล และตามมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า เงินค่าทดแทนที่จะให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนให้ถือเอาราคาในวันที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองรายสุดท้ายในบริเวณพุทธมณฑลได้มอบอสังหาริมทรัพย์ให้กระทรวงมหาดไทยเข้าครอบครองเป็นเกณฑ์คำนวณทุกรายการจัดสร้างพุทธมณฑลนั้นเป็นโครงการของรัฐบาลกำหนดขึ้นโดยมีความมุ่งหมายที่จะให้เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญสืบไป ถือว่าเป็นประโยชน์ของรัฐอย่างหนึ่ง รัฐบาลได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการจัดสร้างพุทธมณฑล มีหน้าที่จัดสร้างพุทธมณฑลให้เป็นผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล คณะกรรมการได้ดำเนินการวางโครงการแผนผัง หารายได้ และจัดซื้อที่ดินเข้าปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ตามโครงการตลอดจนเสนอรัฐบาลในการแต่งตั้งกรรมการสาขาเพื่อปฏิบัติงานแยกเป็นสัดส่วนไป โดยมีข้าราชการสังกัดต่างกระทรวงกันเป็นประธานคณะกรรมการเหล่านั้นทุกคณะ กิจการที่ดำเนินไปเป็นการกระทำในนามของรัฐบาลที่จัดให้ข้าราชการกระทรวงต่างๆเข้าดำเนินงานรับผิดชอบคณะกรรมการได้แต่งตั้งกรรมการสาขาขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการดำเนินการและประสานงานจัดสร้างพุทธมณฑล มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานและคณะกรรมการสาขานี้ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ขึ้นคณะหนึ่ง มีรองอธิบดีกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าคณะ ให้มีหน้าที่ดำเนินการจัดซื้อที่ดินโดยรับช่วงหน้าที่จากคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินสร้างพุทธมณฑลชุดก่อนมา และมีหน้าที่จัดสร้างถนน ขุดคูปลูกต้นไม้ในบริเวณพุทธมณฑล เจ้าหน้าที่คณะนี้ได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ตามหน้าที่ตลอดมา อันแสดงว่าการซื้อและเข้าครอบครองที่ดินบริเวณจัดสร้างพุทธมณฑลในส่วนที่ซื้อไว้แล้วเป็นหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงมหาดไทยดำเนินการจึงถือได้ว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยในการรับมอบและเข้าครอบครองที่ดินในบริเวณพุทธมณฑลตามความหมายของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว โดยไม่จำต้องคำนึงถึงว่ากรมใดจะมีหน้าที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของรัฐแห่งนี้และเงินที่ใช้จ่ายจะได้มาจากงบประมาณแผ่นดินหรือไม่
เมื่อกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบและเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณพุทธมณฑลที่คณะกรรมการซื้อมาและราคาซื้อขายรายสุดท้ายก่อนที่เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนทราบ ปรากฏตามทะเบียนของสำนักงานที่ดินว่าเป็นรายที่ บ. ขายให้กรมการศาสนาในราคาไร่ละ 1,500 บาท กรณีจึงกำหนดเงินค่าทดแทนแน่นอนได้ตามราคาที่ดินรายสุดท้ายดังกล่าวการที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายาอำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมพ.ศ.2509 มาตรา 5 ได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษแล้วจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แจ้งให้ผู้ร้องคัดค้านซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไปรับเงินค่าทดแทนซึ่งกำหนดไว้แน่นอนตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องคัดค้านปฏิเสธไม่ยอมรับ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิที่จะวางเงินค่าทดแทนเพื่อมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497
เมื่อกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับมอบและเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในบริเวณพุทธมณฑลที่คณะกรรมการซื้อมาและราคาซื้อขายรายสุดท้ายก่อนที่เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทนให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนทราบ ปรากฏตามทะเบียนของสำนักงานที่ดินว่าเป็นรายที่ บ. ขายให้กรมการศาสนาในราคาไร่ละ 1,500 บาท กรณีจึงกำหนดเงินค่าทดแทนแน่นอนได้ตามราคาที่ดินรายสุดท้ายดังกล่าวการที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลศาลายาอำเภอนครชัยศรี และตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐมพ.ศ.2509 มาตรา 5 ได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษแล้วจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แจ้งให้ผู้ร้องคัดค้านซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไปรับเงินค่าทดแทนซึ่งกำหนดไว้แน่นอนตามกฎหมายแล้ว ผู้ร้องคัดค้านปฏิเสธไม่ยอมรับ เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิที่จะวางเงินค่าทดแทนเพื่อมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะ vs. สิทธิภารจำยอม: การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะก่อนการซื้อขายย่อมมีผลเหนือสิทธิส่วนบุคคล
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างทางพิพาทเพื่อเป็นทางเข้าออกสำหรับที่ดินทุกแปลงที่เจ้าของเดิมแบ่งแยกขาย และโจทก์ได้ใช้ทางนี้ตลอดมาเป็นเวลานานกว่า10 ปี จึงกลายสภาพเป็นทางภารจำยอม อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทได้ โดยไม่ให้จำเลยปิดกั้น ฉะนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะได้ความว่าเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้วอันเป็นเหตุที่จำเลยจะปิดกั้นไม่ได้ ศาลก็วินิจฉัยได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลย ทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม เพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลย ทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม เพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะ vs. ทางภารจำยอม: สิทธิใช้ทางเมื่อเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นสาธารณะ แม้จะอยู่ในโฉนดจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้สร้างทางพิพาทเพื่อเป็นทางเข้าออกสำหรับที่ดินทุกแปลงที่เจ้าของเดิมแบ่งแยกขายและโจทก์ได้ใช้ทางนี้ตลอดมาเป็นเวลานานกว่า10 ปี จึงกลายสภาพเป็นทางภารจำยอม อันเป็นการบรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางพิพาทได้ โดยไม่ให้จำเลยปิดกั้น ฉะนั้น แม้ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาจะได้ความว่าเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้ว อันเป็นเหตุที่จำเลยจะปิดกั้นไม่ได้ ศาลก็วินิจฉัยได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลยทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิมเพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
แม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดของจำเลยและจำเลยจะได้ปิดป้ายว่าเป็นถนนส่วนบุคคลไว้ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะก่อนที่ดินจะตกมาเป็นของจำเลยทางพิพาทก็ยังคงมีสภาพเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิมเพราะสาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย หรือพระราชกฤษฎีกาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งริบของกลางเกินคำขอ และสิทธิในการได้รับคืนทรัพย์สินของผู้ไม่กระทำผิด
ศาลชั้นต้นสั่งให้ริบไขควงของกลางซึ่งโจทก์มิได้ขอให้ริบอันเป็นการเกินคำขอ ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 เมื่อจำเลยไม่ได้กระทำผิด ก็ชอบที่จะสั่งคืนเหล็กไขควงซึ่งมิใช่เป็นทรัพย์อันมีไว้เป็นความผิดแก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของ