พบผลลัพธ์ทั้งหมด 250 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับโอนเช็คที่รู้ว่าไม่มีมูลหนี้ ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจากผู้สั่งจ่าย
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ครายพิพาทจากจำเลยในฐานะเป็นผู้สั่งจ่าย โดยโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยให้การว่า จำเลยออกเช็ครายพิพาทให้แก่ ส. เพื่อเป็นประกันหนี้โดย ส.รับเหมาช่วงงานจากจำเลยไปทำ และต่อมาส. ทิ้งงานนั้น แล้วยักยอกเอาเช็คนั้นไปให้โจทก์ โจทก์ทรงเช็คโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นผู้ทรงโดยไม่สุจริตเนื่องจากการฉ้อฉลของ ส. เพราะทำให้จำเลยเสียเปรียบ อย่างไรก็ตาม ส.อาจจะสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์ ให้โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อให้ได้เงินมาแบ่งปัน จึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ตามคำให้การจำเลยดังกล่าว จำเลยยืนยันแต่เพียงว่า ส. ฝ่ายเดียวฉ้อฉล หาได้ยืนยันว่าโจทก์ร่วมฉ้อฉลด้วยไม่ แม้จะมีข้อความทำนองว่า ส.สมรู้ร่วมคิดกับโจทก์ จำเลยก็กล่าวแต่เพียงว่า ส.อาจจะสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์เท่านั้น ซึ่งแปลได้ว่า ส.อาจไม่ได้สมรู้ร่วมคิดกับโจทก์ก็ได้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวแล้วจึงคลุมเครือไม่ชัดแจ้ง เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามในระหว่างพิจารณา จำเลยก็แถลงว่าเช็ครายพิพาทจะตกไปอยู่ที่โจทก์อย่างไรจำเลยไม่ทราบ ดังนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบตามข้อต่อสู้ในคำให้การนั้นได้
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ส. ได้ทิ้งงานรับเหมาช่วงงานจากจำเลยงวดที่ออกเช็คนั้นไปแล้ว ทั้งจำเลยก็ได้เลิกสัญญากับ ส. ก่อนเช็คนั้นถึงกำหนดจ่ายเงิน กับได้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนฟ้องแล้วด้วย ฉะนั้น เช็คที่จำเลยออกให้เป็นประกันจึงเป็นอันไม่มีมูลหนี้ต่อกันระหว่างจำเลยกับ ส. แล้ว การที่โจทก์ยอมรับโอนเช็ครายพิพาทมาโดยรู้ว่าเช็คนั้นเป็นเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อประกันหนี้การรับเหมาช่วงงานก่อสร้าง และจำเลยผู้สั่งจ่ายไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ ส. ตามเช็คนั้นแล้ว โจทก์ผู้รับโอนเช็ครายพิพาทจึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คนั้นได้
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ส. ได้ทิ้งงานรับเหมาช่วงงานจากจำเลยงวดที่ออกเช็คนั้นไปแล้ว ทั้งจำเลยก็ได้เลิกสัญญากับ ส. ก่อนเช็คนั้นถึงกำหนดจ่ายเงิน กับได้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนฟ้องแล้วด้วย ฉะนั้น เช็คที่จำเลยออกให้เป็นประกันจึงเป็นอันไม่มีมูลหนี้ต่อกันระหว่างจำเลยกับ ส. แล้ว การที่โจทก์ยอมรับโอนเช็ครายพิพาทมาโดยรู้ว่าเช็คนั้นเป็นเช็คที่จำเลยออกให้เพื่อประกันหนี้การรับเหมาช่วงงานก่อสร้าง และจำเลยผู้สั่งจ่ายไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ ส. ตามเช็คนั้นแล้ว โจทก์ผู้รับโอนเช็ครายพิพาทจึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย: ศาลพิจารณาบาดแผลและเจตนาเพื่อลงโทษฐานทำร้ายร่างกาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,83 ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยฟันศีรษะผู้ตายหนึ่งที ผู้ตายวิ่งหนีไป แล้ว พ. กับพวกไล่ตามไป ทำร้ายถึงแก่ความตาย จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าบาดแผลของผู้ตายที่ศีรษะถึงอันตรายสาหัส พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 297,83 โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าผู้ตาย ส่วนข้อที่ว่าจำเลยฟันศีรษะผู้ตาย พยานโจทก์ไม่มีน้ำหนัก พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ ข้อหาเรื่องฆ่าคนเป็นอันถูกศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ฎีกาข้อเท็จจริงในข้อหานี้ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 คงฎีกาได้เฉพาะข้อหาความผิดต่อร่างกาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยถูกกล่าวหาฆ่า แต่ศาลยกฟ้องข้อหาฆ่า มอบโทษฐานทำร้ายร่างกายแทน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าคนโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 83 ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยฟันศีรษะผู้ตายหนึ่งที ผู้ตายวิ่งหนีไป แล้ว พ. กับพวกไล่ตามไปทำร้ายถึงแก่ความตาย จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าบาดแผลของผู้ตายที่ศีรษะถึงอันตรายสาหัส พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 297, 83 โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยร่วมกับพวกฆ่าผู้ตาย ส่วนข้อที่ว่าจำเลยฟันศีรษะผู้ตาย พยานโจทก์ไม่มีน้ำหนัก พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ ข้อหาเรื่องฆ่าคนเป็นอันถูกศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ฎีกาข้อเท็จจริงในข้อหานี้ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 คงฎีกาได้เฉพาะข้อหาความผิดต่อร่างกาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการสินสมรสมีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนที่ได้จากการยื่นประเมินในฐานะผู้รับประเมิน แม้ภริยาเป็นผู้รับยกให้
จำเลยเป็นผู้ยื่นประเมินภาษีโรงเรือนต่อเทศบาลสำหรับโรงเรือนอันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาจำเลย โดยมิได้ระบุว่าจำเลยกระทำการแทนผู้ใด เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมิน ยังยอมรับว่าค้างชำระค่าภาษีอยู่จริง โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือว่าการประเมินภาษีนั้นถูกต้องแล้ว โรงเรือนนั้นเป็นสินสมรสจำเลยย่อมเป็นเจ้าของร่วมในโรงเรือนนั้นด้วย จำเลยอยู่ในฐานะผู้จัดการสินบริคณห์ และได้กระทำไปในฐานะเป็นผู้รับประเมิน จึงเป็นผู้มีหน้าที่พึงชำระค่าภาษีค้างชำระนั้นให้เทศบาล จะผลักภาระการชำระค่าภาษีให้ตกแก่ภริยาจำเลยหาได้ไม่ เพราะภริยาจำเลยไม่ใช่ผู้รับประเมินซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าภาษีต่อเทศบาล
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 40วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษี เท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 40วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษี เท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนของผู้จัดการสินสมรสและเจ้าของกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้รับประเมิน
จำเลยเป็นผู้ยื่นประเมินภาษีโรงเรือนต่อเทศบาลสำหรับโรงเรือนอันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาจำเลย โดยมิได้ระบุว่าจำเลยกระทำการแทนผู้ใด เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินยังยอมรับว่าค้างชำระค่าภาษีอยู่จริง โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งถือว่าการประเมินภาษีนั้นถูกต้องแล้ว โรงเรือนนั้นเป็นสินสมรสจำเลยย่อมเป็นเจ้าของร่วมในโรงเรือนนั้นด้วย จำเลยอยู่ในฐานะผู้จัดการสินบริคณห์ และได้กระทำไปในฐานะเป็นผู้รับประเมินจึงเป็นผู้มีหน้าที่พึงชำระค่าภาษีค้างชำระนั้นให้เทศบาลจะผลักภาระการชำระค่าภาษีให้ตกแก่ภริยาจำเลยหาได้ไม่เพราะภริยาจำเลยไม่ใช่ผู้รับประเมินซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าภาษีต่อเทศบาล
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 40 วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษีเท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้งมิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 40 วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษีเท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานรัฐยักยอกเงินและการปลอมเอกสารสิทธิ: การปรับบทความผิดให้ถูกต้อง
จำเลยเป็นพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอันเป็นองค์การของรัฐ ใช้อำนาจในหน้าที่เบียดบังยักยอกเอาเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยรับไว้โดยทุจริต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 เพียงมาตราเดียว ไม่ผิดตามมาตรา 8ด้วย เพราะเป็นการเบียดบังตัวทรัพย์ที่อยู่ในหน้าที่ไว้เป็นประโยชน์ มิใช่อาศัยหน้าที่หาประโยชน์อื่นนอกเหนือจากการเบียดบังเอาทรัพย์ และกรณีดังกล่าวไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อีก
ใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ถูกทำปลอมขึ้นเพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จที่แท้จริง อันอาจนำไปเรียกเก็บเงินซ้ำอีกได้นั้น แม้จะมิได้มีการลงชื่อในช่องพนักงานเก็บเงินว่าได้รับเงินไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมเป็นเอกสารสิทธิ แต่มิใช่เอกสารราชการ จำเลยผู้ทำปลอมขึ้นต้องมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดตามมาตรา 266 และกรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 อีก
ใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ถูกทำปลอมขึ้นเพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จที่แท้จริง อันอาจนำไปเรียกเก็บเงินซ้ำอีกได้นั้น แม้จะมิได้มีการลงชื่อในช่องพนักงานเก็บเงินว่าได้รับเงินไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมเป็นเอกสารสิทธิ แต่มิใช่เอกสารราชการ จำเลยผู้ทำปลอมขึ้นต้องมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดตามมาตรา 266 และกรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานรัฐยักยอกเงินและปลอมเอกสารสิทธิ การปรับบทความผิดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยเป็นพนักงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอันเป็นองค์การของรัฐ ใช้อำนาจในหน้าที่เบียดบังยักยอกเอาเงินค่ากระแสไฟฟ้าที่จำเลยรับไว้โดยทุจริต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 4 เพียงมาตราเดียวไม่ผิดตามมาตรา 8 ด้วย เพราะเป็นการเบียดบังตัวทรัพย์ที่อยู่ในหน้าที่ไว้เป็นประโยชน์ มิใช่อาศัยหน้าที่หาประโยชน์อื่นนอกเหนือจากการเบียดบังเอาทรัพย์ และกรณีดังกล่าวไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 อีก
ใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ถูกทำปลอมขึ้น เพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จที่แท้จริง อันอาจนำไปเรียกเก็บเงินซ้ำอีกได้นั้น แม้จะมิได้มีการลงชื่อในช่องพนักงานเก็บเงินว่าได้รับเงินไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมเป็นเอกสารสิทธิแต่มิใช่เอกสารราชการ จำเลยผู้ทำปลอมขึ้นต้องมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดตามมาตรา 266 และกรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 อีก
ใบเสร็จรับเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ถูกทำปลอมขึ้น เพื่อให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จที่แท้จริง อันอาจนำไปเรียกเก็บเงินซ้ำอีกได้นั้น แม้จะมิได้มีการลงชื่อในช่องพนักงานเก็บเงินว่าได้รับเงินไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม ย่อมเป็นเอกสารสิทธิแต่มิใช่เอกสารราชการ จำเลยผู้ทำปลอมขึ้นต้องมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 การกระทำของจำเลยไม่เป็นผิดตามมาตรา 266 และกรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เชวิงบอร์ดเป็นไม้อัดประเภทหนึ่ง ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราเดียวกับไม้อัดตามกฎหมาย
เชวิงบอร์ด (SHAVINGBOARD) มีกรรมวิธีในการผลิตโดยนำเอาเศษไม้ชิ้นเล็กๆ หรือที่เรียกว่าขี้กบ มาผสมกับกาวและขี้ผึ้ง แล้วเข้าเครื่องอัดร้อนทำให้เป็นแผ่นมีความกว้างยาวตามมาตรฐานด้านละ 4 ฟุต ความหนา 6 มิลลิเมตรขึ้นไป ชื่อภาษาไทยเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่าแผ่นขี้กบอัด ในทางวิชาการถือว่าเป็นแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดหนึ่ง ฉะนั้น ไม่ว่าจะพิจารณาโดยสภาพของสินค้าสำเร็จรูปหรือโดยหลักวิชาการ แผ่นเชวิงบอร์ดย่อมจัดเข้าเป็นสินค้าไม้อัดชนิดหนึ่ง ดุจเดียวกับไม้อัดชนิดพลายวูด (PLYWOOD) ซึ่งใช้ไม้เป็นวัตถุดิบด้วยการผลิตจากการฝานท่อนซุงเป็นแผ่นบางๆ แล้วเข้าเครื่องจักรอัดด้วยกาวเป็นแผ่นเช่นเดียวกัน การตั้งชื่อสินค้าให้แตกต่างกันออกไปย่อมเป็นเรื่องของวิธีการผลิตเท่านั้น แม้เดิมตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 15) พ.ศ.2504 บัญชีที่ 1สินค้าอันดับ 37 จะระบุว่า "ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือแอสเบสต๊อสเชวิงบอร์ด" ซึ่งต้องพิกัดอัตราภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตที่มิได้เป็นผู้ส่งออกไว้อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ และต่อมาตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 บัญชีที่ 1 หมวด 4 ว่าด้วยวัสดุก่อสร้างและเครื่องเรือน (1. จะระบุไว้เพียงสั้นๆ ว่า"ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือใยหิน" โดยไม่มีชื่อสินค้าเชวิงบอร์ดเหมือนเดิมก็ตาม แต่เมื่อเชวิงบอร์ดมีคุณลักษณะเป็นไม้อัด ก็ต้องเสียภาษีการค้าอย่างเดียวกับไม้อัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เชวิงบอร์ดเป็นไม้อัดเสียภาษีการค้าอัตราเดิม แม้ชื่อสินค้าเปลี่ยนไป
เชวิงบอร์ด (SHAVING BOARD) มีกรรมวิธีในการผลิตโดยนำเอาเศษไม้ชิ้นเล็ก ๆ หรือที่เรียกว่าขี้กบ มาผสมกับกาวและขี้ผึ้งแล้วเข้าเครื่องอัดร้อนทำให้เป็นแผ่นมีความกว้างยาวตามมาตรฐานด้านละ 4 ฟุต ความหนา 6 มิลลิเมตรขึ้นไป ชื่อภาษาไทยเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่าแผ่นขี้กบอัด ในทางวิชาการถือว่าเป็นแผ่นชิ้นไม้อัดชนิดหนึ่ง ฉะนั้น ไม่ว่าจะพิจารณาโดยสภาพของสินค้าสำเร็จรูปหรือโดยหลักวิชาการ แผ่นเชวิงบอร์ดย่อมจัดเข้าเป็นสินค้าไม้อัดชนิดหนึ่ง ดุจเดียวกับไม้อัดชนิดพลายวูด (PLYWOOD) ซึ่งใช้ไม้เป็นวัตถุดิบด้วยการผลิตจากการฝานท่อนซุงเป็นแผ่นบางๆแล้วเข้าเครื่องจักรอัดด้วยกาวเป็นแผ่นเช่นเดียวกัน การตั้งชื่อสินค้าให้แตกต่างกันออกไปย่อมเป็นเรื่องของวิธีการผลิตเท่านั้น แม้เดิมตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2504 บัญชีที่ 1 สินค้าอันดับ 37 จะระบุว่า "ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือแอสเบสต๊อสเชวิงบอร์ด" ซึ่งต้องพิกัดอัตราภาษีการค้าสำหรับผู้ผลิตที่มิได้เป็นผู้ส่งออกไว้อัตราร้อยละ 5 ของรายรับ และต่อมาตามพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 บัญชีที่ 1 หมวด 4 ว่าด้วยวัสดุก่อสร้างและเครื่องเรือน (1) จะระบุไว้เพียงสั้น ๆ ว่า "ไม้อัด ไม้อัดผสมซีเมนต์หรือใยหิน" โดยไม่มีชื่อสินค้าเชวิงบอร์ดเหมือนเดิมก็ตาม แต่เมื่อเชวิงบอร์ดมีคุณลักษณะเป็นไม้อัด ก็ต้องเสียภาษีการค้าอย่างเดียวกับไม้อัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางถนน: การจอดรถผิดกฎหมายและการประมาทของผู้ขับขี่
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 23 ซึ่งบัญญัติว่า 'เวลากลางคืนรถใดจอดในทาง ณ ที่ซึ่งไม่มีแสงสว่างส่องไปถึงรถนั้นให้เห็นได้ในระยะไกลห้าสิบเมตรต้องเปิดหรือจุดไฟให้มีแสงพอให้เห็นว่ารถนั้นจอดอยู่' นั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคลอื่น และการปฏิบัติตามกฎหมายนี้ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ขับรถ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจะมีผู้มาช่วยเหลือในการจอดรถนั้นหรือไม่
รถของจำเลยบรรทุกหินไปส่ง ระหว่างทางเพลารถขาด รถจอดอยู่ริมถนนด้านซ้ายท้ายรถด้านขวาล้ำออกไปในผิวจราจรประมาณ1 เมตร ยังเหลือผิวจราจรอีก 6 เมตร ซึ่งรถสามารถแล่นสวนกันได้แม้จะมีเจ้าพนักงานตำรวจช่วยลากรถของจำเลยไปจอดดังกล่าวก็ไม่เป็นเหตุให้ผู้ขับรถของจำเลยพ้นจากหน้าที่ที่จะต้องจัดการให้มีแสงสว่างพอให้เห็นรถที่จอดนั้นได้ในเวลากลางคืน เมื่อรถของโจทก์แล่นมาชนท้ายรถของจำเลยส่วนที่ล้ำออกไป เป็นเหตุให้รถเสียหายและมีคนได้รับอันตราย เหตุที่เกิดขึ้นย่อมเนื่องมาจากความผิดของผู้ขับรถจำเลยที่ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายส่วนหนึ่ง แต่คนขับรถของโจทก์ซึ่งเห็นรถที่แล่นสวนมาใช้ไฟสูง มองไม่เห็นทางข้างหน้า แทนที่จะพยายามหยุดรถเพื่อความปลอดภัยกลับขับรถต่อไปด้วยความเร็วสูงจนชนท้ายรถจำเลย ย่อมเป็นความประมาทของคนขับรถโจทก์ด้วย การกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422ประกอบด้วยมาตรา 223
รถของจำเลยบรรทุกหินไปส่ง ระหว่างทางเพลารถขาด รถจอดอยู่ริมถนนด้านซ้ายท้ายรถด้านขวาล้ำออกไปในผิวจราจรประมาณ1 เมตร ยังเหลือผิวจราจรอีก 6 เมตร ซึ่งรถสามารถแล่นสวนกันได้แม้จะมีเจ้าพนักงานตำรวจช่วยลากรถของจำเลยไปจอดดังกล่าวก็ไม่เป็นเหตุให้ผู้ขับรถของจำเลยพ้นจากหน้าที่ที่จะต้องจัดการให้มีแสงสว่างพอให้เห็นรถที่จอดนั้นได้ในเวลากลางคืน เมื่อรถของโจทก์แล่นมาชนท้ายรถของจำเลยส่วนที่ล้ำออกไป เป็นเหตุให้รถเสียหายและมีคนได้รับอันตราย เหตุที่เกิดขึ้นย่อมเนื่องมาจากความผิดของผู้ขับรถจำเลยที่ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายส่วนหนึ่ง แต่คนขับรถของโจทก์ซึ่งเห็นรถที่แล่นสวนมาใช้ไฟสูง มองไม่เห็นทางข้างหน้า แทนที่จะพยายามหยุดรถเพื่อความปลอดภัยกลับขับรถต่อไปด้วยความเร็วสูงจนชนท้ายรถจำเลย ย่อมเป็นความประมาทของคนขับรถโจทก์ด้วย การกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422ประกอบด้วยมาตรา 223