พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสังขารานุเคราะห์เมื่อผู้รับประโยชน์เสียชีวิตก่อนสมาชิก: สิทธิทายาทและหน้าที่ของหน่วยงาน
ผู้ตายเป็นสมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขระบุชื่อ ส. บิดาเป็นผู้รับประโยชน์เงินสังขารานุเคราะห์ไว้ ตามข้อบังคับ ย่อมมีผลว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข โดยองค์การดังกล่าวได้ทำสัญญาว่า จะชำระหนี้แก่ ส. บุคคลภายนอกสิทธิของ ส. จะเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น เมื่อ ส. ตายเสียก่อนโดยมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาสิทธิของ ส.ในเงินสังขารานุเคราะห์จึงยังไม่เกิดขึ้นและไม่อาจตกทอดเป็นทรัพย์มรดกไปยังทายาทของ ส.
เงินสังขารานุเคราะห์เป็นเงินที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับหลังจากที่สมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขถึงแก่ความตายแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่สมาชิกผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 132/2507)
ตามข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อสมาชิกตาย ให้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์แก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งสมาชิกผู้ตายได้ระบุชื่อไว้ แต่เมื่อผู้รับประโยชน์นั้นตายก่อนสมาชิก ย่อมไม่มีตัวผู้รับประโยชน์ที่จะรับเงินสังขารานุเคราะห์ได้ตามข้อบังคับ แม้เงินสังขารานุเคราะห์จะมิใช่ทรัพย์มรดกของสมาชิกผู้ถึงแก่ความตาย แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับ เงินสังขารานุเคราะห์ดังกล่าวจึงควรจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกผู้ตาย เสมือนหนึ่งทรัพย์มรดก
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยให้การว่า ได้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่ทายาทของผู้รับประโยชน์เป็นการถูกต้องตามข้อบังคับแล้ว เท่ากับรับว่าองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข จะมายกข้อโต้แย้งขึ้นในชั้นฎีกาว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่ ต้องรับผิดจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ หาได้ไม่
(วรรคหนึ่งถึงสามวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่23/2515)
เงินสังขารานุเคราะห์เป็นเงินที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับหลังจากที่สมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขถึงแก่ความตายแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่สมาชิกผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 132/2507)
ตามข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อสมาชิกตาย ให้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์แก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งสมาชิกผู้ตายได้ระบุชื่อไว้ แต่เมื่อผู้รับประโยชน์นั้นตายก่อนสมาชิก ย่อมไม่มีตัวผู้รับประโยชน์ที่จะรับเงินสังขารานุเคราะห์ได้ตามข้อบังคับ แม้เงินสังขารานุเคราะห์จะมิใช่ทรัพย์มรดกของสมาชิกผู้ถึงแก่ความตาย แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับ เงินสังขารานุเคราะห์ดังกล่าวจึงควรจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกผู้ตาย เสมือนหนึ่งทรัพย์มรดก
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยให้การว่า ได้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่ทายาทของผู้รับประโยชน์เป็นการถูกต้องตามข้อบังคับแล้ว เท่ากับรับว่าองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข จะมายกข้อโต้แย้งขึ้นในชั้นฎีกาว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่ ต้องรับผิดจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ หาได้ไม่
(วรรคหนึ่งถึงสามวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่23/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสังขารานุเคราะห์: การจ่ายเงินให้ทายาทเมื่อผู้รับประโยชน์และสมาชิกถึงแก่กรรมก่อนเวลาอันควร
ผู้ตายเป็นสมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขระบุชื่อ ส. บิดาเป็นผู้รับประโยชน์เงินสังขารานุเคราะห์ไว้ ตามข้อบังคับ ย่อมมีผลว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข โดยองค์การดังกล่าวได้ทำสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่ ส. บุคคลภายนอกสิทธิของ ส. จะเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น เมื่อ ส. ตายเสียก่อนโดยมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาสิทธิของ ส. ในเงินสังขารานุเคราะห์จึงยังไม่เกิดขึ้นและไม่อาจตกทอดเป็นทรัพย์มรดกไปยังทายาทของ ส.
เงินสังขารานุเคราะห์เป็นเงินที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับหลังจากที่สมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขถึงแก่ความตายแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่สมาชิกผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 132/2507)
ตามข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อสมาชิกตาย ให้จ่าย เงินสังขารานุเคราะห์แก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งสมาชิกผู้ตายได้ระบุชื่อไว้แต่เมื่อผู้รับประโยชน์นั้นตายก่อนสมาชิก ย่อมไม่มีตัวผู้รับประโยชน์ที่จะรับเงินสังขารานุเคราะห์ได้ตามข้อบังคับ แม้เงินสังขารานุเคราะห์จะมิใช่ทรัพย์มรดกของสมาชิกผู้ถึงแก่ความตายแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับเงินสังขารานุเคราะห์ดังกล่าวจึงควรจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกผู้ตาย เสมือนหนึ่งทรัพย์มรดก
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยให้การว่า ได้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่ทายาทของผู้รับประโยชน์เป็นการถูกต้องตามข้อบังคับแล้วเท่ากับรับว่าองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข จะมายกข้อโต้แย้งขึ้นในชั้นฎีกาว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่ ต้องรับผิดจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ หาได้ไม่
(วรรคหนึ่งถึงสามวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่23/2515)
เงินสังขารานุเคราะห์เป็นเงินที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับหลังจากที่สมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขถึงแก่ความตายแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่สมาชิกผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 132/2507)
ตามข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อสมาชิกตาย ให้จ่าย เงินสังขารานุเคราะห์แก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งสมาชิกผู้ตายได้ระบุชื่อไว้แต่เมื่อผู้รับประโยชน์นั้นตายก่อนสมาชิก ย่อมไม่มีตัวผู้รับประโยชน์ที่จะรับเงินสังขารานุเคราะห์ได้ตามข้อบังคับ แม้เงินสังขารานุเคราะห์จะมิใช่ทรัพย์มรดกของสมาชิกผู้ถึงแก่ความตายแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับเงินสังขารานุเคราะห์ดังกล่าวจึงควรจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกผู้ตาย เสมือนหนึ่งทรัพย์มรดก
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยให้การว่า ได้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่ทายาทของผู้รับประโยชน์เป็นการถูกต้องตามข้อบังคับแล้วเท่ากับรับว่าองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข จะมายกข้อโต้แย้งขึ้นในชั้นฎีกาว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่ ต้องรับผิดจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ หาได้ไม่
(วรรคหนึ่งถึงสามวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่23/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขายแสตมป์ปลอมมีความผิดอาญา แม้ไม่ได้เป็นผู้ปลอมแปลง
ผู้ใช้ ขาย เสนอขาย แลกเปลี่ยนหรือเสนอแลกเปลี่ยนซึ่งแสตมป์ ซึ่งรู้ว่าปลอมแม้จะมิได้ทำปลอมขึ้นเองก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 257
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่มาจากการช่วยเหลือด้านกฎหมาย: การนำสืบสัญญาเดิมเพื่อพิสูจน์เจตนาและส่วนได้เสีย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายในการเป็นความให้จำเลยโดยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะขายที่ดินที่เป็นความให้โจทก์ในราคาที่โจทก์ต้องออกค่าใช้จ่ายไป ในที่สุดจำเลยได้ที่พิพาทกลับคืนมาโจทก์จำเลยจึงทำหนังสือสัญญาซื้อขายฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายน2509 โดยจำเลยขายที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยบิดพลิ้วโจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงและสัญญาดังกล่าวศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การกระทำของโจทก์เป็นเรื่องแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน โดยที่โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในมูลคดีนั้นเลยข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะ โจทก์อุทธรณ์ว่าความจริงก่อนที่จำเลยจะเป็นความกับผู้มีชื่อ โจทก์ได้วางเงินมัดจำซื้อที่ดินแปลงพิพาทจากจำเลยตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2509โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและเมื่อจำเลยได้ที่พิพาทกลับคืนมาโจทก์จำเลยจึงได้นำสัญญาฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม มาเขียนใหม่เป็นสัญญาฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายน และโจทก์ประสงค์จะนำสืบถึงสัญญาฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม เช่นนี้ จึงเห็นได้ว่าเป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่า ก่อนที่จะมีการทำสัญญาฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายนโจทก์จำเลยได้เคยทำสัญญาฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม กันไว้ ซึ่งสัญญาฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคมนี้ก็ถือได้ว่าเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบตามความในมาตรา 87(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์จึงนำสืบสัญญาฉบับนี้ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบสัญญาเดิมเพื่อยืนยันสัญญาใหม่: การแสวงหาประโยชน์จากการเป็นความและผลกระทบต่อโมฆะของสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายในการเป็นความให้จำเลยโดยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะขายที่ดินที่เป็นความให้โจทก์ในราคาที่โจทก์ต้องออกค่าใช้จ่ายไป ในที่สุดจำเลยได้ที่พิพาทกลับคืนมาโจทก์จำเลยจึงทำหนังสือสัญญาซื้อขายฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2509 โดยจำเลยขายที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยบิดพลิ้วโจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงและสัญญาดังกล่าวศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การกระทำของโจทก์เป็นเรื่องแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน โดยที่โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในมูลคดีนั้นเลย ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะ โจทก์อุทธรณ์ว่าความจริงก่อนที่จำเลยจะเป็นความกับผู้มีชื่อ โจทก์ได้วางเงินมัดจำซื้อที่ดินแปลงพิพาทจากจำเลยตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2509 โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและเมื่อจำเลยได้ที่พิพาทกลับคืนมา โจทก์จำเลยจึงได้นำสัญญาฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม มาเขียนใหม่เป็นสัญญาฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายน และโจทก์ประสงค์จะนำสืบถึงสัญญาฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม เช่นนี้ จึงเห็นได้ว่าเป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่า ก่อนที่จะมีการทำสัญญาฉบับลงวันที่ 3 พฤศจิกายนโจทก์จำเลยได้เคยทำสัญญาฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคม กันไว้ ซึ่งสัญญาฉบับลงวันที่ 5 พฤษภาคมนี้ก็ถือได้ว่าเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบตามความในมาตรา 87(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์จึงนำสืบสัญญาฉบับนี้ได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2515)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อก่อให้เกิดและระงับสิทธิเรียกร้องทางอาญา
หนังสือค่าขนส่งสินค้า และค่าเช่าเรือบรรทุกสินค้าล่วงเวลากับใบเสร็จรับเงินค่าขนส่งสินค้าและค่าเช่าเรือบรรทุกสินค้าอันเป็นหลักฐานในการก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้อง และระงับซึ่งสิทธิเรียกร้องตามลำดับ เป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การปลอมเป็นความผิดตามมาตรา 265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและการทำร้ายร่างกาย เจ้าพนักงานได้รับอันตรายหรือไม่?
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยจำเลยที่ 1 ชกพลตำรวจ อ. ที่หน้าอกและจำเลยทั้งสองชกต่อยพลตำรวจ อ. กับพวก นั้น. เมื่อไม่ปรากฏว่า เจ้าพนักงานตำรวจได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง,83 เท่านั้น โดยไม่มีความผิดตามมาตรา 295,296,83 อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงาน กรณีจำเลยร่วมกันกระทำความผิด แต่มีบทลงโทษต่างกัน
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยจำเลยที่ 1 ชกพลตำรวจ อ. ที่หน้าอกและจำเลยทั้งสองชกต่อยพลตำรวจ อ. กับพวก นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า เจ้าพนักงานตำรวจได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง, 83 เท่านั้น โดยไม่มีความผิดตามมาตรา 295, 296, 83 อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีเช่าทรัพย์สินราคาไม่สูง และผลผูกพันสัญญาเช่าเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละสองพันบาท และเรียกค่าเสียหายไม่เกินสองพันบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัย ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์หากจำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งจะอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณา แม้คดีที่โจทก์ฟ้องต้องห้ามคดีที่จำเลยฟ้องแย้งก็อาจไม่ต้องห้าม
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดระยะเวลาเช่า 12 ปี ซึ่งผู้เช่าเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้เต็ม 12 ปีตามสัญญา แต่มีผลใช้บังคับผู้รับโอนตึกต่อไปได้เพียง 3 ปี เพราะมิได้จดทะเบียนเว้นแต่ผู้รับโอนนั้นจะได้ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิมต่อไปอันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากผู้รับโอนซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต อ้างข้อเท็จจริงที่หาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตต่างกับที่อ้างในศาลชั้นต้นแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์มาและศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าได้ยกขึ้นว่ามาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ เป็นฎีกาต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งจะอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณา แม้คดีที่โจทก์ฟ้องต้องห้ามคดีที่จำเลยฟ้องแย้งก็อาจไม่ต้องห้าม
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดระยะเวลาเช่า 12 ปี ซึ่งผู้เช่าเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้เต็ม 12 ปีตามสัญญา แต่มีผลใช้บังคับผู้รับโอนตึกต่อไปได้เพียง 3 ปี เพราะมิได้จดทะเบียนเว้นแต่ผู้รับโอนนั้นจะได้ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิมต่อไปอันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากผู้รับโอนซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต อ้างข้อเท็จจริงที่หาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตต่างกับที่อ้างในศาลชั้นต้นแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์มาและศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าได้ยกขึ้นว่ามาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ เป็นฎีกาต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีเช่าทรัพย์สินราคาเช่าต่ำ และผลของสัญญาเช่าที่ไม่ได้จดทะเบียนต่อบุคคลภายนอก
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละสองพันบาท และเรียกค่าเสียหายไม่เกินสองพันบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัย ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์หากจำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้ง จะอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณา แม้คดีที่โจทก์ฟ้องต้องห้ามคดีที่จำเลยฟ้องแย้งก็อาจไม่ต้องห้าม
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดระยะเวลาเช่า 12 ปี ซึ่งผู้เช่าเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้เต็ม 12 ปีตามสัญญาแต่มีผลใช้บังคับผู้รับโอนตึกต่อไปได้เพียง 3 ปี เพราะมิได้จดทะเบียน เว้นแต่ผู้รับโอนนั้นจะได้ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิมต่อไปอันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากผู้รับโอนซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต อ้างข้อเท็จจริงที่ หาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตต่างกับที่อ้างในศาลชั้นต้นแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์มาและศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าได้ยกขึ้นว่ามาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ เป็นฎีกาต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้ง จะอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณา แม้คดีที่โจทก์ฟ้องต้องห้ามคดีที่จำเลยฟ้องแย้งก็อาจไม่ต้องห้าม
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดระยะเวลาเช่า 12 ปี ซึ่งผู้เช่าเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้เต็ม 12 ปีตามสัญญาแต่มีผลใช้บังคับผู้รับโอนตึกต่อไปได้เพียง 3 ปี เพราะมิได้จดทะเบียน เว้นแต่ผู้รับโอนนั้นจะได้ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิมต่อไปอันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากผู้รับโอนซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต อ้างข้อเท็จจริงที่ หาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตต่างกับที่อ้างในศาลชั้นต้นแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์มาและศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าได้ยกขึ้นว่ามาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ เป็นฎีกาต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย