คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3715/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีบำรุงท้องที่: หนี้เกิดขึ้นเมื่อแจ้งประเมิน, ฟ้องได้หลังปลดล้มละลาย, เงินเพิ่มไม่ต้องงด
แม้ตาม พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 มาตรา 7 จะบัญญัติให้ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคมของปีใด มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับปีนั้นจากราคาปานกลางของที่ดิน โดยมาตรา 24 บัญญัติให้เจ้าของที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดินเป็นรายแปลงตามแบบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดก็ตาม แต่ตามความในหมวด 5 เรื่องการชำระภาษีบำรุงท้องที่ ให้เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีบำรุงท้องที่และแจ้งการประเมินภายในเดือนมีนาคมแรกหลังจากการตีราคาปานกลางของที่ดิน และให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเดือนเมษายนของทุกปี แต่ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ได้รับแจ้งการประเมินภายหลังเดือนมีนาคมตามมาตรา 33 วรรคสาม ให้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินตามมาตรา 35 แสดงให้เห็นว่าหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่เกิดขึ้นเมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินและแจ้งการประเมินให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ทราบแล้ว โจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังจำเลยให้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ในที่ดินพิพาท ในปีภาษี 2550 ถึงปีภาษี 2559 พร้อมเงินเพิ่มรวม 1,711,718 บาท โดยจำเลยได้รับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 หนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่จึงเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ 21 มีนาคม 2558 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งปลดจำเลยจากล้มละลายแล้ว โจทก์จึงสามารถฟ้องจำเลยเป็นคดีต่อศาลภาษีอากรกลางได้โดยไม่จำต้องฟ้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือยื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ - เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระภาษีแทนลูกหนี้
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จำเลยที่ 2) แต่ผู้เดียว โจทก์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้อีก ปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้จำเลยที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แต่เมื่อ จำเลยที่ 1 ยังเป็นเจ้าของโรงเรือนและที่ดิน ซึ่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 บัญญัติให้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายดังกล่าวทุกปี จำเลย ที่ 2 ในฐานะ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ เอาเงินของจำเลย ที่ 1 ชำระค่าภาษีดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีจำเลยที่ 2 มีหนังสือตอบว่า โจทก์ ใน ฐานะเจ้าหนี้จะบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ก็แต่โดยการขอรับ ชำระหนี้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีแทนจำเลยที่ 1เช่นนี้ หนังสือตอบของจำเลยที่ 2 เป็นเพียง ความเห็นของจำเลยที่ 2ในปัญหาว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ ค่าภาษีจะใช้สิทธิเรียก ค่าภาษี ได้โดยวิธีใด หาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับ ค่าภาษีไม่ ทั้งคำวินิจฉัยดังกล่าวก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้อง คัดค้าน ต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาล ในคดีล้มละลายภายใน 14 วัน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 146.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อการฟ้องร้องเรียกค่าภาษี และหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการชำระหนี้แทนลูกหนี้
ปรากฏตามคำฟ้องว่า ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1เด็ดขาดก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมหมดอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ตกเป็นของจำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ภาษีอากรได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 เมื่อที่ดินและโรงเรือนของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 มีอำนาจจัดการนั้นมี พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7,35บัญญัติให้ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีหน้าที่เสียภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปีหรือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินแล้วแต่กรณี กับมี พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา8,38,40 บัญญัติให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินชำระค่าภาษีปีละครั้งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมิน จำเลยที่ 2จึงมีหน้าที่ที่จะต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่และค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง แม้เป็นหนี้ที่เกิดภายหลังจากศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วก็ตาม การที่เจ้าพนักงานของกรุงเทพมหานครโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มีหนังสือตอบว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะบังคับสิทธิเรียกร้องได้ก็แต่โดยการขอรับชำระหนี้ จำเลยที่ 2ไม่จำต้องยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีแทนจำเลยที่ 1 นั้น หนังสือตอบของจำเลยที่ 2 เป็นเพียงความเห็นของจำเลยที่ 2 ในปัญหาว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจะใช้สิทธิเรียกค่าภาษีดังกล่าวได้โดยวิธีใด ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยเพื่อให้ศาลสั่งกลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3712/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ของทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครอง แม้เกิดหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังจำเลย ซึ่งเป็น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อให้ชำระภาษีบำรุงท้องที่ประจำปีพ.ศ. 2531 ของลูกหนี้ตามแบบแจ้งการประเมิน ภ.บ.ท.9 เป็นการปฏิบัติตามวิธีการ ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508มาตรา 48 เพื่อให้จำเลยซึ่งมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้อุทธรณ์โต้แย้งการประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ ตามมาตรา 49 หากเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 นอกจากนี้พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 105 ก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้นั้นต่อศาลหาได้ให้แจ้งความเห็นไปยังผู้ขอรับชำระหนี้ไม่ ทั้งความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะศาลอาจวินิจฉัย เป็นอย่างอื่นได้ ความเห็นหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ทำให้ผู้ขอรับชำระหนี้เสียหาย การที่จำเลยมีหนังสือไปยังผู้อำนวยการเขตแจ้งว่าหนี้ภาษีบำรุงท้องที่ประจำปี พ.ศ. 2531 เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่อาจขอรับชำระได้ เท่ากับเป็นเพียงการ แจ้งความคิดเห็นของจำเลยไปยังผู้อำนวยการเขตเท่านั้น ไม่มีผล ผูกพันให้โจทก์จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของจำเลยต่อ ศาลในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 146 การที่จำเลย ไม่ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่และเงินเพิ่มตามกฎหมายแก่โจทก์ เป็นการ โต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าภาษีดังกล่าว จากจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร และวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้มีอยู่ในขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดนั้น จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีหน้าที่เข้าไปจัดการ เมื่อจำเลยยังจัดการ ไม่เสร็จโดยมิได้จำหน่ายที่ดินดังกล่าวแล้วเกิดหนี้ค่าภาษีบำรุง ท้องที่ขึ้นตามกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินที่จำเลยมีหน้าที่จัดการ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่แทนลูกหนี้แก่โจทก์ และเมื่อการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้อง และชอบด้วยกฎหมายแล้วดังนั้นจำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่นั้นแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่แม้หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ทุกปี ส. ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดแล้วแต่ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ย่อมต้องมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ หนี้ค่าภาษีที่พิพาทเป็นหนี้ค่าภาษีที่เกิดขึ้นภายหลังที่ ส. ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วส. จึงไม่สามารถจัดการโดยตนเองได้ จะต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 เมื่อหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังจากถูกพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับภาษีรายนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้รับผิดได้ส่วนโจทก์จะได้รับชำระหนี้อย่างไร เป็นเรื่องชั้นบังคับคดีไม่ใช่เป็นกรณีที่จะนำมาอ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่หลังพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจดำเนินการแทนลูกหนี้
การที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ยังคงเป็นเจ้าของที่ดินอยู่นั้น ย่อมมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ แต่ไม่อาจจัดการทรัพย์สินโดยตนเองได้ จะต้องดำเนินการแทนโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 หนี้ค่าภาษีที่เกิดขึ้นภายหลังลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วการที่โจทก์จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 กำหนดไว้ย่อมทำไม่ได้ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 มิได้บัญญัติห้ามฟ้องเกี่ยวกับหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่และเงินเพิ่มซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีหลังล้มละลาย: เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องได้ แม้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังพิทักษ์ทรัพย์
บริษัทลูกหนี้ถูก พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ในระหว่างนั้น ย่อมต้อง มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มิได้กำหนดมิให้ฟ้องเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดขึ้นโดย ผลของกฎหมายหลังถูก พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซึ่ง เป็นหนี้ที่ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ได้ ภายในเวลาตาม ที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ กำหนดไว้ การเกิดหนี้ขึ้นโดย ผลของกฎหมายเช่นนี้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการแทนลูกหนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับภาษีรายนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้รับผิดได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีบำรุงท้องที่หลังล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระหนี้ตามกฎหมาย
บริษัท ฉ.ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดวันที่ 27 กุมภาพันธ์2530 ประกาศหนังสือพิมพ์ลงวันที่ 24 มีนาคม 2530ประกาศราชกิจจานุเบกษาวันที่ 7 เมษายน 2530 บริษัท ฉ. เป็นหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่ ปี พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังบริษัท ฉ.ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดแล้ว โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ไม่ทัน แต่ พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ฯ มาตรา 7กำหนดให้ผู้เป็นเจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคม ของปีใด มีหน้าที่สำหรับปีนั้นแสดงว่าผู้เป็นเจ้าของที่ดินต้องเสียภาษีที่ดินทุกปีเมื่อบริษัท ฉ. ยังเป็นเจ้าของที่ดินก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษีกรณีนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเข้าดำเนินการชำระหนี้ภาษี เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้รับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีบำรุงท้องที่หลังล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระแทนลูกหนี้ แม้เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังพิทักษ์ทรัพย์
บริษัทลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ยังเป็นเจ้าของที่ดินอยู่ในระหว่างนั้น ย่อมต้องมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มิได้กำหนดมิให้ฟ้องเกี่ยวกับหนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ได้ภายในเวลาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ กำหนดไว้ การเกิดหนี้ขึ้นโดยผลของกฎหมายเช่นนี้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องดำเนินการแทนลูกหนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกี่ยวกับภาษีรายนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้รับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ต้องใช้ผลการใช้ที่ดินในปีที่เรียกเก็บภาษี มิใช่ปีที่ล่วงมาแล้ว การประเมินผิดที่ดินให้เพิกถอนได้
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 ได้กำหนดให้เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของอยู่ในวันที่ 1 มกราคมของปีใด เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปีนั้นตามอัตราของราคาปานกลางของที่ดินที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ แต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบการกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกด้วยตนเองแล้วให้เสียภาษีอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท มิใช่ให้ถือเอาผลของการใช้ที่ดินในปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นเกณฑ์คำนวณภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น การเรียกเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในปีใด ก็ต้องถือเอาการใช้ที่ดินของเจ้าของที่ดินในปีนั้นเป็นเกณฑ์คำนวณภาษี
ที่ดินที่จำเลยแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าไม่มีการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินของโจทก์ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินเสียได้โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าวหรือไม่
of 3