คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แผ้ว ศิวะบวร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าเดิมด้วยบันทึกเพิ่มเติม และการโอนสิทธิการเช่าตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
สัญญาเช่าฉบับเดิมห้ามมิให้โอนสิทธิการเช่า หรือให้เช่าช่วงหรือให้ผู้อื่นเข้าครอบครองสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาตจากจำเลยผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาโจทก์(ผู้เช่า) กับจำเลยได้ทำบันทึกเพิ่มเติมสัญญาเช่าฉบับเดิม โดยกำหนดข้อตกลงกันขึ้นใหม่ ให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าได้โดยต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเสียก่อนและในกรณีโอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่น นอกจากผู้สืบสันดานหรือบุตรของผู้สืบสันดานของผู้เช่าแล้วผู้เช่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน.หรือการเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าภายในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้แล้วแต่อัธยาศัยของผู้ให้เช่า ดังนี้การที่โจทก์ (ผู้เช่า) ขอโอนสิทธิการเช่าให้นางน้อย แม้ให้นางน้อยเข้าอยู่ในสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาต จึงไม่ผิดเงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าเพิ่มเติม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าเดิมด้วยบันทึกเพิ่มเติม และสิทธิในการโอนสิทธิเช่าโดยมีค่าธรรมเนียม
สัญญาเช่าฉบับเดิมห้ามมิให้โอนสิทธิการเช่าหรือให้เช่าช่วงหรือให้ผู้อื่นเข้าครอบครองสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาตจากจำเลยผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาโจทก์ (ผู้เช่า) กับจำเลยได้ทำบันทึกเพิ่มเติมสัญญาเช่าฉบับเดิม โดยกำหนดข้อตกลงกันขึ้นใหม่ ให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าได้โดยต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเสียก่อนและในกรณีโอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่น นอกจากผู้สืบสันดานหรือบุตรของผู้สืบสันดานของผู้เช่าแล้วผู้เช่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนหรือการเปลี่ยนแปลงสัญญาเช่าภายในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้แล้วแต่อัธยาศัยของผู้ให้เช่าดังนี้การที่โจทก์ (ผู้เช่า) ขอโอนสิทธิการเช่าให้นางน้อย แม้ให้นางน้อยเข้าอยู่ในสถานที่เช่าก่อนได้รับอนุญาต จึงไม่ผิดเงื่อนไขแห่งสัญญาเช่าเพิ่มเติม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีลูกหนี้ล้มละลายและการสะดุดหยุดอายุความจากคำขอรับชำระหนี้
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง และต่อมาได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเนื่องเกี่ยวโยงกัน เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 แม้ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีที่ฟ้องนั้นเสีย จำเลยก็ไม่อาจยกอายุความขึ้นใช้ยันโจทก์ได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 25ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาคดีไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ มิใช่มีอำนาจสั่งงดการพิจารณาไว้อย่างเดียวโจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยที่ 1 ต่อมาศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดในคดีอื่นและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องสอบสวนและทำความเห็นเสนอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 105,106เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ไว้ในคดีล้มละลายด้วย การพิจารณาคดีของจำเลยที่ 1ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 1 เสียได้ ตามมาตรา 25 ตอนท้าย คำสั่งจำหน่ายคดีเช่นนี้มิใช่สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132
ระหว่างที่คดีโจทก์อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแม้โจทก์จะขอถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยชอบแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะยกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง และเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ต่อไป ตามคำร้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2222/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายคดีลูกหนี้ล้มละลาย: ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการแล้ว แม้เจ้าหนี้จะถอนคำขอรับชำระหนี้
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง และ ต่อมาได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต่อเนื่องเกี่ยวโยงกัน เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173แม้ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีที่ฟ้องนั้นเสีย จำเลยก็ไม่อาจยกอายุความขึ้นใช้ยันโจทก์ได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 25ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาคดีไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ มิใช่มีอำนาจสั่งงดการพิจารณาไว้อย่างเดียวโจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลยที่ 1 ต่อมาศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดในคดีอื่นและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องสอบสวนและทำความเห็นเสนอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 105, 106เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ไว้ในคดีล้มละลายด้วย การพิจารณาคดีของจำเลยที่ 1ต่อไปจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลมีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 1 เสียได้ ตามมาตรา 25 ตอนท้าย คำสั่งจำหน่ายคดีเช่นนี้มิใช่สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132
ระหว่างที่คดีโจทก์อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแม้โจทก์จะขอถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยชอบแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะยกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง และเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ต่อไป ตามคำร้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางและเจตนาลวงในสัญญากู้ยืมและค้ำประกัน การพิสูจน์เพื่อแสดงเจตนาที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินบริษัท บ. โดยมีจำเลยที่ เป็นผู้ค้ำประกัน คู่สัญญากู้อยู่ว่ามิได้มีการกู้และค้ำประกันตามนั้น ความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามสัญญาอันแสดงเจตนาลวงนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 สัญญากู้อันถูกอำพรางไว้นั้น จำเลยที่ 2ก็ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะจำเลยที่ 2 ทำไปในฐานะเป็นทายาทของกองมรดก ส. ซึ่งมีอำนาจจัดการกู้เงินเพื่อประโยชน์ของกองมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1745 ประกอบด้วยมาตรา 1358
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า ความจริงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ได้ตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไปขอกู้เงินจากบริษัท บ. ซึ่งที่ประชุมของบริษัททราบดีว่ากองมรดกของ ส. เป็นผู้กู้ แต่ให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมอำพราง จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ มิใช่เป็นผู้ค้ำประกัน ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะกรณีเป็นเรื่องนิติกรรมอำพราง ซึ่งมาตรา 94 ไม่ตัดสิทธิจำเลยในอันที่จะนำสืบแสดงว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง มาตรา 94 ก็ห้ามแต่เฉพาะเรื่องการนำพยานบุคคลเข้ามาสืบแทนเอกสารเท่านั้นไม่ได้ห้ามในการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยเอกสาร โดยมีการสืบพยานบุคคลประกอบข้อความและลายมือชื่อในเอกสารนั้น
จำเลยเพียงแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกาว่า ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น ไม่มีเหตุอันสมควรชอบที่โจทก์จะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และจำเลยจะฎีกาในเรื่องดุลพินิจเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมโดยเฉพาะไม่ได้ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็อาจสั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ในฐานะที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง สัญญาซื้อหุ้น และการรับผิดในหนี้สิน กรณีผู้กู้ตัวจริงไม่ใช่ผู้ลงนามในสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินบริษัท บ. โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน คู่สัญญารู้อยู่ว่ามิได้มีการกู้และค้ำประกันตามนั้น ความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามสัญญาอันแสดงเจตนาลวงนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 สัญญากู้อันถูกอำพรางไว้นั้น จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะจำเลยที่ 2 ทำไปในฐานะเป็นทายาทของกองมรดก ส.ซึ่งมีอำนาจจัดการกู้เงินเพื่อประโยชน์ของกองมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1745 ประกอบด้วยมาตรา 1358
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า ความจริงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ได้ตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไปขอกู้เงินจากบริษัท บ.ซึ่งที่ประชุมของบริษัททราบดีว่ากองมรดกของ ส. เป็นผู้กู้แต่ให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมอำพรางจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ มิใช่เป็นผู้ค้ำประกัน ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะกรณีเป็นเรื่องนิติกรรมอำพราง ซึ่งมาตรา 94 ไม่ตัดสิทธิจำเลยในอันที่จะนำสืบแสดงว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง มาตรา 94 ก็ห้ามแต่เฉพาะเรื่องการนำพยานบุคคลเข้ามาสืบแทนเอกสารเท่านั้นไม่ได้ห้ามในการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยเอกสารโดยมีการสืบพยานบุคคลประกอบข้อความและลายมือชื่อในเอกสารนั้น
จำเลยเพียงแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกาว่า ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น ไม่มีเหตุอันสมควรชอบที่โจทก์จะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และจำเลยจะฎีกาในเรื่องดุลพินิจเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมโดยเฉพาะไม่ได้ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็อาจสั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ในฐานะที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขับรถเมื่อผู้โดยสารกระโดดลงจากรถที่จอดอยู่
ผู้ตายกระโดดลงจากรถยนต์ซึ่งจำเลยเป็นผู้ขับตามทางมาในขณะที่จำเลยหยุดรถเพื่อรับคนโดยสารอยู่ แม้ผู้ตายได้รับอันตรายแก่กาย และถึงแก่ความตายในภายหลัง จำเลยก็หาได้ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ตายจนถึงตายในขณะที่จำเลยกำลังขับรถอยู่นั้นไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 30 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ข้อ 6 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขับรถเมื่อผู้โดยสารกระโดดลงจากรถขณะจอด – ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
ผู้ตายกระโดดลงจากรถยนต์ซึ่งจำเลยเป็นผู้ขับตามทางมาในขณะที่จำเลยหยุดรถเพื่อรับคนโดยสารอยู่ แม้ผู้ตายได้รับอันตรายแก่กาย และถึงแก่ความตายในภายหลัง จำเลยก็หาได้ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ตายจนถึงตายในขณะที่จำเลยกำลังขับรถอยู่นั้นไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 30 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515ข้อ 6 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย หากผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อก่อนพยานครบถ้วน แม้จะอยู่พร้อมหน้ากัน
ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อเป็นผู้ทำพินัยกรรมต่อหน้าพยานเพียงคนเดียวส่วนพยานอีกคนหนึ่งมาถึงและลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมภายหลังที่ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อแล้วประมาณ 5 นาที แม้ว่าขณะนั้นผู้ทำพินัยกรรมและพยานจะยังอยู่พร้อมหน้ากัน ก็ถือว่าพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมต้องมีพยานลงชื่อต่อหน้าผู้ทำพินัยกรรมพร้อมกัน หากพยานลงชื่อภายหลัง พินัยกรรมเป็นโมฆะ
ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อเป็นผู้ทำพินัยกรรมต่อหน้าพยานเพียงคนเดียว ส่วนพยานอีกคนหนึ่งมาถึงและลงชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมภายหลังที่ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อแล้วประมาณ 5 นาที แม้ว่าขณะนั้นผู้ทำพินัยกรรมและพยานจะยังอยู่พร้อมหน้ากัน ก็ถือว่าพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656
of 40