พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บำเหน็จตกทอดไม่ใช่ทรัพย์มรดก สิทธิขึ้นอยู่กับกฎหมายบำนาญ ไม่ใช่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ในเรื่องบำเหน็จตกทอดตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ นั้น เป็นเรื่องของรัฐให้สิทธิแก่ทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะโดยตรงที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ และยังกำหนดอายุของบุตรที่จะได้รับบำเหน็จตกทอดไว้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนดมิได้ให้เป็นสิทธิเป็น ทรัพย์แก่ข้าราชการผู้ได้รับบำนาญปกติอยู่ก่อนตายหรือในขณะที่ถึงแก่ความตายแต่อย่างใด แตกต่างกับกฎหมายว่าด้วยมรดก จึงจะปรับให้เป็นมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บำเหน็จตกทอดไม่ใช่ทรัพย์มรดก สิทธิเกิดจากกฎหมายเฉพาะ
ในเรื่องบำเหน็จตกทอดตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการฯนั้น เป็นเรื่องของรัฐให้สิทธิแก่ทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะโดยตรงที่จะได้รับเงินช่วยเหลือ และยังกำหนดอายุของบุตรที่จะได้รับบำเหน็จตกทอดไว้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามที่กฎหมายกำหนด มิได้ให้เป็นสิทธิเป็น ทรัพย์แก่ข้าราชการผู้ได้รับบำนาญปกติอยู่ก่อนตายหรือในขณะที่ถึงแก่ความตายแต่อย่างใด แตกต่างกับกฎหมายว่าด้วยมรดก จึงจะปรับให้เป็นมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมต้องจดทะเบียน มิฉะนั้นกรรมการเดิมยังชอบด้วยกฎหมาย
การเปลี่ยนตัวกรรมการสมาคมโดยมิได้จดทะเบียนการเปลี่ยนแปลนั้นต่อนายทะเบียน ย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และต้องถือว่ากรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้เดิมยังเป็นกรรมการโดยชอบด้วยกฎหมายตลอดมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกรรมการสมาคมต้องจดทะเบียน มิฉะนั้นกรรมการเดิมยังคงมีอำนาจ
การเปลี่ยนตัวกรรมการสมาคมโดยมิได้จดทะเบียนการเปลี่ยนแปลนั้นต่อนายทะเบียน ย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายและต้องถือว่ากรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้เดิมยังเป็นกรรมการโดยชอบด้วยกฎหมายตลอดมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งรายได้เลี้ยงดูบุตรสิ้นผลบังคับแล้ว ไม่ใช่เหตุให้ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยอ้างสัญญาเดิมได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นภรรยาของจำเลย ต่อมาได้ตกลงแยกกันอยู่ โดยจำเลยตกลงทำสัญญาแบ่งรายได้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองที่จำเลยมอบภาระให้โจทก์ ในอัตราเศษหนึ่งส่วนสามของรายได้ประจำเดือนที่จำเลยได้รับจนกว่าบุตรทั้งสองคนจะบรรลุนิติภาวะ หรือจนกว่าโจทก์จะยอมหย่าขาดจากจำเลย เมื่อบุตรทั้งสองบรรลุนิติภาวะแล้วจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โดยถือเอาจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามข้อกำหนดในท้ายสัญญาท้ายฟ้องตลอดมาต่อมาจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์เพียงเดือนละ1,200 บาทเท่านั้น ซึ่งจำเลยมีหน้าที่แบ่งรายได้ให้โจทก์หนึ่งในสามส่วนเป็นเงิน 1,860 บาท ไม่ครบตามข้อตกลง ขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์โดยแบ่งเงินรายได้ประจำเดือนให้โจทก์หนึ่งในสามส่วนเป็นเงิน 1,860บาททุกเดือน ดังนี้ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์ถือเอาอัตราและจำนวนเงินที่จำเลยเคยจ่ายให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยอ้างข้อตกลงตามสัญญาแบ่งเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นหลักในการคำนวณจำนวนเงินที่จำเลยเคยจ่ายให้โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่โจทก์นำสัญญาแบ่งรายได้เลี้ยงดูบุตรที่สิ้นผลบังคับแล้ว (เพราะบุตรบรรลุนิติภาวะ) มาฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดไม่
กรณีภรรยาฟ้องให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ครบตามจำนวนที่เคยจ่ายให้ภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1594 ที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ไร้ทรัพย์สินและมิสามารถหาเลี้ยงตนเองได้
กรณีภรรยาฟ้องให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ครบตามจำนวนที่เคยจ่ายให้ภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1594 ที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ไร้ทรัพย์สินและมิสามารถหาเลี้ยงตนเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูหลังบุตรบรรลุนิติภาวะ: การฟ้องร้องตามสัญญาเดิมที่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ฐานะยากไร้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นภรรยาของจำเลย ต่อมาได้ตกลงแยกกันอยู่ โดยจำเลยตกลงทำสัญญาแบ่งรายได้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองที่จำเลยมอบภาระให้โจทก์ในอัตราเศษหนึ่งส่วนสามของรายได้ประจำเดือนที่จำเลยได้รับจนกว่าบุตรทั้งสองคนจะบรรลุนิติภาวะ หรือจนกว่าโจทก์จะยอมหย่าขาดจากจำเลย เมื่อบุตรทั้งสองบรรลุนิติภาวะแล้วจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ โดยถือเอาจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามข้อกำหนดในท้ายสัญญาท้ายฟ้องตลอดมาต่อมาจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้โจทก์เพียงเดือนละ 1,200 บาทเท่านั้น ซึ่งจำเลยมีหน้าที่แบ่งรายได้ให้โจทก์หนึ่งในสามส่วนเป็นเงิน 1,860 บาท ไม่ครบตามข้อตกลงขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์โดยแบ่งเงินรายได้ประจำเดือนให้โจทก์หนึ่งในสามส่วนเป็นเงิน 1,860บาททุกเดือนดังนี้ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์ถือเอาอัตราและจำนวนเงินที่จำเลยเคยจ่ายให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยอ้างข้อตกลงตามสัญญาแบ่งเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นหลักในการคำนวณจำนวนเงินที่จำเลยเคยจ่ายให้โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่โจทก์นำสัญญาแบ่งรายได้เลี้ยงดูบุตรที่สิ้นผลบังคับแล้ว (เพราะบุตรบรรลุนิติภาวะ) มาฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดไม่
กรณีภรรยาฟ้องให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ครบตามจำนวนที่เคยจ่ายให้ภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1594 ที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ไร้ทรัพย์สินและมิสามารถหาเลี้ยงตนเองได้
กรณีภรรยาฟ้องให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ครบตามจำนวนที่เคยจ่ายให้ภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1594 ที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ไร้ทรัพย์สินและมิสามารถหาเลี้ยงตนเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันสิทธิในทรัพย์สิน: การยิงผู้บุกรุกในเวลากลางคืนโดยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้าย
จำเลยเคยถูกปล้นบ้านมาก่อน และเมื่อ 20 วันก่อนเกิดเหตุก็มีคนร้ายเข้าบ้านจำเลย คืนเกิดเหตุสามีจำเลยไม่อยู่ จำเลยปิดประตูบ้านซึ่งเป็นร้านค้าเข้านอนอยู่กับเด็ก ๆ เวลาประมาณ 22 นาฬิกาได้ยินเสียงดังกุกกักที่ระเบียงเรือน จึงหยิบปืนเปิดประตูแง้มออกดูเห็นเงาคนตะคุ่ม ๆ อยู่บนระเบียงเรือนคนหนึ่ง และข้างล่างระเบียงเรือนอีกคนหนึ่ง จำเลยถามว่า "ใคร" ได้ยินเสียงตอบว่า "อย่าดัง" จำเลยเข้าใจว่าเป็นคนร้าย จึงยิงปืนไปยังคนที่อยู่ระเบียง 2 นัด คนทั้งสองหนีไปจำเลยยิงขู่อีก 1 นัด แล้วตะโกนว่า "ช่วยด้วย โจรขึ้นบ้าน" มีชาวบ้านมาและพบผู้ตายนอนตายเพราะถูกกระสุนปืนที่จำเลยยิงอยู่ที่ข้างคูน้ำบริเวณบ้านจำเลย ดังนี้ เป็นกรณีซึ่งมีเหตุทำให้จำเลยเชื่อได้ว่าผู้ตายมีเจตนาจะเข้ามาลักทรัพย์จำเลย เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยสำคัญผิดคิดว่าผู้ตายเป็นคนร้ายจึงใช้ปืนยิง เป็นการป้องกันสิทธิในทรัพย์สินของตนพอสมควรแก่เหตุ ถือได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ประกอบด้วยมาตรา 62
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย: ความเชื่อโดยสุจริตว่ามีคนบุกรุกเพื่อลักทรัพย์
จำเลยเคยถูกปล้นบ้านมาก่อน และเมื่อ 20 วันก่อนเกิดเหตุก็มีคนร้ายเข้าบ้านจำเลย คืนเกิดเหตุสามีจำเลยไม่อยู่ จำเลยปิดประตูบ้านซึ่งเป็นร้านค้าเข้านอนอยู่กับเด็ก ๆ เวลาประมาณ 22 นาฬิกาได้ยินเสียงดังกุกกักที่ระเบียงเรือน จึงหยิบปืนเปิดประตูแง้มออกดูเห็นเงาคนตะคุ่ม ๆ อยู่บนระเบียงเรือนคนหนึ่ง และข้างล่างระเบียงเรือนอีกคนหนึ่ง จำเลยถามว่า 'ใคร' ได้ยินเสียงตอบว่า 'อย่าดัง' จำเลยเข้าใจว่าเป็นคนร้าย จึงยิงปืนไปยังคนที่อยู่ระเบียง 2 นัด คนทั้งสองหนีไปจำเลยยิงขู่อีก 1 นัด แล้วตะโกนว่า 'ช่วยด้วย โจรขึ้นบ้าน' มีชาวบ้านมาและพบผู้ตายนอนตายเพราะถูกกระสุนปืนที่จำเลยยิงอยู่ที่ข้างคูน้ำบริเวณบ้านจำเลย ดังนี้ เป็นกรณีซึ่งมีเหตุทำให้จำเลยเชื่อได้ว่าผู้ตายมีเจตนาจะเข้ามาลักทรัพย์จำเลย เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยสำคัญผิดคิดว่าผู้ตายเป็นคนร้ายจึงใช้ปืนยิง เป็นการป้องกันสิทธิในทรัพย์สินของตนพอสมควรแก่เหตุ ถือได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ประกอบด้วยมาตรา 62
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอมในศาล: ศาลมีอำนาจพิพากษาตามข้อตกลงได้ แม้ยังไม่เด็ดขาด
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องที่ดิน ก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษา คู่ความแถลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่า'ตกลงกันได้แล้ว โดยตกลงกันแบ่งที่ดินคนละครึ่ง โดยจำเลยได้ด้านทิศเหนือ โจทก์ได้ด้านทิศใต้ โจทก์จำเลยตกลงจะไปแบ่งกันเอง และจะแถลงให้ศาลทราบ'ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องอ้างว่าข้อตกลงนั้นทำให้โจทก์เสียเปรียบ เพราะจะได้แต่ที่ดอนซึ่งเป็นป่า ขอให้เรียกจำเลยมาทำความตกลงกันใหม่จำเลยแถลงคัดค้านว่า ข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอให้ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ดังนี้ ศาลชอบที่จะพิพากษาไปตามข้อตกลงนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เพราะข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งที่ดินระหว่างการพิจารณาคดี: ศาลมีอำนาจพิพากษาตามข้อตกลงได้
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องที่ดินก่อนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาคู่ความแถลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่า "ตกลงกันได้แล้วโดยตกลงกันแบ่งที่ดินคนละครึ่ง โดยจำเลยได้ด้านทิศเหนือ โจทก์ได้ด้านทิศใต้ โจทก์จำเลยตกลงจะไปแบ่งกันเอง และจะแถลงให้ศาลทราบ" ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องอ้างว่าข้อตกลงนั้นทำให้โจทก์เสียเปรียบ เพราะจะได้แต่ที่ดอนซึ่งเป็นป่า ขอให้เรียกจำเลยมาทำความตกลงกันใหม่จำเลยแถลงคัดค้านว่า ข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอให้ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ดังนี้ ศาลชอบที่จะพิพากษาไปตามข้อตกลงนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เพราะข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้อง