คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แผ้ว ศิวะบวร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจ้างทนาย ค่าจ้าง และอายุความคดีเรียกค่าจ้าง
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้เป็นทนายฟ้องผู้มีชื่อต่อศาล เมื่อโจทก์ยังดำเนินคดีไม่เสร็จตามสัญญา จำเลยย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 แต่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้แก่โจทก์ และเมื่อเลิกสัญญาแล้วจำเลยต้องใช้เงินตามควรค่าแห่งการงานของโจทก์ และต้องคิดค่าจ้างตามรูปคดีหาใช่คิดแต่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นไม่ (อ้างฎีกาที่ 962/2509 และ 455/2506) และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้มีกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(15)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินของกลางในคดีปล้นทรัพย์: เงินของกลางไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปล้นเอาธนบัตร 4,000 บาทของเจ้าทรัพย์ไปต่อมาจับจำเลยได้และได้ธนบัตรรวม 1,780 บาทจากจำเลยที่ 2เป็นของกลาง ขอให้ลงโทษและคืนธนบัตร 1,780 บาทของกลางแก่เจ้าทรัพย์และให้จำเลยคืนหรือใช้ธนบัตรอีก 2,220 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่เจ้าทรัพย์ด้วย เมื่อเงินของกลาง 1,780 บาทนี้ผู้เสียหายมิได้เป็นเจ้าของ แม้จะเป็นของคนร้ายที่ร่วมปล้นซึ่งต้องใช้คืนผู้เสียหายอยู่แล้วการที่จะพิพากษาให้คืนแก่ผู้เสียหายนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 49, 50 และเมื่อเงินของกลางนี้ไม่อาจถือว่าเป็นค่าสินไหมทดแทนอันผู้เสียหายจะพึงได้รับด้วยการที่ศาลสั่งคืนให้แล้วก็ย่อมไม่ต้องนำไปหักออกจากจำนวนค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์คิดคำนวณมาในฟ้อง จำนวนเงิน 1,780 บาทนี้จึงกลับไปรวมอยู่ในจำนวนค่าเสียหาย 4,000 บาทซึ่งโจทก์ฟ้องว่าผู้เสียหายพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 4,000 บาท แก่ผู้เสียหายธนบัตรของกลาง 1,780 บาทให้คืนจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินของกลางที่ผู้เสียหายมิได้เป็นเจ้าของ และการคำนวณค่าสินไหมทดแทนที่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปล้นเอาธนบัตร 4,000 บาทของเจ้าทรัพย์ไป ต่อมาจับจำเลยได้และได้ธนบัตรรวม 1,780 บาทจากจำเลยที่ 2 เป็นของกลาง ขอให้ลงโทษและคืนธนบัตร 1,780 บาทของกลางแก่เจ้าทรัพย์และให้จำเลยคืนหรือใช้ธนบัตรอีก 2,220 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่เจ้าทรัพย์ด้วย เมื่อเงินของกลาง 1,780 บาทนี้ผู้เสียหายมิได้เป็นเจ้าของ แม้จะเป็นของคนร้ายที่ร่วมปล้นซึ่งต้องใช้คืนผู้เสียหายอยู่แล้ว การที่จะพิพากษาให้คืนแก่ผู้เสียหายนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 49, 50 และเมื่อเงินของกลางนี้ไม่อาจถือว่าเป็นค่าสินไหมทดแทนอันผู้เสียหายจะพึงได้รับด้วยการที่ศาลสั่งคืนให้แล้วก็ย่อมไม่ต้องนำไปหักออกจากจำนวนค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์คิดคำนวณมาในฟ้อง จำนวนเงิน 1,780 บาทนี้จึงกลับไปรวมอยู่ในจำนวนค่าเสียหาย 4,000 บาทซึ่งโจทก์ฟ้องว่าผู้เสียหายพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 4,000 บาท แก่ผู้เสียหายธนบัตรของกลาง 1,780 บาทให้คืนจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพูดดูหมิ่นขัดขวางการปฏิบัติงานตำรวจ และการต่อสู้ขัดขวางการจับกุม
ส. ผู้บังคับกองตำรวจสั่งให้รถยนต์ที่จำเลยกับพวกนั่งมาหยุดเพื่อตรวจค้น จำเลยพูดว่า 'ผู้กองอย่างมึงจะเอาอะไรกับกู นี่หรือผู้พิทักษ์สันติราษฎร์' เป็นคำกล่าวดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามมาตรา 136 เมื่อ ส. ผู้บังคับกองจะจับกุมจำเลยผลักโดยแรงจน ส. ผู้บังคับกองล้มลงแล้วกอดปล้ำไม่ยอมให้จับอีกจึงเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน ผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171-2172/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเช็ค: การนับระยะเวลาเริ่มต้นเมื่อใด และการนับรวมวันแรกหรือไม่
ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ชำระเงินตามเช็ค กฎหมายห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันเช็คถึงกำหนด การนับระยะเวลาในกรณีนี้จะนับวันแรกรวมคำนวณเข้าในอายุความหนึ่งปีด้วยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้เริ่มการอะไรในวันนั้น เช็คที่ถึงกำหนดวันที่ 20 พฤศจิกายน 2511ฟ้องคดีวันที่ 20 พฤศจิกายน 2512 และที่ถึงกำหนดวันที่ 27 พฤศจิกายน2511 ฟ้องคดีวันที่ 27 พฤศจิกายน 2512 ฟ้องทั้งสองสำนวนนี้ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171-2172/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเช็ค: การนับระยะเวลาเริ่มต้นวันถัดจากวันที่เช็คถึงกำหนด
ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ชำระเงินตามเช็ค กฎหมายห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันเช็คถึงกำหนด การนับระยะเวลาในกรณีนี้จะนับวันแรกรวมคำนวณเข้าในอายุความหนึ่งปีด้วยหาได้ไม่ เพราะไม่ได้เริ่มการอะไรในวันนั้น เช็คที่ถึงกำหนดวันที่ 20 พฤศจิกายน 2511ฟ้องคดีวันที่ 20 พฤศจิกายน 2512 และที่ถึงกำหนดวันที่ 27 พฤศจิกายน 2511 ฟ้องคดีวันที่ 27 พฤศจิกายน 2512 ฟ้องทั้งสองสำนวนนี้ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053-2069/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์และการนับโทษจำเลยในคดีอาญาหลายสำนวน
ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดี 17 สำนวน ซึ่ง ว. จำเลยถูกฟ้องทุกสำนวน บางสำนวนมีจำเลยอื่นร่วมด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยตัดบทมาตราที่ศาลชั้นต้นปรับบทไว้เกินฟ้องออกบ้าง ที่ศาลชั้นต้นให้ลงโทษตามบทหนักที่สุดก็แก้เป็นว่าให้ลงโทษตามกระทงที่หนักที่สุดหรือตามบทและกระทงที่หนักที่สุดด้วย แล้วแต่กรณีบางสำนวนยังคงลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 3 ปี 8 เดือนตามเดิมบ้าง ตัดมาตราที่เกินฟ้องออกแล้วแก้โทษให้เบาลงจาก 3 ปี 8 เดือน เป็น 1 ปี 4 เดือนบ้าง เป็น2 ปีบ้าง และที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งให้นับโทษติดต่อกันก็ให้นับโทษจำเลยทั้ง 17 สำนวนติดต่อกันด้วย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และโทษจำคุกของจำเลยแต่ละคนแต่ละสำนวนไม่เกิน 5 ปี คู่ความฎีกาได้แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย
สำหรับ ว. นั้น แม้เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้นับโทษทั้ง 17 สำนวนติดต่อกันแล้วรวมเป็นโทษจำคุกถึง 20 ปี ก็เป็นเรื่องของการบังคับคดี เพียงแต่แก้เป็นให้นับโทษของแต่ละสำนวนต่อกับโทษในสำนวนอื่นนั้น จะถือว่าเป็นการแก้ไขมากหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2053-2069/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในคดีอาญาหลายสำนวน การให้นับโทษต่อกัน และขอบเขตการฎีกา
ศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษาคดี 17 สำนวน ซึ่ง ว. จำเลยถูกฟ้องทุกสำนวน บางสำนวนมีจำเลยอื่นร่วมด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยตัดบทมาตราที่ศาลชั้นต้นปรับบทไว้เกินฟ้องออกบ้าง ที่ศาลชั้นต้นให้ลงโทษตามบทหนักที่สุดก็แก้เป็นว่าให้ลงโทษตามกระทงที่หนักที่สุดหรือตามบทและกระทงที่หนักที่สุดด้วย แล้วแต่กรณีบางสำนวนยังคงลงโทษจำคุกจำเลยคนละ 3 ปี 8 เดือน ตามเดิมบ้าง ตัดมาตราที่เกินฟ้องออกแล้วแก้โทษให้เบาลงจาก 3 ปี 8 เดือน เป็น 1 ปี 4 เดือนบ้าง เป็น2 ปีบ้าง และที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งให้นับโทษติดต่อกัน ก็ให้นับโทษจำเลยทั้ง 17 สำนวนติดต่อกันด้วย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และโทษจำคุกของจำเลยแต่ละคนแต่ละสำนวนไม่เกิน 5 ปี คู่ความฎีกาได้แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย
สำหรับ ว. นั้น แม้เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้นับโทษทั้ง 17 สำนวนติดต่อกันแล้วรวมเป็นโทษจำคุกถึง 20 ปี ก็เป็นเรื่องของการบังคับคดี เพียงแต่แก้เป็นให้นับโทษของแต่ละสำนวนต่อกับโทษในสำนวนอื่นนั้น จะถือว่าเป็นการแก้ไขมากหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขู่เข็ญเพื่อเรียกทรัพย์สิน แม้ผู้เสียหายปฏิเสธ ก็ถือเป็นความพยายามกรรโชก
จำเลยที่ 1 กับ ส. เข้าไปในร้านของผู้เสียหาย ส. พูดกับผู้เสียหายว่าขอเงิน 100 บาท จะเอาไปซ่อมปืน ผู้เสียหายตอบว่าไม่มี ส. พูดว่าให้คิดให้ดี ๆ ชีวิตผู้เสียหายสำคัญกว่า พวกของ ส. มีมาก และชี้ให้ดูพวกที่ยืนอยู่ที่ถนนนอกร้านประมาณ 20 คน พอดีมีคนเข้ามาในร้าน ผู้เสียหายจึงถือโอกาสหลบหนีไป ต่อมาอีก 2 วัน จำเลยที่ 1ถือจดหมายของ ส. มาอ่านให้ผู้เสียหายฟังว่าต้องการเงิน 500 บาทผู้เสียหายบอกว่าไม่มีเงิน จำเลยที่ 1 ว่า เย็นนี้รู้กัน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ไปที่ร้านผู้เสียหายอีกและถูกตำรวจจับได้ การที่ผู้เสียหายตอบจำเลยที่ 1 ว่าไม่มีเงิน ย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นคำตอบปฏิเสธว่าไม่ยอมให้เงินหรือยอมรับว่าจะให้เงินแก่จำเลยที่ 1 กับพวกตามที่จำเลยที่ 1 กับพวกขู่เข็ญข่มขืนใจ การกระทำของจำเลยที่ 1 อยู่ในขั้นพยายามกระทำความผิดฐานกรรโชก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามกรรโชก: การข่มขู่เรียกทรัพย์สินและการปฏิเสธของผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 กับ ส. เข้าไปในร้านของผู้เสียหายส. พูดกับผู้เสียหายว่าขอเงิน 100 บาท จะเอาไปซ่อมปืน ผู้เสียหายตอบว่าไม่มี ส. พูดว่าให้คิดให้ดี ๆ ชีวิตผู้เสียหายสำคัญกว่า พวกของ ส. มีมาก และชี้ให้ดูพวกที่ยืนอยู่ที่ถนนนอกร้านประมาณ 20 คน พอดีมีคนเข้ามาในร้าน ผู้เสียหายจึงถือโอกาสหลบหนีไป ต่อมาอีก 2 วัน จำเลยที่ 1 ถือจดหมายของ ส. มาอ่านให้ผู้เสียหายฟังว่าต้องการเงิน 500 บาทผู้เสียหายบอกว่าไม่มีเงิน จำเลยที่ 1 ว่า เย็นนี้รู้กัน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ไปที่ร้านผู้เสียหายอีกและถูกตำรวจจับได้ การที่ผู้เสียหายตอบจำเลยที่ 1 ว่าไม่มีเงินย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นคำตอบปฏิเสธว่าไม่ยอมให้เงินหรือยอมรับว่าจะให้เงินแก่จำเลยที่ 1 กับพวกตามที่จำเลยที่ 1 กับพวกขู่เข็ญข่มขืนใจ การกระทำของจำเลยที่ 1 อยู่ในขั้นพยายามกระทำความผิดฐานกรรโชก
of 40