พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค, การสลักหลัง, การรับสภาพหนี้, และการเลื่อนคดีสืบพยาน
ทนายโจทก์แถลงต่อศาลว่า โจทก์นำพยานมาศาลสองปาก คือ ตัวทนายโจทก์ และ ร. เมื่อประเด็นรับฟังกันได้เป็นส่วนมาก โจทก์ไม่ติดใจสืบพยานสองปากนี้ และติดใจสืบตัวโจทก์ กับ ว. เพียง 2 ปาก วันนี้ไม่มาศาล โจทก์ขอเลื่อนคดีทนายจำเลยมิได้คัดค้านประการใด จึงเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นสั่งเลื่อนคดีไปสืบพยานโจทก์ต่อ ดังนี้ จำเลยจะมาคัดค้านว่าศาลชั้นต้นสั่งเลื่อนคดีไปสืบพยานโจทก์ไม่ชอบหาได้ไม่ และการที่โจทก์นำพยานที่โจทก์แถลงไม่ติดใจสืบเข้าเบิกความต่อศาลทนายจำเลยก็ได้ซักค้านพยานปากนี้โดยมิได้โต้แย้งประการใด แม้ต่อมาจำเลยจะได้ยื่นคำแถลงคัดค้าน ก็ไม่ตัดอำนาจศาลที่จะรับฟังพยานดังกล่าว
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ว่า โจทก์เป็นผู้ลงวันที่ในเช็คเอาเอง ทั้งไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ใดลงวันที่ในเช็คไม่ถูกต้องและปราศจากอำนาจ จึงต้องฟังว่าวันที่ปรากฏในเช็คนั้นเป็นวันที่ออกเช็คที่ถูกต้องแท้จริง เมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวมาขึ้นเงินภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ลงในเช็ค และฟ้องคีดภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ และโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะผู้สลักหลังได้
ตามคำแถลงรับของคู่ความ จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คทุกฉบับประเด็นที่ว่า โจทก์เป็นผู้ทรงหรือไม่ จึงเป็นอันยุติตามที่จำเลยยอมรับ และจำเลยรับต่อไปว่า จำเลยเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาท จำเลยจึงต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 914
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ว่า โจทก์เป็นผู้ลงวันที่ในเช็คเอาเอง ทั้งไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ใดลงวันที่ในเช็คไม่ถูกต้องและปราศจากอำนาจ จึงต้องฟังว่าวันที่ปรากฏในเช็คนั้นเป็นวันที่ออกเช็คที่ถูกต้องแท้จริง เมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวมาขึ้นเงินภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ลงในเช็ค และฟ้องคีดภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ และโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะผู้สลักหลังได้
ตามคำแถลงรับของคู่ความ จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คทุกฉบับประเด็นที่ว่า โจทก์เป็นผู้ทรงหรือไม่ จึงเป็นอันยุติตามที่จำเลยยอมรับ และจำเลยรับต่อไปว่า จำเลยเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาท จำเลยจึงต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 914
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดต่อสินค้าชำรุด การบอกเลิกสัญญา และค่าเสียหายพิเศษ
จำเลยส่งสินค้าที่มีคุณภาพชำรุดบกพร่องถึงขนาดที่โจทก์ไม่อาจนำไปขายต่อให้เป็นการผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องดังกล่าว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215, 287, 391 และ 472
ค่าขนส่งสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปยังที่ทำการของโจทก์ในต่างประเทศ ค่าประกันภัยสินค้า ค่าภาษีขาเข้าและค่านำสินค้าดังกล่าวออกจากด่านศุลกากร ล้วนเป็นค่าเสียหายพิเศษซึ่งจำเลยควรจะคาดคิดล่วงหน้าได้ว่าโจทก์จำเป็นต้องเสีย จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรค 2 ส่วนค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์สินค้าของกลางที่ชำรุดบกพร่อง เมื่อปรากฏกรรมการซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยไม่ยอมรับรู้ข้อตกลงในเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบสินค้าดังกล่าว จึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ฝ่ายเดียว จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้
ค่าขนส่งสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปยังที่ทำการของโจทก์ในต่างประเทศ ค่าประกันภัยสินค้า ค่าภาษีขาเข้าและค่านำสินค้าดังกล่าวออกจากด่านศุลกากร ล้วนเป็นค่าเสียหายพิเศษซึ่งจำเลยควรจะคาดคิดล่วงหน้าได้ว่าโจทก์จำเป็นต้องเสีย จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรค 2 ส่วนค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์สินค้าของกลางที่ชำรุดบกพร่อง เมื่อปรากฏกรรมการซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยไม่ยอมรับรู้ข้อตกลงในเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบสินค้าดังกล่าว จึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ฝ่ายเดียว จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายสินค้าชำรุด จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายและคืนราคาสินค้า
จำเลยส่งสินค้าที่มีคุณภาพชำรุดบกพร่องถึงขนาดที่โจทก์ไม่อาจนำไปขายต่อได้ เป็นการผิดสัญญา จำเลยต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องดังกล่าว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215,287, 391 และ 472
ค่าขนส่งสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปยังที่ทำการของโจทก์ในต่างประเทศ ค่าประกันภัยสินค้า ค่าภาษีขาเข้าและค่านำสินค้าดังกล่าวออกจากด่านศุลกากร ล้วนเป็นค่าเสียหายพิเศษซึ่งจำเลยควรจะคาดคิดล่วงหน้าได้ว่าโจทก์จำเป็นต้องเสีย จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสองส่วนค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์สินค้าของกลางที่ชำรุดบกพร่อง เมื่อปรากฏกรรมการซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยไม่ยอมรับรู้ข้อตกลงในเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบสินค้าดังกล่าว จึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ฝ่ายเดียว จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้
ค่าขนส่งสินค้าจากกรุงเทพมหานครไปยังที่ทำการของโจทก์ในต่างประเทศ ค่าประกันภัยสินค้า ค่าภาษีขาเข้าและค่านำสินค้าดังกล่าวออกจากด่านศุลกากร ล้วนเป็นค่าเสียหายพิเศษซึ่งจำเลยควรจะคาดคิดล่วงหน้าได้ว่าโจทก์จำเป็นต้องเสีย จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสองส่วนค่าใช้จ่ายในการพิสูจน์สินค้าของกลางที่ชำรุดบกพร่อง เมื่อปรากฏกรรมการซึ่งมีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยไม่ยอมรับรู้ข้อตกลงในเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบสินค้าดังกล่าว จึงเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ฝ่ายเดียว จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาจ้างดูแลทรัพย์สิน กรณีประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
จำเลยทำสัญญารับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางให้โจทก์ จำเลยก็ต้องรักษาไม้ของกลางให้อยู่ในสภาพปลอดภัย แต่จำเลยมิได้ทำการอย่างใดเพื่อป้องกันไฟป่า ซึ่งถ้าจำเลยกระทำการป้องกันไว้ก่อนไฟป่าอาจไม่ลุกลามมาถึงกองไม้ ดังนั้นการที่ไฟป่าไหม้ไม้ของกลางจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังตรวจตราดูแลเฝ้ารักษาไม้ของกลางให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกีดกั้นแสงสว่างและทางลมกับที่ดินข้างเคียง: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทน
บ้านโจทก์จำเลยปลูกอยู่บนที่ดินติดต่อกัน จำเลยเสริมรั้วบ้านให้สูงขึ้นจนปิดกั้นแสงสว่าง แสงแดดและทางลม มิให้เข้ามาในบ้านของโจทก์ ดังนี้ ตามมาตรา 1337 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นอกจากโจทก์จะมีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนให้สิ้นไปแล้ว ยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทนได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการออกหุ้นเพื่อแลกกับสิทธิบัตร ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ผู้ถือหุ้นมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือถึงบริษัทโจทก์ให้นำส่งภาษีเงินได้ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายของบริษัท ฟ. ซึ่งอยู่ต่างประเทศเมื่อโจทก์ถือว่าเป็นคำสั่งถึงบริษัทที่มีชื่อไม่ตรงกับชื่อโจทก์เจ้าพนักงานประเมินก็ชอบที่จะออกคำสั่งใหม่ระบุชื่อโจทก์เสียให้ถูกต้องและยกเลิกคำสั่งฉบับเดิมได้ ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้าม
บริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรการผลิตยางไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์ได้ออกหุ้นชำระเต็มมูลค่าให้แก่บริษัท ฟ. เพื่อตอบแทนที่บริษัทนั้นยอมให้แบบและความรู้ทางวิศวกรรมในการผลิตยางตามที่โจทก์กับบริษัท ฟ.ทำสัญญากันไว้ ดังนี้บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งสิทธิ คือสิทธิบัตรในการผลิตยาง จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(ก) แม้หุ้นจะมิใช่ตัวเงินก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงินจึงเป็นเงินได้ตามความหมายของมาตรา 39 โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้หักภาษีเงินได้นำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70
หนังสือเจ้าพนักงานประเมินที่มีถึงโจทก์ แจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินภาษีซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายของบริษัท ฟ. พร้อมเงินเพิ่มไปชำระ ไม่ใช่เป็นการประเมินภาษี แต่เป็นการแจ้งให้โจทก์นำภาษีไปชำระ ซึ่งเท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเองเมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้อง ก็ควรที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้
บริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรการผลิตยางไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์ได้ออกหุ้นชำระเต็มมูลค่าให้แก่บริษัท ฟ. เพื่อตอบแทนที่บริษัทนั้นยอมให้แบบและความรู้ทางวิศวกรรมในการผลิตยางตามที่โจทก์กับบริษัท ฟ.ทำสัญญากันไว้ ดังนี้บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งสิทธิ คือสิทธิบัตรในการผลิตยาง จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(ก) แม้หุ้นจะมิใช่ตัวเงินก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงินจึงเป็นเงินได้ตามความหมายของมาตรา 39 โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้หักภาษีเงินได้นำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70
หนังสือเจ้าพนักงานประเมินที่มีถึงโจทก์ แจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินภาษีซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายของบริษัท ฟ. พร้อมเงินเพิ่มไปชำระ ไม่ใช่เป็นการประเมินภาษี แต่เป็นการแจ้งให้โจทก์นำภาษีไปชำระ ซึ่งเท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเองเมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้อง ก็ควรที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการออกหุ้นเพื่อแลกกับสิทธิบัตร: การพิจารณาเงินได้พึงประเมินและหน้าที่เสียภาษี
เมื่อโจทก์ถือว่าคำสั่งเดิมของเจ้าพนักงานประเมินที่ได้นำส่งภาษีเงินได้เป็นคำสั่งถึงบริษัทที่มีชื่อไม่ตรงกับชื่อโจทก์ ก็ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะออกคำสั่งฉบับใหม่ระบุชื่อโจทก์เสียให้ถูกต้อง โดยยกเลิกคำสั่งฉบับเดิมที่ระบุชื่อไม่ตรงกับชื่อโจทก์นั้นเสีย ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินกระทำเช่นนั้น
การที่โจทก์ออกหุ้นให้บริษัท ฟ. เป็นไปตามข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ฟ. คือเพื่อตอบแทนที่บริษัท ฟ. ได้ให้ข้อสนเทศและบริการแก่โจทก์ โจทก์ต้องจัดสรรหุ้นให้แก่บริษัท ฟ. เป็นหุ้นที่ชำระเต็มมูลค่าแล้ว ภาษีที่จะต้องเสีย โจทก์รับเป็นผู้เสียเองโดยตรง ดังนี้ บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ คือสิทธิบัตรในการผลิตยางซึ่งบริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสหรัฐอเมริกา อันเป็นสิทธิที่โจทก์ยอมรับนับถือ โดยยอมจ่ายค่าตอบแทนสิทธิเช่นว่านี้เป็นหุ้น จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) แม้จะเป็นหุ้นไม่ใช่ตัวเงิน หุ้นนั้นก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้ตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 39 เมื่อเป็นเงินได้พึงประเมิน โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีเงินได้พึงประเมินนำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
การจ่ายเงินได้พึงประเมินไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินจริง ๆ เพราะคำนวณค่าหุ้นออกมาได้แน่นอนแล้วว่า เป็นเงินจำนวนเท่าใด ย่อมคิดหักเป็นภาษีออกมาได้ มิฉะนั้นแล้วอาจมีการหลีกเลี่ยงภาษี คือแทนที่จะจ่ายเป็นตัวเงิน ก็จ่ายเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเสีย
เจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งใหม่ที่ กค. 0804/334 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2508 ถึงโจทก์ แจ้งยกเลิกคำสั่งเดิมและสั่งให้โจทก์นำเงินภาษีเงินได้ไปชำระ หาใช่เป็นการประเมินภาษีไม่ หากเป็นการแจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินค่าภาษีไปชำระ เท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเอง คำสั่งเช่นว่านี้มิได้ขัดต่อกฎหมาย เมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
การที่โจทก์ออกหุ้นให้บริษัท ฟ. เป็นไปตามข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ฟ. คือเพื่อตอบแทนที่บริษัท ฟ. ได้ให้ข้อสนเทศและบริการแก่โจทก์ โจทก์ต้องจัดสรรหุ้นให้แก่บริษัท ฟ. เป็นหุ้นที่ชำระเต็มมูลค่าแล้ว ภาษีที่จะต้องเสีย โจทก์รับเป็นผู้เสียเองโดยตรง ดังนี้ บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ คือสิทธิบัตรในการผลิตยางซึ่งบริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสหรัฐอเมริกา อันเป็นสิทธิที่โจทก์ยอมรับนับถือ โดยยอมจ่ายค่าตอบแทนสิทธิเช่นว่านี้เป็นหุ้น จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) แม้จะเป็นหุ้นไม่ใช่ตัวเงิน หุ้นนั้นก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้ตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 39 เมื่อเป็นเงินได้พึงประเมิน โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีเงินได้พึงประเมินนำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
การจ่ายเงินได้พึงประเมินไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินจริง ๆ เพราะคำนวณค่าหุ้นออกมาได้แน่นอนแล้วว่า เป็นเงินจำนวนเท่าใด ย่อมคิดหักเป็นภาษีออกมาได้ มิฉะนั้นแล้วอาจมีการหลีกเลี่ยงภาษี คือแทนที่จะจ่ายเป็นตัวเงิน ก็จ่ายเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเสีย
เจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งใหม่ที่ กค. 0804/334 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2508 ถึงโจทก์ แจ้งยกเลิกคำสั่งเดิมและสั่งให้โจทก์นำเงินภาษีเงินได้ไปชำระ หาใช่เป็นการประเมินภาษีไม่ หากเป็นการแจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินค่าภาษีไปชำระ เท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเอง คำสั่งเช่นว่านี้มิได้ขัดต่อกฎหมาย เมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางคดีป่าไม้: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้แม้ไม่มีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ หากเป็นประโยชน์แก่จำเลยและเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
แม้จะมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์เพียงประเด็นเดียวว่าจะริบถ่านไม้ของกลางได้หรือไม่ก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยในทางที่เป็นประโยชน์แก่จำเลยว่า จำเลยไม่มีความผิดในข้อหานำของป่าเคลื่อนที่โดยไม่มีใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่กำกับได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
จำเลยได้ถ่านไม้ของกลางมาโดยมิชอบ การที่จำเลยนำถ่านไม้ของกลางเคลื่อนที่ จึงมิใช่เป็นกรณีตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึงแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518 มาตรา 18 อันจะพึงขอใบเบิกทางได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้ามไว้ในความครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดไว้ โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยให้การรับสารภาพ ดังนี้ ต้องฟังข้อเท็จจริงตามฟ้อง จำเลยจะฎีกาอ้างข้อเท็จจริงซึ่งไม่ปรากฏในสำนวนว่าถ่านไม้ของกลาง จำเลยได้รับอนุญาตให้ตัดฟันและเผาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วหาได้ไม่
จำเลยได้ถ่านไม้ของกลางมาโดยมิชอบ การที่จำเลยนำถ่านไม้ของกลางเคลื่อนที่ จึงมิใช่เป็นกรณีตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึงแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518 มาตรา 18 อันจะพึงขอใบเบิกทางได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้ามไว้ในความครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดไว้ โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยให้การรับสารภาพ ดังนี้ ต้องฟังข้อเท็จจริงตามฟ้อง จำเลยจะฎีกาอ้างข้อเท็จจริงซึ่งไม่ปรากฏในสำนวนว่าถ่านไม้ของกลาง จำเลยได้รับอนุญาตให้ตัดฟันและเผาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม: โจทก์ขอให้ลงโทษจำคุก แม้ศาลอุทธรณ์ให้รอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 4 เดือน 15 วัน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้รอการลงโทษไว้ โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำคุกไปเลย ดังนี้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองและจำหน่ายเฮโรอีนเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้เกี่ยวข้องกับเฮโรอีนชุดเดียวกัน
การมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองและการจำหน่ายเฮโรอีนเป็นความผิด ซึ่งอาศัยเจตนาในการกระทำผิดแตกต่างแยกจากกันได้แม้เฮโรอีนที่จำเลยจำหน่ายจะเป็นจำนวนบางส่วนของเฮโรอีนที่จำเลยมีไว้ในความครอบครอง แต่เมื่อจำเลยจำหน่ายเฮโรอีนก็เป็นการกระทำความผิดอีกฐานหนึ่ง ซึ่งอาศัยเจตนาต่างหาก.จากที่จำเลยมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครอง จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน