คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
แผ้ว ศิวะบวร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของวัดต่อการกระทำของเจ้าอาวาส กรณีซ่อมแซมถนนสาธารณะ การกระทำนอกหน้าที่ไม่มีผลผูกพันวัด
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 37 (1) บัญญัติให้เจ้าอาวาสมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดบำรุงรักษาวัด จัดกิจการของวัด และจัดศาสนาสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของวัดจำเลยที่ 2 ดำเนินการจ้างรถแทร็กเตอร์ไถดินทำถนนและซ่อมแซมถนนซึ่งเป็นถนนสาธารณประโยชน์ มิใช่สมบัติของวัด ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำในฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อการใช้รถแทร็กเตอร์ไถดินนั้นเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะที่ดินที่ถูกไดเอาดินไปเป็นที่ดินของโจทก์ และโจทก์มิได้ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
ปัญหาที่กล่าวในวรรคก่อน จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นให้การต่อสู้ไว้ แต่จำเลยที่ 2 เป็นวัดในพระพุทธศาสนา การที่จะให้วัดต้องร่วมรับผิดโดยไม่มีความผิด ย่อมฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของวัดต่อการกระทำของเจ้าอาวาส กรณีซ่อมแซมถนนสาธารณะ การกระทำนอกหน้าที่ไม่มีผลผูกพัน
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 37(1) บัญญัติให้เจ้าอาวาสมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดบำรุงรักษาวัด จัดกิจการของวัด และจัดศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสของวัด จำเลยที่ 2 ดำเนินการจ้างรถแทร็กเตอร์ไถดินทำถนนและซ่อมแซมถนนซึ่งเป็นถนนสาธารณประโยชน์ มิใช่สมบัติของวัดถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำในฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อการใช้รถแทร็กเตอร์ไถดินนั้นเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะที่ดินที่ถูกไถเอาดินไปเป็นที่ดินของโจทก์ และโจทก์มิได้ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
ปัญหาที่กล่าวในวรรคก่อน จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นให้การต่อสู้ไว้แต่จำเลยที่ 2 เป็นวัดในพระพุทธศาสนา การที่จะให้วัดต้องร่วมรับผิดโดยไม่มีความผิดย่อมฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ต้องอาศัยประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้ว และขอบเขตการฎีกาของจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุก ขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นที่ดินโฉนดที่ 1174 ของบุตรจำเลย จำเลยมิได้ทำละเมิด และค่าเสียหายไม่ถึงจำนวนที่ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นที่ดินนอกโฉนดที่ 1174 และเป็นที่ดินของ ก. เมื่อ ก. ตายแล้วฝ่ายโจทก์ครอบครองตลอดมาจำเลยเพิ่งโต้แย้งการครอบครองไม่ถึง 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องเรียกคืนการครอบครอง โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งของ ก. จึงมีอำนาจฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้ฎีกาประเด็นที่ว่า ที่พิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่1174 ของจำเลยหรือไม่ โจทก์ขาดสิทธิครอบครองและมีอำนาจฟ้องหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เสียหายจริงแล้ว จำเลยคงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในประเด็นเรื่องละเมิดและค่าเสียหายเท่านั้น จะรื้อฟื้นประเด็นที่ยุติไปแล้วเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกาต่อไปอีกหาได้ไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแต่ผู้เดียว มิได้ให้จำเลยร่วมต้องรับผิดด้วย จำเลยร่วมจะฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่สามารถรื้อฟื้นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วได้ และจำเลยร่วมไม่มีสิทธิฎีกาในประเด็นค่าเสียหายที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดแต่เพียงผู้เดียว
โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยบุกรุก ขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นที่ดินโฉนดที่ 1174 ของบุตรจำเลย จำเลยมิได้ทำละเมิด และค่าเสียหายไม่ถึงจำนวนที่ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นที่ดินนอกโฉนดที่1174 และเป็นที่ดินของ ก. เมื่อ ก. ตายแล้วฝ่ายโจทก์ครอบครองตลอดมา จำเลยเพิ่งโต้แย้งการครอบครองไม่ถีง 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องเรียกคืนการครอบครอง โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งของ ก. จึงมีอำนาจฟ้อง พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้ฎีกา ประเด็นที่ว่าที่พิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ 1174 ของจำเลยหรือไม่ โจทก์ขาดสิทธิครอบครองและมีอำนาจฟ้องหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ว่าจำเลยละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เสียหายจริงแล้ว จำเลยคงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในประเด็นเรื่องละเมิดและค่าเสียหายเท่านั้นจะรื้อฟื้นประเด็นที่ยุติไปแล้วเป็นข้ออุทธรณ์ฎีกาต่อไปอีกหาได้ไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแต่ผู้เดียว มิได้ให้จำเลยร่วมต้องรับผิดด้วย จำเลยร่วมจะฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการมียาเสพติดและจำหน่ายยาเสพติด ต้องลงโทษทุกกรรม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดจ่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันคือจำเลยบังอาจร่วมกันมีเฮโรอีนนไฮโดรคอลไรด์และจำเลยบังอาจร่วมกันขายเฮโรอีนไฮโดรคอลไรด์ จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริงตามฟ้องทุกประการโจทก์นำพยานเข้าสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยว่า นอกจากเอโรอีนของกลางบรรจุซองพลาสติกซึ่งพลตำรวจ จ. ปลอมตัวไปซื้อแล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยังค้นได้ธนบัตร ฉบับละ 10 บาท 2 ฉบับใช้ห่อเอโรอีนไว้ 2 ห่อจากจำเลยอีก ดังนี้การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2514 ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในข้อเท็จจริงขัดกับข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับแก้ไข) กรณีทุนทรัพย์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน คือจำเลยบังอาจร่วมกันมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ และจำเลยบังอาจร่วมกันขายเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริงตามฟ้องทุกประการ โจทก์นำพยานเข้าสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยว่า นอกจากเฮโรอีนของกลางบรรจุซองพลาสติกซึ่งพลตำรวจ จ. ปลอมตัวไปซื้อแล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยังค้นได้ธนบัตร ฉบับละ 10 บาท 2 ฉบับใช้ห่อเฮโรอีนไว้ 2 ห่อจากจำเลยอีก ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2514 ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิในการฎีกาในข้อเท็จจริงตามทุนทรัพย์ภายหลังการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง และได้ยื่นฎีกาหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเะพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 ใช้บังคับแล้ว การพิจารณาว่าจำเลยจะฎีกาได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่ยื่นฎีกา คดีนี้มีทุนทรัพย์ 48,881 บาท จำเลยจึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ทายาทสืบสิทธิในที่ดินพิพาทจากคำพิพากษาเดิม แม้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือกรรมสิทธิ์
ช.ฟ้องค.ขอแบ่งที่ดินพิพาทคนละครึ่งศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินแก่ช.และค.เท่าที่ครอบครองอยู่เป็นส่วนสัดคดีถึงที่สุดแล้วช.และค. ถึงแก่กรรมโจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ช. มาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกของ ค.ให้แบ่งที่พิพาทคนละครึ่งอีกโดยอ้างว่าช. มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทร่วมกับ ค.มิได้กล่าวอ้างสิทธิของตนเองต่างหากจากช. ดังนี้ทั้งโจทก์และจำเลยจึงเป็นผู้สืบสิทธิในที่พิพาทมาจาก ช.และค. ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
ในคดีก่อน เหตุที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่พิพาทตามคำพิพากษาก็เนื่องจากช. มิได้นำโฉนดที่ดินไปมอบต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จึงทำให้การรังวัดที่ดินขัดข้องไม่ใช่กรณีที่ ค.มิได้บังคับให้ช. ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี ดังนั้น แม้จะล่วงพ้นเวลา 10 ปีแล้ว แต่การแบ่งแยกที่พิพาทยังไม่เสร็จ ก็หาทำให้คำพิพากษาในคดีเดิมสิ้นผลบังคับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้ผู้รับมรดกเปลี่ยนไป
ช. ฟ้อง ค. ขอแบ่งที่ดินพิพาทคนละครึ่ง ศาลพิพากษาให้แบ่งที่ดินแก่ ช. และ ค. เท่าที่ครอบครองอยู่เป็นส่วนสัด คดีถึงที่สุดแล้ว ช. และ ค. ถึงแก่กรรม โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ช. มาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกของ ค. ให้แบ่งที่ดินพาทคนละครึ่งอีก โดยอ้างว่า ช. มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทร่วมกับ ค. มิได้กล่าวอ้างสิทธิของตนเองต่างหากจาก ข. ดังนี้ ทั้งโจทก์และจำเลยจึงเป็นผู้สืบสิทธิในที่พิพาทมาจาก ช. และ ค. ฟ้องของโจทก์จึงเป็นการรื้อฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้ว เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
ในคดีก่อน เหตุที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่พิพาทตามคำพิพากษาก็เนื่องจาก ช. มิได้นำโฉนดที่ดินไปมอบต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จึงทำให้การรังวัดที่ดินขัดข้อง ไม่ใช่กรณีที่ ค. มิได้บังคับให้ ช. ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี ดังนั้น แม้จะล่วงพ้นเวลา 10 ปีแล้ว แต่การแบ่งแยกที่พิพาทยังไม่เสร็จ ก็หาทำให้คำพิพากษาในคดีเดิมสิ้นผลบังคับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัดชำระหนี้ การบังคับตามสัญญา และผลของการผิดนัด
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่าต้องเสียเงินเพื่อเป็นค่าทำศพ 10,000 บาท ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ส่วนค่าทำศพจะมีอะไรบ้าง จำนวนเงินเท่าใดเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา
เมื่อลูกจ้างของจำเลยขับรถด้วยความประมาทแล้ว แม้ผู้ขับรถคันที่ผู้ตายโดยสารมาจะประมาทด้วยก็ตาม จำเลยก็จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ความรับผิดในความเสียหายของจำเลยลดลงหาได้ไม่
of 40