พบผลลัพธ์ทั้งหมด 263 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุวันกระทำความผิดในคดีเช็ค: จำเป็นต้องระบุวันที่ชัดเจน ไม่สามารถระบุเพียงเดือนและปี
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้น เกิดขึ้นในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คโดยบรรยายฟ้องว่า "......เมื่อวันที่ .... พฤษภาคม 2523(ไม่ได้ระบุวันที่) โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคาร แต่ธนาคาปฏิเสธการจ่ายเงิน" ถือไม่ได้ว่าเป็นการระบุวันกระทำผิดหรือวันที่ความผิดเกิดขึ้น จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คโดยบรรยายฟ้องว่า "......เมื่อวันที่ .... พฤษภาคม 2523(ไม่ได้ระบุวันที่) โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคาร แต่ธนาคาปฏิเสธการจ่ายเงิน" ถือไม่ได้ว่าเป็นการระบุวันกระทำผิดหรือวันที่ความผิดเกิดขึ้น จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันระบุความผิดเช็คไม่ชัดเจน ฟ้องไม่สมบูรณ์ แม้มีหลักฐานในชั้นไต่สวน
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้น เกิดขึ้นในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยบรรยายฟ้องว่า "......เมื่อวันที่ .... พฤษภาคม 2523 (ไม่ได้ระบุวันที่) โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน" ถือไม่ได้ว่าเป็นการระบุวันกระทำผิดหรือวันที่ความผิดเกิดขึ้น จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
โจทก์ฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยบรรยายฟ้องว่า "......เมื่อวันที่ .... พฤษภาคม 2523 (ไม่ได้ระบุวันที่) โจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน" ถือไม่ได้ว่าเป็นการระบุวันกระทำผิดหรือวันที่ความผิดเกิดขึ้น จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คลงวันที่ต่างกันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้ขึ้นเงินพร้อมกัน
จำเลยออกเช็ค 3 ฉบับ ลงวันที่สั่งจ่ายต่างกัน แม้โจทก์นำเช็คทั้ง 3 ฉบับไปขึ้นเงินในคราวเดียวกันธนาคารเดียวกัน ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เงินในบัญชี ณ วันออกเช็คเป็นสาระสำคัญคดีความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ถ้อยคำที่ว่า 'ในขณะที่ออก' หรือ 'ขณะที่ออกเช็ค' ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497มาตรา 3(2) และ (3) หมายถึงวันสั่งจ่ายที่ลงไว้ในเช็คนั้นเองซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็ค ข้อเท็จจริงที่ว่าในวันออกเช็ค จำเลยมีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายเงินตามเช็คพิพาทได้หรือไม่ หรือบัญชีของจำเลยปิดแล้วหรือยัง จึงเป็นสารสำคัญแห่งคดีที่จะแสดงให้เห็นว่าคดีมีมูลความผิดดังฟ้องหรือไม่ แม้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ก็ต้องนำสืบให้ปรากฏถึงความข้อนี้ด้วย เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ปรากฏคดีโจทก์ก็ไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คเพื่อค้ำประกัน ไม่ใช่ผูกพันชำระหนี้ ทำให้ไม่อยู่ในความผิด พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทให้ ก. โดยไม่มีเจตนาที่จะให้ผูกพันชำระหนี้กันได้ตามกฎหมาย แต่เป็นการค้ำประกันเงินที่จำเลยรับไปโดยมีข้อตกลงให้หักจากเงินค่าจ้างของจำเลยในการรับจ้างก่อสร้างทาวน์เฮ้าส์ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่ง ก. เป็นหุ้นส่วนและมีอำนาจเบิกจ่ายเงินร่วมกับหุ้นส่วนผู้จัดการ ดังนั้น แม้โจทก์จะรับโอนเช็คพิพาทมาและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1103/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาเช็ค: จำเป็นต้องระบุวันปฏิเสธการจ่ายเงิน
ฟ้องในความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ระบุแต่วันเวลาที่จำเลยเขียนเช็ค และวันที่ลงในเช็คหรือออกเช็คไม่ได้ระบุวันเวลาที่โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงิน และธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คเพียงแต่บรรยายว่าครั้นเช็คถึงกำหนดชำระผู้เสียหายได้นำเช็คไปเข้าบัญชีที่ธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินทั้งไม่ได้แนบเช็คและใบคืนเช็คมาพร้อมฟ้องดังนี้ เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเพื่อเก็บหลักฐานเช็ค ไม่ถือเป็นคำร้องทุกข์ หากไม่ได้แสดงเจตนาให้ดำเนินคดี ทำให้ฟ้องคดีอาญาขาดอายุความ
ข้อความในรายงานประจำวันเป็นถ้อยคำที่โจทก์ผู้แจ้งได้เล่าเรื่องความเกี่ยวพันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ออกเช็คชำระหนี้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ได้รับความเสียหาย จึงนำเช็คมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐานเกรงว่าเช็คจะขาดอายุความตำรวจรับแจ้งไว้และได้มอบเช็คคืนให้โจทก์รับไปในวันนั้น ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตออกเช็ค – แก้ไขตัวเลข – ลงชื่อไม่ตรงตัวอย่าง – ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน – ความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
เช็คของจำเลยจะต้องลงชื่อผู้สั่งจ่าย 2 คน แต่จำเลยที่ 2 ลงชื่อสั่งจ่ายเพียงคนเดียว โดยเซ็นทั้งชื่อและนามสกุลไม่ตรงกับตัวอย่างที่ให้ไว้แก่ธนาคารซึ่งมีแต่'ชื่อ' เท่านั้นเป็นเหตุให้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแสดงว่า เมื่อจำเลยที่ 2 ออกเช็คฉบับนี้ จำเลยที่ 2 เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การ: เหตุสมควรอนุญาตแก้ไขคำให้การก่อนศาลตัดสินเมื่อมีเหตุผลสำคัญและจำเลยมิได้มีเจตนาออกเช็คผิดกฎหมาย
ชั้นแรกจำเลยให้การปฏิเสธ ต่อมาจำเลยขอถอนคำให้การเดิมขอให้การรับสารภาพโดยทนายความของจำเลยมิได้ฟังการพิจารณาอยู่ด้วย หลังจากนั้น 7 วันจำเลยขอแก้คำให้การใหม่เป็นให้การปฏิเสธ โดยอ้างว่าให้การรับสารภาพเพราะเข้าใจผิด ความจริงจำเลยออกเช็คเป็นประกันหนี้และผู้ทรงเช็คลงวันที่สั่งจ่ายโดยจำเลยไม่ทราบ ดังนี้ หากเป็นไปตามที่จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้าง จำเลยก็ไม่มีความผิดทั้งจำเลยขอแก้ไขคำให้การก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงมีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับคำให้การหลังรับสารภาพ: ศาลไม่อนุญาตหากมีเจตนาประวิงคดี
การที่จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์แต่ขอให้ศาลเลื่อนการตัดสินคดีไปก่อนนั้นเป็นการรับสารภาพด้วยความสมัครใจของจำเลยมิได้เกิดขึ้นโดยความสำคัญผิดและการที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้คำให้การที่ให้การรับสารภาพเป็นให้การปฏิเสธเพื่อให้มีการสืบพยานต่อไปอีกโดยอ้างเหตุว่าจำเลยเพิ่งค้นพบพยานหลักฐานซึ่งจะนำมาอ้างปฏิเสธความรับผิดตามฟ้องโจทก์ได้นั้นเห็นได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อประวิงคดีจึงไม่มีเหตุอันควรที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสอง